ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

อวัยวะวางไข่ของตัวต่อเจาะไม้

อวัยวะวางไข่ของตัวต่อเจาะไม้

มี​ผู้​ออก​แบบ​ไหม?

อวัยวะ​วาง​ไข่​ของ​ตัว​ต่อ​เจาะ​ไม้

● ตัว​ต่อ​เจาะ​ไม้​ตัว​เมีย​วาง​ไข่​ใน​ต้น​สน และ​วิธี​ที่​มัน​วาง​ไข่​เป็น​แรง​บันดาล​ใจ​ให้​นัก​วิทยาศาสตร์​พัฒนา​เครื่อง​มือ​ผ่าตัด​ชนิด​สอด​ซึ่ง​ปลอด​ภัย​และ​มี​ประสิทธิภาพ​มาก​ขึ้น.

ขอ​พิจารณา: ตัว​ต่อ​จะ​เจาะ​ไม้​สน​โดย​การ​ใช้​อวัยวะ​วาง​ไข่ ซึ่ง​เป็น​ท่อ​ลักษณะ​คล้าย​เข็ม​มี​สอง​ก้าน​เกี่ยว​กัน หรือ “ลิ้น” ซึ่ง​แต่​ละ​ลิ้น​จะ​มี​เงี่ยง​ที่​เอน​ไป​ข้าง​หลัง. เงี่ยง​ของ​ลิ้น​หนึ่ง​จะ​ฝัง​ลง​ไป​ใน​เนื้อ​ไม้​ทำ​ให้​เกิด​แรง​ยึด ใน​ขณะ​ที่​อีก​ลิ้น​หนึ่ง​เลื่อน​ลง​ไป​ใน​เนื้อ​ไม้​อีก​เล็ก​น้อย. จาก​นั้น​เงี่ยง​ของ​ลิ้น​ที่​สอง ก็​จะ​ฝัง​ลง​ไป​ใน​เนื้อ​ไม้​ทำ​ให้​เกิด​แรง​ยึด ส่วน​ลิ้น​แรก ก็​จะ​เลื่อน​ลง​ไป​อีก. โดย​ที่​ลิ้น​ทั้ง​สอง​จะ​สลับ​กัน​ยึด​สลับ​กัน​เลื่อน​ลง​อย่าง​รวด​เร็ว อวัยวะ​วาง​ไข่​สามารถ​เจาะ​กระพี้ (เนื้อ​ไม้​ที่​อยู่​ใต้​เปลือก) ได้​เกือบ​หนึ่ง​นิ้ว​โดย​ใช้​แรง​น้อย​มาก ทั้ง​ไม่​หัก​หรือ​งอ​เลย.

โดย​ได้​รับ​แรง​บันดาล​ใจ​จาก​อวัยวะ​วาง​ไข่​ของ​ต่อ​เจาะ​ไม้​ตัว​เมีย นัก​วิทยาศาสตร์​จึง​ได้​ประดิษฐ์​เครื่อง​มือ​ต้น​แบบ​สำหรับ​การ​ผ่าตัด​สมอง​ชนิด​สอด โดย​อาศัย​หลักการ​คล้าย​กัน. เข็ม​ที่​ทำ​จาก​ซิลิคอน​ของ​เครื่อง​มือ​นี้​ประกอบ​ด้วย​ลิ้น​สอง​ตัว​ที่​เลื่อน​สลับ​กัน​ไป​มา แต่​ละ​ลิ้น​มี​เงี่ยง​ขนาด​จิ๋ว​ที่​สามารถ​แทรก​ลึก​ลง​ไป​ใน​สมอง​โดย​ก่อ​ความ​เสียหาย​น้อย​มาก. อย่าง​ไร​ก็​ดี เครื่อง​มือ​ผ่าตัด​นี้​จะ​มี​ลักษณะ​เด่น​เพิ่ม​เข้า​มา. วารสาร​นิว ไซเยนติสต์ อธิบาย​ว่า “ไม่​เหมือน​กับ​เครื่อง​มือ​ผ่าตัด​ชนิด​สอด​แบบ​แข็ง​ที่​ใช้​กัน​อยู่ เครื่อง​มือ​ชนิด​ใหม่​นี้​จะ​อ่อน​มาก​พอ​ที่​จะ​ไช​เข้า​ไป​ตาม​เส้น​ทาง​ที่​ปลอด​ภัย​ที่​สุด โดย​ไม่​ต้อง​ผ่าน​บริเวณ​ที่​อาจ​เกิด​อันตราย​ใน​สมอง​ขณะ​ผ่าตัด.” เครื่อง​มือ​ที่​ว่า​นี้​จะ​ลด​จำนวน​แผล​ผ่าตัด​เพื่อ​จะ​เข้า​ถึง​บริเวณ​ที่​เข้า​ถึง​ได้​ยาก.

คุณ​คิด​อย่าง​ไร? อวัยวะ​วาง​ไข่​ของ​ต่อ​เจาะ​ไม้​ตัว​เมีย​เกิด​ขึ้น​โดย​บังเอิญ​ไหม? หรือ​มี​ผู้​ออก​แบบ?

[แผน​ภาพ​หน้า 25]

(ดู​ราย​ละเอียด​จาก​วารสาร)

ขณะ​ที่​ลิ้น​หนึ่ง​เลื่อน​ลง​และ​เจาะ​เข้า​ไป​ใน​เนื้อ​ไม้ เงี่ยง​ของ​อีก​ลิ้น​หนึ่ง​จะ​ฝัง​กับ​เนื้อ​ไม้​ทำ​ให้​เกิด​แรง​ยึด

ไม้

แรง​ที่​สลับ​กัน

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 25]

Wasp: David R. Lance USDA APHIS PPQ Bugwood.org; diagram: J. F. V. Vincent and M. J. King (1996). The mechanism of drilling by wood wasp ovipositors. Biomimetics 3: 187-201