ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การเพ่งดูโลก

การเพ่งดูโลก

การ​เพ่ง​ดู​โลก

▪ใน​ช่วง 35 ปี ระหว่าง​ปี 1970 ถึง​ปี 2005 จำนวน​หนึ่ง​ใน​สี่​ของ​สัตว์​มี​กระดูก​สัน​หลัง​รวม​ทั้ง​ปลา, สัตว์​ครึ่ง​บก​ครึ่ง​น้ำ, สัตว์​เลื้อย​คลาน, นก, และ​สัตว์​เลี้ยง​ลูก​ด้วย​นม ได้​สูญ​พันธุ์​ไป​แล้ว.—หนังสือ​พิมพ์​ซืดดอยท์เช ไซทุง, เยอรมนี

▪ ใน​ความ​พยายาม​ที่​จะ​รับมือ​กับ​ภาวะ​เงิน​เฟ้อ​ซึ่ง​เพิ่ม​ขึ้น 2.2 ล้าน​เปอร์เซ็นต์ ซิมบับเว​ได้​ปรับ​ค่า​เงิน​โดย​ตัด​เลข​ศูนย์​สิบ​ตัว​ออก​จาก​ธนบัตร​ใน​เดือน​สิงหาคม 2008. การ​ปรับ​ค่า​เงิน​ใหม่​นี้​ทำ​ให้​ธนบัตร​ใบ​ละ​หมื่น​ล้าน​ดอลลาร์​มี​มูลค่า​เท่า​กับ​หนึ่ง “ซิม​ดอลลาร์.”—อะชองเซ ฟรอง​เซ เปรส, ซิมบับเว

▪ มี​รายงาน​ว่า มี​การ​ฆาตกรรม​โดย​ใช้​อาวุธ​ปืน​มาก​กว่า 12,000 ราย​ใน​สหรัฐ​ปี 2005. แต่​จำนวน​ผู้​ที่​ได้​รับ​บาดเจ็บ​และ​รอด​ชีวิต​จาก​การ​ถูก​จู่​โจม​ด้วย​ปืน​มี​มาก​กว่า​นั้น​หลาย​เท่า คือ​มี​เกือบ 53,000 ราย​ที่​ถูก​ส่ง​ตัว​ไป​รักษา​ใน​ห้อง​ฉุกเฉิน​ใน​ปี 2006.”—หนังสือ​พิมพ์​ซีแอตเทิล ไทมส์, สหรัฐ​อเมริกา

“ความ​สุข” ใน​ช่วง​คริสต์มาส​หรือ?

หนังสือ​พิมพ์​ซันเดย์ เทเลกราฟ ของ​ซิดนีย์ กล่าว​ว่า ราว ๆ 20 เปอร์เซ็นต์​ของ​การ​หย่าร้าง​ใน​ออสเตรเลีย​เริ่ม​ขึ้น​ทันที​หลัง​เทศกาล​คริสต์มาส​และ​ปี​ใหม่​สิ้น​สุด​ลง. แบร์รี เฟรกส์ ทนาย​ที่​รับ​ว่า​ความ​คดี​หย่าร้าง​กล่าว​ว่า “เรา​เห็น​ผู้​คน​มาก​มาย​ทะเลาะ​กัน​หรือ​มี​เรื่อง​กัน​จน​ขั้น​แตก​หัก และ​มา​ที่​หน้า​สำนักงาน​ของ​เรา​ทันที​ที่​เรา​เปิด​ทำ​การ​อีก​ครั้ง. ผู้​คน​คาด​หวัง​ว่า​คริสต์มาส​จะ​สมบูรณ์​แบบ​เหมือน​กับ​ที่​เห็น​ใน​รายการ​ทีวี​และ​ใน​โฆษณา.” เขา​เสริม​ว่า เมื่อ​ชีวิต​ของ​พวก​เขา​ไม่​เป็น​ไป​ตาม “แนว​คิด” ดัง​กล่าว พวก​เขา​ก็​มา​หย่า​กัน. กระนั้น แอนเจลา คอนเวย์ โฆษก​หญิง​ของ​สมาคม​ครอบครัว​แห่ง​ออสเตรเลีย กล่าว​ว่า “การ​หย่าร้าง​แทบ​ไม่​ได้​แก้​ปัญหา​ที่​เรื้อรัง​มา​นาน หรือ​ทำ​ให้​เกิด​สันติ​สุข​และ​ความ​สุข​อย่าง​ที่​ผู้​คน​คาด​ว่า​น่า​จะ​เป็น​เช่น​นั้น.” เธอ​แนะ​ว่า “นับ​ว่า​คุ้มค่า​ที่​จะ​ยึด​มั่น​กับ​สาย​สมรส​ของ​คุณ​และ​พยายาม​ทำ​ให้​ชีวิต​สมรส​มี​ความ​สุข.”

“สถาน​ทำ​คลอด” ช่วย​ชีวิต

เปรู​ได้​พยายาม​อย่าง​มาก​ที่​จะ​ลด​อัตรา​การ​เสีย​ชีวิต​ของ​มารดา​ระหว่าง​การ​คลอด​บุตร. เพื่อ​สนับสนุน​ผู้​หญิง​ที่​อยู่​ใน​แถบ​เทือก​เขา​แอนดีส​ให้​ไป​พบ​แพทย์​ที่​คลินิก​แทน​ที่​จะ​คลอด​ลูก​เอง​ที่​บ้าน จึง​มี​การ​เปิด “บ้าน​พัก​ก่อน​คลอด​บุตร” 390 แห่ง​ใน​ประเทศ​เปรู​ตลอด​ช่วง​เวลา​สิบ​ปี​มา​นี้. หญิง​มี​ครรภ์​และ​ครอบครัว​ของ​เธอ​สามารถ​อยู่​ที่​บ้าน​พัก​เหล่า​นี้​ได้​จน​กว่า​จะ​ถึง​เวลา​คลอด​บุตร ซึ่ง​บ้าน​แต่​ละ​หลัง​จะ​อยู่​ใกล้ ๆ กับ​คลินิก​นั้น. สำนัก​ข่าว​รอยเตอร์​รายงาน​จาก​เมือง​กูซโก​ว่า สิ่ง​ที่​น่า​ดึงดูด​ใจ​อย่าง​หนึ่ง​ของ​คลินิก​เหล่า​นี้​ก็​คือ การ​ผสมผสาน “การ​แพทย์​สมัย​ใหม่​เข้า​กับ​วิธี​ทำ​คลอด​แบบ​พื้น​บ้าน” อย่าง​เช่น การ​ให้​มารดา “ยืน​คลอด” ซึ่ง “มัก​จะ​ใช้​เวลา​และ​ใช้​แรง​น้อย​ลง​ใน​การ​คลอด​บุตร . . . และ​ทำ​ให้​มารดา​มอง​เห็น​บุตร​ได้​ดี​กว่า​การ​นอน​คลอด.”

ล่า​ช้า​เสมอ

ตาม​รายงาน​ปี 2008 ของ​กระทรวง​คมนาคม​สหรัฐ ราว ๆ 30 เปอร์เซ็นต์​ของ​เที่ยว​บิน​ทั้ง​หมด​ของ​สาย​การ​บิน​ที่​มี​ตาราง​เวลา​การ​บิน​ใน​สหรัฐ มา​ถึง​ล่า​ช้า​กว่า​เวลา​ที่​กำหนด​มาก​กว่า 15 นาที. หนึ่ง​ใน​เที่ยว​บิน​ที่​แย่​ที่​สุด​ก็​คือ เที่ยว​บิน​หนึ่ง​ที่​ออก​จาก​เทกซัส​ไป​แคลิฟอร์เนีย ซึ่ง​ไม่​เคย​มา​ถึง​ตาม​เวลา​เลย.