ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

วัลเกต

วัลเกต

คัมภีร์​ไบเบิล​ภาษา​ละติน​ที่​แปล​เสร็จ​ประมาณ​ปี ค.ศ. 405 โดย​ผู้​เชี่ยวชาญ​ด้าน​คัมภีร์​ไบเบิล​ชื่อ ยูเซบิอุส ไฮรอนนีมุส หรือ​ที่​คน​ส่วน​ใหญ่​รู้​จัก​กัน​ใน​ชื่อ​เจโรม

ใน​สมัย​ของ​เจโรม คัมภีร์​ไบเบิล​เป็น​หนังสือ​ที่​หา​อ่าน​ได้​ทั่ว​ไป แต่​ส่วน​ใหญ่​เป็น​ภาษา​ละติน​โบราณ​และ​มี​คุณภาพ​การ​แปล​ที่​ไม่​ดี เจโรม​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​แก้ไข​ปัญหา​นี้​ด้วย​การ​ผลิต​ฉบับ​แปล​ภาษา​ละติน​ที่​เป็น​มาตรฐาน เขา​เริ่ม​ต้น​กับ​หนังสือ​ข่าว​ดี​สี่​เล่ม​โดย​แปล​จาก​สำเนา​พระ​คัมภีร์​ภาษา​กรีก​ที่​ดี​ที่​สุด​ที่​เขา​หา​ได้ จาก​นั้น​เขา​ก็​แปล​พระ​คัมภีร์​ภาค​ภาษา​ฮีบรู​โดย​เริ่ม​จาก​หนังสือ​สดุดี ตอน​แรก​เขา​แปล​จาก​ฉบับ​เซปตัวจินต์ แต่​ต่อ​มา​ก็​แปล​โดย​ตรง​จาก​ภาษา​ฮีบรู (ฉบับ​วัลเกต บาง​ส่วน​อาจ​แปล​โดย​คน​อื่น) เจโรม​รู้​ว่า​พระเจ้า​ชื่อ​อะไร แต่​ไม่​ได้​ใช้​ชื่อ​นี้​ใน​ฉบับ​แปล​ของ​เขา ใน​คำนำ​ของ​หนังสือ​ซามูเอล​และ​พงศ์กษัตริย์ เจโรม​เขียน​ว่า “และ​ใน​สำเนา​ภาษา​กรีก​บาง​ฉบับ​ที่​หลง​เหลือ​อยู่​จน​ถึง​ตอน​นี้ เรา​ก็​ยัง​พบ​ชื่อ​พระเจ้า​ใน​รูป​เททรากรัมมาทอน [เช่น יהוה] ซึ่ง​เป็น​ตัว​อักษร​โบราณ”

ตอน​แรก​ฉบับ​แปล​ของ​เจโรม​ไม่​ได้​รับ​ความ​นิยม​มาก​นัก แต่​ต่อ​มา​กลับ​ได้​รับ​การ​ยอม​รับ​อย่าง​กว้างขวาง ใน​ที่​สุด​ฉบับ​แปล​นี้​ก็​รู้​จัก​กัน​ใน​ชื่อ​ฉบับ​วัลเกต ซึ่ง​มา​จาก​คำ​ละติน​ที่​แปล​ว่า “เป็น​ที่​รู้​จัก” หรือ “ได้​รับ​ความ​นิยม” หลัง​จาก​มี​การ​ปรับ​ปรุง​ใหม่​หลาย​ครั้ง ฉบับ​วัลเกต ปี 1592 (ซึ่ง​เรียก​ว่า​ฉบับ​ซิก​ส์​ทีน เคล​เมน​ทีน) ก็​กลาย​เป็น​ฉบับ​แปล​ที่​คริสตจักร​โรมัน​คาทอลิก​ใช้​อย่าง​เป็น​ทาง​การ สำเนา​ของ​ฉบับ​วัลเกต หลาย​พัน​ฉบับ​ยัง​คง​อยู่​จน​ถึง​ทุก​วัน​นี้