วัยรุ่น คุณพร้อมจะรับบัพติศมาแล้วไหม?
“สมมุติว่า คุณอยากจะสร้างหอคอย คุณจะไม่นั่งลงคำนวณค่าใช้จ่ายก่อนหรือ จะได้รู้ว่ามีเงินพอสร้างให้เสร็จได้หรือเปล่า?”—ลก. 14:28
บทความนี้และบทความถัดไปจะเน้นเกี่ยวกับวัยรุ่นที่โตมาในครอบครัวพยานฯและวัยรุ่นที่อยากจะรับบัพติศมา
1, 2. (ก) เราดีใจเมื่อได้เห็นอะไร? (ข) พ่อแม่และผู้ดูแลจะช่วยวัยรุ่นอย่างไรก่อนที่เขาจะรับบัพติศมา?
ผู้ดูแลคนหนึ่งพูดกับคริสโตเฟอร์เด็กวัยรุ่นอายุ 12 ปีว่า “ผมเห็นคุณมาตั้งแต่เกิด ผมดีใจมากที่คุณอยากจะรับบัพติศมา แต่ผมขอถามอะไรสักอย่าง ‘ทำไมคุณถึงอยากรับบัพติศมา?’” ผู้ดูแลคนนั้นมีเหตุผลที่ดีที่ถามอย่างนั้น แน่นอน เราดีใจมากที่ได้เห็นพี่น้องวัยรุ่นหลายพันคนรับบัพติศมาในแต่ละปี (ปญจ. 12:1) แต่พ่อแม่และผู้ดูแลในประชาคมก็อยากจะแน่ใจว่าวัยรุ่นเหล่านี้ตัดสินใจด้วยตัวเอง และเข้าใจจริง ๆ ว่าการรับบัพติศมาหมายความว่าอย่างไร
สภษ. 10:22; 1 ปต. 5:8) นี่เป็นเหตุผลที่พ่อแม่คริสเตียนต้องใช้เวลาสอนลูก ๆ ว่าการเป็นสาวกของพระเยซูนั้นหมายความว่าอย่างไรจริง ๆ ถ้าวัยรุ่นคนไหนไม่มีพ่อแม่เป็นคริสเตียน ผู้ดูแลในประชาคมจะเป็นคนช่วยเขาด้วยความรักเพื่อให้เขาเข้าใจว่าการอุทิศตัวและรับบัพติศมามีความหมายอย่างไร (อ่านลูกา 14:27-30) เหมือนกับที่เราต้องคิดให้ดีก่อนจะสร้างตึก วัยรุ่นแต่ละคนก็ต้องคิดให้ดีก่อนที่เขาจะรับบัพติศมาเพื่อพวกเขาจะสามารถรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ได้ “จนถึงที่สุด” (มธ. 24:13) อะไรจะช่วยวัยรุ่นให้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะรับใช้พระยะโฮวาตลอดไป? ขอเราดูเรื่องนี้ด้วยกัน
2 คัมภีร์ไบเบิลช่วยเราให้รู้ว่าการอุทิศตัวและรับบัพติศมาเป็นเหมือนการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของคริสเตียน ชีวิตใหม่นี้จะทำให้เรามีโอกาสได้รับพรมากมายจากพระยะโฮวา แต่ก็มีโอกาสที่จะเจอกับการต่อต้านของซาตานด้วย (3. (ก) คำพูดของพระเยซู และเปโตรช่วยเราอย่างไรให้รู้ว่าการรับบัพติศมาเป็นเรื่องสำคัญมาก? (มธ. 28:19, 20; 1 ปต. 3:21) (ข) เราจะดูคำตอบของคำถามอะไร? และทำไมถึงสำคัญที่จะถาม?
3 คุณเป็นวัยรุ่นที่อยากรับบัพติศมาไหม? ถ้าใช่ นั่นก็เป็นเป้าหมายที่ดีมาก! การบัพติศมาเป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่งเป็นเกียรติมากจริง ๆ นอกจากนั้น การรับบัพติศมาเป็นข้อเรียกร้องอย่างหนึ่งที่คริสเตียนทุกคนต้องทำ และเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อจะรอดในช่วงความทุกข์ยากลำบากครั้งใหญ่ (มธ. 28:19, 20; 1 ปต. 3:21) ตอนที่คุณรับบัพติศมา คุณก็กำลังแสดงให้คนอื่นเห็นว่าคุณสัญญากับพระยะโฮวาแล้วว่าคุณจะรับใช้พระองค์ตลอดไป และคุณอยากทำตามสัญญานี้แน่ ๆ ดังนั้น คำถามต่อไปนี้จะช่วยคุณให้รู้ว่าคุณพร้อมจะรับบัพติศมาแล้วหรือยัง (1) ฉันเป็นผู้ใหญ่พอที่จะตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองไหม? (2) ฉันอยากรับบัพติศมาด้วยตัวของฉันเองไหม? (3) ฉันเข้าใจจริง ๆ ไหมว่าการอุทิศ ตัวให้พระยะโฮวานั้นหมายความว่าอย่างไร? ขอเรามาดูคำตอบของคำถามเหล่านี้ด้วยกัน
ตอนที่คุณเป็นผู้ใหญ่พอ
4, 5. (ก) ทำไมไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่รับบัพติศมาได้? (ข) ความเป็นผู้ใหญ่หมายความว่าอย่างไร?
4 คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่าเราต้องอายุเท่าไรถึงจะรับบัพติศมาได้ เหมือนที่เราอ่านในสุภาษิต 20:11 ที่บอกว่า “แม้เด็กก็เผยตัวเองออกมาโดยการประพฤติของเขา ว่าสิ่งที่เขาทำบริสุทธิ์และถูกต้องหรือไม่” แม้แต่เด็กก็ยังเข้าใจได้ว่าการทำสิ่งที่ถูกต้องและการอุทิศชีวิตให้กับผู้สร้างนั้นหมายความว่าอย่างไรจริง ๆ ดังนั้น ถ้าวัยรุ่นมีความเป็นผู้ใหญ่และอุทิศชีวิตให้กับพระยะโฮวาแล้ว เขาก็รับบัพติศมาได้—สภษ. 20:7
5 ความเป็นผู้ใหญ่หมายความว่าอย่างไร? ความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาอายุเท่าไรและตัวโตขนาดไหน คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าคนที่มีความเป็นผู้ใหญ่คือคนที่ได้ฝึก “ใช้ความคิดจนแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด” (ฮบ. 5:14) คนที่มีความเป็นผู้ใหญ่รู้ว่าอะไรถูก และตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง และถึงจะมีคนมาชักจูงเขาให้ทำไม่ดี เขาก็ไม่หลงไปง่าย ๆ เขาทำสิ่งที่ถูกต้องได้โดยไม่ต้องมีคนมาบอกเขาตลอด วัยรุ่นที่จะรับบัพติศมาต้องทำสิ่งที่ถูกได้เองแม้แต่ตอนที่พ่อแม่ของเขาหรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ไม่ได้อยู่ด้วย—เทียบกับฟีลิปปี 2:12
6, 7. (ก) ตอนอยู่ที่บาบิโลน ดาเนียลต้องเจอข้อท้าทายอะไร? (ข) ดาเนียลแสดงอย่างไรว่าเขาเป็นผู้ใหญ่?
6 วัยรุ่นสามารถแสดงความเป็นผู้ใหญ่แบบนั้นได้จริง ๆ ไหม? ขอดูตัวอย่างของดาเนียล ตอนที่ต้องแยกจากพ่อแม่และถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลน ดาเนียลน่าจะยังเป็นวัยรุ่น ตอนนั้น ดาเนียลต้องอยู่กับพวกคนที่ไม่เชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้า ขอเราดูว่าชีวิตของเขาในช่วงนั้นต้องเจอกับข้อท้าทายอะไร ดาเนียลเป็นคนหนุ่มในจำนวนไม่กี่คนที่ถูกเลือกให้รับใช้กษัตริย์ เขาคงได้รับการปฏิบัติในแบบที่พิเศษกว่าคนอื่น (ดนล. 1:3-5, 13) ดูเหมือนว่าดาเนียลน่าจะมีฐานะตำแหน่งที่ดีในบาบิโลน และเขาคงไม่มีทางมีตำแหน่งแบบนี้ในอิสราเอล
7 ดาเนียลที่ตอนนั้นยังเป็นวัยรุ่นคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? เขายอมให้สิ่งที่เขาเจอในบาบิโลนมีผลกับตัวเขาหรือทำให้ความเชื่อที่เขามีลดน้อยลงไหม? ไม่เลย! คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า ตอนอยู่ที่บาบิโลน ดาเนียล “ตั้งใจว่า . . . จะไม่ทำให้ตัวเองไม่สะอาด” นี่ทำให้เขาอยู่ห่างจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการเท็จ (ดนล. 1:8) นี่แหละคือความเป็นผู้ใหญ่!
8. เราได้เรียนอะไรจากตัวอย่างของดาเนียล?
8 เราได้เรียนอะไรจากตัวอย่างของดาเนียล? วัยรุ่นที่มีความเป็นผู้ใหญ่จะมั่นคงในสิ่งที่เขาเชื่อแม้ต้องเจอกับสภาพการณ์ที่ไม่ง่าย เขาจะไม่เป็นเหมือนกิ้งก่าที่เปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ ตามสภาพแวดล้อมที่อยู่ เขาจะไม่ทำตัวเป็นเหมือนเพื่อนของพระเจ้าตอนอยู่ที่หอประชุม แต่เป็นเพื่อนกับโลกชั่วตอนอยู่ที่โรงเรียน แทนที่จะทำอย่างนั้น เขาจะรักษาความซื่อสัตย์เสมอแม้ต้องเจอกับการทดสอบ—อ่านเอเฟซัส 4:14, 15
9, 10. (ก) การที่วัยรุ่นคิดถึงสิ่งที่เขาได้ทำตอนที่ถูกทดสอบเป็นประโยชน์อย่างไร? (ข) การรับบัพติศมาหมายความว่าอย่างไร?
9 แน่นอน ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ก็อาจทำผิดพลาดในบางครั้ง (ปญจ. 7:20) แต่ถ้าคุณอยากรับบัพติศมา คงดีถ้าคุณจะตรวจดูว่าคุณตั้งใจเชื่อฟังพระยะโฮวามากขนาดไหน ลองถามตัวเองว่า “ในช่วงที่ผ่านมา ฉันเชื่อฟังพระยะโฮวามาโดยตลอดไหม?” ลองคิดดูว่าตอนที่ความเชื่อของคุณถูกทดสอบครั้งล่าสุด คุณทำอย่างไร คุณตัดสินใจได้ทันทีเลยไหมว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำ? เหมือนกับดาเนียล ถ้ามีใครพยายามสนับสนุนคุณให้ใช้ความสามารถที่คุณมีให้เต็มที่ในโลกของซาตาน คุณรู้ไหมว่าพระยะโฮวาอยากให้คุณทำอะไร?—อฟ. 5:17
10 ทำไมสำคัญที่เราต้องรู้คำตอบของคำถามเหล่านี้? เพราะคำตอบเหล่านี้จะช่วยคุณให้รู้ว่าคุณจริงจังแค่ไหนกับการรับบัพติศมา การรับบัพติศมาเป็นการแสดงให้คนอื่นเห็นว่าคุณได้ทำสัญญาที่สำคัญกับพระยะโฮวา คุณสัญญาว่าคุณจะรักและเชื่อฟังพระเจ้าสุดหัวใจตลอดไป (มก. 12:30) ทุกคนที่รับบัพติศมาแล้วควรตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาสัญญาที่เขาทำกับพระยะโฮวา—อ่านปัญญาจารย์ 5:4, 5
ฉันอยากรับบัพติศมาด้วยตัวของฉันเองไหม?
11, 12. (ก) คนที่อยากรับบัพติศมาต้องแน่ใจในเรื่องอะไร? (ข) อะไรจะช่วยคุณให้มองการรับบัพติศมาเหมือนกับที่พระยะโฮวามอง?
11 คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า ประชาชนของพระยะโฮวาทุกคน รวมทั้งวัยรุ่นจะรับใช้พระองค์อย่าง “เต็มใจ” (สด. 110: 3) ดังนั้น คนที่อยากรับบัพติศมาต้องแน่ใจว่าตัวเองต้องการจะทำอย่างนั้น นี่หมายความว่าเขาต้องตรวจสอบความต้องการของเขาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่โตมาในครอบครัวพยานฯ
12 ตั้งแต่เป็นเด็ก คุณคงเห็นหลายคนรับบัพติศมา บางทีพวกเขาอาจเป็นเพื่อนหรือพี่น้องของคุณ แต่คุณต้องไม่คิดว่าคุณต้องรับบัพติศมาเพราะคุณโตพอแล้ว หรือเพราะคนอื่น ๆ ก็รับบัพติศมากันหมดแล้ว คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมองการรับบัพติศมาเหมือนกับที่พระยะโฮวามอง? ลองใช้เวลาคิดว่าทำไมการรับบัพติศมาจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณจะเห็นเหตุผลที่ดีหลายอย่างในบทความนี้และในบทความถัดไป
13. คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าการที่คุณอยากรับบัพติศมาเป็นความรู้สึกที่มาจากหัวใจ?
13 วิธีหนึ่งที่คุณสามารถบอกได้ว่าการที่คุณอยากรับบัพติศมาเป็นความรู้สึกที่มาจากหัวใจคือ ลองสังเกตคำอธิษฐานของตัวเอง คุณอธิษฐานถึงพระยะโฮวาบ่อยแค่ไหน? คำอธิษฐานของคุณเป็นแบบเฉพาะเจาะจงขนาดไหน? คำตอบสำหรับคำถามสองข้อนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณสนิทกับพระยะโฮวามากขนาดไหน (สด. 25:4) หลายครั้งพระยะโฮวาตอบคำอธิษฐานของเราโดยทางคัมภีร์ไบเบิล ดังนั้น อีกวิธีหนึ่งที่จะบอกได้ว่าคุณอยากจะสนิทกับพระยะโฮวามากขึ้นและรับใช้พระองค์จริง ๆ ก็คือ ลองสังเกตตารางการศึกษาพระคัมภีร์ของคุณ (ยชว. 1:8) ขอให้ถามตัวเองว่า “ฉันศึกษาส่วนตัวเป็นประจำไหม? ฉันเต็มใจเข้าร่วมการนมัสการประจำครอบครัวไหม?” คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จะช่วยให้รู้ว่าการที่คุณอยากรับบัพติศมาเป็นความรู้สึกที่มาจากหัวใจ
ความหมายของการอุทิศตัว
14. ขออธิบายความแตกต่างระหว่างการอุทิศตัวและการรับบัพติศมา
14 วัยรุ่นบางคนอาจไม่แน่ใจว่าการอุทิศตัวกับการรับบัพติศมานั้นแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจบอกว่า เขาอุทิศตัวแล้วแต่ยังไม่พร้อมจะรับบัพติศมา นั่นเป็นไปได้ไหม? การอุทิศตัวคือการอธิษฐานสัญญากับพระยะโฮวาว่าคุณจะรับใช้พระองค์ตลอดไป ส่วนการรับบัพติศมา
คือการที่คุณแสดงให้คนอื่นเห็นว่าคุณได้อุทิศตัวให้พระยะโฮวาแล้ว ดังนั้น ก่อนที่คุณจะรับบัพติศมา คุณต้องเข้าใจความหมายของการอุทิศตัวก่อน15. การอุทิศตัวหมายความว่าอะไร?
15 ตอนที่คุณอุทิศตัวให้พระยะโฮวา คุณบอกพระเจ้าว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปพระองค์เป็นเจ้าของตัวคุณ คุณสัญญาว่าคุณจะให้การรับใช้พระองค์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต (อ่านมัทธิว 16:24) การสัญญาแบบนั้นกับพระเจ้าเป็นเรื่องจริงจังมาก (มธ. 5:33) แล้วคุณจะแสดงให้เห็นอย่างไรว่าคุณรู้ว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของตัวเองอีกต่อไป แต่พระยะโฮวาเป็นเจ้าของตัวคุณ?—รม. 14:8
16, 17. (ก) ขอยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของตัวเราเองหมายความว่าอย่างไร? (ข) ตอนเราอุทิศตัว เรากำลังบอกอะไรพระเจ้า?
16 ขอคิดถึงตัวอย่างนี้ ลองคิดดูว่าถ้าเพื่อนของคุณให้รถยนต์เป็นของขวัญ เพื่อนให้หลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์นั้นกับคุณแล้วพูดว่า “รถยนต์คันนี้เป็นของคุณแล้วนะ” แต่เพื่อนของคุณพูดต่อไปว่า “ผมจะเป็นคนเก็บกุญแจรถไว้ และจะใช้รถคันนี้เอง” คุณรู้สึกอย่างไรกับของขวัญแบบนี้? และคุณจะคิดอย่างไรกับเพื่อนที่ให้รถคุณ?
17 ตอนที่ใครคนหนึ่งอุทิศชีวิตของเขาให้พระยะโฮวา เขาบอกพระองค์ว่า “ผมขอให้ชีวิตของผมกับพระองค์ ผมเป็นของพระองค์” พระยะโฮวามีสิทธิ์ที่จะคาดหมายว่าคนคนนั้นจะรักษาสัญญา แต่ถ้าเขาไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาและแอบไปเป็นแฟนกับคนที่ไม่ใช่พยานฯล่ะ? หรือถ้าเขาไปรับงานที่ทำให้เขาไม่มีเวลาไปรับใช้ หรือขาดการประชุมบ่อย ๆ ล่ะ? ถ้าอย่างนั้น เขาก็ไม่ได้รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับพระยะโฮวา เขากำลังทำเหมือนกับเพื่อนในตัวอย่างที่เก็บกุญแจรถไว้ เมื่อเราอุทิศชีวิตให้กับพระยะโฮวา เราก็บอกพระองค์ว่า “ชีวิตของผมเป็นของพระองค์ ไม่ได้เป็นของผม” ดังนั้น เราจะทำสิ่งที่พระยะโฮวาต้องการเสมอแม้ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ตัวเราเองไม่อยากทำเลย ขอเราเลียนแบบพระเยซู ท่านบอกว่า “ผมลงมาจากสวรรค์ ไม่ใช่เพื่อทำตามใจตัวเอง แต่เพื่อทำตามความประสงค์ของพระองค์ที่ใช้ผมมา”—ยน. 6:38
18, 19. (ก) จากคำพูดของโรสและคริสโตเฟอร์ การรับบัพติศมาเป็นสิทธิพิเศษที่ช่วยให้เราได้รับพรอย่างไร? (ข) คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสิทธิพิเศษที่คุณได้รับบัพติศมา?
18 เห็นได้ชัดว่า การรับบัพติศมาเป็นการตัดสินใจที่จริงจัง ที่จริง นี่เป็นสิทธิพิเศษที่เราได้อุทิศตัวให้พระยะโฮวาและรับบัพติศมา วัยรุ่นที่รักพระยะโฮวาและเข้าใจจริง ๆ ว่าการอุทิศตัวมีความหมายอย่างไรจะไม่ลังเลเลยที่จะอุทิศชีวิตให้พระยะโฮวาและรับบัพติศมา พวกเขาไม่เสียใจเลยที่ได้ตัดสินใจแบบนั้น โรสวัยรุ่นคนหนึ่งที่รับบัพติศมาบอกว่า “หนูรักพระยะโฮวา ไม่มีอะไรที่ทำให้หนูมีความสุขได้มากกว่าการรับใช้พระองค์ หนูตัดสินใจรับบัพติศมาและหนูก็ไม่เคยมั่นใจอะไรขนาดนี้มาก่อน”
19 คริสโตเฟอร์ที่พูดถึงตอนต้นของบทความรู้สึกอย่างไรที่ตัดสินใจรับบัพติศมาตอนอายุ 12 ปี? คริสโตเฟอร์บอกว่าเขามีความสุขมากที่ได้ตัดสินใจอย่างนั้น เขาเริ่มเป็นไพโอเนียร์ประจำตอนอายุ 17 ปี และเป็นผู้ช่วยงานรับใช้ตอนอายุ 18 ปี ตอนนี้ คริสโตเฟอร์รับใช้ที่เบเธล เขาเล่าว่า “การรับบัพติศมาเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ชีวิตของผมมีแต่งานรับใช้ที่ทำให้มีความสุข ผมทำงานเพื่อพระยะโฮวาและองค์การของพระองค์” ถ้าคุณอยากรับบัพติศมา คุณจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? เราจะดูเรื่องนี้ด้วยกันในบทความถัดไป