‘ใครอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา?’
“ให้เกรงกลัวพระยะโฮวาพระเจ้า นมัสการพระองค์ ใกล้ชิดกับพระองค์”—เฉลยธรรมบัญญัติ 10:20
1, 2. (ก) ทำไมเป็นเรื่องฉลาดที่จะอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา? (ข) เราจะเรียนอะไรในบทความนี้?
เป็นเรื่องฉลาดที่เราต้องใกล้ชิดกับพระยะโฮวา เพราะไม่มีใครมีอำนาจ สติปัญญา และมีความรักเท่าพระองค์อีกแล้ว เราจึงอยากซื่อสัตย์ภักดีและอยู่ฝ่ายพระองค์เสมอ (สดุดี 96:4-6) แต่มีบางคนที่เคยเป็นผู้นมัสการพระเจ้ากลับทำไม่ได้
2 ในบทความนี้เราจะมาดูตัวอย่างของบางคนที่อ้างว่าอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาแต่กลับทำสิ่งที่พระองค์เกลียด บทเรียนสำคัญที่เราได้จากตัวอย่างของพวกเขาจะช่วยให้เราซื่อสัตย์ภักดีต่อพระยะโฮวาเสมอ
พระยะโฮวาตรวจดูหัวใจ
3. ทำไมพระยะโฮวาถึงพยายามช่วยคาอิน? และพระองค์บอกอะไรเขา?
3 ขอให้เราคิดถึงตัวอย่างของคาอิน พระยะโฮวาไม่ยอมรับการนมัสการของเขาทั้ง ๆ ที่เขาเองก็ไม่ได้นมัสการพระเท็จ ทำไม? เพราะพระยะโฮวาเห็น1 ยอห์น 3:12) พระยะโฮวาเตือนคาอินว่า “ถ้าเจ้าเปลี่ยนใจมาทำดี เราจะพอใจเจ้า แต่ถ้าเจ้าไม่เปลี่ยน บาปก็จะซุ่มคอยตะครุบเจ้าอยู่ที่ประตู เจ้าน่าจะเอาชนะมันไม่ใช่หรือ?” (ปฐมกาล 4:6, 7) พระยะโฮวาทำให้เห็นชัดเจนว่าถ้าคาอินกลับใจและเลือกอยู่ฝ่ายพระองค์ พระองค์ก็จะอยู่ฝ่ายคาอิน
แนวโน้มที่ไม่ดีในหัวใจของคาอิน (4. ตอนที่คาอินมีโอกาสเลือกจะอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาเขากลับทำอะไร?
4 ถ้าคาอินเปลี่ยนความคิด พระยะโฮวาก็จะยอมรับการนมัสการของเขาอีกครั้ง แต่คาอินกลับไม่ฟังพระองค์ เขาปล่อยให้ความคิดและความต้องการที่เห็นแก่ตัวพาเขาให้ลงมือทำชั่ว (ยากอบ 1:14, 15) ตอนที่คาอินอายุยังน้อย เขาอาจไม่เคยคิดว่าตัวเองจะกบฏต่อพระยะโฮวา แต่แล้วเขาก็ไม่สนใจคำเตือนของพระองค์ เขากบฏต่อพระองค์และถึงกับฆ่าน้องชายของตัวเอง
5. ความคิดแบบไหนที่อาจทำให้พระยะโฮวาไม่ชอบเราอีกต่อไป?
5 เหมือนกับคาอิน คริสเตียนในทุกวันนี้อาจอ้างว่านมัสการพระยะโฮวาแต่ที่จริงพวกเขากลับทำสิ่งที่พระยะโฮวาเกลียด (ยูดา 11) เขาอาจขยันทำงานรับใช้และไปประชุมเป็นประจำ แต่ในเวลาเดียวกันเขากลับปล่อยให้ตัวเองจินตนาการในเรื่องที่ผิดศีลธรรม มีความโลภและความเกลียดชัง (1 ยอห์น 2:15-17; 3:15) ในที่สุดความคิดแบบนี้แหละที่กระตุ้นให้ลงมือทำผิด ถึงคนอื่นจะไม่รู้ว่าเรากำลังคิดหรือทำอะไร แต่พระยะโฮวารู้ และพระองค์ก็รู้ถ้าเราไม่ได้อยู่ฝ่ายพระองค์จริง ๆ—อ่านเยเรมีย์ 17:9, 10
6. พระยะโฮวาช่วยเราอย่างไรให้เอาชนะความต้องการที่ไม่ดี?
6 ถึงแม้เราจะทำผิดพลาด แต่พระยะโฮวาก็ไม่ได้หมดหวังในตัวเราทันที ถ้าเรากำลังเดินไปในทางที่ผิด พระยะโฮวาบอกเราว่า “ให้หันกลับมาหาเรา แล้วเราจะกลับมาสนใจพวกเจ้า” (มาลาคี 3:7) พระยะโฮวารู้ว่าเราต้องต่อสู้กับความอ่อนแอของตัวเอง และพระองค์ก็อยากให้เราเข้มแข็งและเลิกทำชั่ว (อิสยาห์ 55:7) ถ้าเราทำแบบนั้นพระยะโฮวาสัญญาว่าจะให้กำลังกับเราเพื่อจะช่วยให้เราเอาชนะความต้องการที่ไม่ดีได้—ปฐมกาล 4:7
อย่าหลอกตัวเอง
7. อะไรทำให้โซโลมอนไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวาอีกต่อไป?
7 ตอนที่โซโลมอนอายุยังน้อยเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา พระองค์ทำให้เขาฉลาดมากและให้เขาได้สร้างวิหารที่สวยงามในกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นงานที่สำคัญมาก แต่ต่อมาโซโลมอนกลับไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวาอีกต่อไป (1 พงศ์กษัตริย์ 3:12; 11:1, 2) กฎหมายของพระเจ้าบอกไว้ว่ากษัตริย์ต้อง “ไม่มีภรรยาหลายคน ใจของเขาจะได้ไม่หลงไป” (เฉลยธรรมบัญญัติ 17:17) โซโลมอนไม่เชื่อฟังกฎหมายนี้ เขามีภรรยาถึง 700 คนและนางสนมอีก 300 คน (1 พงศ์กษัตริย์ 11:3) ภรรยาหลายคนของเขาเป็นคนต่างชาติและนมัสการพระเท็จ นี่จึงหมายความว่าโซโลมอนไม่เชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้าที่ห้ามแต่งงานกับคนต่างชาติด้วย—เฉลยธรรมบัญญัติ 7:3, 4
8. โซโลมอนทำชั่วอะไรบ้าง?
8 โซโลมอนค่อย ๆ เลิกรักกฎหมายของพระยะโฮวาและในที่สุดเขาก็ทำชั่วมาก เขาสร้างแท่นบูชาเทพธิดาอัชโทเรทและพระเคโมช เขากับพวกภรรยาพากันนมัสการพระเท็จเหล่านั้น เขาถึงกับสร้างแท่นบูชาหลายแท่นบนภูเขาหน้ากรุงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นที่ที่เขาได้1 พงศ์กษัตริย์ 11:5-8; 2 พงศ์กษัตริย์ 23:13) บางทีโซโลมอนอาจหลอกตัวเองว่าพระยะโฮวาคงไม่สนใจที่เขาทำชั่วทั้งหมดนี้หรอกตราบใดที่เขายังถวายเครื่องบูชาที่วิหารของพระยะโฮวาอยู่
สร้างวิหารที่สวยงามให้กับพระยะโฮวา (9. เกิดอะไรขึ้นเมื่อโซโลมอนไม่ฟังคำเตือนของพระยะโฮวา?
9 พระยะโฮวาไม่เคยมองข้ามการทำผิด คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “พระยะโฮวาโกรธโซโลมอนมาก เพราะเขาทิ้งพระยะโฮวา” พระองค์พยายามช่วยเขาโดย “มาหาเขาในความฝันถึง 2 ครั้ง พระยะโฮวาเคยเตือนเขาแล้วว่าอย่าไปนมัสการพระอื่น แต่เขาไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระองค์” ผลคือพระองค์ไม่ยอมรับและเลิกสนับสนุนโซโลมอน พระยะโฮวาไม่ให้ลูกหลานของเขาปกครองชาติอิสราเอลทั้งชาติและตลอดหลายร้อยปีก็มีแต่ปัญหา—1 พงศ์กษัตริย์ 11:9-13
10. อะไรอาจทำลายความสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวาได้?
10 ถ้าเราเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่เข้าใจหรือไม่ได้นับถือมาตรฐานของพระยะโฮวา พวกเขาอาจมีอิทธิพลกับความคิดของเราหรือทำลายความสัมพันธ์ที่เรามีกับพระองค์ได้ พวกเขาอาจเป็นคนในประชาคมที่ไม่ค่อยสนิทกับพระยะโฮวา หรืออาจเป็นคนที่ไม่ได้รับใช้พระองค์ เช่น ญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนในที่ทำงาน และเพื่อนที่โรงเรียนของเรา ถ้าเราใช้เวลากับคนที่ไม่ได้ใช้ชีวิตตามมาตรฐานของพระยะโฮวา พวกเขาก็อาจมีอิทธิพลกับเราจนทำลายความสัมพันธ์ที่เรามีกับพระองค์ได้
11. อะไรจะช่วยให้รู้ได้ว่าเราควรคบเพื่อนแบบไหน?
11 อ่าน 1 โครินธ์ 15:33 ผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่มีนิสัยที่ดีอยู่บ้าง และคนที่ไม่ได้นมัสการพระเจ้าก็อาจไม่ได้ทำชั่วเสมอไป บางทีคุณอาจรู้จักคนแบบนี้ก็ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ คุณอาจถามตัวเองว่า พวกเขามีผลอย่างไรต่อความสัมพันธ์ของคุณกับพระยะโฮวา? พวกเขาช่วยให้คุณสนิทกับพระยะโฮวามากขึ้นไหม? อะไรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขา? พวกเขาชอบคุยกันเรื่องอะไร? เรื่องที่พวกเขาคุยกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องแฟชั่น เงิน โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือความบันเทิงต่าง ๆ ไหม? พวกเขาชอบวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นไหม? พวกเขาชอบเล่าเรื่องตลกลามกไหม? พระเยซูเตือนว่า “ใจเต็มไปด้วยอะไร ปากก็พูดอย่างนั้น” (มัทธิว 12:34) ดังนั้น ถ้าคุณรู้ว่าคนที่คุณกำลังคบเป็นเพื่อนทำให้ความสัมพันธ์ของคุณกับพระยะโฮวาแย่ลง คุณอาจต้องลงมือทำอะไรซักอย่าง! อย่าใช้เวลากับพวกเขามากเกินไป และถ้าจำเป็นคุณอาจต้องเลิกคบกับพวกเขา—สุภาษิต 13:20
พระยะโฮวาอยากให้เราซื่อสัตย์ภักดีต่อพระองค์
12. (ก) พระยะโฮวาบอกอะไรกับชาวอิสราเอลหลังจากพวกเขาออกจากอียิปต์? (ข) ชาวอิสราเอลพูดอย่างไรตอนที่พระยะโฮวาขอให้พวกเขาซื่อสัตย์ภักดีต่อพระองค์?
12 ยังมีบทเรียนอื่น ๆ ที่เราสามารถเรียนได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวอิสราเอลหลังจากที่พระยะโฮวาปล่อยพวกเขาออกจากอียิปต์ ตอนที่ประชาชนมาชุมนุมกันหน้าภูเขาซีนาย พระยะโฮวาได้เปิดเผยพระองค์เองในแบบที่น่าประทับใจ ชาวอิสราเอลเห็นเมฆหนาทึบ ฟ้าแลบ ควันและได้ยินเสียงดังเหมือนเสียงแตร (อพยพ 19:16-19) แล้วพวกเขาก็ได้ยินเสียงพระยะโฮวาประกาศว่าพระองค์เป็น ‘พระเจ้าที่ต้องการให้นมัสการพระองค์เพียงผู้เดียว’ พระองค์สัญญาว่าจะซื่อสัตย์ภักดีต่อคนที่รักและเชื่อฟังกฎหมายของพระองค์ (อ่านอพยพ 20:1-6) พระยะโฮวาทำให้เห็นว่าถ้าชาวอิสราเอลอยู่ฝ่ายพระองค์ พระองค์ก็จะอยู่ฝ่ายพวกเขาเหมือนกัน ถ้าคุณได้อยู่กับชาวอิสราเอลในตอนนั้น คุณจะรู้สึกอย่างไรตอนที่ได้ยินเสียงของพระยะโฮวา? คุณอาจตอบเหมือนชาวอิสราเอลว่า “ทุกสิ่งที่พระยะโฮวาพูดไว้ พวกเราจะทำตาม” (อพยพ 24:3) แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นไม่นาน มีบางสิ่งที่ทดสอบความซื่อสัตย์ภักดีของชาวอิสราเอล มันคืออะไร?
13. ความซื่อสัตย์ภักดีของชาวอิสราเอลถูกทดสอบอย่างไร?
13 ชาวอิสราเอลกลัวพลังอำนาจที่พระยะโฮวาแสดงให้พวกเขาเห็นในตอนนั้น โมเสสเลยขึ้นไปบนภูเขาซีนายและคุยกับพระองค์แทนพวกเขา (อพยพ 20:18-21) โมเสสอยู่บนภูเขานั้นนานมาก ชาวอิสราเอลเลยคิดว่าพวกเขากำลังติดอยู่ในที่กันดารโดยไม่มีผู้นำ พวกเขากังวลมากเพราะไว้ใจผู้นำที่เป็นมนุษย์อย่างโมเสสมากเกินไป พวกเขาเลยบอกอาโรนว่า “ช่วยสร้างพระให้คอยนำทางพวกเราหน่อยสิ เพราะพวกเราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับโมเสสที่พาพวกเราออกมาจากอียิปต์”—อพยพ 32:1, 2
14. ชาวอิสราเอลหลอกตัวเองอย่างไร? และพระยะโฮวาทำอย่างไร?
14 ชาวอิสราเอลรู้อยู่แล้วว่าการไหว้รูปเคารพเป็นเรื่องผิด (อพยพ 20:3-5) แต่พวกเขาก็เริ่มกราบไหว้ลูกวัวทองคำเร็วจริง ๆ! แม้พวกเขาไม่เชื่อฟังกฎหมายของพระยะโฮวา แต่พวกเขาก็หลอกตัวเองว่าพวกเขายังอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา อาโรนถึงกับเรียกการนมัสการลูกวัวทองคำว่า “การเลี้ยงฉลองให้พระยะโฮวา” พระยะโฮวาทำอย่างไร? พระองค์บอกโมเสสให้ไปบอกประชาชนว่าพวกเขา “ทำผิดร้ายแรง” และพวกเขากำลัง “ทิ้งแนวทางที่เราสอน” พระยะโฮวาโกรธชาวอิสราเอลมากถึงขนาดที่พระองค์คิดจะทำลายชาตินี้ทั้งชาติ—อพยพ 32:5-10
15, 16. โมเสสและอาโรนแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพวกเขาอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาจริง ๆ? (ดูภาพแรก)
15 แต่ถึงอย่างนั้นพระยะโฮวาก็เป็นพระเจ้าที่เมตตา พระองค์ตัดสินใจไม่ทำลายชาตินี้ แทนที่จะทำอย่างนั้นพระองค์ให้โอกาสพวกเขาเลือกเองว่าจะอยู่ฝ่ายพระองค์หรือไม่ (อพยพ 32:14) หลังจากโมเสสได้เห็นประชาชนโห่ร้อง ร้องเพลง เต้นรำข้างหน้าลูกวัวทองคำ โมเสสก็จัดการทำลายรูปเคารพนั้นจนแหลกละเอียด หลังจากนั้นเขาก็ตะโกนบอกชาวอิสราเอลว่า “ใครอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาให้มาหาผม คนในตระกูลเลวีทั้งหมดก็ไปหาโมเสส”—อพยพ 32:17-20, 26
16 ถึงอาโรนจะเป็นคนปั้นลูกวัวทองคำ แต่เขากับพวกเลวีก็กลับใจและเลือกอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา คนที่ซื่อสัตย์ภักดีเหล่านี้ทำให้ทุกคนเห็นชัดเจนว่าพวกเขาอพยพ 32:27-29
ไม่อยู่ฝ่ายคนที่ผิด นี่เป็นการเลือกที่ฉลาดมากเพราะในวันนั้นหลายพันคนที่นมัสการลูกวัวทองคำต้องตาย แต่คนที่อยู่ฝ่ายพระยะโฮวารอดชีวิต และพระองค์ยังสัญญาว่าจะอวยพรพวกเขาด้วย—17. เราเรียนอะไรได้จากสิ่งที่เปาโลเขียนเกี่ยวกับเรื่องลูกวัวทองคำ?
17 เราได้บทเรียนอะไรจากเรื่องนี้? อัครสาวกเปาโลบอกว่า “เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างสอนใจเรา” เพื่อเราจะไม่กลายเป็นคน “ไหว้รูปเคารพ” เปาโลบอกว่าคัมภีร์ไบเบิล “ถูกเขียนไว้เพื่อเตือนเราซึ่งอยู่ใกล้ตอนสิ้นยุค ดังนั้น คนที่คิดว่าตัวเองมั่นคงอยู่แล้ว ระวังตัวให้ดี จะได้ไม่ล้มลง” (1 โครินธ์ 10:6, 7, 11, 12) อย่างที่เปาโลบอก แม้แต่คนที่นมัสการพระยะโฮวาก็อาจทำชั่วได้ พวกเขาอาจคิดว่าพระยะโฮวาคงไม่ว่าอะไรพวกเขาหรอก แต่การที่คนเราแค่บอกว่าอยากเป็นเพื่อนพระยะโฮวาและอ้างว่าซื่อสัตย์ภักดีต่อพระองค์มันไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะพอใจเขาจริง ๆ—1 โครินธ์ 10:1-5
18. อะไรอาจทำให้เราค่อย ๆ ห่างไปจากพระยะโฮวา? และผลที่ตามมาคืออะไร?
18 พอโมเสสไม่ลงมาจากภูเขาซีนายเร็วอย่างที่ชาวอิสราเอลคิด พวกเขาก็เริ่มวิตกกังวล เหมือนกันถ้าอวสานไม่มาเร็วอย่างที่คิดเราก็อาจรู้สึกกังวล เราอาจเริ่มคิดว่าคำสัญญาดี ๆ ของพระยะโฮวามันยังอีกนานกว่าจะเกิดขึ้นจริง หรือดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้ แล้วเราอาจเริ่มสนใจแต่สิ่งที่เราต้องการไม่ใช่สิ่งที่พระยะโฮวาต้องการ ถ้าเราไม่ระวังเราก็อาจค่อย ๆ ห่างไปจากพระองค์ และเราอาจทำสิ่งที่ไม่เคยคิดจะทำ
19. เราควรจำอะไรไว้เสมอ? และทำไม?
19 พระยะโฮวาต้องการให้เราเชื่อฟังพระองค์สุดหัวใจและนมัสการพระองค์ผู้เดียว (อพยพ 20:5) ทำไมพระยะโฮวาอยากให้เราทำอย่างนั้น? ก็เพราะว่าพระองค์รักเรา ถ้าเราทำสิ่งที่พระองค์ต้องการ เราก็จะไม่ทำสิ่งที่ซาตานต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากสำหรับเรา เปาโลเขียนว่า “คุณจะดื่มจากถ้วยของพระยะโฮวาและจากถ้วยของปีศาจด้วยไม่ได้ คุณจะกินของจาก ‘โต๊ะของพระยะโฮวา’ และจากโต๊ะของปีศาจด้วยก็ไม่ได้”—1 โครินธ์ 10:21
ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาเสมอ
20. พระยะโฮวาช่วยเราอย่างไรแม้แต่ตอนที่เราทำผิด?
20 คาอิน โซโลมอน และชาวอิสราเอลมีโอกาสกลับใจและเปลี่ยนแปลงตัวเอง (กิจการ 3:19) พระยะโฮวาไม่ได้หมดหวังในตัวพวกเขาทันทีเพียงเพราะพวกเขาทำผิดแค่ครั้งเดียวเหมือนอย่างที่เราเห็นในกรณีของอาโรนที่พระยะโฮวาให้อภัยเขา ในทุกวันนี้พระยะโฮวาก็ให้คำเตือนเพื่อปกป้องเราไม่ให้เราทำสิ่งที่พระองค์เกลียด พระองค์ให้เรามีคัมภีร์ไบเบิล หนังสือต่าง ๆ ขององค์การ และพี่น้องคริสเตียนเพื่อช่วยเตือนเรา ถ้าเราตั้งใจฟังคำเตือนของพระองค์ เราจะมั่นใจได้ว่าพระองค์จะเมตตาเราแน่นอน
21. เมื่อความซื่อสัตย์ภักดีของเราถูกทดสอบ เราต้องทำอะไร?
21 ความกรุณาที่ยิ่งใหญ่ของพระยะโฮวามีจุดมุ่งหมาย (2 โครินธ์ 6:1) ความกรุณานี้ทำให้เรามีโอกาสที่จะ “ปฏิเสธการทำชั่วและความต้องการแบบโลก” (อ่านทิตัส 2:11-14) ในยุคนี้ มีสถานการณ์หลายอย่างที่ทดสอบความซื่อสัตย์ภักดีที่เรามีต่อพระยะโฮวา ดังนั้น ขอให้เราตั้งใจอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาจริง ๆ ขอให้จำไว้ว่า “ให้เกรงกลัวพระยะโฮวาพระเจ้า นมัสการพระองค์” และ “ใกล้ชิดกับพระองค์” เสมอ—เฉลยธรรมบัญญัติ 10:20