ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การปลอบประโลมผู้ใหญ่ที่ผ่านความบอบช้ำในวัยเด็ก

การปลอบประโลมผู้ใหญ่ที่ผ่านความบอบช้ำในวัยเด็ก

การ​ปลอบ​ประโลม​ผู้​ใหญ่​ที่​ผ่าน​ความ​บอบช้ำ​ใน​วัย​เด็ก

ทั้ง​สอง​เป็น​คู่​สมรส​หนุ่ม​สาว​ที่​ชอบ​คบหา​สมาคม ได้​รับ​ความ​นับถือ​อย่าง​สูง​ใน​ประชาคม. แต่​น้ำ​เสียง​ของ​สามี​ฟัง​ดู​เร่ง​ด่วน​เมื่อ​ขอ​ผู้​ปกครอง​ไป​เยี่ยม​เขา และ​ภรรยา​กำลัง​ร้องไห้. เธอ​ทน​ทุกข์​กับ​อาการ​ซึมเศร้า​อย่าง​หนัก และ​การ​ชิง​ชัง​ตัว​เอง กระทั่ง​คิด​ฆ่า​ตัว​ตาย เป็น​พัก ๆ. เธอ​ถูก​ทำ​ร้าย​ทาง​เพศ​ตอน​เป็น​วัยรุ่น. เธอ​ขอบคุณ​ที่​องค์การ​ของ​พระ​ยะโฮวา​ได้​ให้​การ​ชี้​นำ​วิธี​ช่วย​คน​เหล่า​นั้น​ที่​ตก​เป็น​เหยื่อ​อาชญากรรม​ดัง​กล่าว ผู้​ปกครอง​ได้​ศึกษา​จดหมาย​ของ​สมาคม​ที่​มี​ถึง​คณะ​ผู้​ปกครอง​รวม​ทั้ง​บทความ​ใน อะเวก! 8 ตุลาคม 1991 และ​บทความ​ใน ว็อชเทาเวอร์ 1 ตุลาคม 1983 ซึ่ง​พิจารณา​เรื่อง​นี้. ต่อ​ไป​นี้​จะ​เป็น​บาง​ประเด็น​ที่​ได้​มา​จาก​แหล่ง​ดัง​กล่าว​ซึ่ง​นำ​ไป​ใช้​ประโยชน์​ได้.

1. ฟัง, ฟัง, ฟัง. เมื่อ​หัวเข่า​ของ​เด็ก​ถลอก ความ​คิด​แรก​คือ​วิ่ง​ไป​หา​แม่​หรือ​พ่อ​เพื่อ​รับ​การ​ปลอบ​ประโลม. แต่​เด็ก​ที่​ถูก​ทำ​ร้าย​อาจ​ไม่​มี​โอกาส​ที่​จะ​ทำ​เช่น​ว่า​เลย. ดัง​นั้น เมื่อ​เป็น​ผู้​ใหญ่ เขา​ยัง​มี​ความ​ต้องการ​เหมือน​เดิม—ที่​จะ​เล่า พูด​ออก​มา ที่​จะ​รับ​การ​ปลอบ​ประโลม​จาก​ผู้​ฟัง​ที่​เห็น​อก​เห็น​ใจ. (เทียบ​โยบ 10:1; 32:20.) เมื่อ​ผู้​ปกครอง​ไป​เยี่ยม​คู่​สมรส​ที่​กล่าว​ถึง​ข้าง​ต้น สามี​แปลก​ใจ​ว่า​ทำไม​ผู้​ปกครอง​พูด​น้อย​และ​ฟัง​มาก. สามี​ซึ่ง​เป็น​คน​มี​เหตุ​ผล พร้อม​ที่​จะ​ช่วยเหลือ ยอม​รับ​ว่า​ได้​พยายาม​แก้​ปัญหา​โดย​สนอง​ตอบ​ต่อ​อารมณ์​ตาม​หลัก​เหตุ​ผล พยายาม​ปรับ​แก้​ความ​รู้สึก​ซึ่ง​สำหรับ​ตน​แล้ว​ดู​เหมือน​ไร้​สาระ. เขา​ได้​เรียน​ว่า​ภรรยา​ต้องการ​การ​ร่วม​รู้สึก​มาก​กว่า​คำ​ตอบ. (เทียบ​โรม 12:15.) เธอ​ต้องการ​ได้​ยิน​ว่า​ความ​รู้สึก​ของ​เธอ​นั้น​มี​เหตุ​ผล​ที่​ฟัง​ขึ้น.

2. แฉ​คำ​เท็จ. การ​ทำ​ร้าย​สอน​เด็ก ๆ ให้​คิด​ว่า​พวก​เขา​สกปรก, ไม่​น่า​รัก, ไร้​ค่า. เช่น​เดียว​กับ​คำ​สอน​เท็จ​ทาง​ศาสนา ความ​คิด​ดัง​กล่าว​อาจ​ทำ​ให้​เป็น​การ​ยาก​มาก​ที่​จะ​มี​สาย​สัมพันธ์​อัน​ดี​กับ​พระ​ยะโฮวา. ดัง​นั้น จง​แฉ​คำ​เท็จ​เหล่า​นี้​และ​แทน​ที่​ด้วย​ความ​จริง—อย่าง​นุ่มนวล, ซ้ำ​หลาย ๆ ครั้ง, ด้วย​ความ​อด​ทน. ใช้​เหตุ​ผล​จาก​พระ​คัมภีร์. (2 โกรินโธ 10:4,5) ตัว​อย่าง​เช่น “ผม​เข้าใจ​ว่า​คุณ​รู้สึก​ไม่​สะอาด. แต่​พระ​ยะโฮวา​ทรง​รู้สึก​เช่น​ไร​เกี่ยว​กับ​ตัว​คุณ? ถ้า​พระองค์​ยอม​ให้​พระ​บุตร​ของ​พระองค์​วาย​พระ​ชนม์​และ​จัด​เตรียม​ค่า​ไถ่​สำหรับ​คุณ นั่น​แสดง​ว่า​พระองค์​ทรง​รัก​คุณ​มิ​ใช่​หรือ? [โยฮัน 3:16] ใน​สาย​พระ​เนตร​ของ​พระองค์ การ​ทำ​ร้าย​เป็น​เหตุ​ให้ คุณ ไม่​สะอาด หรือ​ทำ​ให้ ผู้​ทำ​ร้าย ไม่​สะอาด? โปรด​จำ​ไว้​ว่า​พระ​เยซู​ตรัส​ดัง​นี้: ‘ไม่​มี​สิ่ง​ใด​ภาย​นอก​ที่​เข้า​ไป​ภาย​ใน​มนุษย์​จะ​กระทำ​ให้​มนุษย์​เป็น​มลทิน​ได้ แต่​สิ่ง​ซึ่ง​ออก​มา​แต่​ภาย​ใน​มนุษย์​สิ่ง​นั้น​แหละ​กระทำ​ให้​มนุษย์​เป็น​มลทิน.’ [มาระโก 7:15] จริง ๆ แล้ว การ​ทำ​ร้าย​นั้น​ออก​มา​จาก​เด็ก​เล็ก ๆ อย่าง คุณ ไหม? หรือ​ว่า​ผู้​ทำ​ร้าย​ดำริ​ขึ้น​มา​ใน​ใจ​ของ​เขา​เอง?”

3. พูด​คำ​ปลอบ​ประโลม. แต่​ละ​คน​มี​ลักษณะ​เฉพาะ​ตัว ดัง​นั้น คำ​แนะ​นำ​ของ​เปาโล​ที่​ให้ “หนุน​ใจ​ผู้​ที่​ท้อ​ใจ” จะ​ต้อง​นำ​ไป​ใช้​ด้วย​วิธี​ที่​แตกต่าง​กัน​ใน​แต่​ละ​กรณี. (1 เธซะโลนิเก 5:14) อย่าง​ไร​ก็​ตาม คำ​พูด​แบบ​ง่าย​เกิน​ไป​แทบ​จะ​ไม่​เป็น​การ​ปลอบ​ประโลม. ตัว​อย่าง​เช่น เพียง​แต่​บอก​ผู้​ที่​ผ่าน​การ​ถูก​ทำ​ร้าย​ให้​อ่าน​คัมภีร์​ไบเบิล​มาก​ขึ้น ทำ​งาน​เผยแพร่​มาก​ขึ้น หรือ ‘ให้​ทิ้ง​ภาระ​กับ​พระ​ยะโฮวา​ก็​แล้ว​กัน’—แม้​ว่า​คำ​แนะ​นำ​เหล่า​นี้​จะ​ช่วย​ได้​ใน​บาง​ครั้ง—อาจ​ไม่​บังเกิด​ผล. (บทเพลง​สรรเสริญ 55:22; เทียบ​ฆะลาเตีย 6:2.) หลาย​คน​กำลัง​ทำ​สิ่ง​เหล่า​นี้​อย่าง​ดี​ที่​สุด​เท่า​ที่​สามารถ​ทำ​ได้​อยู่​แล้ว และ​ตำหนิ​ตน​เอง​อย่าง​รุนแรง​ที่​ไม่​ทำ​ให้​ดี​กว่า​นี้.—เทียบ 1​โยฮัน 3:19,20.

ใน​ทำนอง​เดียว​กัน การ​บอก​ผู้​ถูก​ทำ​ร้าย​ให้​ลืม​เรื่อง​ใน​อดีต​อาจ​ก่อ​ความ​เสียหาย​มาก​ยิ่ง​กว่า​ประโยชน์. ถ้า​พวก​เขา​ลืม​ได้ คง​จะ​ลืม​ไป​แล้ว—และ​คง​ไม่​จำเป็น​ต้อง​ได้​รับ​ความ​ช่วยเหลือ​ให้​รู้​วิธี​แก้​ที่​ง่าย ๆ แบบ​นี้. * โปรด​จำ​ไว้​ว่า​เขา​ได้​รับ​ความ​บอบช้ำ​ทาง​อารมณ์​อย่าง​รุนแรง. เพื่อ​เป็น​การ​เปรียบ​เทียบ ลอง​นึก​ภาพ​ว่า​คุณ​มา​พบ​ผู้​ที่​ถูก​รถ​ชน​กำลัง​นอน​ครวญ​คราง​อยู่​ใน​ซาก​รถ. คุณ​จะ​แค่​บอก​เขา​ไม่​ให้​คิด​ถึง​ความ​เจ็บ​ปวด​เช่น​นั้น​ไหม? แน่นอน ต้อง​ทำ​มาก​กว่า​นั้น.

ถ้า​คุณ​ไม่​แน่​ใจ​ว่า​สิ่ง​ที่​คุณ​พูด​เป็น​การ​ปลอบ​ประโลม​และ​การ​ช่วยเหลือ ทำไม​ไม่​ถาม​คน​ที่​ซึมเศร้า​คน​นั้น​ดู​ล่ะ? ถ้า​จะ​ว่า​ไป แม้​แต่​คำ​แนะ​นำ​ที่​ถูก​ต้อง​และ​เป็น​ไป​ตาม​หลักการ​ของ​พระ​คัมภีร์​ก็​ยัง​ต้อง​ให้​เหมาะ​กับ​กาลเทศะ​ด้วย​ซ้ำ.—เทียบ​สุภาษิต 25:11.

หลัง​จาก​การ​เยี่ยม​สอง​สาม​ครั้ง พี่​น้อง​หญิง​คน​นั้น​ก็​เริ่ม​มี​ทัศนะ​ที่​ดี​ขึ้น และ​สามี​ของ​เธอ​ก็​เชี่ยวชาญ​มาก​ขึ้น​ใน​การ​ช่วย​เธอ​ผ่าน​ช่วง​ที่​ยาก​ลำบาก. ต่อ​มา ทั้ง​สอง​ได้​มี​โอกาส​ให้​การ​ประเล้าประโลม​ผู้​อื่น​ซึ่ง​ประสบ​ความ​บอบช้ำ​คล้าย​กัน. เป็น​ที่​เสริม​ความ​เชื่อ​สัก​เพียง​ไร​เมื่อ​เห็น​พระ​ยะโฮวา “พระเจ้า​ผู้​ทรง​ชู​ใจ​ทุก​อย่าง” ทรง​ปฏิบัติการ​ผ่าน​ทาง​พระ​คำ​และ​ไพร่​พล​ของ​พระองค์ “เพื่อ​สมาน​จิตต์​ใจ​ที่​ฟก​ช้ำ” ใน​ยุค​ที่​มี​ความ​ยุ่งยาก​นี้.—2 โกรินโธ 1:3; ยะซายา 61:1.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 6 จริง​อยู่ อัครสาวก​เปาโล​ได้​แนะ​นำ​คริสเตียน​ให้ ‘ลืม​สิ่ง​เหล่า​นั้น​ที่​ผ่าน​พ้น​ไป.’ แต่​ที่​นี่​เปาโล​พูด​ถึง​ชื่อเสียง​และ​ความ​สำเร็จ​ทาง​โลก​ที่​ท่าน​เคย​มี ซึ่ง​บัด​นี้ “เป็น​เหมือน​หยากเยื่อ” สำหรับ​ท่าน. ท่าน​ไม่​ได้​พูด​ถึง​ความ​ทุกข์​ลำบาก​ของ​ท่าน​ใน​อดีต ซึ่ง​สำหรับ​สิ่ง​หลัง​นี้​ท่าน​พูด​ถึง​อย่าง​สะดวก​ใจ.—ฟิลิปปอย 3:4-6,8,13; เทียบ 2 โกรินโธ 11:23-27.