ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

เกาะนอร์ฟอคจากทัณฑนิคมกลายมาเป็นอุทยานของนักท่องเที่ยว

เกาะนอร์ฟอคจากทัณฑนิคมกลายมาเป็นอุทยานของนักท่องเที่ยว

เกาะ​นอร์ฟอค​จาก​ทัณฑนิคม​กลาย​มา​เป็น​อุทยาน​ของ​นัก​ท่อง​เที่ยว

โดย ผู้​สื่อ​ข่าว​ตื่นเถิด ใน​นิวซีแลนด์

ผู้คน​ส่วน​ใหญ่​ที่​มา​ถึง​ชายฝั่ง​ของ​เกาะ​นอร์ฟอค​เมื่อ 150 กว่า​ปี​ที่​แล้ว มา​ภาย​ใต้​การ​บังคับ—ฐานะ​นัก​โทษ. มัน​เป็น​ทัณฑนิคม​สำห​รับ​อาชญากร​ที่​นำ​มา​จาก​ออสเตรเลีย​และ​มี​ชื่อเสียง​เลื่อง​ลือ​ว่า​เป็น​หนึ่ง​ใน​ทัณฑสถาน​ที่​โหด​ร้าย​ทารุณ​ที่​สุด​ใน​ประวัติศาสตร์​อังกฤษ. ปัจจุบัน​มี​นัก​ท่อง​เที่ยว​มาก​กว่า 20,000 คน​ต่อ​ปี​มา​เที่ยว​ชม​เกาะ​อุทยาน​แห่ง​นี้.

แต่​เกาะ​นอร์ฟอค​อยู่​ที่​ไหน? การ​เปลี่ยน​สถานะ​จาก​ทัณฑนิคม​มา​เป็น​สถาน​ที่​ท่อง​เที่ยว​เกิด​ขึ้น​อย่าง​ไร? เหตุ​การณ์​แปลก​ประหลาด​อะไร​บ้าง​ได้​นวด​ปั้น​ประวัติศาสตร์​ของ​เกาะ​นี้? สิ่ง​ดึงดูด​ใจ​อะไร​บ้าง​ที่​นอร์ฟอค​มี​ต่อ​นัก​ท่อง​เที่ยว​ใน​ปัจจุบัน?

ผม​ได้​เสริม​การ​คาด​หมาย​สำห​รับ​การ​เยี่ยม​ชม​ใน​ปี 1990 ด้วย​การ​ศึกษา​ประวัติศาสตร์​ซึ่ง​เต็ม​ไป​ด้วย​สิ่ง​น่า​รู้​แห่ง​เกาะ​นี้. ผม​ได้​เรียน​รู้​ว่า​ใน​ปี 1774 กัปตัน เจมส์ กุ๊ก นัก​สำรวจ​ชาว​อังกฤษ​ผู้​ลือ​ชื่อ แล่น​เรือ​อยู่​แถบ​ปลาย​สุด​ทาง​ทิศ​ตะวัน​ตก​เฉียง​ใต้​ของ​มหาสมุทร​แปซิฟิก​อัน​กว้าง​ใหญ่ และ​ไม่​ได้​ค้น​พบ “ทวีป​ทาง​ตอน​ใต้​อัน​ยิ่ง​ใหญ่” ที่​เขา​กำ​ลัง​ค้น​หา แต่​กลับ​เป็น​ผืน​ดิน​เล็ก ๆ ขนาด​ห้า​คูณ​แปด​กิโลเมตร​ซึ่ง​เป็น​หัว​โผล่​ของ​ภูเขา​ไฟ เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​แนว​สัน​ใต้​ท้อง​มหาสมุทร​ที่​ทอด​ยาว​หลาย​ร้อย​กิโลเมตร​ไป​ทาง​ใต้​จน​ถึง​นิวซีแลนด์. กุ๊ก​ตั้ง​ชื่อ​เกาะ​นี้​ตาม​ชื่อ​ของ​ท่าน​ดุ๊ก​แห่ง​นอร์ฟอค.

“เกาะ​แห่ง​ความ​ทุกข์​แสน​สาหัส”

หนังสือ นอร์ฟอค—แอน ไอแลนด์ แอนด์ อิทส์ พีเพิล บอก​ไว้​ว่า “นอร์ฟอค​มี​ประวัติ​อัน​หลาก​หลาย​มาก. สิ่ง​หนึ่ง​ที่​แน่ ๆ คือ​เหมือน​กับ​เมฆ​พายุ​บน​ขอบ​ฟ้า เมื่อ​มนุษย์​ย่าง​ก้าว​เข้า​ไป​ใน​ฉาก​นี้​ความ​ยุ่งเหยิง​ก็​ติด​ตาม​มา​ใน​ไม่​ช้า.”

เมล็ด​แห่ง​ความ​ยุ่งเหยิง​ถูก​หว่าน​ลง​ประมาณ 14 ปี​หลัง​การ​ค้น​พบ​ของ​กัปตัน​กุ๊ก เมื่อ​ร้อย​โท​ฟิลิป คิง จัด​ตั้ง​ถิ่น​ฐาน​อาศัย​บน​เกาะ​นี้​เพื่อ​สงวน​ไว้​สำห​รับ​การ​ครอบครอง​ของ​อังกฤษ วัตถุ​ประสงค์​อันดับ​สอง​ของ​เขา ซึ่ง​ดู​ที​ท่า​ไม่​ค่อย​ดี คือ​ตั้ง​ทัณฑนิคม​ขึ้น​เพื่อ​ลด​ความ​แออัด​ใน​เรือน​จำ​อังกฤษ.

แม้​จะ​ถูก​ทิ้ง​ให้​ร้าง​ใน​ปี 1814 เนื่อง​จาก​ค่า​ใช้​จ่าย​ที่​สูง​เกิน​ไป สถาน​คุม​ขัง​นี้​ได้​รับ​การ​ตั้ง​ขึ้น​ใหม่​ใน​ปี 1825 และ​ใช้​กัก​ขัง​อาชญากร​หลาย​ประเภท นัก​โทษ​อันตราย นัก​โทษ​การ​เมือง และ​คน​อื่น​อีก​มาก​ที่​ถูก​ส่ง​มา​จาก​บ้าน​เกิด​อัน​ห่าง​ไกล​และ​ขัง​ไว้​เนื่อง​จาก​ความ​ผิด​ทาง​อาญา​เล็ก ๆ น้อย ๆ. ดัง​นั้น สถาน​ที่​ซึ่ง​สามารถ​เป็น​อุทยาน​แปซิฟิก​อัน​สงบ​สุข​ต่อ​ไป​ก็​ถูก​เปลี่ยน​ไป​เป็น “เกาะ​แห่ง​ความ​ทุกข์​แสน​สาหัส” เป็น​เวลา 30 ปี จน​กระทั่ง​ถูก​ทิ้ง​ให้​ร้าง​อีก​ใน​ปี 1854.

ทำไม​จึง​เป็น “เกาะ​แห่ง​ความ​ทุกข์​แสน​สาหัส”? ผม​ทราบ​จาก​หนังสือ ดิส​คัฟเวอริง นอร์ฟอค ไอแลนด์ ว่า “สภาพการณ์​เปลี่ยน​แปลง​ไป​เรื่อย ๆ จาก​พัศดี​คน​หนึ่ง​ไป​ยัง​อีก​คน​หนึ่ง. ระบบ​การ​ปกครอง​แบบ​กรุณา​และ​ไม่​เข้มงวด​มัก​ตาม​ด้วย​การ​ปกครอง​แบบ​โหด​ร้าย​ทารุณ และ​ปราบ​ปราม​อย่าง​แสน​สาหัส. ประวัติศาสตร์​ช่วง​นี้​เต็ม​ไป​ด้วย​เรื่อง​ราว​มาก​มาย​ของ​ฆาตกรรม การ​จลาจล การ​แหก​คุก​เมื่อ​สบ​โอกาส บ้าง​ก็​ล้มเหลว บ้าง​ก็​ประสบ​ผล​สำเร็จ การ​ประหาร​ชีวิต​และ​เฆี่ยน​ตี​เพื่อ​เป็น​การ​ลง​โทษ. นาย​พัน​ตรี​โธมัส บันเบอรี พัศดี​ใน​ปี 1839 แม้​ว่า​เขา​ได้​สั่ง​ให้​เฆี่ยน​ชาย​ห้า​คน​ที่​ยึด​เรือ​เพื่อ​หลบ​หนี​คน​ละ 300 ที แต่​เขา​ก็​ตั้ง​ระบบ​การ​ให้​รางวัล​สำห​รับ​นัก​โทษ​ที่​ประพฤติ​ดี​ด้วย.”

มี​การ​ใช้​แรงงาน​ของ​นัก​โทษ​สร้าง​ทัณฑนิคม รวม​ทั้ง​ห้อง​ขัง โรง​ทหาร และ​สิ่ง​ปลูก​สร้าง​อื่น ๆ ซึ่ง​ยัง​คง​ตั้ง​อยู่​จน​ทุก​วัน​นี้​ด้วย​สภาพ​แตกต่าง​กัน​ไป​และ​มี​ส่วน​เสริม​ประวัติศาสตร์​อัน​ไม่​เหมือน​ใคร​ของ​เกาะ​นี้. ผม​มี​โอกาส​เดิน​ท่ามกลาง​กำ​แพง​และ​อาคาร​เหล่า​นี้​ซึ่ง​มี​การ​กล่าว​ขาน​กัน​ว่า​เป็น​สถาปัตยกรรม​แบบ​จอร์เจีย​น​ที่​ดี​ที่​สุด​ใน​ซีก​โลก​ใต้. มัน​นำ​ผม​ย้อน​สู่​อดีต​เมื่อ 150 ปี​ที่​แล้ว และ​ใน​จินตนาการ​ของ​ผม ผม​ได้​ยิน​เสียง​ร้อง​ครวญ​คราง​ของ​ผู้​ตก​เป็น​เหยื่อ​แห่ง​สถาน​กัก​กัน​นี้.

เกาะ​นอร์ฟอค​และ​การ​กบฏ

การ​เดิน​เล่น​ผ่าน​สุสาน​ของ​นอร์ฟอค​ทำ​ให้​เข้าใจ​ประวัติศาสตร์​อัน​แปลก​ประหลาด​ของ​เกาะ​นี้​มาก​ยิ่ง​ขึ้น. ผม​รู้สึก​เอะ​ใจ​ที่​เห็น​นามสกุล​คริสเตียน​ปรากฏ​อยู่​บ่อย​มาก​บน​แผ่น​หิน​สลัก​ชื่อ​ผู้​ตาย ณ หลุม​ศพ. บ่อย​ครั้ง​ใน​ระหว่าง​การ​เยือน ผม​ได้​ยิน​คน​ท้องถิ่น​พูด​ว่า “ฉัน​เป็น​คริสเตียน” ไม่​ได้​อ้าง​ถึง​ความ​ผูก​พัน​ทาง​ศาสนา​ของ​เขา​หรอก แต่​โดย​สำ​นึก​ใน​สาย​เลือด​ของ​พวก​เขา​ต่าง​หาก.

น้อย​คน​ที่​ไม่​เคย​ได้​ยิน​เรื่อง​ราว​ของ​เรือ​ที่​ชื่อ เบา​น​ตี และ​การ​กบฏ​ที่​เกิด​ขึ้น​บน​เรือ​ลำ​นี้. เหตุ​การณ์​นี้​เป็น​หัวเรื่อง​ใน​หนังสือ​มาก​มาย​หลาย​เล่ม​และ​อย่าง​น้อย​ที่​สุด​ใน​ภาพยนตร์​สาม​เรื่อง. ที่​รู้​จัก​ดี​พอ ๆ กัน​ก็​คือ คู่​ปรปักษ์​สำคัญ กัปตัน​ไบลห์​กับ​ว่า​ที่​เรือ​โท​หนุ่ม​ของ​เขา​ชื่อ เฟลทเชอร์ คริสเตียน. มัน​ตก​ใน​เดือน​เมษายน 1789 หลัง​ออก​เรือ​จาก​ตา​ฮิ​ติ ที่​ไบลห์​พร้อม​กับ​เจ้าหน้าที่​ผู้​ซื่อ​สัตย์​ของ​เขา 18 นาย ถูก​คริสเตียน​และ​ผู้​ร่วม​กบฏ​ของ​เขา​จับ​ใส่​เรือ​เล็ก ๆ ให้​ล่อง​ลอย​ไป. หลัง​จาก​เจ็ด​สัปดาห์​อัน​น่า​กลัว​ใน​ทะเล​และ​กล่าว​กัน​ว่า​เป็น​หนึ่ง​ใน​การ​เดิน​ทาง​ที่​เด่น​ที่​สุด​ใน​ประวัติศาสตร์​การ​เดิน​เรือ ไบลห์​และ​เพื่อน​ร่วม​ทาง​ของ​เขา​ก็​ขึ้น​บก​ได้​ที่​ติ​มอ​ร์ ซึ่ง​ปัจจุบัน​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​อินโดนีเซีย เกือบ 6,400 กิโลเมตร​ไป​ทาง​ตะวัน​ตก​จาก​จุด​ที่​เขา​ถูก​ปล่อย​ทิ้ง. ภาย​หลัง​ไบลห์​เดิน​ทาง​กลับ​อังกฤษ​และ​รายงาน​เรื่อง​ของ​เขา และ​กบฏ​สาม​คน​ถูก​นำ​ขึ้น​ศาล​และ​แขวน​คอ.

ระหว่าง​นั้น หลัง​จาก​การ​กลับ​ไป​ตา​ฮิ​ติ​ด้วย​เรือ​เบา​น​ตี เฟลทเชอร์​พร้อม​กับ​เพื่อน​ร่วม​กบฏ 8 คน​และ​ชาว​ตา​ฮิ​ติ 19 คน ทั้ง​ชาย​และ​หญิง ก็​ได้​ออก​เดิน​เรือ​อีก​เพื่อ​หนี​การ​แก้แค้น. ใน​ปี 1790 พวก​เขา​ก็​มา​ถึง​เกาะ​พิก​แคร์​น​อัน​ไกล​ลิบ ด้วย​ระยะ​ห่าง 2,200 กิโลเมตร​ทาง​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้​ของ​ตา​ฮิ​ติ.

สำห​รับ​บรรดา​ผู้​ก่อ​การ​กบฏ​แล้ว​อาจ​พูด​ได้​ว่า​เกาะ​พิก​แคร์​น​เป็น​การ​ลง​โทษ​ใน​รูป​แบบ​อย่าง​หนึ่ง. ชีวิต​บน​เกาะ​นั้น​ทารุณ. ความ​อิจฉา​ริษยา​นำ​ไป​สู่​ความ​รุนแรง​และ​ความ​ตาย. กระนั้น ทั้ง​ที่​มี​ปัญหา​เหล่า​นี้ อีก​ทั้ง​ความ​ยา​กล​ำเค็ญ​ต่าง ๆ ใน​การ​ยัง​ชีพ “นิคม” นี้​ก็​ยัง​อยู่​รอด​ได้ ไม่​นึก​เลย​ว่า ใน​ปี 1856 ลูก​หลาน​ของ​พวก​เขา​จะ​ได้​รับ​โอกาส​ให้​ตั้ง​ถิ่น​ฐาน​บน​เกาะ​นอร์ฟอค​ห่าง​ออก​ไป​ประมาณ 7,000 กิโลเมตร​ทาง​ทิศ​ตะวัน​ตก.

จาก​พิกแคร์น สู่​นอร์ฟอค

รุ่ง​อรุณ​ของ​วัน​ที่ 8 มิถุนายน 1990 อากาศ​บน​เกาะ​นอร์ฟอค​เย็น​และ​เปียก​ชื้น. อย่าง​ไร​ก็​ตาม สภาพ​อากาศ​ไม่​ได้​กีด​ขวาง​ชาว​เกาะ​นับ​ร้อย​ซึ่ง​แต่ง​กาย​ด้วย​ชุด​แห่ง​ช่วง​กลาง​ศตวรรษ​ที่ 19 ที่​เต็ม​ด้วย​สี​สัน จาก​การ​รวม​ตัว​กัน​ที่​ท่า​เรือ​เพื่อ​ฉลอง​วัน​เบา​น​ตี​ประ​จำ​ปี. ใน​ฐานะ​ผู้​สังเกตการณ์​ที่​สนใจ ผม​ได้​เห็น​กับ​ตา​ถึง​การ​สู้​คลื่น​และ​ลม​ของ​ชาว​เรือ​ขณะ​พวก​เขา​แสดง​บท​การ​ขึ้น​บก​อีก​ครั้ง​ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​เมื่อ 134 ปี​ก่อน​คือ​ใน​ปี 1856.

ใน​ปี​นั้น ซึ่ง​ก็​ผ่าน​ไป 67 ปี​แล้ว​นับ​จาก​การ​กบฏ. ชาว​เกาะ​พิก​แคร์​น 193 คน​ได้​ย้าย​มา​ตั้ง​รกราก​ใน​บ้าน​ใหม่​บน​เกาะ​นอร์ฟอค. ต่อ​มา​บาง​คน​ก็​ได้​กลับ​ไป​อีก และ​ดัง​นั้น​พิก​แคร์​น​ยัง​คง​มี​ผู้​คน​อาศัย​อยู่​จน​ปัจจุบัน.

แทน​ที่​จะ​สะท้อน​ภาพ​ของ​ผู้​ก่อ​การ​กบฏ​อัน​น่า​กลัว​และ​ดื้อ​รั้น ชน​ผู้​ตั้ง​รกราก​ใหม่​ของ​นอร์ฟอค—เชื้อ​สาย​ยุโรป​และ​ตา​ฮิ​ติ​ที่​บึกบึน—ได้​พัฒนา​มา​เป็น​ชุมชน​ที่​ผูก​พัน​แน่นแฟ้น นับถือ​ศาสนา และ​เป็น​มิตร. กสิกรรม​และ​การ​ประมง​เป็น​อาชีพ​หลัก. ประสบการณ์​จาก​พิก​แคร์​น​ได้​หล่อ​หลอม​พวก​เขา​อย่าง​ดี​สำห​รับ​ชีวิต​แบบ​โดด​เดี่ยว​และ​พึ่ง​ตน​เอง. การ​ติด​ต่อ​แม้​แต่​เล็ก​น้อย​กับ​โลก​ภาย​นอก​โดย​ทาง​เรือ​ที่​ผ่าน​ไป​ก็​เป็น​ไป​ได้​ยาก​เนื่อง​จาก​ขาด​ท่า​เรือ​น้ำ​ลึก.

สนามบิน​และ​การ​เปลี่ยน​แปลง

ดัง​เป็น​จริง​กับ​ประเทศ​ต่าง ๆ หลาย​แห่ง​ที่​เป็น​เกาะ​ใน​แปซิฟิก​ตอน​ใต้ สงคราม​โลก​ครั้ง​ที่​สอง​ก็​ได้​ก่อ​ให้​เกิด​การ​เปลี่ยน​แปลง​สำห​รับ​นอร์ฟอค​ด้วย​เช่น​กัน ที่​เด่น​ที่​สุด​คือ​การ​ก่อ​สร้าง​สนามบิน. สนามบิน​นี้​นำ​มา​ซึ่ง​การ​ติด​ต่อ​กับ​โลก​ภาย​นอก​อยู่​เนือง ๆ และ​สิ่ง​ที่​เป็น​ราย​ได้​หลัก​ของ​เกาะ​ใน​ปัจจุบัน​คือ การ​ท่อง​เที่ยว.

ก่อน​ที่​ผม​และ​เพื่อน​ร่วม​ทาง​จะ​จาก​เครื่องบิน​ที่​สนามบิน​นอร์ฟอค ตัว​แทน​ท้องถิ่น​จาก​สำ​นัก​งาน​การ​ท่อง​เที่ยว​ของ​รัฐ​คน​หนึ่ง​แจ้ง​ให้​เรา​ทราบ​ว่า เนื่อง​จาก​ฝูง​ปศุสัตว์​จะ​เดิน​อยู่​ตาม​ถนน “เรา​ขอ​ให้​คุณ​ขับ​รถ​ด้วย​ความ​ระมัดระวัง. สัตว์​เหล่า​นั้น​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ไป​ก่อน.” ที่​จริง นัก​ท่อง​เที่ยว ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​มา​จาก​ออสเตรเลีย​และ​นิวซีแลนด์ ถูก​ดึงดูด​ใจ​ด้วย​รูป​แบบ​ชีวิต​ที่​เรียบ​ง่าย ไม่​สลับ​ซับซ้อน. ที่​เป็น​เสน่ห์​ดึงดูด​ใจ​ด้วย​เช่น​กัน​คือ ธรรมชาติ​อัน​งดงาม ร้าน​ค้า​ปลอด​ภาษี และ​ประวัติศาสตร์​ที่​ไม่​เหมือน​ใคร​ซึ่ง​เกี่ยว​โยง​กับ​ทัณฑนิคม​สมัย​แรก ๆ และ​การ​กบฏ​บน​เรือ​เบา​น​ตี ใน​เวลา​ต่อ​มา.

แม้​ว่า​ชาว​เกาะ​เอง​ยอม​รับ​ว่า​พวก​เขา​ต้อง​พึ่ง​ธุรกิจ​การ​ท่อง​เที่ยว แต่​การ​เติบโต​ของ​การ​ท่อง​เที่ยว​ปัจจุบัน​เป็น​ปัญหา​กังวล​ใจ​สำห​รับ​บาง​คน​ซึ่ง​อาศัย​ที่​นอร์ฟอค​มา​เป็น​เวลา​ยาว​นาน ผู้​ซึ่ง​อาลัย​อาวรณ์​ชีวิต​ใน​อดีต​ซึ่ง​มี​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​ตน​เอง​มาก​กว่า. เมื่อ​ผม​ถาม​ชาว​เกาะ​คน​หนึ่ง​ว่า​เธอ​อยาก​ให้​วัน​ก่อน ๆ กลับ​คืน​มา​ไหม เธอ​ตอบ​ว่า “โอ ใช่! ใช่! แน่นอน​ที่​สุด! ทุก​คน​มี​เวลา​มาก​พอ​ที่​จะ​เอา​ใจ​ใส่​กัน​อย่าง​แท้​จริง. ผู้​คน​แบ่ง​ปัน​ผล​ผลิต​ให้​กัน​และ​กัน. เดี๋ยว​นี้​ทุก​สิ่ง​เน้น​หนัก​ไป​ทาง​เรื่อง​เงิน.”

“วัต​ตา​เว ยู”

นั่น​เป็น​คำ​ทักทาย​ที่​ผม​ได้​รับ​ใน​ตอน​เช้า​วัน​หนึ่ง​ขณะ​เข้า​ร่วม​งาน​สอน​ศาสนา​ตาม​บ้าน. “วัตตาเว ยู” (What a way you) แปล​ว่า “สวัสดี คุณ​สบาย​ดี​ไหม?” ขณะ​ที่​ภาษา​อังกฤษ​เป็น​ภาษา​ที่​ใช้​พูด​กัน​ทั่ว​ไป​บน​เกาะ​นอร์ฟอค ชาว​ต่าง​ด้าว​แห่ง​ปี 1856 ได้​นำ​ภาษา​พื้นเมือง​อัน​น่า​รัก​ของ​เขา​เข้า​มา​ด้วย เป็น​การ​ผสม​กัน​ระหว่าง​ภาษา​อังกฤษ​แบบ​เก่า​กับ​ภาษา​ตา​ฮิ​ติ ได้​พัฒนา​ขึ้น​ระหว่าง​พวก​เขา​พัก​อาศัย​ชั่ว​คราว​บน​เกาะ​พิก​แคร์​น. ไม่​ใช่​แค่​ภาษา​อังกฤษ​พิดจิน แต่​ภาษา “พิกแคร์น” หรือ “นอร์ฟอค” เป็น​ภาษา​ที่​ซับซ้อน​ภาษา​หนึ่ง​ต่าง​หาก​และ​พูด​กัน​ด้วย​ท่วง​ทำ​นอง​อัน​รื่นรมย์.

ผม​ตรวจ​บาง​ตัว​อย่าง​ใน​หนังสือ พูด​ภาษา​นอร์ฟอค​วัน​นี้. ทเวลฟ ซาลัน โก เดอ มีทิง” หมายความ​ว่า “สิบ​สอง​คน​ไป​ร่วม​การ​ประชุม.” “เอส กุด ดิเอ เอล ดู เฟอ กู ฟิชเชน” แปล​ว่า “มัน​เป็น​วัน​อัน​แจ่ม​ใส เหมาะ​ที่​จะ​ไป​ตก​ปลา.”

“มา​ดู​ด้วย​ตน​เอง”

เอกสาร​การ​ท่อง​เที่ยว​ชิ้น​หนึ่ง​พูด​ถึง​นอร์ฟอค​ว่า​เป็น “สถาน​ท่อง​เที่ยว​ที่​เป็น​มิตร​ที่​สุด, มี​ชีวิต​แบบ​ชนบท​แท้ ๆ, น่า​สนใจ​ทาง​ประวัติศาสตร์, สวย​งาม, ผ่อน​คลาย, ปลอด​ภัย, เย้า​ยวน​ใจ, ยัง​ไม่​ได้​รับ​ความ​เสียหาย, มี​น้ำใจ​มาก​ที่​สุด​เท่า​ที่​มี​ใน​โลก.” ชน​พื้นเมือง​คน​หนึ่ง​บอก​ผม​อย่าง​ภาคภูมิ​ใจ​ว่า “ฉัน​คิด​ว่า​เรา​อยู่​ใกล้​สภาพ​อุทยาน​มาก​ที่​สุด​เท่า​ที่​เป็น​ไป​ได้​สำห​รับ​ระบบ​แห่ง​สิ่ง​ต่าง ๆ ใน​ปัจจุบัน และ​ฉัน​ไม่​ต้องการ​ละ​ที่​นี่​ไป​อยู่​ที่​อื่น.”

แม้​ว่า​จะ​ตั้ง​อยู่​ใน​ทะเล​ใต้ ภูมิ​ประเทศ​ของ​เกาะ​นี้​เป็น​แบบ​ดินแดน​อบอุ่น. เนิน​เขา​เขียว​ชอุ่ม​ที่​ลาด​ละเลียด​ดาษ​ดื่น​ด้วย​ต้น​ไม้​สวย​งาม พุ่ม​ไม้ และ​ดอกไม้​ต่าง ๆ. จาก​ที่​สูง​ทุก​แห่ง​หน​ผม​มอง​เห็น​มหาสมุทร​แปซิฟิก​อัน​กว้าง​ใหญ่. บ้าน​เรือน ไม่​หนา​แน่น จัด​อยู่​ใน​สวน​ที่​น่า​รัก. แทบ​ไม่​มี​อาชญากรรม​อยู่​เลย. ผู้​คน​ยัง​คง​ขยัน​ใน​การ​ทำ​งาน​โดย​ได้​รับ​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​รัฐบาล​อยู่​บ้าง. ทัศนะ​แห่ง​การ​พึ่ง​พา​ตน​เอง​และ​การ​ประยุกต์​ดัด​แปลง​ยัง​คง​ดำ​เนิน​ต่อ​ไป. และ​แม้​แต่​บน​เกาะ​เล็ก ๆ แห่ง​นี้ พยาน​พระ​ยะโฮวา​ก็​ประกาศ​ข่าว​ดี​ของ​พวก​เขา.

ประชาชน​ผู้​มี​อัธยาศัย​รับ​แขก​ที่​ไม่​เหมือน​ใคร​ของ​เกาะ​แห่ง​นี้​อาจ​พูด​กับ​คุณ​ว่า “ยอ​ร์​ลาย คัม ลุ​ค ออน”—“มา​ซิ​และ​ชม​ด้วย​ตน​เอง.” ช่าง​เป็น​ที่​น่า​ยินดี​ที่​ได้​มี​โอกาส​ตอบรับ​คำ​เชิญ​นี้.

[แผนที่/ภาพ​หน้า 25]

จาก​ที่​สูง​ทุก​แห่ง​หน​จะ​มอง​เห็น​มหาสมุทร​แปซิฟิก​อัน​กว้าง​ใหญ่​ได้

[แผนที่]

(ราย​ละเอียด​ดู​จาก​วารสาร)

[รูปภาพ​หน้า 25]

เกาะ​นอร์ฟอค

เกาะ​พิกแคร์น

นิวซีแลนด์

[รูปภาพ​หน้า 26]

ตึก​อำ​นวย​การ​และ​กำ​แพง​เรือน​จำ; เกาะ​ฟิลิป​ไกล​ออก​ไป

ต้น​สน​แบบ​นอร์ฟอค​มี​รูป​ทรง​ที่​ได้​สัดส่วน​กัน