ให้กฎหมายและหลักการของพระเจ้าฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
“ผมใคร่ครวญข้อเตือนใจของพระองค์”—สดุดี 119:99
1. อะไรเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างกับสัตว์?
พระยะโฮวาให้ของขวัญพิเศษอย่างหนึ่งกับมนุษย์ ของขวัญนั้นคือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเหนือกว่าสัตว์ เรารู้ได้อย่างไรว่าอาดัมกับเอวามนุษย์คู่แรกมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี? หลังจากพวกเขาไม่เชื่อฟังพระยะโฮวา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายใจ พวกเขาเลยไปซ่อนตัวจากพระองค์
2. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราเป็นเหมือนเข็มทิศอย่างไร? (ดูภาพแรก)
2 ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นความรู้สึกลึก ๆ ในตัวเราที่คอยบอกว่าอะไรถูกอะไรผิด มันเป็นสิ่งที่ชี้นำชีวิตเรา คนที่ไม่ได้ฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็เหมือนกับเรือที่เข็มทิศเสีย คลื่นและลมในทะเลอาจพัดพาเรือให้ไปผิดทางได้ แต่ถ้าเข็มทิศดีมันจะช่วยกัปตันบังคับเรือให้อยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ถ้าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราได้รับการฝึก มันจะชี้นำเราอย่างดีได้
3. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่ได้ฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีอย่างถูกต้อง?
3 ถ้าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราไม่ได้ถูกฝึก มันก็จะไม่เตือนตอนที่เราทำผิด 1 ทิโมธี 4:1, 2) มันอาจถึงกับทำให้เรา “เห็นชั่วเป็นดี” ด้วยซ้ำ (อิสยาห์ 5:20) ตัวอย่างเช่น พระเยซูบอกกับสาวกของท่านว่า “อีกไม่นานทุกคนที่ฆ่าพวกคุณจะคิดว่านั่นเป็นการรับใช้พระเจ้า” (ยอห์น 16:2) พวกที่ฆ่าสาวกสเทเฟนก็คิดแบบนั้น (กิจการ 6:8, 12; 7:54-60) ตลอดประวัติศาสตร์ พวกที่เคร่งศาสนาทำเรื่องชั่วร้ายหลายอย่าง เช่น ฆ่าคน และคิดว่าการทำแบบนั้นเป็นการทำเพื่อพระเจ้า ทั้งที่จริง ๆ แล้วสิ่งที่พวกเขาทำมันขัดกับกฎหมายของพระองค์ (อพยพ 20:13) เห็นได้ชัดว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีไม่ได้ชี้นำพวกเขาอย่างถูกต้อง
(4. เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรายังทำงานดีอยู่?
4 แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรายังทำงานดีอยู่? อย่างที่เรารู้ กฎหมายและหลักการจากคัมภีร์ไบเบิล “มีประโยชน์สำหรับสอน ว่ากล่าวตักเตือน แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และสั่งสอนคนให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง” (2 ทิโมธี 3:16) เราจึงต้องศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ คิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง และเอาไปใช้จริงในชีวิต เมื่อเราทำแบบนั้นเราก็จะคิดแบบพระยะโฮวาคิดมากขึ้น และเราจะมั่นใจได้ว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีชี้นำเราอย่างดี ดังนั้น ขอให้เราคุยกันเกี่ยวกับวิธีที่กฎหมายและหลักการของพระยะโฮวาฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา
ให้กฎหมายของพระเจ้าฝึกคุณ
5, 6. กฎหมายของพระเจ้าเป็นประโยชน์กับเราอย่างไร?
5 ถ้าเราอยากให้กฎหมายของพระเจ้าช่วยเรา เราต้องไม่แค่อ่านหรือรู้ว่ามีกฎหมายอะไรบ้าง แต่เราต้องรักและเคารพกฎหมายนั้นด้วย คัมภีร์ไบเบิลบอกให้เรา “เกลียดความชั่วและรักความดี” (อาโมส 5:15) แล้วเราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไร? เราต้องเรียนรู้วิธีที่จะมองสิ่งต่าง ๆ แบบที่พระยะโฮวามอง ขอให้คิดถึงเรื่องนี้ ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ และต้องไปหาหมอ หมอแนะนำให้คุณกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายมากขึ้น และเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตของคุณ พอคุณทำตามแล้วก็เห็นผลดี คุณจะรู้สึกยังไงกับคำแนะนำของหมอ?
6 เหมือนกัน พระเจ้าผู้สร้างให้กฎหมายกับเรา เพื่อป้องกันเราจากผลที่ไม่ดีของการทำบาปและทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น เช่น คัมภีร์ไบเบิลสอนเราว่า เราต้องไม่โกหก ไม่โกง ไม่ขโมย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับพวกไสยศาสตร์ (อ่านสุภาษิต 6:16-19; วิวรณ์ 21:8) ถ้าเราเชื่อฟังกฎหมายของพระยะโฮวาและเห็นผลดีของการเชื่อฟังนั้น เราก็ยิ่งรักพระองค์และกฎหมายของพระองค์มากขึ้น
7. เรื่องราวที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิลช่วยเราอย่างไร?
7 เราไม่จำเป็นต้องเจอกับผลเสียของการฝ่าฝืนกฎหมายของพระเจ้าซะก่อนถึงจะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เราสามารถเรียนได้จากความผิดพลาดของคนในอดีตที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิล สุภาษิต 1:5 บอกว่า “คนฉลาดจะฟังและรับคำสอนมากขึ้น” คำสอนนี้มาจากพระเจ้าและเป็นคำสอนที่ดีที่สุดสำหรับเรา ตัวอย่างเช่น ลองคิดถึงดาวิด เขาต้องเจอปัญหามากขนาดไหนเพราะไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาและไปเล่นชู้กับบัทเชบา (2 ซามูเอล 12:7-14) เมื่อเราอ่านเรื่องนี้ขอให้เราถามตัวเองว่า ‘ดาวิดจะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ยังไง? ถ้าฉันเจอสถานการณ์คล้าย ๆ กันฉันจะทำยังไง? ถ้าฉันถูกล่อใจให้ทำผิดศีลธรรมทางเพศ ฉันจะทำเหมือนดาวิดหรือเหมือนโยเซฟ?’ (ปฐมกาล 39:11-15) ยิ่งเราคิดอย่างจริงจังว่าการทำบาปมีผลเสียหายมากแค่ไหน เราจะยิ่ง “เกลียดความชั่ว” มากขึ้น
8, 9. (ก) ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีช่วยเราให้ทำอะไร? (ข) ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกับหลักการของคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
8 ถ้าเรารู้ว่าพระยะโฮวาเกลียดอะไร เราก็จะไม่ยุ่งกับสิ่งนั้นแน่นอน แต่เราจะทำอย่างไรถ้าบางเรื่องไม่มีบอกอย่างเจาะจงในกฎหมายของพระเจ้า? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้าอยากให้เราทำอะไรจริง ๆ? ถ้าเรายอมให้คัมภีร์ไบเบิลฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา เราจะตัดสินใจอย่างฉลาดได้
9 เนื่องจากพระยะโฮวารักเรา พระองค์จึงให้หลักการที่ช่วยชี้นำความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา พระองค์บอกว่า “เรายะโฮวาเป็นพระเจ้าของเจ้า เราสอนเจ้าก็เพื่อประโยชน์ของตัวเจ้าเอง เรานำทางเจ้าให้เดินในทางที่ถูกต้อง” (อิสยาห์ 48:17, 18) ถ้าเราคิดใคร่ครวญหลักการในคัมภีร์ไบเบิลอย่างลึกซึ้งและให้มันกระตุ้นหัวใจของเรา เราก็จะได้รับการแก้ไขและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ชี้นำเราให้ทำสิ่งที่ถูกต้องได้ ผลก็คือมันจะทำให้เราตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างฉลาด
ให้หลักการของพระเจ้าชี้นำคุณ
10. หลักการคืออะไร? และพระเยซูใช้หลักการในการสอนของท่านอย่างไร?
10 หลักการเป็นความจริงพื้นฐานที่ชี้นำความคิดและช่วยเราให้ตัดสินใจอย่างดีได้ การที่เรารู้หลักการของพระยะโฮวาจะช่วยเราให้เข้าใจความคิดของพระองค์และเหตุผลที่พระองค์ให้กฎหมายกับเรา พระเยซูใช้หลักการต่าง ๆ เพื่อสอนสาวกของท่านว่าสิ่งที่เราคิดและทำจะมีผลตามมาเสมอ ตัวอย่างเช่น ท่านสอนว่าถ้าเราโกรธ มันก็อาจทำให้เราใช้ความรุนแรง หรือถ้าเราคิดเรื่องผิดศีลธรรม มันก็อาจทำให้เราเล่นชู้ได้ (มัทธิว 5:21, 22, 27, 28) ถ้าเรายอมให้หลักการของพระยะโฮวาชี้นำชีวิตเรา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราก็จะถูกฝึกอย่างดีและเราก็จะตัดสินใจในแบบที่ทำให้พระยะโฮวาได้รับคำสรรเสริญ—1 โครินธ์ 10:31
11. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของแต่ละคนอาจแตกต่างกันอย่างไร?
11 แม้คริสเตียนสองคนอาจฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเหมือนกัน แต่ทั้งสองคนก็อาจตัดสินใจบางเรื่องต่างกันได้ เช่น เรื่องการดื่มเหล้า คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องผิด แต่เตือนเราว่าอย่าดื่มมากเกินไปหรือดื่มจนเมา (สุภาษิต 20:1; 1 ทิโมธี 3:8) นี่หมายความว่าถ้าคริสเตียนคนหนึ่งไม่มีปัญหาเรื่องการดื่มมากเกินไป เขาก็สามารถตัดสินใจดื่มได้โดยไม่ต้องคิดอะไรเลยอย่างนั้นไหม? ไม่ใช่ ถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจะยอมให้เขาดื่มได้ แต่เขายังต้องคิดถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนอื่นด้วย
12. โรม 14:21 ช่วยเราให้เคารพความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนอื่นอย่างไร?
12 เปาโลแสดงให้เห็นว่าเราต้องเคารพความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนอื่น เขาเขียนว่า “ดีที่สุดถ้าจะไม่กินเนื้อ หรือดื่มเหล้าองุ่น หรือทำอะไรที่ทำให้ความเชื่อของพี่น้องอ่อนลง” (โรม 14:21) ถึงแม้ว่าเรามีสิทธิ์ดื่มเหล้า แต่เราจะเต็มใจไม่ดื่มถ้าเรารู้ว่ามันทำให้คริสเตียนคนอื่นไม่สบายใจ บางทีพี่น้องที่เคยติดเหล้าอาจตัดสินใจที่จะไม่กลับไปดื่มอีก เราจึงไม่ควรทำอะไรก็ตามที่อาจทำให้เขากลับไปทำนิสัยเก่า ๆ (1 โครินธ์ 6:9, 10) ถ้ามีพี่น้องแบบนี้เป็นแขกในบ้านเรา เราจะคะยั้นคะยอให้เขาดื่มไหมทั้ง ๆ ที่เขาพยายามเลิกดื่ม? เราคงไม่ทำอย่างนั้นแน่ ๆ
13. เพื่อช่วยให้ผู้คนฟังข่าวดี ทิโมธีเคารพความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพวกเขาอย่างไร?
13 ตอนที่ทิโมธีเป็นหนุ่ม เขายอมเข้าสุหนัตถึงแม้ว่ามันจะทำให้เขาเจ็บมากก็ตาม ที่เขาทำอย่างนั้นเพราะกิจการ 16:3; 1 โครินธ์ 9:19-23) แล้วคุณล่ะ? คุณจะเต็มใจเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อช่วยคนอื่นไหม?
เขากำลังจะไปประกาศกับชาวยิว และเขารู้ว่าการเข้าสุหนัตเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชาวยิวมาก ทิโมธีก็เหมือนกับเปาโล เขาไม่อยากทำให้คนอื่นรู้สึกไม่สบายใจ (“พยายามก้าวหน้าไปเพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่”
14, 15. (ก) เราจะเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่ได้อย่างไร? (ข) คริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่จะปฏิบัติกับคนอื่นอย่างไร?
14 เราทุกคนไม่ควรแค่อยากเข้าใจ “หลักคำสอนเบื้องต้นเกี่ยวกับพระคริสต์” แต่ต้อง “พยายามก้าวหน้าไปเพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่” (ฮีบรู 6:1) การเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นพยานฯ มานานแล้ว แต่เราต้องออกความพยายามโดยการมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราต้องอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน (สดุดี 1:1-3) ยิ่งเราอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน เราก็จะยิ่งเข้าใจกฎหมายและหลักการของพระยะโฮวาดีขึ้น
15 กฎหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับคริสเตียนคืออะไร? ก็คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรักนั่นเอง พระเยซูบอกสาวกว่า “ทุกคนจะรู้ว่าพวกคุณเป็นสาวกของผม เมื่อพวกคุณรักกัน” (ยอห์น 13:35) ความรักถูกเรียกว่า “กฎหมายที่สูงส่ง” และถ้าเราแสดงความรัก เราก็กำลัง ‘ทำตามกฎหมายของโมเสส’ (ยากอบ 2:8; โรม 13:10) เราไม่แปลกใจเลยว่าทำไมความรักถึงสำคัญมาก เพราะคัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “พระเจ้าเป็นความรัก” (1 ยอห์น 4:8) สำหรับพระเจ้า ความรักไม่ใช่แค่ความรู้สึกเท่านั้น แต่พระองค์แสดงความรักด้วยการกระทำ ยอห์นเขียนว่า “พระเจ้าแสดงความรักต่อเราอย่างชัดเจนเมื่อพระองค์ให้ลูกคนเดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อท่านจะเปิดโอกาสให้เราได้ชีวิต” (1 ยอห์น 4:9) ดังนั้น ตอนที่เราแสดงความรักต่อพระยะโฮวา พระเยซู พี่น้องคริสเตียน และคนอื่น ๆ เราก็กำลังแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่—มัทธิว 22:37-39
16. ยิ่งเราเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่ ทำไมเราจะยิ่งเห็นค่าหลักการมากขึ้น?
16 ยิ่งเราเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่ เราจะยิ่งเห็นค่าหลักการของพระเจ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ กฎหมายใช้ได้กับ1 โครินธ์ 15:33) แต่ถ้าเด็กโตขึ้นและรู้จักหาเหตุผลจากหลักการในคัมภีร์ไบเบิล หลักการเหล่านั้นก็จะช่วยเขาให้เลือกเพื่อนที่ดีได้ (อ่าน 1 โครินธ์ 13:11; 14:20) ยิ่งเราหาเหตุผลจากหลักการในคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้น เราก็จะยิ่งไว้ใจความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตัวเองได้ เพราะเราจะเข้าใจชัดเจนมากขึ้นว่าพระยะโฮวาอยากให้เราทำอะไรจริง ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ
สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง แต่หลักการใช้ได้กับหลายสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น เด็กไม่เข้าใจว่าการเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่ดีมันเป็นเรื่องอันตราย พ่อแม่เลยต้องตั้งกฎเพื่อปกป้องลูก (17. ทำไมถึงบอกได้ว่าเรามีทุกอย่างที่ช่วยให้ตัดสินใจอย่างฉลาดได้?
17 เรามีทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อจะช่วยเราให้ตัดสินใจในแบบที่ทำให้พระยะโฮวาพอใจ ในคัมภีร์ไบเบิลมีกฎหมายและหลักการต่าง ๆ ที่ช่วยเราให้ “มีความสามารถเพียงพอ และมีความพร้อมสำหรับงานที่ดีทุกอย่าง” (2 ทิโมธี 3:16, 17) ก็จริงที่หลักการในคัมภีร์ไบเบิลช่วยเราเข้าใจความคิดของพระยะโฮวา แต่เราก็ต้องพยายามค้นคว้าและเข้าใจเรื่องนั้นด้วย (เอเฟซัส 5:17) เรามีตัวช่วยหลายอย่าง เช่น เรามีดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ (ภาษาอังกฤษ) คู่มือค้นคว้าสำหรับพยานพระยะโฮวา ห้องสมุดว็อชเทาเวอร์ (ภาษาอังกฤษ) ห้องสมุดออนไลน์ของว็อชเทาเวอร์ และแอปเจดับเบิลยูไลบรารี (JW Library) เมื่อเราใช้เครื่องมือเหล่านี้ เราก็จะได้ประโยชน์จากการศึกษาส่วนตัวและการนมัสการประจำครอบครัว
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ได้รับการฝึกอย่างดีทำให้ได้รับพรจากพระเจ้า
18. ถ้าเราเอากฎหมายและหลักการของพระยะโฮวาไปใช้ ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร?
18 ชีวิตของเราจะดีขึ้นมากถ้าเราใช้กฎหมายและหลักการของพระยะโฮวา สดุดี 119:97-100 บอกว่า “ผมรักกฎหมายของพระองค์จริง ๆ ผมใคร่ครวญกฎหมายนั้นตลอดวัน คำสั่งของพระองค์ทำให้ผมฉลาดกว่าพวกศัตรู เพราะคำสั่งนั้นอยู่กับผมตลอดไป ผมมีความเข้าใจลึกซึ้งกว่าครูทุกคนของผม เพราะผมใคร่ครวญข้อเตือนใจของพระองค์ ผมมีความเข้าใจมากกว่าผู้อาวุโส เพราะผมเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์” เมื่อเราใช้เวลาคิดใคร่ครวญกฎหมายและหลักการของพระยะโฮวาอย่างลึกซึ้ง เราก็ยิ่งจะทำสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่แสดงว่าเราฉลาดและมีความเข้าใจมากขึ้น และเมื่อเราให้กฎหมายและหลักการของพระองค์ฝึกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรา เราก็จะ “เติบโตอย่างเต็มที่จนเป็นผู้ใหญ่เหมือนพระคริสต์”—เอเฟซัส 4:13