ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

หิมะก็มีเสียง

หิมะก็มีเสียง

หิมะ​ก็​มี​เสียง

นัก​วิทยาศาสตร์​ได้​ค้น​พบ​ว่า​เมื่อ​หิมะ​ตก​ลง​บน​น้ำ หิมะ​แต่​ละ​เกล็ด​จะ​ส่ง​เสียง ซึ่ง​เป็น​เสียง​ที่​มนุษย์​ไม่​สามารถ​ได้​ยิน. เช่น​เดียว​กับ​เสียง​ดัง​โหยหวน​ของ​รถ​ดับ​เพลิง​ที่​กำลัง​ใกล้​เข้า​มา เสียง​นี้​ดัง​ถึง​จุด​สูง​สุด​แล้ว​ก็​ค่อย ๆ แผ่ว​ไป ทั้ง​หมด​นี้​เกิด​ขึ้น​ภาย​ใน​ชั่ว​เวลา​ราว ๆ หนึ่ง​ใน​หมื่น​ของ​วินาที.

เม็ด​ฝน​หรือ​ลูกเห็บ​ทะลุ​ผ่าน​ผิว​น้ำ แต่​เกล็ด​หิมะ​ที่​เบา​กว่า​จะ​ลอย​อยู่​บน​ผิว​น้ำ. แต่​ไม่​นาน​มัน​จะ​ละลาย และ “เสียง​หวอ” ที่​กล่าว​ถึง​ข้าง​ต้น​ก็​ดัง​ขึ้น. มี​การ​ค้น​พบ​เสียง​นี้​เมื่อ​ประมาณ 15 ปี​มา​แล้ว แต่​ไม่​มี​การ​เจาะ​ลึก​ไป​มาก​กว่า​นั้น. อย่าง​ไร​ก็​ตาม ยิ่ง​ใน​ช่วง​ปี​หลัง ๆ เสียง​นี้​กลาย​เป็น​สิ่ง​รบกวน​นัก​ชีววิทยา​ใน​อะแลสกา​ซึ่ง​ใช้​โซนาร์​ติด​ตาม​ปลา​แซล์มอน​ที่​อพยพ​ย้าย​ถิ่น. เมื่อ​เสียง​รบกวน​จาก​หิมะ​ตก​ที่​ดัง​อยู่​รอบ ๆ นั้น​กลบ​สัญญาณ​จาก​ปลา​แซล์มอน การ​ติด​ตาม​ที่​ดำเนิน​การ​อยู่​นั้น​ก็​จำ​ต้อง​ถูก​ยก​เลิก. อะไร​ก่อ​ให้​เกิด​ปรากฏการณ์​นี้?

วารสาร​นิว ไซเยนติสต์ อธิบาย​ว่า ขณะ​ที่​เกล็ด​หิมะ​ลอย​อยู่​บน​ผิว​น้ำ แทบ​ไม่​มี​เสียง​ข้าง​ล่าง. แต่​ทันที​ที่​เกล็ด​หิมะ​เริ่ม​ละลาย น้ำ​จะ​ถูก​ดูด​เข้า​ตาม​รู​เล็ก ๆ. ตอน​นี้ ฟอง​อากาศ​อาจ​ถูก​ปล่อย​ออก​จาก​เกล็ด​หิมะ​หรือ​ไม่​ก็​ถูก​น้ำ​ที่​มี​ระดับ​สูง​ขึ้น​จับ​ไว้. ฟอง​อากาศ​แต่​ละ​ฟอง​จะ​สั่น​เมื่อ​มัน​พยายาม​จะ​สมดุล​กับ​บริเวณ​รอบ​ข้าง และ​เมื่อ​กำลัง​สั่น​อยู่​นี้ มัน​ก็​ก่อ​ให้​เกิด​คลื่น​เสียง ซึ่ง​เหมือน​เสียง​กระดิ่ง​สั่น—แต่​ด้วย​ระดับ​เสียง​ที่​สูง​กว่า​มาก.

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 31]

Snow Crystals/Dover