ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ทำไมฉันไม่กล้าพูดเรื่องความเชื่อที่โรงเรียน?

ทำไมฉันไม่กล้าพูดเรื่องความเชื่อที่โรงเรียน?

บท 17

ทำไม​ฉัน​ไม่​กล้า​พูด​เรื่อง​ความ​เชื่อ​ที่​โรงเรียน?

“ที่​โรง​เรียน ผม​มี​โอกาส​ดี ๆ ที่​จะ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ. แต่​ก็​ปล่อย​ให้​มัน​ผ่าน​ไป.”—เคเลบ

“ครู​ถาม​เรา​ทั้ง​ชั้น​ว่า​คิด​อย่าง​ไร​เรื่อง​วิวัฒนาการ. ฉัน​รู้​ว่า​นี่​เป็น​โอกาส​ยอด​เยี่ยม​ที่​จะ​พูด​ถึง​สิ่ง​ที่​ฉัน​เชื่อ. แต่​ก็​เกิด​กลัว​จน​ตัว​แข็ง​และ​พูด​ไม่​ออก. หลัง​จาก​นั้น ฉัน​รู้สึก​แย่​จริง ๆ.”—จัสมิน

ถ้า​คุณ​เป็น​หนุ่ม​สาว​คริสเตียน คุณ​คง​รู้สึก​เหมือน​เคเลบ​กับ​จัสมิน. คุณ​รัก​ความ​จริง​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ที่​ได้​เรียน​มา​และ​อยาก​บอก​คน​อื่น ๆ. แต่​แค่​คิด​จะ​พูด คุณ​ก็​กลัว​จน​ตัว​สั่น แล้ว. ถึง​อย่าง​นั้น คุณ​ก็​กล้า​มาก​ขึ้น​ได้. โดย​วิธี​ใด​ล่ะ? ลอง​ทำ​ตาม​ขั้น​ตอน​ต่อ​ไป​นี้.

1. คิด​ดู​ว่า​คุณ​กลัว​อะไร. เมื่อ​คุณ​คิด​จะ​พูด​เรื่อง​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ เหตุ​การณ์​แย่ ๆ มัก​ผุด​ขึ้น​มา​ใน​ความ​คิด. บาง​ที​ถ้า​ได้​เขียน​ออก​มา คุณ​อาจ​กลัว​น้อย​ลง​ก็​ได้.

เติม​ประโยค​นี้​ให้​ครบ​ถ้วน.

● ถ้า​ฉัน​พูด​เรื่อง​ความ​เชื่อ​ที่​โรง​เรียน ฉัน​กลัว​ว่า ․․․․․

ที่​จริง หนุ่ม​สาว​คริสเตียน​คน​อื่น​ก็​กลัว​คล้าย ๆ กับ​คุณ. ตัว​อย่าง​เช่น คริสโตเฟอร์ อายุ 14 ยอม​รับ​ว่า “ผม​กลัว​เพื่อน ๆ จะ​เยาะเย้ย​แล้ว​ไป​บอก​คน​อื่น​ว่า​ผม​เป็น​คน​แปลก ๆ.” เคเลบ​ที่​พูด​ถึง​ตอน​ต้น​บอก​ว่า “ผม​กลัว​คน​จะ​ถาม​เรื่อง​ที่​ผม​ตอบ​ไม่​ได้.”

2. เผชิญ​ข้อ​ท้าทาย. คุณ​กลัว​โดย​ไม่​มี​เหตุ​ไหม? คง​ไม่​ใช่. แอชลีย์ อายุ 20 บอก​ว่า “เมื่อ​ฉัน​พูด​เรื่อง​ความ​เชื่อ เพื่อน ๆ บาง​คน​แกล้ง​ทำ​เป็น​สนใจ. แต่​หลัง​จาก​นั้น เขา​ก็​เอา​สิ่ง​ที่​ฉัน​พูด​มา​ล้อ​ต่อ​หน้า​คน​อื่น.” นิโคล อายุ 17 เจอ​เหตุ​การณ์​แบบ​เดียว​กัน. เธอ​เล่า​ว่า “เพื่อน​คน​หนึ่ง​เอา​พระ​คัมภีร์​ของ​เขา​มา​เทียบ​กับ​พระ​คัมภีร์​ฉัน เขา​ชี้​ไป​ที่​ข้อ​หนึ่ง​แล้ว​บอก​ว่า​ไม่​เห็น​เหมือน​กัน​เลย พวก​เรา​เปลี่ยน​ข้อ​ความ​ใน​พระ​คัมภีร์. ฉัน​อึ้ง​จน​พูด​อะไร​ไม่​ออก.” *

สถานการณ์​แบบ​นี้​ดู​เหมือน​น่า​กลัว​มาก. แต่​แทน​ที่​จะ​หนี ให้​มอง​ข้อ​ท้าทาย​นี้​ว่า​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ชีวิต​คริสเตียน. (2 ติโมเธียว 3:12) แมททิว อายุ 13 บอก​อย่าง​นี้ “พระ​เยซู​ตรัส​ว่า​สาวก​ของ​พระองค์​จะ​ถูก​ข่มเหง เรา​จึง​ไม่​คาด​หมาย​ว่า​ทุก​คน​จะ​ชอบ​เรา.”—โยฮัน 15:20

3. คิด​ถึง​ประโยชน์. เรา​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​จาก​ประสบการณ์​ที่​ดู​เหมือน​ไม่​ดี​ได้​ไหม? แอมเบอร์ อายุ 21 คิด​ว่า​ได้. เธอ​บอก​ว่า “การ​อธิบาย​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ​กับ​คน​ที่​ไม่​เชื่อ​พระ​คัมภีร์​เป็น​เรื่อง​ยาก​จริง ๆ แต่​มัน​จะ​ทำ​ให้​คุณ​มั่น​ใจ​ใน​สิ่ง​ที่​คุณ​เชื่อ​มาก​ขึ้น.”—โรม 12:2

ย้อน​ไป​ดู​สิ่ง​ที่​คุณ​เขียน​ไว้​ใน​ขั้น​ตอน 1. ให้​คิด​ถึง​ประโยชน์​อย่าง​น้อย​สอง​อย่าง​จาก​สภาพการณ์​นั้น แล้ว​เขียน​ลง​ข้าง​ล่าง.

1 ․․․․․

2 ․․․․․

ข้อ​ชี้​แนะ: การ​บอก​ให้​เพื่อน​รู้​ว่า​คุณ​เชื่อ​อะไร​จะ​ทำ​ให้​คุณ​ได้​รับ​ความ​กดดัน​น้อย​ลง​อย่าง​ไร? การ​พูด​ออก​มา​จะ​มี​ผล​อย่าง​ไร​ต่อ​ความ​มั่น​ใจ​ใน​ตัว​เอง? มี​ผล​อย่าง​ไร​ต่อ​ความ​รู้สึก​ของ​คุณ​กับ​พระ​ยะโฮวา​และ​ความ​รู้สึก​ที่​พระองค์​มี​ต่อ​คุณ?—สุภาษิต 23:15

4. เตรียม​พร้อม. สุภาษิต 15:28 บอก​ว่า “ใจ​ของ​คน​ชอบธรรม​ตรึกตรอง​ก่อน​แล้ว​จึง​ตอบ.” นอก​จาก​จะ​ไตร่ตรอง​หรือ​คิด​ให้​ดี​ว่า​คุณ​ควร​พูด​อะไร ให้​พยายาม​คิด​ด้วย​ว่า​คน​อื่น​จะ​ถาม​อะไร. และ​ค้น​ดู​เรื่อง​เหล่า​นั้น​แล้ว​วาง​แผน​ว่า​จะ​ตอบ​อย่าง​ไร.—ดู​ตาราง “ เตรียม​คำ​ตอบ” ใน​หน้า 127

5. ลง​มือ​ทำ. ถ้า​คุณ​พร้อม​แล้ว​ที่​จะ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ ที​นี้​จะ​เริ่ม​อย่าง​ไร? คุณ​เลือก​ได้. ใน​แง่​หนึ่ง การ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ​เป็น​เหมือน​การ​ว่าย​น้ำ บาง​คน​ค่อย ๆ ก้าว​ลง​น้ำ ส่วน​บาง​คน​ก็​กระโดด​ลง​ไป​เลย. คล้าย​กัน คุณ​อาจ​เริ่ม​จาก​เรื่อง​ที่​ไม่​เกี่ยว​กับ​ศาสนา​เหมือน​กับ​ค่อย ๆ ก้าว​ลง​น้ำ. แต่​ถ้า​คุณ​กลัว​จะ​กังวล​เกิน​ไป วิธี​ที่​ดี​ที่​สุด​ก็​คือ ‘กระโดด​ลง​ไป​เลย.’ (ลูกา 12:11, 12) แอนดรูว์ อายุ 17 บอก​ว่า “การ​พูด ถึง​ความ​เชื่อ​ไม่​ยาก​อย่าง​ที่​คิด. เมื่อ​ผม​เริ่ม​พูด​ออก​มา มัน​ง่าย​กว่า​ที่​คิด​ไว้​เยอะ.” *

6. มี​ไหว​พริบ. โซโลมอน​เขียน​ว่า “คน​มี​ไหว​พริบ​มัก​จะ​คิด​ก่อน​ทำ​เสมอ.” (สุภาษิต 13:16, ฉบับ​แปล​ทูเดส์ อิงลิช) คุณ​คง​ไม่​กระโจน​ลง​ใน​น้ำ​ที่​ตื้น เช่น​กัน​คุณ​ก็​คง​ไม่​กระโจน​เข้า​สู่​การ​โต้​เถียง​ที่​ไร้​สาระ. จำ​ไว้​ว่า มี​เวลา​ที่​จะ​พูด​และ​เวลา​ที่​จะ​เงียบ. (ท่าน​ผู้​ประกาศ 3:1, 7) บาง​ครั้ง แม้​แต่​พระ​เยซู​ก็​ยัง​ไม่​ยอม​ตอบ​คำ​ถาม.—มัดธาย 26:62, 63

ถ้า​คุณ​คิด​จะ​ตอบ ก็​ให้​ตอบ​สั้น ๆ และ​รอบคอบ. ตัว​อย่าง​เช่น ถ้า​เพื่อน​ใน​ห้อง​เยาะเย้ย​ว่า ‘นาย​ไม่​กล้า​สูบ​บุหรี่​เหรอ?’ คุณ​อาจ​ตอบ​แค่​ว่า ‘เรา​ไม่​อยาก​เอา​สาร​พิษ​ใส่​ตัว.’ จาก​นั้น เมื่อ​เห็น​ท่าที​ของ​เขา คุณ​ก็​รู้​ว่า​ควร​จะ​อธิบาย​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ​ต่อ​หรือ​ไม่.

ทั้ง​หก​ขั้น​ตอน​ใน​บท​นี้​จะ​ช่วย​คุณ​ให้ ‘พร้อม​ที่​จะ​ปก​ป้อง’ ความ​เชื่อ​ของ​คุณ. (1 เปโตร 3:15) แน่นอน การ​อยู่​พร้อม​ไม่​ได้​หมาย​ความ​ว่า คุณ​จะ​ไม่​ประหม่า. อะเลนา อายุ 18 บอก​ว่า “ถ้า​คุณ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ​ทั้ง ๆ ที่​ยัง​กลัว​อยู่ คุณ​จะ​รู้สึก​ภูมิ​ใจ​ที่​ได้​เอา​ชนะ​ความ​กลัว​และ​กล้า​พูด​แม้​จะ​เจอ​ปัญหา. แต่​ถ้า​ไม่​เจอ ปัญหา​ก็​ยิ่ง​ดี. คุณ​จะ​ยิ่ง​ดีใจ​ที่​กล้า​พูด​ออก​ไป.”

ใน​บท​ต่อ​ไป

โรง​เรียน​ทำ​ให้​คุณ​เครียด​ไหม? มา​ดู​ว่า​จะ​รับมือ​อย่าง​ไร.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 10 คัมภีร์​ไบเบิล​ฉบับ​แปล​ต่าง ๆ ใช้​สำนวน​แตกต่าง​กัน. บาง​ฉบับ​แปล​ใกล้​เคียง​กับ​ภาษา​เดิม​มาก​กว่า.

ข้อ​คัมภีร์​หลัก

‘พร้อม​เสมอ​ที่​จะ​ปก​ป้อง​ความ​หวัง​ของ​คุณ​โดย​ชี้​แจง​แก่​ทุก​คน​ที่​อยาก​รู้​ว่า​ทำไม​คุณ​หวัง​อย่าง​นั้น แต่​จง​ทำ​เช่น​นั้น​ด้วย​อารมณ์​อ่อนโยน​และ​ด้วย​ความ​นับถือ​อย่าง​ยิ่ง.’—1 เปโตร 3:15

ข้อ​แนะ

แทน​ที่​จะ​บอก​เพื่อน​นัก​เรียน​ว่า​พวก​เขา​ควร​เชื่อ​หรือ​ไม่​เชื่อ​อะไร ให้​พูด​ถึง​สิ่ง​ที่​คุณ​เชื่อ​ด้วย​ความ​มั่น​ใจ​และ​อธิบาย​ว่า​ทำไม​คุณ​จึง​คิด​ว่า​เรื่อง​นั้น​มี​เหตุ​ผล.

คุณ​รู้​ไหม . . . ?

เพื่อน​นัก​เรียน​บาง​คน​อาจ​ชื่นชม​ที่​คุณ​ยึด​มั่น​กับ​มาตรฐาน​ด้าน​ศีลธรรม​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล แต่​ไม่​กล้า​ถาม​ถึง​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ.

แผน​ปฏิบัติการ

ฉัน​จะ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ​ของ​ฉัน​กับ​เพื่อน​คน​นี้​ได้ [เขียน​ชื่อ​เพื่อน อย่าง​น้อย​หนึ่ง​คน] ․․․․․

เรื่อง​ที่​ฉัน​คิด​ว่า​เขา​น่า​จะ​สนใจ​มาก​ที่​สุด​คือ ․․․․․

สิ่ง​ที่​ฉัน​อยาก​ถาม​พ่อ​แม่​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​คือ ․․․․․

คุณ​คิด​อย่าง​ไร?

● ที่​เพื่อน​นัก​เรียน​เยาะเย้ย​เรื่อง​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ จริง ๆ แล้ว​น่า​จะ​เพราะ​อะไร?

● ถ้า​คุณ​คิด​จะ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ​ของ​คุณ การ​พูด​ด้วย​ความ​มั่น​ใจ​สำคัญ​อย่าง​ไร?

[คำ​โปรย​หน้า 126]

“เมื่อ​ผม​ยัง​เด็ก ผม​ไม่​อยาก​แตกต่าง​จาก​คน​อื่น. แต่​เมื่อ​โต​ขึ้น ผม​เห็น​ว่า​สิ่ง​ที่​ผม​เชื่อ​ช่วย​ให้​ชีวิต​ผม​ดี​ขึ้น จึง​ทำ​ให้​ผม​มั่น​ใจ​มาก​ขึ้น​และ​ภูมิ​ใจ​ใน​สิ่ง​ที่​เชื่อ.”—เจสัน

[กรอบ​หน้า 124]

 คำ​ถาม​เพื่อ​เริ่ม​สนทนา

“ปิด​เทอม​นี้​เธอ​จะ​ทำ​อะไร?” [หลัง​จาก​ฟัง​เพื่อน​ตอบ ให้​บอก​ว่า​คุณ​มี​แผน​อะไร​เกี่ยว​กับ​กิจกรรม​คริสเตียน เช่น เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​ภาค​หรือ​ทำ​งาน​รับใช้​มาก​ขึ้น]

● พูด​ถึง​หัว​ข้อ​ข่าว แล้ว​ถาม​ว่า “เธอ​รู้​เรื่อง​นี้​ไหม? เธอ​คิด​อย่าง​ไร?”

“เธอ​คิด​ว่า เศรษฐกิจ​ของ​โลก [หรือ​ยก​ปัญหา​อื่น] จะ​ดี​ขึ้น​ไหม? [ให้​เพื่อน​ตอบ] ทำไม​เธอ​คิด​อย่าง​นั้น?”

“เธอ​คิด​ว่า​มี​พระเจ้า​ไหม?”

“อีก​ห้า​ปี เมื่อ​เรียน​จบ เธอ​คิด​จะ​ทำ​อะไร?” [หลัง​จาก​ฟัง​เพื่อน​ตอบ ให้​พูด​ถึง​เป้าหมาย​ของ​คุณ​ใน​การ​รับใช้​พระเจ้า]

[แผนภูมิ​หน้า 127]

 (ดู​ราย​ละเอียด​ใน​หนังสือ)

แบบ​สอบ​ถาม

เตรียม​คำ​ตอบ

ถ่าย​เอกสาร​หน้า​นี้

ข้อ​เสนอ​แนะ เอา​ตาราง​นี้​ไป​คุย​กับ​พ่อ​แม่​และ​เพื่อน​ที่​เป็น​คริสเตียน. แล้ว​เขียน​ความ​คิด​เห็น​ลง​ไป. จาก​นั้น ให้​คิด​ว่า​เพื่อน ๆ ใน​ห้อง​อาจ​ถาม​อะไร​อีก​และ​เตรียม​ว่า​คุณ​จะ​ตอบ​อย่าง​ไร.

ความ​เป็น​กลาง

คำ​ถาม

ทำไม​เธอ​ไม่​เคาร​พธง? เธอ​ไม่​รัก​ประเทศ​ของ​เธอ​หรือ?

คำ​ตอบ

ฉัน​นับถือ​ประเทศ​ที่​ฉัน​อยู่​แต่​ฉัน​ไม่​บูชา.

คำ​ถาม​ต่อ​ไป

แล้ว​เธอ​จะ​ไม่​สู้​เพื่อ​ประเทศ​หรือ?

คำ​ตอบ

ใช่​แล้ว และ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​อีก​หลาย​ล้าน​คน​ใน​ประเทศ​อื่น​ก็​จะ​ไม่​สู้​กับ​ประเทศ​เรา​ด้วย.

เลือด

คำ​ถาม

ทำไม​เธอ​ไม่​รับ​เลือด?

คำ​ตอบ

ฉัน​รับ​น้ำ​เกลือ​หรือ​สารละลาย​อื่น​ที่​ปลอดภัย​กว่า ซึ่ง​ไม่​เสี่ยง​ต่อ​การ​เป็น​โรค​เอดส์​หรือ​ตับ​อักเสบ. และ​พระ​คัมภีร์​บอก​ให้​ละ​เว้น​จาก​เลือด ฉัน​จึง​ทำ​ตาม.

คำ​ถาม​ต่อ​ไป

ถ้า​เธอ​ไม่​รับ​เลือด​แล้ว​ต้อง​ตาย​ล่ะ? ถ้า​เป็น​อย่าง​นี้​พระเจ้า​ก็​ยัง​ไม่​ให้​รับ​หรือ?

คำ​ตอบ

․․․․․

ทางเลือก

คำ​ถาม

คน​นั้น​นับถือ​ศาสนา​เดียว​กับ​เธอ เขา ​ยัง​ทำ . . . ได้. แล้ว​ทำไม​เธอ​ทำ​ไม่​ได้​ล่ะ?

คำ​ตอบ

เรา​ทุก​คน​รู้​ว่า​พระเจ้า​เรียก​ร้อง​อะไร แต่​ไม่​ได้​ถูก​ล้าง​สมอง เรา​แต่​ละ​คน​ต้อง​เลือก​เอง​ว่า​จะ​ทำ​อะไร.

คำ​ถาม​ต่อ​ไป

แสดง​ว่า​มี​สอง​มาตรฐาน​สิ?

คำ​ตอบ

․․․․․

พระเจ้า​สร้าง

คำ​ถาม

ทำไม​เธอ​ไม่​เชื่อ​เรื่อง​วิวัฒนาการ?

คำ​ตอบ

ทำไม​ฉัน​ต้อง ​เชื่อ? แม้​แต่​พวก​นัก​วิทยาศาสตร์​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เชี่ยวชาญยัง​คิด​ไม่​ตรง​กัน.

คำ​ถาม​ต่อ​ไป

․․․․․

คำ​ตอบ

․․․․․

[ภาพ​หน้า 125]

การ​พูด​ถึง​ความ​เชื่อ​เป็น​เหมือน​การ​ว่าย​น้ำ. คุณ​อาจ​ค่อย ๆ ก้าว​ลง​น้ำ​หรือ​กระโดด​ลง​ไป​เลย