บทความศึกษา 26
ช่วยคนอื่นให้รับมือกับความเครียด
“ให้พวกคุณเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน รักกันแบบพี่น้อง เอ็นดูสงสารกัน และรู้จักถ่อมตัว”—1 ปต. 3:8
เพลง 107 พระเจ้าเป็นแบบอย่างของความรัก
ใจความสำคัญ *
1. เราจะเลียนแบบพระยะโฮวาพระเจ้าที่รักเราอย่างไร?
พระยะโฮวารักเรามาก (ยน. 3:16) เราอยากเลียนแบบพระยะโฮวาพ่อที่รักของเรา เราเลยพยายาม “เห็นอกเห็นใจกัน รักกันแบบพี่น้อง [และ] เอ็นดูสงสาร” ทุกคนโดยเฉพาะ “พี่น้องร่วมความเชื่อของเรา” (1 ปต. 3:8; กท. 6:10) เมื่อพี่น้องซึ่งเป็นเหมือนครอบครัวของเราเจอปัญหาที่ทำให้เครียด เราก็อยากช่วยพวกเขา
2. เราจะคุยเรื่องอะไรบ้างในบทความนี้?
2 ทุกคนที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวพระยะโฮวาจะต้องเจอเรื่องที่ทำให้เครียด (มก. 10:29, 30) ยิ่งยุคนี้ใกล้จะจบลงเท่าไร เราก็ยิ่งต้องรับมือกับความยากลำบากมากขึ้น แล้วเราจะช่วยกันได้อย่างไร? ให้เรามาดูตัวอย่างในคัมภีร์ไบเบิลด้วยกันเกี่ยวกับโลท โยบ และนาโอมี เราจะดูว่าเราได้บทเรียนอะไรจากพวกเขา นอกจากนั้น เราจะคุยกันเกี่ยวกับปัญหาบางอย่างที่พี่น้องของเราในทุกวันนี้เจอ และจะดูว่าเราจะช่วยพวกเขารับมือได้อย่างไร
อดทน
3. จากที่อ่านใน 2 เปโตร 2:7, 8 โลทตัดสินใจผิดพลาดอย่างไร? และผลเป็นอย่างไร?
3 โลทตัดสินใจผิดตอนเลือกไปอยู่เมืองโสโดม คนในเมืองนั้นทำผิดศีลธรรมอย่างเลวร้ายมาก (อ่าน 2 เปโตร 2:7, 8) แม้บริเวณนั้นจะอุดมสมบูรณ์และเจริญมาก แต่การที่โลทเลือกไปอยู่ที่นั่นทำให้เขาต้องเจอ ปัญหาหลายอย่าง (ปฐก. 13:8-13; 14:12) ภรรยาของโลทดูเหมือนติดใจเมืองโสโดมหรืออาจชอบคนที่นั่นมากจนทำให้เธอไม่เชื่อฟังพระยะโฮวา เธอตายตอนที่พระองค์ส่งไฟและกำมะถันลงมาเผาเมืองนั้น และขอให้คิดถึงลูกสาว 2 คนของโลท พวกเธอหมั้นกับผู้ชายในเมืองนั้น ซึ่งในที่สุดผู้ชาย 2 คนนั้นก็ตายไปพร้อมกับคนในเมืองโสโดมด้วย โลทสูญเสียบ้าน ทรัพย์สมบัติ และที่เจ็บที่สุดคือสูญเสียภรรยา (ปฐก. 19:12-14, 17, 26) ตลอดช่วงสถานการณ์ที่ตึงเครียดแบบนั้น พระยะโฮวาหมดความอดทนกับโลทไหม? ไม่เลย
4. พระยะโฮวาอดทนกับโลทอย่างไร? (ดูภาพหน้าปก)
4 แม้โลทเป็นคนเลือกเองว่าจะอยู่ที่เมืองโสโดม พระยะโฮวาก็สงสารเขาและส่งทูตสวรรค์ไปช่วยเขากับครอบครัว แต่แทนที่โลทจะรีบทำตามที่ทูตสวรรค์สั่งว่าให้ออกจากเมืองทันที เขากลับ “ยังชักช้าอยู่” ทูตสวรรค์เลยคว้ามือโลทและช่วยเขากับครอบครัวให้รีบหนีออกจากเมือง (ปฐก. 19:15, 16) จากนั้น ทูตสวรรค์บอกให้โลทรีบหนีไปที่เขตเทือกเขา แต่แทนที่จะเชื่อฟัง เขากลับขอหนีไปที่เมืองที่อยู่ใกล้ ๆ แทน (ปฐก. 19:17-20) พระยะโฮวาอดทนฟังโลทและยอมให้เขาไปที่นั่น ต่อมาโลทไม่กล้าอยู่ที่นั่นเลยหนีไปที่เขตเทือกเขาซึ่งเป็นที่ที่พระองค์สั่งให้เขาไปตั้งแต่แรก (ปฐก. 19:30) เราเห็นว่าพระยะโฮวาอดทนมากจริง ๆ เราจะเลียนแบบพระองค์ได้อย่างไร?
5-6. เราจะเลียนแบบพระยะโฮวาโดยทำตามคำแนะนำที่ 1 เธสะโลนิกา 5:14 อย่างไร?
5 พี่น้องบางคนของเราเป็นเหมือนโลท เขาอาจเลือกผิดและทำให้ตัวเองเจอปัญหาหนัก ถ้าเป็นแบบนั้นเราควรทำอย่างไร? เราอาจอยากบอกเขาว่าเลือกเองก็ต้องเก็บเกี่ยวผลเอง ซึ่งก็อาจจะจริง (กท. 6:7) แต่เราทำได้ดีกว่านั้น เราสามารถเลียนแบบวิธีที่พระยะโฮวาช่วยโลท เราควรทำอย่างไร?
6 พระยะโฮวาส่งทูตสวรรค์ไปหาโลทไม่ใช่แค่ไปเตือนเท่านั้น แต่ช่วยเขาหนีจากหายนะที่กำลังจะมาถึงเมืองโสโดมด้วย เหมือนกันเราอาจต้องเตือนพี่น้องถ้าเห็นว่าสิ่งที่เขากำลังทำจะทำให้เขาเจอปัญหา และเราก็อาจช่วยเขาได้ด้วย แม้พี่น้องอาจไม่กระตือรือร้นเอาคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลที่เขาได้รับไปใช้ทันที แต่เราต้องอดทน เราต้องเป็นเหมือนทูตสวรรค์ 2 องค์นั้น แทนที่จะยอมแพ้และเลิกช่วยพี่น้องคนนั้น เราควรลงมือทำอะไรบางอย่างไม่ใช่แค่บอกเขาอย่างเดียว (1 ยน. 3:18) เราควรยื่นมือเข้าช่วยเหมือนที่ทูตสวรรค์คว้ามือโลท เราต้องช่วยเขาให้เอาคำแนะนำที่ได้รับจากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้—อ่าน 1 เธสะโลนิกา 5:14
7. เราจะเลียนแบบวิธีที่พระยะโฮวามองโลทอย่างไร?
7 พระยะโฮวาอาจมองแต่ความผิดพลาดและความไม่สมบูรณ์ของโลทก็ได้ แต่แทนที่จะทำอย่างนั้น พระองค์กลับดลใจให้อัครสาวกเปโตรเรียกโลทว่าผู้ซื่อสัตย์ เราดีใจที่พระยะโฮวามองข้ามความผิดพลาดของเราด้วย (สด. 130:3) เราจะเลียนแบบวิธีที่พระยะโฮวามองโลทได้ไหม? ถ้าเราพยายามมองแต่ส่วนดีของพี่น้อง เราก็จะอดทนกับพวกเขาได้มากขึ้น และพวกเขาจะยอมรับความช่วยเหลือของเราได้ง่ายขึ้นด้วย
เห็นอกเห็นใจ
8. เราต้องทำอะไรเพื่อแสดงว่าเราเห็นอกเห็นใจพี่น้องจากใจจริง?
8 โยบต่างจากโลท โยบไม่ได้เจอเรื่องร้าย ๆ เพราะ
ตัดสินใจผิด แต่เขาก็เจอปัญหาหนัก เจ็บป่วย หมดเนื้อหมดตัว สูญเสียความนับถือจากคนในชุมชน ซ้ำร้ายลูก ๆ ก็ตายหมด แถมเขายังถูกเพื่อนจอมปลอม 3 คนใส่ร้าย ทำไมเพื่อน 3 คนที่ทำทีมาปลอบใจถึงไม่เห็นอกเห็นใจโยบเลย? เพราะพวกเขาไม่ได้พยายามเข้าใจจริง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับโยบ พวกเขาเลยด่วนสรุปและตัดสินโยบอย่างไม่ยุติธรรม เราจะไม่ทำแบบเดียวกันได้อย่างไร? คุณต้องยอมรับว่ามีแต่พระยะโฮวาเท่านั้นที่รู้สถานการณ์ทุกอย่างของคนคนหนึ่ง นอกจากนั้น คุณต้องตั้งใจฟังเมื่อมีคนที่ทุกข์ใจระบายให้คุณฟัง คุณต้องไม่ใช่แค่ฟังเขาพูด แต่ต้องพยายามเข้าใจความเจ็บปวดของเขาด้วย การที่คุณทำแบบนี้แหละถึงจะเรียกว่าการแสดงความเห็นอกเห็นใจพี่น้องจากใจจริง9. (ก) ถ้าเราเป็นคนเห็นอกเห็นใจ เราจะไม่ทำอะไร? (ข) ทำไมการเป็นคนเห็นอกเห็นใจจะช่วยให้เราไม่ทำอย่างนั้น?
9 ความเห็นอกเห็นใจจะทำให้เราไม่ซุบซิบนินทาเกี่ยวกับปัญหาที่พี่น้องกำลังเจอ คนที่ชอบนินทาไม่ได้ส่งเสริมประชาคมให้เข้มแข็ง แต่ทำให้ประชาคมแตกแยก (สภษ. 20:19; รม. 14:19) เขาเป็นคนที่ไม่รักคนอื่นและไม่คิดถึงคนอื่น คำพูดของเขาทำให้คนที่ทุกข์ใจอยู่แล้วยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นอีก (สภษ. 12:18; อฟ. 4:31, 32) คงจะดีกว่ามากถ้าเรามองหาส่วนดีของพี่น้องและคิดว่าเราจะช่วยเขารับมือกับปัญหาได้อย่างไร
10. คำพูดที่โยบ 6:2, 3 ทำให้เราเข้าใจอะไร?
10 อ่านโยบ 6:2, 3 บางครั้งโยบ “พูดไปโดยไม่ยั้งคิด” แต่ต่อมาเขายอมรับว่าสิ่งที่เขาพูดไม่ถูกต้อง (โยบ 42:6) เหมือนกันกับโยบ คนที่เจอปัญหาที่ทำให้ เครียดอาจพูดอะไรโดยไม่คิดและมาเสียใจทีหลัง เราควรทำอย่างไรเมื่อได้ยินพี่น้องพูดแบบไม่คิด? เราควรเห็นอกเห็นใจแทนที่จะว่าเขาหรือมองเขาไม่ดี จำไว้ว่า พระยะโฮวาสร้างอาดัมกับเอวาให้สมบูรณ์แบบและให้พวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยม นี่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ได้ออกแบบให้มนุษย์เราต้องเจอปัญหาหรือเรื่องเครียด ๆ อย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้ เลยไม่แปลกถ้าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์บางคนอาจพูดอะไรโดยไม่คิดเมื่อต้องเจอความเครียดหนัก ๆ ดังนั้น แม้ว่าพี่น้องคนนั้นจะพูดอะไรบางอย่างไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระยะโฮวาหรือเกี่ยวกับตัวเรา เราไม่ควรโกรธง่ายเกินไปและตัดสินคนนั้นจากสิ่งที่เขาพูด—สภษ. 19:11
11. ผู้ดูแลจะเลียนแบบเอลีฮูเมื่อให้คำแนะนำได้อย่างไร?
11 บางครั้ง คนที่กำลังรับมือกับปัญหาที่ทำให้เครียดจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำบางอย่างเพื่อช่วยพวกเขา (กท. 6:1) ผู้ดูแลควรทำอย่างไร? ผู้ดูแลต้องเลียนแบบเอลีฮูซึ่งฟังโยบด้วยความเห็นอกเห็นใจ (โยบ 33:6, 7) เอลีฮูให้คำแนะนำหลังจากที่เขาเข้าใจความคิดของโยบ ผู้ดูแลที่เลียนแบบเอลีฮูก็ต้องตั้งใจฟังและพยายามเข้าใจสถานการณ์ของพี่น้องคนนั้น แล้วหลังจากนั้นเขาถึงค่อยให้คำแนะนำ ถ้าทำแบบนั้นเขาก็จะให้คำแนะนำอย่างที่เข้าถึงหัวใจของผู้ฟัง
พูดปลอบใจ
12. การตายของสามีและลูกชาย 2 คนมีผลอย่างไรกับนาโอมี?
12 นาโอมีเป็นผู้หญิงที่รักและซื่อสัตย์ภักดีต่อพระยะโฮวา หลังจากที่สามีกับลูกชาย 2 คนตาย เธออยากเปลี่ยนชื่อจากนาโอมีไปเป็น “มารา” ซึ่งหมายถึง “ขม” (นรธ. 1:3, 5, 20, เชิงอรรถ, 21) นาโอมีมีลูกสะใภ้คนหนึ่งชื่อรูธ และรูธยังคงอยู่กับนาโอมีตลอดช่วงที่ยากลำบาก รูธไม่เพียงแต่ช่วยหาสิ่งที่นาโอมีจำเป็นต้องมี แต่ยังช่วยพูดปลอบใจนาโอมีด้วย รูธรักและให้กำลังใจนาโอมีด้วยคำพูดง่าย ๆ แต่จริงใจ—นรธ. 1:16, 17
13. ทำไมคนที่คู่ชีวิตตายจากไปถึงต้องการความช่วยเหลือจากเรา?
13 พี่น้องที่คู่ชีวิตตายจากไปจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเรา สามีภรรยาเป็นเหมือนต้นไม้ 2 ต้นที่เติบโตเคียงคู่กัน ตลอดเวลาหลายปีที่มันโตไปด้วยกัน รากของมันจะประสานกัน เมื่อต้นหนึ่งถูกถอนออกและตายไป ต้นไม้อีกต้นจะได้รับผลกระทบมาก คล้ายกันเมื่อสามีหรือภรรยาตายจากไป มันจะส่งผลกระทบต่ออีกฝ่ายไปยาวนาน พอลล่า *ซึ่งสามีตายกะทันหันบอกว่า “ชีวิตฉันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ฉันรู้สึกหมดแรงจะเดินต่อ ฉันเสียเพื่อนที่ดีที่สุดในชีวิตไป ตอนเขายังอยู่ฉันคุยกับเขาได้ทุกเรื่อง เมื่อไหร่ที่ฉันมีความสุขเขาก็มีความสุข เมื่อไหร่ที่ฉันเจอปัญหาเขาก็ช่วยฉัน เขาจะคอยฟังฉันระบายความทุกข์ ตอนนี้ฉันรู้สึกเหมือนครึ่งหนึ่งของชีวิตฉันขาดหายไป”
14-15. เราจะพูดปลอบใจคนที่คู่ชีวิตตายจากไปได้อย่างไร?
14 เราจะปลอบคนที่คู่ของเขาตายจากไปได้อย่างไร? สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามคุยกับเขาแม้คุณอาจรู้สึกทำตัวไม่ถูกและไม่รู้จะพูดอะไร พอลล่าซึ่งพูดถึงก่อนหน้านี้บอกว่า “ฉันเข้าใจว่าเหตุการณ์แบบนี้ทำให้คนอื่นไม่รู้ว่าจะทำตัวยังไง พวกเขากลัวว่าจะพูดอะไรผิด แต่สำหรับฉัน ถึงจะได้ยินคำพูดผิด ๆ ถูก ๆ หรือคำพูดที่ฟังดูแปลก ๆ มันก็ยังดีกว่าไม่ได้ยินอะไร
เลย” คนที่เสียใจอาจไม่ได้คาดหมายให้เราพูดอะไรที่กินใจ พอลล่ายังบอกอีกว่า “ฉันรู้สึกขอบคุณจริง ๆ เมื่อเพื่อนแค่พูดว่า ‘เสียใจด้วยนะ’”15 ภรรยาของวิลเลี่ยมตายไปหลายปีแล้ว วิลเลี่ยมบอกว่า “ผมดีใจที่มีคนพูดถึงภรรยาของผม มันทำให้มั่นใจว่ายังมีคนรักและนับถือภรรยาผมอยู่ มันช่วยผมได้มากจริง ๆ ผมรู้สึกได้กำลังใจมาก ภรรยาผมมีความหมายกับผมเหลือเกิน เธอคือส่วนสำคัญของชีวิตผม” เบียงก้าซึ่งเป็นแม่ม่ายบอกว่า “ฉันรู้สึกได้กำลังใจเมื่อมีคนอธิษฐานกับฉันหรืออ่านข้อคัมภีร์กับฉันสักข้อสองข้อ ฉันรู้สึกดีจริง ๆ ตอนที่พวกเขาพูดถึงสามีของฉันและตอนที่พวกเขาฟังฉันเล่าเรื่องของสามี”
16. (ก) เราจะช่วยคนที่คู่ของเขาตายจากไปได้อย่างไร? (ข) ตามที่บอกในยากอบ 1:27 เรามีหน้าที่อะไร?
16 เหมือนกับรูธที่อยู่กับนาโอมีไม่ยอมไปไหน เราก็ต้องช่วยพี่น้องที่เสียคนรักต่อ ๆ ไป พอลล่าซึ่งพูดถึงก่อนหน้านี้บอกว่า “ตอนที่สามีฉันเพิ่งตาย มีคนมาให้กำลังใจฉันเต็มไปหมด พอเวลาผ่านไป พวกเขาก็กลับไปใช้ชีวิตกันตามปกติ แต่ชีวิตฉันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ฉันคิดว่าสิ่งที่ช่วยได้มากก็คือการที่ทุกคนรู้ว่าคนที่สูญเสียยังคงต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าเรื่องร้าย ๆ จะผ่านไปกี่เดือนกี่ปีแล้ว” แน่นอนว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนดูเหมือนปรับตัวได้เร็ว แต่ยังมีอีกหลายคนที่รู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งตอนทำอะไรบางยากอบ 1:27
อย่างที่เคยทำกับคนที่เขารัก และวิธีแสดงความเศร้าของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ให้เราจำไว้ว่าพระยะโฮวาให้สิทธิพิเศษและหน้าที่รับผิดชอบกับเราที่จะเอาใจใส่คนที่คู่ชีวิตตายจากไป—อ่าน17. ทำไมคนที่ถูกคู่ทิ้งไปถึงต้องการความช่วยเหลือจากเรา?
17 นอกจากนั้น ยังมีบางคนที่ต้องรับมือกับความเจ็บปวดและความเครียดเพราะถูกคู่ของตัวเองทิ้งไป จอยซ์ซึ่งสามีไปมีภรรยาใหม่บอกว่า “ฉันรู้สึกว่าถ้าสามีฉันตาย ฉันยังเจ็บน้อยกว่าที่เขามาหย่ากับฉัน ถ้าเขาตายเพราะอุบัติเหตุหรือป่วยมันก็เป็นสิ่งที่เขาเลือกไม่ได้ แต่ที่ฉันเจ็บก็เพราะเขาเลือกที่จะทิ้งฉัน เขาทำให้ฉันรู้สึกอายและไม่มีค่า”
18. เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยคนที่สูญเสียคู่ชีวิต?
18 เมื่อเราทำสิ่งดี ๆ ให้กับคนที่สูญเสียคู่ชีวิตไม่ว่าคู่ของเขาจะตายหรือทิ้งไป เราทำให้เขามั่นใจว่าเรารักเขามาก เขาต้องการเพื่อนดี ๆ ยิ่งกว่าที่ผ่านมา (สภษ. 17:17) คุณจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณเป็นเพื่อนเขาได้อย่างไร? คุณอาจชวนเขามากินข้าว เลี้ยงอาหารเขา ทำอะไร ๆ ด้วยกัน หรือไปรับใช้ด้วยกัน อีกอย่างหนึ่งที่คุณทำได้ก็คือลองชวนเขามาร่วมการนมัสการประจำครอบครัวกับคุณเป็นครั้งคราว ถ้าคุณทำแบบนั้น คุณจะทำให้พระยะโฮวามีความสุขเพราะพระองค์ “อยู่ใกล้คนที่หัวใจแตกสลาย” และเป็น “ผู้ปกป้องแม่ม่าย”—สด. 34:18; 68:5
19. จาก 1 เปโตร 3:8 คุณตั้งใจจะทำอะไร?
19 อีกไม่นานรัฐบาลของพระเจ้าจะปกครองโลกแล้ว “จะไม่มีใครนึกถึงความทุกข์ยากที่เคยมี” เราตั้งตารอเวลาที่ “จะไม่มีใครจดจำหรือนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาอีกเลย” (อสย. 65:16, 17) จนกว่าจะถึงวันนั้น ขอให้เราช่วยกันต่อ ๆ ไปทั้งคำพูดและการกระทำเพื่อแสดงว่าเรารักพี่น้องทุกคนซึ่งเป็นเหมือนครอบครัวของเรา—อ่าน 1 เปโตร 3:8
เพลง 111 เหตุผลที่เรายินดี
^ วรรค 5 โลท โยบ และนาโอมีรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ แต่พวกเขาก็มีช่วงหนึ่งในชีวิตที่ต้องเจอกับความเครียดด้วย บทความนี้จะดูว่าเราสามารถเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของพวกเขา แล้วจะคุยกันว่าทำไมสำคัญที่เราจะอดทน เห็นอกเห็นใจ และพูดปลอบใจพี่น้องตอนที่พวกเขาเจอปัญหา
^ วรรค 13 ชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ
^ วรรค 57 คำอธิบายภาพ พี่น้องชายคนหนึ่งเครียดมากและ “พูดไปโดยไม่ยั้งคิด” แต่ผู้ดูแลอดทนฟัง ต่อมาหลังจากที่พี่น้องคนนั้นรู้สึกดีขึ้นแล้ว ผู้ดูแลก็ให้คำแนะนำอย่างอบอุ่น
^ วรรค 59 คำอธิบายภาพ สามีภรรยาคู่หนึ่งใช้เวลากับพี่น้องชายที่เพิ่งเสียภรรยาไป พวกเขาพูดถึงความทรงจำดี ๆ เกี่ยวกับเธอ