คุณจะร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้นได้อย่างไร?
“ท่านเป็นเหมือนหัวที่ทำให้ทุกส่วนของร่างกายเชื่อมต่อกันและประสานงานกันอย่างดี”—อฟ. 4:16
1. ตั้งแต่ตอนแรก ๆ อะไรเป็นลักษณะเด่นของการทำงานของพระเจ้า?
พระยะโฮวาและพระเยซูร่วมมือร่วมใจกันเสมอตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการสร้าง พระยะโฮวาสร้างพระเยซูก่อนทุกสิ่ง จากนั้น พระเยซูก็ทำงานร่วมกับพระเจ้าและเป็น “นายช่างอยู่ข้างพระองค์” (สภษ. 8:30) ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาก็ร่วมมือร่วมใจกันทำงานของพระเจ้า ตัวอย่างเช่น โนอาห์และครอบครัวช่วยกันสร้างเรือ หลังจากนั้น ชาวอิสราเอลก็ร่วมกันสร้าง รื้อถอน และขนย้ายเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาที่วิหารของพระเจ้า พวกเขาร้องเพลงและเล่นดนตรีด้วยกันเพื่อสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยเพลงเพราะ ๆ ของพวกเขา ที่จริง ประชาชนของพระยะโฮวาสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ก็เพราะพวกเขาร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเป็นหนึ่งเดียว—ปฐก. 6:14-16, 22; กดว. 4:4-32; 1 พศ. 25:1-8
2. (ก) คริสเตียนในสมัยแรก ๆ มีลักษณะเด่นอะไร? (ข) เราจะได้คำตอบของคำถามอะไร?
2 คริสเตียนในศตวรรษแรกก็ร่วมมือร่วมใจกันทำงานด้วย อัครสาวกเปาโลบอกว่าถึงแม้พวกเขามีความสามารถและงานมอบหมายที่แตกต่างกัน แต่พวก1 โครินธ์ 12:4-6, 12) แล้วพวกเราล่ะ? เราจะร่วมมือร่วมใจกันอย่างไรในการประกาศ ในประชาคม และในครอบครัว?
เขาเป็นหนึ่งเดียวกัน พวกเขาทุกคนติดตามผู้นำซึ่งก็คือพระเยซูคริสต์ เปาโลเปรียบเทียบว่าพวกเขาเป็นเหมือนร่างกายเดียวกันที่มีหลายอวัยวะ แต่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี (อ่านร่วมมือกันในงานประกาศ
3. ยอห์นเห็นนิมิตอะไร?
3 ในศตวรรษแรก อัครสาวกยอห์นได้เห็นนิมิตที่มีทูตสวรรค์ 7 องค์เป่าแตร ตอนที่ทูตสวรรค์องค์ที่ห้ากำลังเป่าแตร ยอห์นเห็น “ดาวดวงหนึ่งที่เคยตกจากฟ้าลงมาบนโลก” “ดาว” ดวงนั้นใช้กุญแจเปิดขุมลึก เมื่อเปิดแล้ว ก็มีควันลอยขึ้นมาจากขุมลึกนั้น และมีฝูงตั๊กแตนบินออกมาจากควันนั้น แต่แทนที่ฝูงตั๊กแตนจะทำลายต้นไม้ใบหญ้า พวกมันกลับหันไปทำลาย “คนที่ไม่มีดวงตราของพระเจ้าบนหน้าผาก” (วว. 9:1-4) ยอห์นรู้ว่าฝูงตั๊กแตนสามารถทำให้เกิดความเสียหายได้ ในสมัยของโมเสสฝูงตั๊กแตนแบบนั้นเคยทำลายประเทศอียิปต์มาแล้ว (อพย. 10:12-15) ฝูงตั๊กแตนที่ยอห์นเห็นหมายถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมที่กำลังประกาศข่าวสารที่มีพลังซึ่งโจมตีศาสนาเท็จ และยังมีอีกหลายล้านคนที่มีความหวังจะมีชีวิตบนโลกร่วมงานกับพวกเขาด้วย คนสองกลุ่มนี้ร่วมมือร่วมใจกันประกาศข่าวสารที่ช่วยให้หลายคนออกจากศาสนาเท็จ และเป็นอิสระจากการควบคุมของซาตาน
4. ประชาชนของพระยะโฮวาต้องทำงานอะไร? และพวกเขาจะทำงานนั้นให้สำเร็จได้อย่างไร?
4 เราได้รับมอบหมายให้ประกาศ “ข่าวดี” ไปถึงผู้คนทั่วโลกก่อนที่อวสานจะมาถึง เรามีงานมากจริง ๆ (มธ. 24:14; 28:19, 20) เราต้องเชิญพวกคนที่ “กระหาย” มาดื่ม “น้ำที่ให้ชีวิต” คือ เราต้องสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลกับทุกคนที่อยากรู้ (วว. 22:17) แต่เราจะทำอย่างนั้นได้ก็ต่อเมื่อเรา “ประสานงานกันอย่างดี” และร่วมมือร่วมใจกันในประชาคม—อฟ. 4:16
5, 6. เราร่วมมือร่วมใจกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวในงานประกาศข่าวดีอย่างไร?
5 เพื่อจะเข้าถึงผู้คนมากเท่าที่ทำได้ พวกเราต้องประกาศอย่างเป็นระเบียบ เราจะทำอย่างนั้นได้โดยการฟังคำชี้นำจากประชาคม เช่น หลังจากประชุมเพื่อการประกาศ เราเอาคำแนะนำจากการประชุมนั้นไปใช้เมื่อเราออกไปบอกผู้คนเกี่ยวกับข่าวดีเรื่องรัฐบาลของพระเจ้า เราให้สิ่งพิมพ์ที่มาจากคัมภีร์ไบเบิล ที่จริง เราได้แจกจ่ายสิ่งพิมพ์เป็นล้าน ๆ ออกไปทั่วโลก บางครั้ง มีการรณรงค์พิเศษด้วย ถ้าคุณฟังการชี้นำและออกไปรณรงค์ คุณก็กำลังร่วมมือร่วมใจกันกับพี่น้องหลายล้านคนทั่วโลกในการประกาศข่าวสารเดียวกัน นอกจากนั้น คุณยังได้ร่วมงานกับทูตสวรรค์ที่กำลังช่วยเหลือประชาชนของพระเจ้าเพื่อประกาศข่าวดี—วว. 14:6
6 เราตื่นเต้นจริง ๆ ที่ได้อ่านเกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานประกาศทั่วโลกจากหนังสือประจำปี ลองคิดดูถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกตอนที่เราเชิญผู้คนมาประชุมภูมิภาคกับเรา ที่นั่น เราได้ฟังข้อมูลเดียวกัน คำบรรยาย ละคร และการสาธิตต่าง ๆ กระตุ้นเราให้ถวายสิ่งที่ดีที่สุดให้พระยะโฮวา นอกจากนั้น เรายังเป็นหนึ่งเดียวกันกับพี่น้องชายหญิงทั่วโลกตอนที่เราประชุมอนุสรณ์ทุกปี (1 คร. 11:23-26) โดยเชื่อฟังคำสั่งของพระ เยซู พวกเราทุกคนทั่วโลกมาประชุมในวันเดียวกัน คือวันที่ 14 เดือนนิสานหลังดวงอาทิตย์ตกเพื่อแสดงว่าเราขอบคุณในสิ่งที่พระยะโฮวาทำเพื่อเรา และในไม่กี่อาทิตย์ก่อนการประชุมอนุสรณ์ พวกเรายังร่วมกันเชิญผู้คนมากเท่าที่จะทำได้ให้มาประชุมกับเราในโอกาสสำคัญนี้
7. การที่เราร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทำให้เกิดผลดีอะไร?
7 ตั๊กแตนตัวเดียวไม่สามารถทำอะไรได้มาก เราแค่คนเดียวก็ไม่สามารถประกาศกับทุกคน แต่เพราะเราทำงานด้วยกัน เราสามารถบอกผู้คนหลายล้านคนให้รู้จักพระยะโฮวา และช่วยพวกเขาให้มาสรรเสริญพระองค์
ร่วมมือกันในประชาคม
8, 9. (ก) เปาโลใช้ตัวอย่างอะไรเพื่อสอนคริสเตียนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน? (ข) เราจะร่วมมือกันในประชาคมได้อย่างไร?
8 เปาโลอธิบายกับพี่น้องในเมืองเอเฟซัสเกี่ยวกับการจัดระเบียบในประชาคม เขาบอกว่าทุกคนในประชาคมต้อง “เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในทุกด้าน” (อ่านเอเฟซัส 4:15, 16) เปาโลใช้ตัวอย่างของร่างกายเพื่ออธิบายว่าพี่น้องแต่ละคนสามารถช่วยประชาคมให้เป็นหนึ่งเดียวกันและติดตามพระเยซูผู้นำของประชาคมได้ เขายังบอกอีกว่าทุกส่วนของร่างกายจะประสานงานกันอย่างดีโดยที่ “แต่ละข้อต่อทำหน้าที่ของตัวเอง” ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไร มีสุขภาพดีหรือไม่ เราแต่ละคนควรทำอะไร?
9 พระเยซูแต่งตั้งผู้ดูแลให้นำหน้าในประชาคม และท่านอยากให้เรานับถือพวกเขาและทำตามคำแนะนำที่พวกเขาให้เรา (ฮบ. 13:7, 17) การทำอย่างนี้ไม่ง่ายเสมอไป แต่เราสามารถขอให้พระยะโฮวาช่วยเราได้ พระองค์จะให้พลังบริสุทธิ์เพื่อช่วยเราเชื่อฟังคำแนะนำต่าง ๆ คิดดูสิว่าเราจะช่วยประชาคมได้มากขนาดไหนถ้าเราถ่อมตัวและร่วมมือกับผู้ดูแลในประชาคม ประชาคมของเราจะเป็นหนึ่งเดียวกันและจะรักกันมากขึ้น
10. ผู้ช่วยงานรับใช้ช่วยทำให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างไร? (ดูภาพแรก)
10 ผู้ช่วยงานรับใช้ก็สามารถช่วยให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ผู้ช่วยงานรับใช้ทำงานหนักเพื่อสนับสนุนงานของผู้ดูแล เราจึงขอบคุณพวกเขาด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยงานรับใช้พยายามเตรียมหนังสือให้พี่น้องทุกคนมีพอใช้ตอนไปประกาศ พวกเขาคอยต้อนรับผู้สนใจที่มาประชุม ช่วยซ่อมแซมและทำความสะอาดหอประชุม ถ้าเราร่วมมือกับพี่น้องเหล่านี้ เราก็จะเป็นหนึ่งเดียวกันในการรับใช้พระยะโฮวาอย่างเป็นระเบียบ—เทียบกับกิจการ 6:3-6
11. พี่น้องที่อายุยังไม่มากสามารถทำให้ประชาคมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างไร?
11 ผู้ดูแลบางคนทำงานหนักในประชาคมมาเป็นเวลานาน แต่ตอนนี้เขาอาจทำไม่ได้เหมือนก่อนเพราะอายุที่มากขึ้น พี่น้องชายที่อายุน้อยกว่าสามารถช่วยได้ ถ้าพวกเขาถูกฝึก พวกเขาก็สามารถดูแลรับผิดชอบประชาคมมากขึ้นได้ และถ้าผู้ช่วยงานรับใช้ทำงานหนักเพื่อคนอื่น เขาก็จะสามารถเป็นผู้ดูแลได้ในอนาคต (1 ทธ. 3:1, 10) ผู้ดูแลที่อายุไม่มากบางคนก้าวหน้ามาก พวกเขารับใช้เป็นผู้ดูแลหมวดและมีโอกาสได้ช่วยพี่น้องหลายประชาคม พวกเรารู้สึกขอบคุณเมื่อได้เห็นพี่น้องเหล่านี้เต็มใจรับใช้พี่น้องคนอื่น ๆ—อ่านสดุดี 110:3; ปัญญาจารย์ 12:1
ร่วมมือกันในครอบครัว
12, 13. อะไรจะช่วยให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกัน?
12 เราจะช่วยสมาชิกครอบครัวให้ร่วมมือร่วมใจกันได้อย่างไร? การนมัสการประจำครอบครัวในแต่ละอาทิตย์ช่วยเราได้ เมื่อพ่อแม่ลูกใช้เวลาด้วยกันเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวา พวกเขาก็จะใกล้ชิดกันมากขึ้น ทุกคนสามารถฝึกซ้อมว่าจะพูดอย่างไรตอนไปประกาศ การทำอย่างนี้ช่วยเตรียมทุกคนในครอบครัวให้พร้อม นอกจากนั้น เมื่อได้ยินสมาชิกครอบครัวพูดคุยกันเกี่ยวกับความจริง ได้เห็นว่าพวกเขารักและอยากทำให้พระยะโฮวาพอใจ ครอบครัวก็จะใกล้ชิดกันมากขึ้น
13 สามีกับภรรยาจะร่วมมือร่วมใจกันได้อย่างไร? (มธ. 19:6) ถ้าพวกเขาทั้งสองรักพระยะโฮวาและรับใช้พระองค์ด้วยกัน พวกเขาก็จะมีความสุขและมีชีวิตคู่ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนั้น พวกเขายังต้องแสดงความรักกับคู่ของเขาเหมือนกับที่อับราฮัมกับซาราห์ อิสอัคกับเรเบคาห์ และเอลคานาห์กับฮันนาห์ทำ (ปฐก. 26:8; 1 ซม. 1:5, 8; 1 ปต. 3:5, 6) ถ้าสามีและภรรยาทำแบบนี้ พวกเขาก็จะเป็นหนึ่งเดียวกัน และจะใกล้ชิดกับพระยะโฮวา—อ่านปัญญาจารย์ 4:12
14. เมื่อคู่ของเราไม่ได้รับใช้พระยะโฮวาเหมือนกับเรา เราจะทำอะไรได้เพื่อช่วยให้ชีวิตคู่ยังเข้มแข็งอยู่?
14 คัมภีร์ไบเบิลบอกชัดเจนว่าเราไม่ควรแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รับใช้พระยะโฮวา (2 คร. 6:14) แต่ก็มีพี่น้องหลายคนที่มีคู่สมรสที่ไม่ได้เป็นพยานพระยะโฮวา บางคนอาจเรียนความจริงหลังจากที่เขาแต่งงานแล้ว และคู่ของเขาไม่ได้เข้ามาเป็นพยานฯส่วนคนอื่น ๆ อาจแต่งงานกับคนที่รับใช้พระยะโฮวา แต่หลังจากนั้นคู่ของเขาก็ทิ้งความจริงไป ในสถานการณ์แบบนี้ คริสเตียนต้องพยายามทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อทำให้ชีวิตคู่ของเขาเข้มแข็ง แต่ก็ยังต้องเชื่อฟังคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล การทำอย่างนี้ไม่ง่ายเสมอไป ตัวอย่างเช่น แมรี่กับเดวิดสามีของเธอรับใช้พระยะโฮวาด้วยกันในตอนแรก หลังจากนั้น เดวิดเลิกไปประชุม แต่แมรี่ก็พยายามเป็นภรรยาที่ดีและแสดงลักษณะนิสัยที่ดีของคริสเตียนกับเขา แมรี่สอนเรื่องพระยะโฮวาให้กับลูกทั้ง 6 คนของเธอ เธอพยายามไปประชุมทั้งประชุมประชาคมและประชุมใหญ่ หลายปีหลังจากนั้น หลังจากที่ลูก ๆ โตกันหมดและย้ายไปอยู่ที่อื่น แมรี่ก็ยังรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปทั้ง ๆ ที่สภาพการณ์ยากขึ้น ส่วนเดวิดก็เริ่มอ่านวารสารที่แมรี่วางไว้ให้เขา ไม่นาน เดวิดก็เริ่มไปประชุมบ้าง หลานชายของเขาอายุ 6 ขวบชอบจองที่ให้เขา และถ้าวันไหนเดวิดไม่ได้ไป หลานก็จะบอกว่า “วันนี้ผมไม่ได้เจอคุณปู่ที่หอประชุม ผมคิดถึงปู่จังเลยครับ” ในที่สุด เดวิดกลับมารับใช้พระยะโฮวาอีกครั้งหลังจากเลิกไป 25 ปี เขากับภรรยามีความสุขที่ได้รับใช้พระยะโฮวาด้วยกันอีก
15. คู่สมรสที่อายุมากจะช่วยคู่ที่อายุน้อยกว่าได้อย่างไร?
15 ซาตานพยายามโจมตีทุกครอบครัวในตอนนี้ นี่เป็นเหตุผลที่สามีและภรรยาที่รับใช้พระยะโฮวาต้องร่วมมือร่วมใจกัน และไม่ว่าจะแต่งงานกันมากี่ปีแล้ว ขอให้คิดดูว่าคุณจะพูดหรือทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ชีวิตคู่ของคุณมั่นคงขึ้น ถ้าคุณเป็นคู่สมรสที่อายุมากแล้ว ขอเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคู่สมรสที่อายุน้อย บางครั้ง คุณอาจเชิญคู่สมรสที่อายุน้อยมานมัสการประจำครอบครัวกับคุณ ทต. 2:3-7
พวกเขาจะเห็นว่าไม่ว่าจะแต่งงานกันมานานแค่ไหนแล้ว คู่สมรสก็ต้องแสดงความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกัน—“ขึ้นไปบนภูเขาของพระยะโฮวากันเถอะ”
16, 17. คนที่รับใช้พระยะโฮวาอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันกำลังรอคอยอะไร?
16 ลองนึกภาพตอนที่ชาวอิสราเอลเดินทางไปฉลองเทศกาลในกรุงเยรูซาเล็ม พวกเขาร่วมมือร่วมใจกัน พวกเขาช่วยกันเตรียมทุกอย่างที่ต้องใช้ในการเดินทาง พวกเขาเดินทางไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน และที่วิหาร พวกเขาทั้งหมดนมัสการและสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกัน (ลก. 2:41-44) ในทุกวันนี้ ตอนที่เรากำลังเดินทางเข้าไปในโลกใหม่ด้วยกัน เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน และต้องทำทุกสิ่งที่เราทำได้เพื่อจะร่วมมือร่วมใจกัน คุณคิดออกไหมว่าจะทำอะไรได้อีกเพื่อจะร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น?
17 ผู้คนในโลกนี้มักขัดแย้งและแตกแยกกัน แต่เรารู้สึกขอบคุณที่พระยะโฮวาได้ช่วยเราให้มีสันติสุขและเข้าใจความจริง ประชาชนของพระเจ้าทั่วโลกนมัสการพระองค์ในแบบที่พระองค์พอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสุดท้ายนี้ ประชาชนของพระยะโฮวาเป็นหนึ่งเดียวกันมากกว่าในสมัยก่อน เหมือนที่อิสยาห์และมีคาห์ได้พยากรณ์ไว้ พวกเรากำลังขึ้นไปบน “ภูเขาของพระยะโฮวา” (อสย. 2:2-4; อ่านมีคาห์ 4:2-4) เราจะมีความสุขมากขนาดไหนในอนาคตตอนที่ทุกคนบนโลกนี้เป็นเหมือนทุกส่วนของร่างกายที่ “เชื่อมต่อกันและประสานงานกันอย่างดี” และนมัสการพระยะโฮวาอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน!