ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การเติบโตอย่างมหัศจรรย์

การเติบโตอย่างมหัศจรรย์

การ​เติบโต​อย่าง​มหัศจรรย์

พยาน​พระ​ยะโฮวา​ไม่​เคย​เป็น​ภัย​คุกคาม​ต่อ​พวก​เจ้าหน้าที่​ฝ่าย​การ​เมือง​ของ​ประเทศ​ต่าง ๆ ที่​พวก​เขา​อาศัย​อยู่ และ​เรื่อง​นี้​ก็​เป็น​ที่​ยอม​รับ​กัน​ใน​ปัจจุบัน. เมื่อ​กล่าว​ถึง​การ​ประชุม​ภาค​ใน​ฤดู​ร้อน​นี้​แห่ง​หนึ่ง​ที่​สหภาพ​โซเวียต หนังสือ​พิมพ์​ชื่อ​กราสโนยาสกี คอ​มโซโมเลทส์ ให้​ข้อ​สังเกต​ว่า: “ใน​ที่​สุด พวก​นัก​ทฤษฎี​ของ​ประเทศ​เรา​ก็​เข้าใจ​ว่า คน​ของ​พระ​ยะโฮวา​ไม่​เป็น​ภัย​คุกคาม​เลย​ต่อ​กฎหมาย​และ​ระเบียบ​ของ​สาธารณชน.”

ใน​ทำ​นอง​คล้าย​กัน หนังสือ​พิมพ์​ของ​โซเวียต​ชื่อ​วอสต็อคโน–ซิบิร์สกายา ปราฟดา รายงาน​ว่า: “เนื่อง​จาก​องค์การ​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​เป็น​องค์การ​ทาง​ศาสนา​ที่​เข้มงวด​กวดขัน พวก​เขา​ไม่​เข้า​ร่วม​ใน​ความ​ขัด​แย้ง​ทาง​การ​เมือง​และ​ไม่​สนับสนุน​สมาชิก​ของ​เขา​ให้​ช่วย​เหลือ​กลุ่ม​การ​เมือง​ใด ๆ แต่​พวก​เขา​สนับสนุน​อำ​นา​จ​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล​และ​ผู้​ประพันธ์​พระ​คัมภีร์ พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า.”

การ​เติบโต​ใน​ปี​แรก ๆ

พยาน​พระ​ยะโฮวา​ดำ​เนิน​งาน​ใน​ทวีป​ยุโรป​ตะวัน​ออก​มา​เป็น​เวลา​หลาย​สิบ​ปี​แล้ว. เมื่อ​ปลาย​ทศวรรษ​ปี 1930 มี​พวก​พยาน​ฯ อยู่​แล้ว​ใน​โรมาเนีย​กว่า​สอง​พัน​คน, ใน​โปแลนด์​หนึ่ง​พัน​คน, และ​หลาย​ร้อย​คน​ใน​เชโกสโลวะเกีย​และ​ฮังการี, และ​หลาย​สิบ​คน​ใน​ยูโกสลาเวีย. ถึง​แม้​จะ​มี​เพียง​จำน​วน​น้อย​นิด​ใน​สหภาพ​โซเวียต สิ่ง​นี้​ก็​ได้​พลิก​โฉม​ใน​ฉับพลัน.

ผู้​เชี่ยวชาญ​ใน​เรื่อง​ราว​เกี่ยว​กับ​โซเวียต วอลเตอร์ โค​ลาร์​ซ กล่าว​ไว้​ใน​หนังสือ​ของ​เขา​ชื่อ​รีลิจัน อิน เดอะ โซเวียต ยูเนียน (ศาสนา​ใน​สหภาพ​โซเวียต) ว่า พยาน​ฯ คน​อื่น ๆ เข้า​ไป​ยัง​รัสเซีย “โดย​ทาง​ดินแดน​ต่าง ๆ ซึ่ง​ถูก​ผนวก​เข้า​ไว้​ใน​อาณัติ​ของ​สหภาพ​โซเวียต​เมื่อ​ปี 1939–1940 ที่​ซึ่ง​มี​พยาน​พระ​ยะโฮวา​กลุ่ม​เล็ก ๆ แต่​แข็งขัน​มาก​ที​เดียว.” ด้วย​เหตุ​นี้​เอง พยาน​ฯ ซึ่ง​อาศัย​อยู่​ใน​ภาค​ตะวัน​ออก​ของ​โปแลนด์, เชโกสโลวะเกีย, และ โรมาเนีย จึง​พบ​ว่า​ตน​เอง​ถูก​โยกย้าย​เข้า​ไป​อยู่​ใน​สหภาพ​โซเวียต​เพราะ​การ​ผนวก​ดินแดน​นั้น เพียง​ชั่ว​ข้าม​คืน!

อีก​วิธี​หนึ่ง​ที่​แปลก​ประหลาด​ซึ่ง​พวก​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ถูก​นำ​เข้า​สู่​สหภาพ​โซเวียต​ก็​คือ​โดย​ทาง​ค่าย​กัก​กัน​ของ​เยอรมนี. เป็น​ไป​อย่าง​ไร​กัน? นั่น​ก็​คือ ใน​ระหว่าง​สงคราม​โลก​ที่​สอง พวก​นัก​โทษ​ชาว​รัสเซีย​ได้​อยู่​ใน​ค่าย​กัก​กัน​ดัง​กล่าว​ร่วม​กับ​พวก​พยาน​ฯ ชาว​เยอรมัน​หลาย​พัน​คน. พวก​พยาน​ฯ ชาว​เยอรมัน​เหล่า​นั้น​ถูก​จับ​โยน​เข้า​ค่าย​กัก​กัน​เพราะ​พวก​เขา​รักษา​ความ​เป็น​กลาง​แบบ​คริสเตียน​ไว้​อย่าง​เด็ด​เดี่ยว​แน่วแน่ (โยฮัน 17:16; 18:36) พวก​เขา​ยินยอม​จะ​ทน​ทรมาน​และ​เสีย​ชีวิต​แทน​ที่​จะ​ละเมิด​กฎหมาย​ของ​พระเจ้า​โดย​การ​เข้า​ร่วม​ใน​กองทัพ​ของ​ฮิตเลอร์​แล้ว​กลาย​เป็น​ผู้​มี​ความ​ผิด​ฐาน​ฆ่า​เพื่อน​คริสเตียน​ด้วย​กัน​ใน​ประเทศ​อื่น ๆ หรือ​ฆ่า​ใคร​ก็​ตาม​เนื่อง​ด้วย​เรื่อง​นั้น.—1 โยฮัน 3:10–12.

เพราะ​ฉะนั้น ดัง​ที่​โค​ลาร์​ซ​เขียน​ว่า “ถึง​แม้​ฟัง​แล้ว​แทบ​ไม่​น่า​เชื่อ​ที่​ค่าย​กัก​กัน​ของ​เยอรมัน​ได้​เป็น​ร่อง​ทาง​หนึ่ง​ที่​ข่าวสาร​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​มา​ถึง​รัสเซีย. ข่าวสาร​ถูก​นำ​ไป​ถึง​ที่​นั่น​โดย​นัก​โทษ​ชาว​รัสเซีย​ใน​เยอรมนี​ซึ่ง​เคย​ยกย่อง​นับถือ​ความ​กล้า​หาญ​และ​เด็ด​เดี่ยว​มั่นคง​ของ​พวก ‘พยาน​ฯ’ และ​อาจ​ได้​พบ​ว่า​หลัก​เทววิทยา​ของ​พวก​เขา​เป็น​ที่​น่า​ดึงดูด​ใจ​เนื่อง​ด้วย​เหตุ​นั้น​เอง.” ใน​ค่าย​กัก​กัน​สตรี​ที่​รา​เฟนส​บู​ร์ก​แห่ง​เดียว มี​รายงาน​ว่า​มี​เยาวชน​ชาว​รัสเซีย​จำน​วน​มาก​ได้​รับ​เอา​ข่าวสาร​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ที่​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ได้​ประกาศ.

หลัง​สงคราม พวก​นัก​โทษ​จาก​ประเทศ​ต่าง ๆ ใน​ยุโรป​ตะวัน​ออก​ซึ่ง​มา​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ได้​กลับ​สู่​ประเทศ​บ้าน​เกิด​ของ​ตน. ที่​นั่น พวก​เขา​ได้​สั่ง​สอน​ว่า​การ​ปกครอง​โดย​ราชอาณาจักร​ของ​พระเจ้า​เป็น​ความ​หวัง​เพียง​หนึ่ง​เดียว​สำห​รับ​สันติภาพ​ถาวร. ด้วย​เหตุ​นั้น จำน​วน​พยาน​ฯ ใน​ยุโรป​ตะวัน​ออก​จึง​เพิ่ม​ขึ้น​อย่าง​ผิด​สังเกต. ภาย​ใน​เดือน​เมษายน 1946 มี​พยาน​ฯ กว่า​สี่​พัน​คน​ทำ​การ​ประกาศ​อยู่​ใน​สหภาพ​โซเวียต และ​จำน​วน​นี้​ได้​เพิ่ม​เป็น​สอง​เท่า​อย่าง​รวด​เร็ว. ใน​เดือน​กันยายน 1946 พยาน​ฯ ใน​โรมาเนีย​ได้​จัด​การ​ประชุม​ใหญ่​ขึ้น​ใน​กรุง​บูคาเรสต์​ซึ่ง​มี​ผู้​เข้า​ร่วม​ประมาณ 15,000 คน.

หลัง​จาก​นั้น​ไม่​นาน​เท่า​ไร สงคราม​เย็น​ก็​เริ่ม​ขึ้น และ​สิ่ง​นี้​ปิด​กั้น​การ​เดิน​ทาง​และ​การ​ติด​ต่อ​สื่อสาร​ระหว่าง​ยุโรป​ตะวัน​ออก​กับ​ตะวัน​ตก. ยิ่ง​กว่า​นั้น พวก​ผู้​มี​อำ​นา​จ​ด้าน​การ​ปกครอง​รุ่น​ใหม่ ๆ ได้​เริ่ม​ต่อ​ต้าน​พยาน​พระ​ยะโฮวา. น่า​เสียดาย พวก​เขา​มอง​ดู​พวก​พยาน​ฯ ว่า​เป็น​ภัย​คุกคาม และ​พวก​พยาน​ฯ หลาย​คน​จึง​ถูก​จำ​คุก. แม้​จะ​เป็น​เช่น​นั้น ใน​ปี 1951 ใน​เชโกสโลวะเกีย​มี​พยาน​ฯ ที่​เอา​การ​เอา​งาน​ถึง 3,705 คน; ใน​ฮังการี​มี 2,583 คน; ยูโกสลาเวีย​มี 617 คน; และ​ใน​โปแลนด์​มี​กว่า 15,000 คน.

ถูก​ต่อ​ต้าน แต่​ยัง​เติบโต​ต่อ​ไป

ใน​ปี 1967 เมา​ริ​ซ ฮิน​ดัส เขียน​เกี่ยว​กับ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ใน​หนังสือ​ของ​เขา​ชื่อ​เดอะ เครมลินส์ ฮิวมัน ดิเลมมา. สิ่ง​ที่​เขา​กล่าว​ไว้​นั้น​หมาย​ถึง​พยาน​ฯ ใน​สหภาพ​โซเวียต​และ​ใน​ส่วน​อื่น ๆ ของ​ยุโรป​ตะวัน​ออก​ด้วย. “แม้​ว่า​พวก​เขา​ดำ​เนิน​การ​กัน​อย่าง​ลับ ๆ พวก​เขา​ก็​ถูก​ล่า​จน​พบ​และ​ถูก​ตัดสิน​ให้​ขัง​ลืม. แต่​ไม่​มี​อะไร​หยุด​ยั้ง​พวก​เขา​ได้. เมื่อ​ถูก​ขัด​ขวาง​ใน​ที่​หนึ่ง พวก​เขา​ก็​ไป​โผล่​ใน​อีก​ที่​หนึ่ง . . . พวก​เขา​ปรากฏ​ว่า​ไม่​อาจ​กวาด​ล้าง​ทำ​ลาย​ได้ เช่น​เดียว​กับ​พวก​ตำรวจ​โซเวียต.”

ระหว่าง​ฤดู​ใบ​ไม้​ผลิ​ปี 1951 พยาน​พระ​ยะโฮวา​ใน​สหภาพ​โซเวียต​ได้​รับ​การ​โจมตี​อย่าง​รุนแรง. พวก​เขา​กว่า​เจ็ด​พัน​คน​ตาม​สาธารณรัฐ​ต่าง ๆ ของ​โซเวียต​ที่​อยู่​ใน​เขต​ยุโรป​ถูก​จับ​และ​ส่ง​ไป​ยัง​ค่าย​คุม​ขัง​ซึ่ง​อยู่​ใน​ที่​ไกล​ลิบลับ​ของ​ประเทศ รวม​ทั้ง​ที่​ไซบีเรีย​และ​วอ​ร์​กุ​ตา​ซึ่ง​อยู่​ห่าง​ไกล​ทาง​ทิศ​เหนือ. ผล​เป็น​อย่าง​ไร?

“นั่น​ไม่​ใช่​จุด​จบ​ของ​พวก ‘พยาน​ฯ’ ใน​รัสเซีย” โค​ลาร์​ซบ​อก “แต่​เป็น​เพียง​การ​เริ่ม​ต้น​บท​ใหม่​แห่ง​กิจกรรม​ของ​พวก​เขา​ใน​การ​เปลี่ยน​ความ​เชื่อถือ. พวก​เขา​กระทั่ง​ได้​พยายาม​จะ​โฆษณา​ความ​เชื่อ​ของ​ตน​เมื่อ​รถ​จอด​ตาม​สถานี​ต่าง ๆ ตาม​ราย​ทาง​ที่​มุ่ง​สู่​แดน​เนรเทศ. ด้วย​การ​เนรเทศ​พวก​เขา รัฐบาล​โซเวียต​ได้​ทำ​สิ่ง​ซึ่ง​ไม่​มี​อะไร​อาจ​จะ​ดี​ไป​กว่า​นี้​แล้ว​ใน​การ​เผยแพร่​ความ​เชื่อ​ของ​พวก​เขา​อย่าง​กว้างขวาง. จาก​การ​ถูก​แยก​อยู่​ใน​หมู่​บ้าน​อัน​โดด​เดี่ยว​ของ​เขา พวก ‘พยาน​ฯ’ ถูก​นำ​สู่​โลก​ที่​กว้าง​ใหญ่ แม้​ว่า​นั่น​จะ​เป็น​เพียง​โลก​ที่​น่า​กลัว​แห่ง​ค่าย​กัก​กัน​และ​ค่าย​การ​ใช้​แรงงาน​หนัก​ก็​ตาม.”

ภาย​ใน​และ​ภาย​นอก​เรือน​จำ

ชน​คริสเตียน​ใน​ศตวรรษ​แรก​ประกาศ​สั่ง​สอน​ต่อ ๆ ไป​เมื่อ​ถูก​กดขี่​ข่มเหง​ฉัน​ใด พยาน​พระ​ยะโฮวา​ก็​กระทำ​ใน​สหภาพ​โซเวียต​ฉัน​นั้น. (กิจการ 5:42) เฮเลน เซล​มิ​นา ชาว​แล​ต​เวีย​ซึ่ง​ถูก​จำ​คุก​ด้วย​ข้อ​กล่าวหา​อาชญากรรม​กล่าว​ว่า ใน​ส่วน​ของ​ค่าย​คุม​ขัง​ปอ​ตม​า​ที่​เธอ​ถูก​คุม​ขัง​ไว้​ตั้ง​แต่​ปี 1962 ถึง 1966 นั้น มี​นัก​โทษ​ประมาณ 350 คน. เธอ​บอก​ว่า “ประมาณ​ครึ่ง​หนึ่ง​ของ​พวก​เขา​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา.” ใน​หนังสือ​ที่​เธอ​เขียน​ชื่อ​วี​เมน อิน โซเวียต พริซันส์ เซล​มิ​นา​เขียน​ถึง​สิ่ง​ที่​เธอ​ได้​เห็น​ใน​ค่าย​นั้น​ว่า:

“หนังสือ​จา​กบ​รุ​ค​ลิ​นม​า​ถึง​เป็น​ประ​จำ ใน​สภาพ​ที่​ดี​และ​ด้วย​ปริมาณ​มาก​โดย​ร่อง​ทาง​ที่​ไม่​เป็น​ทาง​การ​และ​มี​การ​จัด​แบบ​แผน​อย่าง​ดี . . . ไม่​มี​ใคร​อาจ​เข้าใจ​ได้​ว่า​หนังสือ​ที่​ถูก​ห้าม​สามารถ​ผ่าน​เข้า​มา​สู่​ดินแดน​แห่ง​ลวด​หนาม​และ​ซึ่ง​มี​การ​จำ​กัด​ใน​การ​ติด​ต่อ​กัน​ระหว่าง​ผู้​คน​นี้​ได้​อย่าง​ไร​กัน—และ​มา​จาก​สหรัฐ​เสีย​ด้วย! พยาน​พระ​ยะโฮวา​หลาย​คน​ได้​รับ​โทษ​ให้​ทำ​งาน​หนัก​ถึง​สิบ​ปี​เพียง​เพราะ​มี​วารสาร​วอชเทาเวอร์ ไม่​กี่​ฉบับ​ใน​อ​พา​ร์ต​เมน​ท์​ของ​เขา. เนื่อง​จาก​ผู้​คน​ถูก​จับ​เพราะ​มี​หนังสือ​ต่าง ๆ เหล่า​นี้​ไว้​ใน​ครอบครอง จึง​เป็น​ที่​เข้าใจ​ได้​ว่า​พวก​เจ้าหน้าที่​บริหาร​จะ​รู้สึก​กระวนกระวาย​และ​เดือดดาล​เพียง​ไร​ต่อ​การ​ที่​มี​หนังสือ​เช่น​นั้น​อยู่​ใน​ค่าย.”

ด้วย​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​พระ​ยะโฮวา ไม่​มี​อะไร​อาจ​ยับยั้ง​การ​แจก​จ่าย​อาหาร​ฝ่าย​วิญญาณ​นั้น​ได้! เซล​มิ​นา​เขียน​ว่า: “ไม่​มี​ใคร​ค้น​พบ​วิธี​ที่ [วอชเทาเวอร์ ] เข้า​มา​ใน​ค่าย. ทั้ง ๆ ที่ หลัง​จาก​การ​ตัดสิน​ลง​โทษ นัก​โทษ​ทุก​คน​ถูก​ถอด​เสื้อ​ผ้า​ออก​หมด​และ​ค้น​ทั่ว​ตัว. เมื่อ​ถึง​ค่าย นัก​โทษ​ทุก​คน​ก็​ถูก​ค้น​อย่าง​ถี่ถ้วน​อีก​ครั้ง ค้น​จน​ตะเข็บ​สุด​ท้าย. กระเป๋า​เสื้อ​ผ้า​ถูก​ค้น​ดู​ว่า​มี​สอง​ชั้น​หรือ​ไม่. ไม่​มี​การ​ยอม​ให้​คน​แปลก​หน้า​เข้า​ไป​ใน​ค่าย​หาก​ไม่​มี​เหตุ​อัน​ควร. เมื่อ​นัก​โทษ​ถูก​ปล่อย​ออก​นอก​บริเวณ​ค่าย​เพื่อ​ทำ​งาน​ใน​ทุ่ง พวก​เขา​ถูก​ราย​ล้อม​ด้วย​ผู้​คุม​ถือ​อาวุธ​และ​ไม่​อนุญาต​ให้​คน​ใด ๆ เข้า​ใกล้. มี​การ​ตรวจ​ค้น​ตัว​นัก​โทษ​ทุก​คน​อย่าง​ถี่ถ้วน​เมื่อ​พวก​เขา​กลับ​เข้า​ค่าย​ใน​ตอน​เย็น. แต่​ถึง​แม้​จะ​มี​การ​ควบคุม​เช่น​นี้​ก็​ตาม หนังสือ​จา​กบ​รุ​ค​ลิ​น​ก็​ยัง​ไป​ถึง​ผู้​อ่าน​อยู่​ดี.”

ใน​เวลา​เดียว​กัน คริสเตียน​ที่​เด็ด​เดี่ยว​แน่วแน่​ภาย​นอก​ค่าย​คุม​ขัง​ของ​โซเวียต​ยัง​คง​รุด​หน้า​ต่อ​ไป​ใน​กิจกรรม​การ​ประกาศ​และ​สั่ง​สอน​อย่าง​เปิด​เผย. เรื่อง​นี้​ปรากฏ​ชัด​โดย​สิ่ง​พิมพ์​และ​ภาพยนตร์​ต่าง ๆ ที่​มี​การ​ผลิต​ขึ้น​เพื่อ​พยายาม​ตอบ​โต้​ขัด​ขวาง​งาน​สั่ง​สอน​ของ​พวก​เขา. ยก​ตัว​อย่าง ใน​ปี 1978 หนังสือ​ความ​จริง​เกี่ยว​กับ​พยาน​พระ​ยะโฮวา ถูก​จัด​พิมพ์​ขึ้น ดัง​ที่​มี​อธิบาย​ไว้​ใน​คำนำ​ของ​หนังสือ​นี้ เพื่อ​จุด​ประสงค์​ใน​การ “ดำ​เนิน​การ​ให้​การ​ศึกษา​ด้าน​อ​เทววิทยา​ใน​ท่ามกลาง​ผู้​ติด​ตาม​กลุ่ม​ศาสนา​นี้.”

นอก​จาก​นี้ นัก​ประพันธ์ วี. วี. โค​นิก ชี้​ว่า​พยาน​พระ​ยะโฮวา​จัด​ให้​มี​คำ​บรรยาย​สาธารณะ​เกือบ​เป็น​ประ​จำ ณ งาน​ศพ​และ​งาน​สมรส. เขา​เขียน​ว่า “เพื่อ​เป็น​ตัว​อย่าง ใน​เดือน​สิงหาคม 1973 ใน​หมู่​บ้าน​กราส​นา​ยา พอล​ยา​นา แขวง​กราส​โน​ดา​ร์​สกี มี​การ​สมรส​ของ​สมาชิก​สอง​คน​ของ​องค์การ​นี้ มี​ผู้​เข้า​ร่วม​ประมาณ 500 คน. ผู้​สั่ง​สอน​หก​คน​ให้​คำ​บรรยาย​แก่​พวก​เขา และ​มี​การ​ถ่ายทอด​การ​พูด​ของ​พวก​เขา​โดย​ทาง​ลำ​โพง​สอง​ตัว. จาก​นั้น​มี​การ​แสดง​ละคร​เพื่อ​แสดง​ให้​เห็น​วิธี​ที่​พวก​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ดำ​เนิน​การ​สนทนา​กับ​ผู้​คน​ที่​นับถือ​ศาสนา​อื่น ๆ และ​กับ​พวก​นัก​อเทวนิยม.”

ถูก​แล้ว แม้​จะ​มี​การ​สั่ง​ห้าม​งาน​ของ​พวก​เขา พยาน​พระ​ยะโฮวา​ทั่ว​ยุโรป​ตะวัน​ออก​ก็​ยัง​ประกาศ​สั่ง​สอน​ข่าว​ดี​เรื่อง​ราชอาณาจักร​ของ​พระเจ้า​ต่อ​ไป​อย่าง​กระตือรือร้น​ด้วย​ความ​เชื่อ​ฟัง​ต่อ​พระ​บัญชา​เชิง​พยากรณ์​ของ​พระ​คริสต์. (มัดธาย 24:14) ใน​ที่​สุด เมื่อ​เดือน​พฤษภาคม​และ​มิถุนายน 1989 พยาน​พระ​ยะโฮวา​ก็​ได้​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ตาม​กฎหมาย​ใน​โปแลนด์​และ​ฮังการี เดือน​เมษายน 1990 ใน​โรมาเนีย, เดือน​มีนาคม 1991 ใน​สหภาพ​โซเวียต, และ​บัลแกเรีย​ใน​เดือน​กรกฎาคม 1991. และ​การ​งาน​ของ​พวก​เขา​ก็​ดำ​เนิน​ไป​โดย​ปราศจาก​การ​ขัด​ขวาง​ใด ๆ ใน​เชโกสโลวะเกีย​ด้วย.

ผู้​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​ภาค​ที่​มี​ความ​สุข

ด้วย​ความ​เป็น​มา​เหล่า​นี้ คุณ​คง​เข้าใจ​ดี​ขึ้น​ว่า​ทำไม​ตัว​แทน​หลาย​หมื่น​คน​ที่​ไป​ยัง​การ​ประชุม​ภาค​ใน​ยุโรป​ตะวัน​ออก​จึง​ชื่นชม​ยินดี—พวก​เขา​ร้องไห้, สวมกอด, ปรบ​มือ, และ​โบก​มือ​ไป​มา​ให้​แก่​กัน​และ​กัน​ข้าม​ฟาก​สนาม​กีฬา.

บูดาเปสต์, ปราก, และ ซาเกร็บ ถูก​กำหนด​ให้​เป็น​ที่​สำหรับ “การ​ประชุม​นานา​ชาติ” และ​ได้​มี​การ​จัด​เตรียม​เป็น​พิเศษ​เพื่อ​อำ​นวย​ความ​สะดวก​แก่​ตัว​แทน​หลาย​หมื่น​คน​จาก​ประเทศ​อื่น ๆ. ได้​จัด​การ​ประชุม​ภาค​ขึ้น ณ เจ็ด​เมือง​ใน​สหภาพ​โซเวียต โดย​มี​ผู้​เข้า​ร่วม 74,252 คน; ใน​โปแลนด์​มี​ผู้​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​ภาค 12 แห่ง​รวม​แล้ว​มี 131,554 คน; และ​มี 34,808 คน​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​ภาค 8 แห่ง​ใน​โรมาเนีย. ถึง​แม้​พยาน​ฯ ไม่​อาจ​จัด​การ​ประชุม​ภาค​ขึ้น​ใน​บัลแกเรีย​ได้ พยาน​ฯ ประมาณ​สาม​ร้อย​คน​จาก​ประเทศ​นี้​ก็​ได้​ข้าม​ชายแดน​มา​ยัง​เมือง​เธส​ซา​โล​นิ​กา ประเทศ​กรีซ ที่​ซึ่ง​พวก​เขา​ได้​ชื่นชม​กับ​รายการ​ต่าง ๆ ใน​ภาษา​ของ​เขา​เอง.

การ​ที่​พยาน​ฯ ใน​ยุโรป​ตะวัน​ออก​จะ​จัด​เตรียม​การ​และ​ต้อนรับ​บรรดา​ตัว​แทน​หลาย​หมื่น​คน​นั้น​ไม่​ใช่​เรื่อง​ง่าย. ลอง​คิด​ดู​ก็​แล้ว​กัน ใน​สหภาพ​โซเวียต ไม่​เคย​มี​การ​จัด​การ​ประชุม​ต่าง ๆ เช่น​นั้น​มา​ก่อน​เลย! และ​การ​รับรอง​แขก​หลาย​หมื่น​คน ที่​พยาน​ฯ ใน​บูดาเปสต์​และ​ปราก​ได้​ทำ เป็น​โครงการ​ที่​ใหญ่​โต​แทบ​ไม่​น่า​เชื่อ. นอก​จาก​นั้น ลอง​นึก​ภาพ​การ​จัด​การ​ประชุม​ภาค​ใน​ซาเกร็บ​ขณะ​ที่​ภัย​สงคราม​กลาง​เมือง​คุกคาม​อยู่​และ​เสียง​ระเบิด​ก็​ได้​ยิน​แต่​ไกล!

แน่​ใจ​ได้​เลย​ว่า​คุณ​คง​รู้สึก​ตื่นเต้น​ที่​จะ​ได้​อ่าน​รายงาน​ต่อ​ไป​เกี่ยว​กับ​การ​ประชุม​ภาค​เหล่า​นั้น.

[แผนที่​หน้า 13]

(ราย​ละเอียด​ดู​จาก​วารสาร)

สถาน​ที่​การ​ประชุม​นานา​ชาติ​สาม​แห่ง และ​สถาน​ที่​การ​ประชุม​ใหญ่​เจ็ด​แห่ง​ใน​สหภาพ​โซเวียต

สหภาพ​โซเวียต

แตลลิน

คีเอฟ

ลวอฟ

เซอร์นอฟต์ซี

โอเดสสา

โปแลนด์

เยอรมนี

เชโกสโลวะเกีย

ปราก

ออสเตรีย

ฮังการี

บูดาเปสต์

โรมาเนีย

ยูโกสลาเวีย

ซาเกร็บ

บัลแกเรีย

แอลเบเนีย

อิตาลี

กรีซ

ตุรกี

[แผนที่]

สหภาพโซเวียต

อัลมา-อาตา

ยูซอลยี-ซิบิร์สกอย