บทความศึกษา 25
อย่าทำให้ “คนที่ต่ำต้อย” ต้องเจ็บเพราะคุณ
“อย่าดูถูกเหยียดหยามคนที่ต่ำต้อย”—มธ. 18:10
เพลง 113 สันติสุขของเรา
ใจความสำคัญ *
1. ทำไมเราถึงบอกได้ว่าพระยะโฮวาสนใจเราแต่ละคน?
พระยะโฮวาชักนำเราแต่ละคนให้มาหาพระองค์ (ยน. 6:44) ลองคิดดูว่านี่หมายความว่ายังไง? ถึงจะมีคนเป็นล้าน ๆ อยู่บนโลก แต่ตอนที่พระองค์มองลงมาก็เห็นว่าคุณมีอะไรที่พิเศษในตัว และคุณมีหัวใจที่จะรักพระองค์ได้ พระองค์รู้ว่าคุณเป็นคนยังไง พระองค์เข้าใจคุณและรักคุณมาก (1 พศ. 28:9) เรื่องนี้คงทำให้คุณได้กำลังใจมากใช่ไหม?
2. พระเยซูใช้ตัวอย่างอะไรเพื่อทำให้เห็นว่าพระยะโฮวาเป็นห่วงเรามาก?
2 พระยะโฮวาห่วงใยคุณและพระองค์เป็นห่วงพี่น้องของคุณทุกคนมาก เพื่อเราจะเข้าใจเรื่องนี้พระเยซูเปรียบเทียบพระยะโฮวาเหมือนกับคนเลี้ยงแกะ ถ้าเขามีแกะอยู่ 100 ตัวแล้วมีตัวหนึ่งหายไป เขาจะทำยังไง? เขาจะ “ทิ้งแกะ 99 ตัวไว้บนภูเขาก่อน แล้วไปตามหาตัวที่หลงหายไป” แล้วพอเขาเจอแกะตัวนั้น เขาจะไม่โมโหและตะคอกใส่มัน แต่เขาจะดีใจที่ได้มันกลับมา จุดสำคัญคืออะไร? แกะทุกตัวมีค่ามากสำหรับพระยะโฮวา พระเยซูบอกว่า “พ่อของผมในสวรรค์ก็เหมือนกัน พระองค์ไม่อยากให้คนที่ต่ำต้อยสักคนเดียวต้องหายสาบสูญไป”—มธ. 18:12-14
3. เราจะคุยอะไรกันในบทความนี้?
3 แน่นอนว่าเราไม่อยากทำให้พี่น้องคนไหนรู้สึกเจ็บหรือท้อใจ แล้วเราต้องทำอะไรเพื่อจะไม่ทำอย่างนั้น? และถ้ามีคนทำให้เราเจ็บล่ะเราควรทำยังไง? เราจะตอบคำถามเหล่านี้ในบทความนี้ แต่ก่อนอื่นให้เรามาคุยกันเกี่ยวกับ “คนที่ต่ำต้อย” ที่พูดถึงในมัทธิวบท 18
“คนที่ต่ำต้อย” หมายถึงใคร?
4. “คนที่ต่ำต้อย” หมายถึงใคร?
4 “คนที่ต่ำต้อย” หมายถึงสาวกของพระเยซู คำว่า “คนที่ต่ำต้อย” มธ. 18:3) ถึงสาวกของพระเยซูจะมาจากภูมิหลังและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หรือมีวิธีคิดและนิสัยที่ไม่เหมือนกัน แต่พวกเขาทุกคนเชื่อในพระเยซู และพระเยซูรักพวกเขามาก—มธ. 18:6; ยน. 1:12
อาจแปลได้ว่า “เด็ก ๆ” ด้วย ไม่ว่าสาวกของพระเยซูจะอายุเท่าไหร่ พวกเขาก็เป็นเหมือน “เด็กเล็ก ๆ” เพราะพวกเขายอมที่จะฟังพระเยซูสอน (5. พระยะโฮวารู้สึกยังไงเวลามีใครมาทำให้คนของพระองค์เจ็บ?
5 “คนที่ต่ำต้อย” ทุกคนมีค่าสำหรับพระยะโฮวา เพื่อจะเข้าใจว่าพระองค์รู้สึกยังไง ให้เราคิดว่าเรารู้สึกยังไงกับเด็กเล็ก ๆ เรารักพวกเขามากและอยากปกป้องพวกเขาเพราะพวกเขายังไม่มีประสบการณ์และไม่ได้แข็งแรงหรือฉลาดเหมือนผู้ใหญ่ เราไม่ชอบเห็นใครถูกทำร้าย แต่เรายิ่งโกรธและโมโหเวลาที่เห็นคนทำร้ายเด็ก พระยะโฮวาก็เหมือนกัน พระองค์อยากปกป้องเรา พระองค์ไม่ชอบและถึงกับโมโหเวลามีใครมาทำให้คนของพระองค์เจ็บ—อสย. 63:9; มก. 9:42
6. จาก 1 โครินธ์ 1:26-29 คนทั่วไปมองสาวกของพระเยซูยังไง?
6 มีเหตุผลอะไรอีกที่ทำให้สาวกของพระเยซูดูเป็นคนต่ำต้อย? ลองคิดดูสิว่าในมุมมองของคนทั่วไปใครเป็นคนสำคัญ คนทั่วไปมองว่าคนรวย มีชื่อเสียง และมีอำนาจเป็นคนสำคัญ ส่วนสาวกของพระเยซูไม่ได้รวย มีชื่อเสียง หรือมีอำนาจ คนทั่วไปก็เลยมองว่าพวกเขาไม่ใช่คนสำคัญ แต่เป็น “คนที่ต่ำต้อย” (อ่าน 1 โครินธ์ 1:26-29) แต่พระยะโฮวาไม่ได้มองพวกเขาอย่างนั้น
7. พระยะโฮวาอยากให้เรารู้สึกยังไงกับพี่น้องของเรา?
7 พระยะโฮวารักผู้รับใช้ของพระองค์ทุกคนไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในความจริงมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม พระองค์มองว่าทุกคนสำคัญ เราก็ควรมองพี่น้องทุกคนแบบนั้นด้วย เราต้อง “รักพี่น้องคริสเตียนทุกคน” ไม่ใช่แค่บางคน (1 ปต. 2:17) เราควรใส่ใจพวกเขาและระวังที่จะไม่ทำให้ใครเสียใจ ถ้าเรามารู้ว่าเราทำให้ใครสักคนเสียใจหรือเจ็บใจ เราไม่น่าจะปล่อยเรื่องนั้นไว้และคิดว่า ‘เขาคิดมากไปเอง ไม่น่าจะทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่เลย เขาน่าจะมองข้ามเรื่องนี้ไป’ แล้วทำไมบางคนถึงรู้สึกเจ็บและมองข้ามบางเรื่องไม่ได้? อาจเป็นเพราะภูมิหลังของเขาที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นอยู่แล้ว เขาก็เลยมีความรู้สึกไวกว่าคนอื่น ส่วนบางคนเพิ่งเข้ามาในความจริง เขาเลยไม่รู้ว่าต้องทำยังไงตอนที่คนอื่นมาทำให้เขารู้สึกเจ็บ แต่ไม่ว่าจะยังไง เราก็ควรจัดการกับปัญหาเพื่อจะทำให้มีสันติสุขอีกครั้ง นอกจากนั้น คนที่มีความรู้สึกไวเกินไปก็ต้องรู้ว่านี่เป็นนิสัยที่เขาต้องปรับปรุงเพื่อเขาจะมีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น
มองว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง
8. ความคิดแบบไหนที่มีผลกับสาวกของพระเยซู?
8 อะไรทำให้พระเยซูพูดถึง “คนที่ต่ำต้อย”? ก่อนหน้านี้สาวกของท่านมาถามว่า “ใครจะได้เป็นใหญ่ที่สุดในรัฐบาลสวรรค์ครับ?” (มธ. 18:1) คนยิวในสมัยนั้นมองว่าตำแหน่งเป็นเรื่องสำคัญมาก นักวิชาการคนหนึ่งบอกว่า “คนเรายอมทุ่มทั้งชีวิตเพื่อจะได้ความนับถือ ชื่อเสียง เกียรติยศ และให้คนอื่นยอมรับ แม้ว่าเขาจะต้องตายก็ตาม”
9. สาวกของพระเยซูต้องทำอะไร?
9 พระเยซูรู้ว่าชาวยิวในสมัยนั้นอยากเป็นคนสำคัญกว่าคนอื่น และความคิดแบบนี้มีอิทธิพลกับสาวกของลก. 22:26) ถ้าเราอยาก “ทำตัวเหมือนคนที่อายุน้อยที่สุด” เราต้อง “มองว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง” (ฟป. 2:3) ถ้าเราพยายามทำแบบนี้ โอกาสที่เราจะทำให้คนอื่นเจ็บใจก็มีน้อยลง
พระเยซู พวกเขาเลยต้องพยายามมากเพื่อจะไม่คิดแบบนั้น ท่านบอกพวกเขาว่า “ให้คนที่เป็นใหญ่ที่สุดในพวกคุณทำตัวเหมือนคนที่อายุน้อยที่สุด และให้คนที่นำหน้าทำตัวเหมือนคนรับใช้” (10. เราควรทำตามคำแนะนำอะไรของเปาโล?
10 พี่น้องทุกคนต้องมีอะไรสักอย่างที่ดีกว่าเราแน่นอน ถึงจะไม่ง่ายที่เราจะคิดแบบนี้ แต่ถ้าเรามองที่ส่วนดีของพี่น้อง เรื่องนี้ก็ไม่ยากเกินไป เราควรทำตามคำแนะนำของอัครสาวกเปาโลที่ให้กับพี่น้องในเมืองโครินธ์ที่บอกว่า “ใครบอกว่าพวกคุณวิเศษกว่าคนอื่น? จริง ๆ แล้วสิ่งที่พวกคุณมีตอนนี้ มีอะไรสักอย่างไหมที่พวกคุณไม่ได้รับมา? ในเมื่อพวกคุณได้รับมา แล้วทำไมถึงอวดเหมือนกับว่าไม่ได้รับมาล่ะ?” (1 คร. 4:7) เราต้องไม่คิดว่าเราดีกว่าคนอื่น หรือพยายามทำให้คนอื่นคิดว่าเราเป็นคนสำคัญ ถ้าพี่น้องชายคนไหนบรรยายเก่ง หรือพี่น้องหญิงคนไหนมีนักศึกษาหลายคนและมีคนมาชมเขา เขาควรยกย่องให้เกียรติพระยะโฮวาเสมอ
ให้อภัย “จากใจจริง”
11. พระเยซูสอนอะไรเราจากตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องกษัตริย์กับทาสของเขา?
11 หลังจากที่พระเยซูเตือนสาวกของท่านให้ระวังที่จะไม่ทำให้คนอื่นเจ็บและทิ้งความเชื่อไป ท่านก็ยกตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องกษัตริย์กับทาสของเขา ทาสคนนี้เป็นหนี้ก้อนโตที่ไม่มีทางใช้คืนได้เลย แต่กษัตริย์ก็ยกหนี้ให้เขา พอเขาไปหาเพื่อนทาส เขากลับไม่ยอมยกหนี้ให้เพื่อนทาสของเขาที่เป็นหนี้แค่นิดเดียว พอกษัตริย์รู้อย่างนี้ก็สั่งให้เอาทาสที่ไร้ความเมตตาคนนี้ไปขังคุก บทเรียนคืออะไร? พระเยซูบอกว่า “พระเจ้าผู้เป็นพ่อของผมในสวรรค์จะทำอย่างนั้นกับคุณเหมือนกัน ถ้าคุณไม่ยอมให้อภัยคนอื่นจากใจจริง”—มธ. 18:21-35
12. ถ้าเราไม่ให้อภัยจะมีผลกับคนอื่นยังไง?
12 สิ่งที่ทาสคนนี้ทำไม่ได้มีผลแค่กับตัวเขาเองเท่านั้น แต่กับคนอื่นด้วย อย่างแรก เขาไม่เมตตาและ “จับเพื่อนทาสคนนั้นไปขังไว้ในคุกจนกว่าจะใช้หนี้หมด” อย่างที่สอง เขาทำให้เพื่อนทาสคนอื่นรู้สึกไม่ดี เพราะ “เมื่อพวกเพื่อนทาสเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นก็สลดใจมาก” สิ่งที่เราทำก็มีผลกับคนอื่นเหมือนกัน ถ้ามีคนมาทำไม่ดีกับเรา แล้วเราไม่ยอมให้อภัยเขา จะเกิดอะไรขึ้น? อย่างแรก เราทำให้คนนั้นเจ็บ เพราะเราไม่ให้อภัยเขา ไม่สนใจเขาและไม่แสดงความรักกับเขา อย่างที่สอง เราทำให้คนอื่นในประชาคมไม่สบายใจเมื่อเห็นเรากับพี่น้องคนนั้นมีปัญหากัน
13. คุณได้เรียนอะไรจากประสบการณ์ของไพโอเนียร์คนหนึ่ง?
13 พอเราให้อภัยพี่น้อง เรารู้สึกดีและคนอื่นก็รู้สึกดีด้วย นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับไพโอเนียร์คนหนึ่ง เราจะเรียกเธอว่าคริสตัล เคยมีพี่น้องหญิงในประชาคมทำให้เธอเจ็บ คริสตัลเล่าว่า “คำพูดของเธอเป็นเหมือนมีดที่ทิ่มแทงใจฉัน เวลาไปประกาศฉันถึงกับไม่อยากจะนั่งรถคันเดียวกับเธอด้วยซ้ำ ฉันเริ่มไม่อยากไปประกาศและไม่มีความสุขในงานรับใช้” ถึงคริสตัลจะรู้สึกว่าเธอมีเหตุผลที่จะโกรธ แต่เธอก็ไม่ได้เก็บความโกรธไว้ในใจและไม่ได้เอาแต่คิดถึงความรู้สึกของตัวเอง เธอถ่อมตัวและทำตามคำแนะนำในบทความ “จงให้อภัยจากหัวใจของคุณ” ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 ตุลาคม 1999 เธอให้อภัยพี่น้องหญิงคนนั้น คริสตัลบอกว่า “ฉันรู้แล้วว่าเราทุกคนกำลังพยายามปลูกฝังลักษณะนิสัยใหม่ และรู้ว่าพระยะโฮวาเต็มใจให้อภัยเราทุกวัน ฉันรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอก แล้วฉันก็กลับมามีความสุขอีกครั้ง”
14. (ก) จากมัทธิว 18:21, 22 เปโตรอาจรู้สึกยังไง? และเราได้เรียนอะไรจากคำตอบของพระเยซู? (ข) อะไรจะช่วยเราให้อภัยคนอื่น?
14 เรารู้ว่าเราต้องให้อภัยและรู้ว่านี่เป็นสิ่งที่เราต้องทำ แต่บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เปโตรก็อาจรู้สึกอย่างนั้นด้วย (อ่านมัทธิว 18:21, 22) อะไรจะช่วยเราให้อภัยคนอื่นได้? อย่างแรก คิดดูว่าพระยะโฮวาให้อภัยเรามากขนาดไหน (มธ. 18:32, 33) เราไม่สมควรได้รับการอภัยจากพระองค์ แต่พระองค์ก็ให้อภัยเราอย่างใจกว้าง (สด. 103:8-10) “ถ้าพระเจ้ารักเราขนาดนี้ เราก็ควรจะรักกันด้วย” ดังนั้น การให้อภัยไม่ใช่สิ่งที่เราจะเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เราต้องให้อภัยพี่น้องของเรา (1 ยน. 4:11) อย่างที่สอง ลองคิดดูว่าจะเป็นยังไงถ้าเราให้อภัย เราอาจช่วยคนที่ทำไม่ดีกับเราได้ ช่วยให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกัน ช่วยให้เรายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา และตัวเราเองก็รู้สึกสบายใจด้วย (2 คร. 2:7; คส. 3:14) อย่างที่สาม อธิษฐานถึงพระยะโฮวาผู้ที่บอกให้เราให้อภัย ซาตานอยากให้เราแตกแยกกัน ดังนั้น เราต้องขอให้พระยะโฮวาช่วยเราให้มีสันติสุขกับพี่น้อง—อฟ. 4:26, 27
อย่ายอมให้อะไรมาทำให้คุณล้มพลาด
15. จากโคโลสี 3:13 เราควรทำอะไรถ้าพี่น้องมาทำให้เราไม่พอใจมาก ๆ?
15 ถ้าพี่น้องทำอะไรบางอย่างที่ทำให้คุณรู้สึกแย่มาก ๆ ล่ะ คุณควรทำยังไง? คุณควรพยายามทำทุกอย่างเพื่อจะรักษาสันติสุขกับพี่น้องคนนั้น ให้คุณลก. 6:28) ถ้าคุณมองข้ามสิ่งที่พี่น้องคนนั้นทำไม่ได้ ก็ให้คิดก่อนว่าคุณจะคุยกับเขายังไง ดีที่สุดที่จะคิดว่าพี่น้องคนนั้นไม่ได้ตั้งใจทำให้คุณเจ็บ (มธ. 5:23, 24; 1 คร. 13:7) ตอนที่คุณคุยกับเขา คุณก็อาจบอกเขาได้ว่าคุณรู้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ แต่ถ้าคุณพยายามแล้วและไม่ได้ผลล่ะ? “ก็ขอให้ทนกันและกัน . . . ต่อไป” อย่าเพิ่งหมดหวังในตัวพี่น้องคนนั้น (อ่านโคโลสี 3:13) ที่สำคัญที่สุด อย่าเก็บความโกรธไว้ในใจเพราะนั่นจะมีผลต่อสายสัมพันธ์ของคุณกับพระยะโฮวา อย่ายอมให้อะไรมาทำให้คุณล้มพลาด ถ้าคุณทำอย่างนั้น ก็แสดงว่าคุณรักพระยะโฮวามากกว่าอะไรทั้งหมด—สด. 119:165
อธิษฐานถึงพระยะโฮวา บอกพระองค์ว่าคุณรู้สึกยังไง ขอพระองค์ให้ช่วยพี่น้องคนนั้น และขอพระองค์ช่วยคุณให้เห็นส่วนดีของเขาที่ทำให้พระยะโฮวารักเขา (16. เราแต่ละคนมีหน้าที่อะไร?
16 เราเห็นค่าสิทธิพิเศษที่ได้รับใช้พระยะโฮวาเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนแกะ “ฝูงเดียว” ที่ “มีคนเลี้ยงคนเดียว” (ยน. 10:16) หนังสือรวบรวมเป็นองค์การเพื่อทำตามความประสงค์ของพระยะโฮวา หน้า 165 บอกว่า “เมื่อคุณได้รับประโยชน์จากความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คุณก็มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาไว้” เพื่อจะทำอย่างนั้น เราต้อง “ฝึกตัวเองให้มองดูพี่น้องชายหญิงคริสเตียนแบบเดียวกับที่พระยะโฮวามอง” สำหรับพระยะโฮวาแล้ว เราทุกคนเป็น “คนธรรมดา ๆ” หรือ “คนที่ต่ำต้อย” ที่มีค่ามาก คุณมองพี่น้องของคุณอย่างนั้นด้วยไหม? พระยะโฮวาสังเกตและเห็นค่าทุกสิ่งที่คุณทำเพื่อช่วยเหลือและดูแลพวกเขา—มธ. 10:42
17. เราตั้งใจจะทำอะไร?
17 เรารักพี่น้องของเรา เราเลยตั้งใจที่จะไม่ทำให้ใครต้องเจ็บ และ “ตั้งใจว่าจะไม่ทำอะไรที่เป็นต้นเหตุให้พี่น้องหลงทำผิดหรือทิ้งความเชื่อไป” (รม. 14:13) เรามองว่าพี่น้องดีกว่าเรา และเราอยากให้อภัยพวกเขาจากใจ อย่ายอมให้ใครมาทำให้เราล้มพลาด แต่ “ให้เราตั้งใจทำสิ่งที่สร้างสันติสุขและสิ่งที่ส่งเสริมกันให้เข้มแข็งขึ้น”—รม. 14:19
เพลง 130 ให้อภัย
^ วรรค 5 เราเป็นคนไม่สมบูรณ์แบบบางครั้งเราก็เลยพูดหรือทำให้คนอื่นเจ็บ แล้วเราทำยังไง? เรารีบไปขอโทษคืนดีกับพี่น้องไหม หรือเราคิดว่าถ้าเขาเจ็บมันก็เรื่องของเขาไม่เกี่ยวกับฉัน? แล้วถ้ามีคนมาพูดหรือทำไม่ดีกับเราล่ะเราทำยังไง? เราโกรธง่ายแล้วบอกไหมว่า ‘ฉันก็เป็นของฉันอย่างนี้’ หรือเราคิดว่านี่เป็นนิสัยที่ไม่ดีที่เราต้องเปลี่ยน?
^ วรรค 53 คำอธิบายภาพ หน้า 23 พี่น้องหญิงคนหนึ่งรู้สึกไม่พอใจพี่น้องอีกคนในประชาคม หลังจากที่สองคนปรับความเข้าใจกันเป็นส่วนตัว พวกเขาก็ลืมเรื่องนั้น และรับใช้ด้วยกันอย่างมีความสุข