วิธีที่ครอบครัวต่าง ๆ รับมือกับการป่วยเรื้อรัง
วิธีที่ครอบครัวต่าง ๆ รับมือกับการป่วยเรื้อรัง
อาจนิยามการรับมือว่าเป็น “ความสามารถในการจัดการ และควบคุมความเครียดของตนอย่างได้ผล.” (พจนะ-สารานุกรมแพทย์ของเทเบอร์, ภาษาอังกฤษ) สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการเผชิญปัญหาเรื่องการป่วยเรื้อรังในแบบที่คุณสามารถควบคุมสถานการณ์และมีใจสงบได้ในระดับหนึ่ง. และเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาของทั้งครอบครัว สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจึงต้องให้การเกื้อหนุนด้วยความรักและภักดีเพื่อครอบครัวจะรับมือได้อย่างประสบผลสำเร็จ. ให้เรามาพิจารณาว่า ครอบครัวต่าง ๆ รับมือกับการป่วยเรื้อรังอย่างไรบ้าง.
คุณค่าของความรู้
อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาอาการทุพพลภาพ แต่การรู้วิธีรับมือก็สามารถลดผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์จากการเจ็บป่วยได้. สิ่งนี้สอดคล้องกับสุภาษิตโบราณที่ว่า “ชายที่มีความรู้ก็มีกำลังมากขึ้น.” (สุภาษิต 24:5, ล.ม.) ครอบครัวจะมีความรู้เกี่ยวกับวิธีรับมือได้อย่างไร?
ขั้นแรก จะต้องหาแพทย์ที่สื่อความและให้ความช่วยเหลือได้ดี ซึ่งเต็มใจสละเวลาอธิบายทุกเรื่องอย่างถี่ถ้วนแก่ผู้ป่วยและครอบครัว. หนังสือลูกที่ต่างจากคนอื่นในครอบครัว ให้ข้อสังเกตว่า “แพทย์ที่ดีพร้อมจะคำนึงถึงทั้งครอบครัว และมีทักษะที่จำเป็นทุกอย่างในการรักษา.”
ขั้นต่อไป ต้องหมั่นถามคำถามที่เจาะจงจนกว่าคุณจะเข้าใจสถานการณ์เท่าที่คุณสามารถทำได้. แต่โปรดจำไว้ว่า เมื่ออยู่กับแพทย์ ง่ายที่คุณจะประหม่าและลืมว่าต้องการถามอะไร. คำแนะนำอย่างหนึ่งที่นับว่าเป็นประโยชน์ก็คือ จดคำถามไว้ล่วงหน้า. โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง คุณอาจอยากรู้ว่ามีอะไรบ้างที่คาดว่าจะเป็นผลจากการเจ็บป่วย และการรักษา และจะต้องทำอะไรในเรื่องนี้.—โปรดดูกรอบ “คำถามต่าง ๆ ที่ครอบครัวอาจใช้ถามแพทย์.”เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะให้ข้อมูลพอเพียงแก่พี่ ๆ น้อง ๆ ของลูกที่ป่วยเรื้อรัง. มารดาคนหนึ่งแนะนำว่า “อธิบายถึงปัญหาตั้งแต่วันแรก ๆ. พวกเขาอาจรู้สึกได้ง่าย ๆ ว่าเป็นส่วนเกินของครอบครัว ถ้าเขาไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น.”
อนึ่ง บางครอบครัวสามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้โดยการค้นคว้าตามห้องสมุดท้องถิ่น, ตามร้านหนังสือ, หรือทางอินเทอร์เน็ต—บ่อยครั้ง ได้รับข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับโรคนั้น ๆ.
รักษาคุณภาพชีวิตตามความเหมาะสม
เป็นเรื่องธรรมดาที่สมาชิกครอบครัวต้องการจะรักษาคุณภาพชีวิตตามความเหมาะสมของผู้ป่วย. ขอยกเรื่องของนีล ดู ทอยต์ ซึ่งเอ่ยถึงในบทความแรกเป็นตัวอย่าง. เขายังคงข้องขัดใจเพราะความอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอันเป็นผลของโรค. กระนั้น เขาใช้เวลาประมาณ 70 ชั่วโมงต่อเดือนทำสิ่งที่เขาชอบมากที่สุด นั่นคือ พูดคุยกับผู้คนในชุมชนของเขาเกี่ยวกับความหวังที่เขามีซึ่งอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก. เขาบอกว่า “การให้ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลในประชาคมก็ทำให้ผมอิ่มใจพอใจด้วย.”
คุณภาพชีวิตยังหมายรวมถึงความสามารถที่จะให้และรับความรัก, ทำกิจกรรมที่น่าเพลิดเพลิน, และธำรงไว้ซึ่งความหวัง. ผู้ป่วยยังคงต้องการชื่นชมกับชีวิตในระดับที่การรักษาและโรคของเขาจะเปิดทางให้ได้. บิดาคนหนึ่งซึ่งครอบครัวของเขารับมือกับการเจ็บป่วยมานานกว่า 25 ปี บอกว่า “เราชอบเที่ยวป่าเที่ยวเขา แต่เนื่องจากขีดจำกัดของลูกชาย เราจึงไม่อาจใช้วิธีเดินเท้า. ดังนั้น เราได้ทำการปรับเปลี่ยน. เราไปในที่ที่ไม่สมบุกสมบันมากนัก.”
ใช่แล้ว ผู้ป่วยยังมีความสามารถที่จะทำให้ตนเองได้รับความอิ่มใจพอใจจากชีวิตในระดับหนึ่ง. หลายคนยังสามารถชื่นชมในทัศนียภาพอันสวยงามและเสียงเพลงที่ไพเราะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค. ยิ่งพวกเขารู้สึกว่าสามารถควบคุมชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้นที่พวกเขาจะมีคุณภาพชีวิตตามความเหมาะสม.
การรับมือกับอารมณ์ขมขื่น
ส่วนสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการรับมือเกี่ยวข้องกับการรู้วิธีควบคุมอารมณ์ที่ก่อความเสียหาย. หนึ่งในอารมณ์เหล่านี้คือ ความโกรธ. คัมภีร์ไบเบิลยอมรับว่าคนสุภาษิต 14:29, ล.ม.) เหตุใดการทำเช่นนี้จึงฉลาดสุขุม? หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งกล่าวว่า ความโกรธ “สามารถกัดกร่อนคุณและทำให้คุณขุ่นเคืองใจหรือพูดถ้อยคำที่เจ็บปวดซึ่งจะทำให้คุณเสียใจในภายหลัง.” แม้จะระเบิดโทโสครั้งเดียวก็ก่อความเสียหายได้ซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขให้เหมือนเดิม.
เราอาจมีเหตุที่ทำให้อารมณ์เสียได้. อย่างไรก็ดี คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเตือนเราเช่นกันให้ “ช้าในการโกรธ.” (คัมภีร์ไบเบิลแนะนำว่า “อย่าให้ตะวันตกโดยที่ท่านยังขุ่นเคืองอยู่.” (เอเฟโซ 4:26, ล.ม.) แน่นอน เราไม่อาจทำอะไรได้เพื่อชะลอตะวันไม่ให้ตก. แต่เราสามารถทำให้ความ “ขุ่นเคือง” ของเราสงบลงอย่างรวดเร็วได้เพื่อจะไม่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเสียหายต่อ ๆ ไป. และคุณคงจะรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้นเมื่ออารมณ์เย็นลง.
เช่นเดียวกับครอบครัวอื่น ๆ อารมณ์ของคุณจะขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย. หลายคนพบว่าตนรับมือได้ดีขึ้นเมื่อสามารถระบายความในใจต่อกันหรือกับใครสักคนที่มีความเห็นอกเห็นใจและร่วมความรู้สึก. แน่ละ นี่เป็นประสบการณ์ของแคทลีน. ตอนแรกเธอดูแลคุณแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็ง ต่อมาก็ดูแลสามีซึ่งเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังและในที่สุดเป็นโรคอัลไซเมอร์. เธอยอมรับว่า “ดิฉันรู้สึกผ่อนคลายและสบายใจเมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนที่เห็นอกเห็นใจ.” โรสแมรี ซึ่งดูแลคุณแม่เป็นเวลาสองปีเห็นพ้องด้วย. เธอบอกว่า “การพูดคุยกับเพื่อนที่จริงใจช่วยให้จิตใจของดิฉันหนักแน่นมั่นคงอยู่เสมอ.”
แต่ไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ขณะพูดออกมา. หนังสือลูกที่ต่างจากคนอื่นในครอบครัว * กล่าวว่า “การร้องไห้ช่วยระบายความตึงเครียดและความเจ็บปวด ซึ่งทำให้คุณผ่านพ้นช่วงโศกเศร้าได้.”
คงไว้ซึ่งเจตคติในแง่บวก
กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดเขียนไว้ว่า “ความปรารถนาของเจ้าที่จะมีชีวิตอยู่สามารถค้ำจุนเจ้าเมื่อเจ้าเจ็บป่วย.” (สุภาษิต 18:14, ฉบับแปลทูเดส์ อิงลิช) นักวิจัยสมัยปัจจุบันได้สังเกตว่า ความคาดหมายของผู้ป่วย—ไม่ว่าจะในแง่ลบหรือแง่บวก—มักจะกระทบไปถึงผลของการรักษา. แต่ครอบครัวจะรักษาไว้ซึ่งทัศนะในแง่บวกได้อย่างไรเมื่อเผชิญกับการเจ็บป่วยระยะยาว?
ขณะที่ไม่ได้เพิกเฉยต่อการเจ็บป่วย แต่ครอบครัวจะรับมือได้ดีขึ้นถ้าพวกเขาเพ่งเล็งอยู่กับสิ่งที่ยังสามารถทำได้. บิดาคนหนึ่งยอมรับว่า “สถานการณ์อาจทำให้คุณคิดในแง่ลบอย่างสิ้นเชิง แต่คุณต้องตระหนักว่าคุณยังมีอะไร ๆ อีกมากมาย. คุณยังมีชีวิต, ยังมีสมาชิกคนอื่นในครอบครัว, และยังมีเพื่อน ๆ.”
แม้ไม่ควรถือว่าการป่วยเรื้อรังเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สุภาษิต 17:22.
อารมณ์ขันในแบบที่ดีงามก็ช่วยป้องกันความคิดในแง่ลบได้. อารมณ์ขันที่เกิดได้ง่ายของครอบครัวดู ทอยต์เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้. คอลเล็ตต์ น้องสาวคนเล็กของนีล ดู ทอยต์ บอกว่า “เนื่องจากเราได้เรียนรู้ที่จะรับมือกับสถานการณ์บางอย่าง เราจึงหัวเราะกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสำหรับคนอื่นแล้วอาจดูน่าโมโหมาก. แต่การทำเช่นนี้ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้จริง ๆ.” คัมภีร์ไบเบิลยืนยันกับเราว่า “ใจที่ร่าเริงเป็นเหมือนโอสถวิเศษ.”—ค่านิยมทางฝ่ายวิญญาณสำคัญเหนืออื่นใด
ส่วนที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของสวัสดิภาพทางฝ่ายวิญญาณสำหรับคริสเตียนแท้เกี่ยวข้องกับการ “ทูลขอต่อพระเจ้าโดยการอธิษฐานและการวิงวอน.” ผลจะเป็นตามที่มีสัญญาไว้ในคัมภีร์ไบเบิลคือ “สันติสุขแห่งพระเจ้าที่เหนือกว่าความคิดทุกอย่างจะป้องกันรักษาหัวใจและความสามารถในการคิดของท่าน.” (ฟิลิปปอย 4:6, 7, ล.ม.) หลังจากดูแลลูกสองคนที่ป่วยเรื้อรังมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี มารดาคนหนึ่งกล่าวว่า “เราได้เรียนรู้ว่าพระ ยะโฮวาทรงช่วยเราให้รับมือ. พระองค์ค้ำจุนเราจริง ๆ.”
นอกจากนี้ หลายคนได้รับการเสริมกำลังด้วยคำสัญญาของคัมภีร์ไบเบิลเรื่องแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานซึ่งปลอดจากความเจ็บปวดและความทุกข์. (วิวรณ์ 21:3, 4) บรามบอกว่า “เนื่องจากการป่วยเรื้อรังที่ครอบครัวของเราเผชิญ เราจึงรู้สึกว่าคำสัญญาของพระเจ้ามีความหมายมากขึ้นที่ว่า ‘คนง่อยจะปีนป่ายเหมือนกวางตัวผู้ และลิ้นของคนใบ้จะร้องด้วยความปีติ.’ ” เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ อีกมากมาย ครอบครัวดูทอยต์คอยท่าด้วยความกระหายที่จะได้อยู่ในอุทยานคราวเมื่อ “ไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’ ”—ยะซายา 33:24; 35:6, ล.ม.
จงมีกำลังใจขึ้น. ความเจ็บปวดและความทุกข์ที่โถมทับมนุษยชาติอยู่นี้ในตัวมันเองแล้วเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานที่ว่าสภาพที่ดีกว่าใกล้จะถึงอยู่แล้ว. (ลูกา 21:7, 10, 11) แต่ในระหว่างนี้ ผู้ปรนนิบัติดูแลและผู้ป่วยที่มีอยู่จำนวนมากก็เป็นพยานหลักฐานได้ว่า จริง ๆ แล้วพระยะโฮวาทรงเป็น “พระบิดาแห่งความเมตตาอันอ่อนละมุนและพระเจ้าแห่งการปลอบโยนทุกอย่าง . . . ผู้ทรงปลอบโยนเราในความทุกข์ยากทั้งสิ้นของเรา.”—2 โกรินโธ 1:3, 4, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 เพื่อได้ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวด้วยวิธีรับมือกับผลกระทบทางอารมณ์จากการเจ็บป่วย โปรดดูบทความ “งานปรนนิบัติดูแล—วิธีรับมือกับข้อท้าทาย” ในตื่นเถิด! ฉบับ 8 กุมภาพันธ์ 1997 หน้า 3-13.
[กรอบหน้า 8]
คำถามต่าง ๆ ที่ครอบครัวอาจใช้ถามแพทย์
• โรคนี้จะลุกลามอย่างไร และผลจะเป็นเช่นไร?
• มีอาการอะไรบ้าง และจะควบคุมอย่างไร?
• มีวิธีอะไรให้เลือกบ้างสำหรับการรักษา?
• อาจมีผลข้างเคียง, ความเสี่ยง, และประโยชน์อะไรบ้างในแต่ละวิธี?
• อาจทำอะไรได้เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น และควรหลีกเลี่ยงอะไร?
[กรอบหน้า 11]
วิธีที่คุณอาจให้การเกื้อหนุนได้
บางคนอาจเลิกมาเยี่ยมหรือเลิกให้ความช่วยเหลือเนื่องจากพวกเขาไม่รู้ว่าจะพูดอะไรหรือจะรับมือกับสถานการณ์อย่างไร. บางคนก็ค่อนข้างจะเป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ และอาจเพิ่มความกดดันให้กับครอบครัวนั้น ๆ โดยยัดเยียดสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นประโยชน์. แล้วเราจะให้การเกื้อหนุนผู้ที่มีสมาชิกครอบครัวป่วยเรื้อรังได้อย่างไรโดยไม่เข้าไปก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของเขา?
ฟังด้วยความร่วมรู้สึก. ยาโกโบ 1:19 (ล.ม.) บอกว่า “ต้องไวในการฟัง.” จงแสดงความห่วงใยโดยเป็นผู้ฟังที่ดีและเปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวนั้นเผยความในใจออกมาหากพวกเขา ต้องการพูด. เขาอาจอยากทำเช่นนั้นมากขึ้นถ้าเขารู้สึกว่าคุณมี “ความเห็นอกเห็นใจ.” (1 เปโตร 3:8, ล.ม.) กระนั้น โปรดจำไว้ว่า ไม่มีใครหรือครอบครัวใดจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อการป่วยเรื้อรังในแบบเดียวกัน. ฉะนั้น แคทลีนซึ่งดูแลคุณแม่และต่อมาก็ดูแลสามีที่ป่วยเรื้อรัง จึงบอกว่า “อย่าเพิ่งให้คำแนะนำเว้นแต่คุณจะรู้รายละเอียดทั้งหมดจริง ๆ เกี่ยวกับโรคหรือสถานการณ์นั้น.” (สุภาษิต 10:19) และจำไว้ว่า แม้คุณจะมีความรู้บางอย่างเกี่ยวกับโรคนั้น แต่ผู้ป่วยและครอบครัวของเขาก็อาจตัดสินใจที่จะปฏิเสธหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณได้.
ให้ความช่วยเหลือที่ใช้ได้ผล. ขณะที่ไวต่อความต้องการเรื่องความเป็นส่วนตัวของครอบครัวนั้น แต่ก็จงอยู่พร้อมเมื่อพวกเขาต้องการคุณจริง ๆ. (1 โกรินโธ 10:24) บราม ซึ่งอ้างถึงตลอดบทความชุดนี้ กล่าวว่า “เพื่อนคริสเตียนของเราให้ความช่วยเหลือมากมายเหลือเกิน. อย่างเช่น เมื่อเราเฝ้าไข้ที่โรงพยาบาลเนื่องจากอาการของมิเชลล์อยู่ในขั้นวิกฤติ เรามักจะมีเพื่อนราว ๆ ห้าหกคนนั่งอยู่กับเราตลอดทั้งคืน. เมื่อไรก็ตามที่เราต้องการความช่วยเหลือ เราจะได้รับทันที.” แอนน์ ภรรยาของบราม เสริมว่า “ตอนนั้นเป็นฤดูหนาวที่เย็นยะเยือก และพวกเขานำซุปที่ไม่ซ้ำกันมาให้เราทุกวันตลอดสองสัปดาห์. เราได้รับการบำรุงกำลังด้วยซุปร้อน ๆ และความรักอันอบอุ่นเหลือล้น.”
อธิษฐานกับพวกเขา. บางครั้ง สิ่งที่คุณช่วยได้นั้นอาจมีไม่มากหรือไม่มีเลย. อย่างไรก็ตาม แทบไม่มีอะไรที่หนุนกำลังใจได้ดีเท่ากับการให้แง่คิดตามหลักพระคัมภีร์ที่เสริมสร้างหรือการอธิษฐานด้วยน้ำใสใจจริงกับผู้ป่วยและครอบครัวของเขา. (ยาโกโบ 5:16) นิโคลัส วัย 18 ปี ซึ่งมารดาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง บอกว่า “อย่าดูเบาพลังของคำอธิษฐานเพื่อ—และกับ—ผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวของเขา.”
ถูกแล้ว การเกื้อหนุนแบบที่ถูกต้องสามารถช่วยครอบครัวต่าง ๆ ได้มากให้รับมือกับความเครียดจากการป่วยเรื้อรัง. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างนี้: “มิตรสหายคือเพื่อนที่รักกันตลอดเวลา และพี่น้องก็เกิดมาเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ยาก.”—สุภาษิต 17:17, ฉบับแปล เดอะ นิว อิงลิช ไบเบิล.
[กรอบ/ภาพหน้า 12]
เมื่อเป็นโรคที่ต้องเสียชีวิตในที่สุด
บางครอบครัวอาจกระอักกระอ่วนใจที่จะพูดคุยเรื่องความตายที่คืบใกล้เข้ามาของผู้เป็นที่รักซึ่งป่วยด้วยโรคที่ต้องเสียชีวิตในที่สุด. อย่างไรก็ตาม หนังสือการปรนนิบัติดูแล—วิธีรับมือ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “ถ้าคุณคิดล่วงหน้าถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและสิ่งที่ควรจะทำ อาจช่วยลดอาการตกใจกลัวจนทำอะไรไม่ถูก.” แม้ขั้นตอนบางอย่างจะแตกต่างกันไปตามกฎหมายและธรรมเนียมท้องถิ่น แต่ครอบครัวผู้ป่วยอาจคำนึงถึงคำแนะนำต่อไปนี้เมื่อพยาบาลผู้เป็นที่รักที่บ้านซึ่งป่วยด้วยโรคที่ต้องเสียชีวิตในที่สุด.
ก่อนการเสียชีวิต
1. ถามแพทย์ถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวันและชั่วโมงท้าย ๆ และจะต้องทำอะไรบ้างหากผู้ป่วยเสียชีวิตตอนกลางคืน.
2. ทำรายชื่อผู้ที่จะต้องแจ้งให้ทราบเรื่องการเสียชีวิต.
3. พิจารณาวิธีจัดงานศพ:
• ผู้ป่วยประสงค์อย่างไร?
• ฝังหรือเผา? เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและการให้บริการของที่ต่าง ๆ ที่รับจัดงานศพ.
• ควรจัดงานศพเมื่อไร? เผื่อเวลาสำหรับการเดินทางของบรรดาญาติพี่น้องหรือมิตรสหายที่อยู่ไกล ๆ.
• ใครจะเป็นผู้บรรยายในงานศพ?
• จะจัดที่ไหน?
4. แม้ผู้ป่วยจะไม่ไหวติง แต่เขาอาจยังคงรับรู้ว่าคนรอบข้างกำลังพูดหรือทำอะไรกัน. จงระวังที่จะไม่พูดอะไรต่อหน้าเขาซึ่งคุณไม่อยากให้เขาได้ยิน. คุณอาจทำให้เขาอุ่นใจได้โดยคุยกับเขาเบา ๆ และกุมมือเขาไว้.
เมื่อผู้เป็นที่รักเสียชีวิต
ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผู้อื่นอาจทำได้เพื่อช่วยครอบครัวผู้สูญเสีย:
1. ให้สมาชิกครอบครัวมีเวลาพอสำหรับการอยู่ตามลำพังกับผู้ที่จากไปเพื่อพวกเขาจะเริ่มปรับตัวกับการเสียชีวิตนั้นได้.
2. อธิษฐานกับครอบครัวผู้เสียชีวิต.
3. เมื่อครอบครัวนั้นตั้งสติได้แล้ว พวกเขาอาจหยั่งรู้ค่าความช่วยเหลือเรื่องการดำเนินการต่อไปนี้:
• แจ้งแพทย์หรือที่ว่าการอำเภอเพื่อรับรองการเสียชีวิตและออกใบมรณบัตร.
• แจ้งผู้รับจัดงานศพ, วัด, หรือฌาปนกิจสถานให้มารับศพ.
• แจ้งข่าวแก่ญาติและเพื่อน ๆ. (คุณอาจพูดอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาทำนองนี้: “ผมโทรศัพท์มาส่งข่าวเรื่อง [ชื่อผู้ป่วย]. ผมเสียใจด้วยที่ต้องบอกว่ามีข่าวร้าย. ตามที่คุณคงทราบดี เขาต่อสู้กับ [ชื่อโรค] มาระยะหนึ่ง และตอนนี้เขาเสียชีวิตแล้ว [บอกวันเวลาและสถานที่].)
• แจ้งหนังสือพิมพ์เพื่อลงข่าวมรณกรรมหากต้องการ.
4. ครอบครัวนั้นอาจอยากให้ใครสักคนอยู่กับเขาเพื่อช่วยเตรียมการขั้นสุดท้ายสำหรับการจัดงานศพ.
[ภาพหน้า 9]
สมาชิกครอบครัวควรพยายามสุดความสามารถเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตตามความเหมาะสม
[ภาพหน้า 10]
การอธิษฐานกับครอบครัวอาจช่วยพวกเขาให้รับมือได้