ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

คุณรู้ไหม?

คุณรู้ไหม?

มี​การ​เอา​หลักการ​ต่าง ๆ ใน​กฎหมาย​ของ​โมเสส​ไป​ใช้​จริง​กับ​คดีความ​ต่าง ๆ ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ชีวิต​ประจำ​วัน​ของ​ชาว​อิสราเอล​โบราณ​ไหม?

ใช่​แล้ว มี​การ​เอา​หลักการ​ต่าง ๆ ไป​ใช้​ใน​บาง​กรณี ขอ​ดู​ตัว​อย่าง​หนึ่ง​ด้วย​กัน เฉลย​ธรรมบัญญัติ 24:14, 15 บอก​ว่า “อย่า​โกง​ค่า​แรง​ของ​ลูกจ้าง​ซึ่ง​ขัดสน​และ​ยาก​จน ไม่​ว่า​เขา​จะ​เป็น​พี่​น้อง​ของ​คุณ​หรือ​เป็น​คน​ต่าง​ชาติ​ใน​แผ่นดิน . . . ไม่​อย่าง​นั้น เขา​จะ​เอา​เรื่อง​ของ​คุณ​ไป​ร้อง​ทุกข์​ต่อ​พระ​ยะโฮวา แล้ว​คุณ​จะ​มี​ความ​ผิด”

เศษ​กระเบื้อง​ดิน​เผา​ที่​เขียน​คำ​ร้อง​ทุกข์​ของ​คน​งาน​ใน​ไร่

มี​การ​ค้น​พบ​หลักฐาน​ทาง​โบราณคดี​ที่​บันทึก​คำ​ร้อง​ทุกข์​ใน​กรณี​แบบ​นี้​ย้อน​ไป​ใน​สมัย​ศตวรรษ​ที่ 7 ก่อน​คริสต์ศักราช หลักฐาน​นี้​พบ​ใกล้​เมือง​อัชโดด บันทึก​คำ​ร้อง​นี้​อาจ​เขียน​เพื่อ​คน​งาน​ใน​ไร่​คน​หนึ่ง​ซึ่ง​ถูก​กล่าวหา​ว่า​ไม่​เอา​เมล็ด​พืช​ไป​ให้​อย่าง​ครบ​ถ้วน​ตาม​ที่​กำหนด​ไว้ บันทึก​นั้น​เขียน​บน​แผ่น​กระเบื้อง​ดิน​เหนียว​ว่า “หลัง​จาก​ผม​ซึ่ง​เป็น​คน​รับใช้​ของ​ท่าน [ผู้​ร้อง​ทุกข์] ได้​ทำ​งาน​เก็บ​ผล​ผลิต​ใส่​ยุ้ง​ฉาง​เสร็จ​เมื่อ 2-3 วัน​ก่อน โฮชายา​ฮู​ลูก​ชาย​โชบัย​ได้​มา​ยึด​เสื้อ​ของ​ผม​ไป เพื่อน ๆ ของ​ผม​ซึ่ง​ทำ​งาน​หนัก​ตาก​แดด​ด้วย​กัน​ก็​เป็น​พยาน​ได้ . . . ว่า​ผม​พูด​ความ​จริง ผม​บริสุทธิ์​ปราศจาก​ข้อ​กล่าวหา ถ้า​ท่าน​ผู้​ว่า​ราชการ​เห็น​ว่า​ไม่​ใช่​ธุระ​ของ​ท่าน​ที่​จะ​ช่วย​เอา​เสื้อ​ของ​ผม​คืน ก็​โปรด​ทำ​เพราะ​ความ​สงสาร​เถอะ ผม​ไม่​มี​เสื้อ​ใส่​จริง ๆ ขอ​อย่า​นิ่ง​ดู​ดาย​เลย”

ไซมอน ชามา​นัก​ประวัติศาสตร์​บอก​ว่า คำ​ร้อง​ทุกข์​นี้ “ไม่​ใช่​แค่​บอก​เรา​ว่า​ผู้​ใช้​แรงงาน​คน​นี้​สิ้น​หวัง​และ​อยาก​ได้​เสื้อ​คืน​มาก​ขนาด​ไหน . . . แต่​ยัง​บอก​ให้​รู้​เป็น​นัย ๆ ว่า​ผู้​ร้อง​ทุกข์​รู้​เกี่ยว​กับ​ประมวล​กฎหมาย​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล โดย​เฉพาะ​ใน​เลวีนิติ​กับ​เฉลย​ธรรมบัญญัติ​ซึ่ง​ห้าม​ข่มเหง​คน​จน”