การเพ่งดูโลก
การเพ่งดูโลก
ผู้รับความเสียหายจากกับระเบิดในกัมพูชา
“เมื่อเทียบส่วนแล้วกัมพูชามีคนพิการทางร่างกายมากที่สุดในโลก” กล่าวไว้ใน เดอะ อิคอนอมิสต์. เพราะเหตุใด? เพราะกับระเบิด “มีการวางอย่างไม่เลือกที่โดยทั้งฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังฝ่ายตรงข้ามในสงครามกลางเมือง.” เนื่องจากไม่มีการเก็บบันทึกเกี่ยวกับตำแหน่ง กับระเบิดก่อความบาดเจ็บมากกว่าอาวุธอื่นใด. กลุ่มสิทธิมนุษยชนสองกลุ่ม เอเชียวอช และกลุ่มแพทย์เพื่อสิทธิมนุษยชน รู้สึกว่าประเทศเหล่านั้นที่ได้จัดหากับระเบิดดังกล่าว หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีวางระเบิด—อังกฤษ, จีน, สิงคโปร์, อดีตสหภาพโซเวียต, ไทย, สหรัฐ, และเวียดนาม—มีพันธะทางศีลธรรมให้ทำการกำจัดระเบิดเหล่านั้นออกไป. พวกเขากำลังเรียกร้องต่อสหประชาชาติเพื่อห้ามการใช้กลไกซึ่ง “ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเสียงฝีเท้าของทหารและของเด็กที่เก็บฟืน” วารสารนั้นกล่าว.
การชะลอการเพิ่มประชากร
ในตอนกลางปี 1991 ประชากรโลกมีถึง 5.4 พันล้านคน. ถ้าหากจะทวีขึ้นในอัตราปัจจุบัน ตามรายงานในสถานะของประชากรโลก 1991 จำนวนประชากรโลกจะถึง 10 พันล้านคน ภายในปี 2050. UNFPA (กองทุนเพื่อกิจกรรมด้านประชากรของสหประชาชาติ) วางโครงการเพื่อชะลอการเพิ่มพูนเช่นนั้น—โดยเฉพาะในแอฟริกา ซึ่งที่นั่นโดยเฉลี่ยมีการเกิด 6.2 รายต่อผู้หญิงหนึ่งคน. เป้าหมายของ UNFPA สำหรับปี 2000 คือเพิ่มการใช้วิธีคุมกำเนิดร้อยละ 50 ทั่วโลก. เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ต้องจ่าย 225 พันล้านบาทแต่ละปี ตาม UNFPA กล่าว. บางคนคิดว่าค่าใช้จ่ายนี้คุ้มค่า. อาทิเช่น การคำนวณอย่างเป็นทางการในอินเดียแสดงว่าตั้งแต่ปี 1979 มีการยับยั้งการเกิด 106 ล้านราย โดยการใช้วิธีคุมกำเนิด. ทั้งนี้ได้ประหยัดค่าใช้จ่าย 18,550 พันล้านบาทในการศึกษาและอนามัย.
การสมรสและการคาดหมาย เกี่ยวกับชีวิต
ตามรายงานโดยสถาบันแห่งชาติฝรั่งเศสว่าด้วยการศึกษาสถิติประชากร คนที่สมรสมักจะมีชีวิตอยู่นานกว่าคนโสด. ไม่ว่าชายหรือหญิง รายงานนั้นแสดงถึงการเกี่ยวข้องอย่างแน่นอนระหว่างสถานภาพการสมรส และความคาดหวังเรื่องชีวิตของเขาหรือเธอ. สถิติแสดงว่าคนที่สมรสมีช่วงชีวิตยาวที่สุดโดยเฉลี่ย ขณะที่คนหย่าร้าง, คนโสด, หญิงม่าย, และพ่อม่ายมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่าตามลำดับ. โดยให้ข้อสังเกตว่าความแตกต่างในความคาดหมายของชีวิตมีไม่มากนักระหว่างผู้หญิงที่สมรสและผู้หญิงโสด นักค้นคว้ากล่าวว่าพวกผู้หญิงดูเหมือนจะปรับตัวกับสภาพโสดของตนได้ดีกว่า.
เลือดและโรค
รัฐมนตรีสาธารณสุขแห่งอินโดนีเซียอ้างว่าอาจมีถึง 2,500 คนในประเทศของเขาที่ติดโรคเอดส์ ตามรายงานใน เดอะ จาการ์ตา โพสต์. มีการไหวตัวมากขึ้นท่ามกลางสาธารณชนชาวอินโดนีเซียเกี่ยวกับอันตรายของเอดส์. โดยยอมรับว่าโรคอันน่ากลัวนี้อาจแพร่หลายด้วยวิธีถ่ายเลือด จึงมีความพยายามเป็นพิเศษเพื่อตรวจเลือดที่มีไว้ใช้ในอินโดนีเซีย. เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่ายังไม่มีการตรวจพบ HIV ในตัวอย่างเลือดบริจาค. อย่างไรก็ดี กาชาดอินโดนีเซียได้พบโรคซิฟิลิส สไพโรคีท และไวรัสตับอักเสบชนิดบีในร้อยละ 2.56 ของเลือดบริจาคซึ่งผ่านการตรวจสอบจนถึงเดี๋ยวนี้.
การแพ้ต่อการกำเริบของมาลาเรีย
“นี้เป็นช่วงที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงในการต่อสู้มาลาเรีย” กล่าวไว้ในวารสาร ไซเยนส์. รายงานใหม่จากสถาบันอายุรศาสตร์แสดงว่าหลังจากที่ได้ทำความก้าวหน้าในทศวรรษปี 1940 และ 1950 มนุษย์กำลังเสียท่าต่อพยาธิตัวนี้. มากกว่าหนึ่งล้านคนใน 102 ประเทศเสียชีวิตทุก ๆ ปี ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก ๆ. ปัญหานี้หนักเข้าไปอีกด้วยเหตุที่ยาต่อต้านมาลาเรียได้หมดประสิทธิภาพไปบ้าง และความพยายามที่จะสร้างวัคซีนใหม่ไม่ประสบผล. สภาพสงครามในประเทศต่าง ๆ ของแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งที่ความตายส่วนใหญ่เกิดขึ้น สร้างความลำบากในการต่อสู้โรคนี้ และประเทศต่าง ๆ ที่มั่งคั่งกว่าได้ตัดงบประมาณสำหรับการค้นคว้าเรื่องมาลาเรีย.