ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การพยายามขับวาติกันออกจากสหประชาชาติ

การพยายามขับวาติกันออกจากสหประชาชาติ

การ​พยายาม​ขับ​วาติกัน​ออก​จาก​สหประชาชาติ

สำนัก​ข่าว​อินเตอร์ เพรส เซอร์วิส (ไอพีเอส) ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​ที่​กรุง​โรม​รายงาน​ว่า “กลุ่ม​ร่วม​มือ​ระหว่าง​ประเทศ​ของ​องค์กร​พัฒนา​เอกชน (เอ็นจีโอ) มาก​กว่า 70 องค์กร​ได้​เริ่ม​การ​รณรงค์​ทั่ว​โลก​เพื่อ​ขับ​วาติกัน​ออก​จาก​สหประชาชาติ.” ปัจจุบัน วาติกัน​เป็น​ผู้​สังเกตการณ์​ถาวร​หรือ​รัฐ​ที่​ไม่​ใช่​รัฐ​สมาชิก​ใน​องค์การ​สหประชาชาติ. วาติกัน​มี​สถานภาพ​นี้​มา​ตั้ง​แต่​ปี 1964.

ทำไม​กลุ่ม​เอ็นจีโอ​นี้ ซึ่ง​พอ​ถึง​ปลาย​เดือน​เมษายน​ปี​ที่​แล้ว​ได้​เพิ่ม​ขึ้น​เป็น 100 องค์กร​ทั่ว​โลก จึง​คัดค้าน​ฐานะ​ของ​วาติกัน​ใน​สหประชาชาติ? เอ็นจีโอ​ให้​เหตุ​ผล​ว่า ก็​เพราะ​วาติกัน​เป็น​องค์การ​ทาง​ศาสนา​และ​ไม่​ใช่​รัฐ​ทาง​การ​เมือง. แฟรนเซส คิสลิง ประธาน​กลุ่ม​ชาว​คาทอลิก​เพื่อ​การ​เลือก​โดย​เสรี บอก​ไอพีเอส​ว่า กลุ่ม​ร่วม​มือ​นั้น​ไม่​ได้​ต่อ​ต้าน​สิทธิ​ของ​วาติกัน​ใน​การ​แสดง​ความ​คิด​เห็น แต่ “เรื่อง​ที่​ตั้ง​กระทู้​ถาม​คือ สิทธิ​ของ​วาติกัน​ซึ่ง​ไม่​ใช่​รัฐ​ใน​การ​ดำรง​ฐานะ​ร่วม​กับ​รัฐบาล​ต่าง ๆ.”

อานีกา ราห์มาน ผู้​อำนวย​การ​แผน​งาน​ระหว่าง​ประเทศ ณ ศูนย์​กฎหมาย​และ​นโยบาย​ว่า​ด้วย​การ​สืบ​พันธุ์​ก็​เห็น​ด้วย. ไอพีเอส​ยก​ถ้อย​คำ​ของ​ราห์มาน​มา​กล่าว​ที่​ว่า “ถ้า​ยูเอ็น​ปฏิบัติ​ต่อ​รัฐ​สันตะปาปา​ใน​ฐานะ​เป็น​รัฐ​หนึ่ง​ซึ่ง​ได้​รับ​สิทธิ​พิเศษ​ให้​มี​ผู้​สังเกตการณ์​ถาวร​เนื่อง​จาก​เป็น​องค์การ​ศาสนา สหประชาชาติ​ก็​กำลัง​ทำ​ให้​มี​เยี่ยง​อย่าง​ที่​ศาสนา​อื่น ๆ จะ​อ้าง​ใน​ทำนอง​เดียว​กัน.” อานีกา ราห์มาน​กล่าว​อีก​ว่า “เพื่อ​ให้​แน่​ใจ​ว่า​สหประชาชาติ​จะ​ไม่​ส่ง​เสริม​ศาสนา​ใด​โดย​เฉพาะ ไม่​ควร​อนุญาต​ให้​องค์กร​ศาสนา​ต่าง ๆ เช่น คริสตจักร​โรมัน​คาทอลิก​เข้า​ร่วม​ใน​ที่​ประชุม​นี้​ใน​ฐานะ​ที่​ไม่​ใช่​รัฐ​สมาชิก.”

แต่​จะ​ว่า​อย่าง​ไร​กับ​ข้อ​อ้าง​ที่​ว่า​วาติกัน​เป็น​รัฐ​หนึ่ง​และ​จึง​มี​สิทธิ์​ตาม​สถานภาพ​ใน​ปัจจุบัน? คิสลิง​ตอบ​การ​สัมภาษณ์​ว่า “นั่น​เป็น​การ​ใช้​ภาษา​ที่​มี​สอง​นัย. เรา​มี​ความ​เห็น​ว่า การ​นิยาม​ว่า​วาติกัน​เป็น​รัฐ​นั้น​เป็น​การ​นิยาม​ใน​ศตวรรษ​ที่ 15 ตาม​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​วาติกัน และ​ตาม​จริง​แล้ว​รัฐ​สันตะปาปา​ก็​คือ​โครง​สร้าง​การ​ปกครอง​ของ​ศาสนา.” คิสลิง​กล่าว​เพิ่ม​เติม​ว่า ทั้ง​คำ​ว่า “วาติกัน” และ​คำ​ว่า “รัฐ​สันตะปาปา” ต่าง​ก็​เป็น “คำ​ที่​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กับ​คำ​ว่า​คริสตจักร​โรมัน​คาทอลิก.”

ความ​ไม่​พอ​ใจ​ที่​กลุ่ม​เอ็นจีโอ​มี​ต่อ​ฐานะ​ปัจจุบัน​ของ​วาติกัน​ใน​สหประชาชาติ​ส่วน​ใหญ่​มี​สาเหตุ​จาก​ทัศนะ​ที่​วาติกัน​มี​ต่อ​ประเด็น​เรื่อง​ประชากร. ตัว​อย่าง​เช่น วาติกัน​ได้​ใช้​การ​ประชุม​ของ​สหประชาชาติ เช่น การ​ประชุม​ระหว่าง​ประเทศ​ว่า​ด้วย​ประชากร​และ​การ​พัฒนา​ใน​ปี 1994 ที่​ไคโร และ​การ​ประชุม​สตรี​ใน​ปี 1995 ที่​ปักกิ่ง เพื่อ​แสดง​ทัศนะ​ที่​แข็ง​กร้าว​ต่อ​การ​วาง​แผน​ครอบครัว. ไอพีเอส​ให้​ข้อ​สังเกต​ว่า “เนื่อง​จาก​สหประชาชาติ​ตัดสิน​โดย​เสียง​ส่วน​ใหญ่ เสียง​ที่​คัดค้าน​อย่าง​เสียง​ของ​วาติกัน​จึง​ขัด​ขวาง​การ​เจรจา​ใน​ประเด็น​ต่าง ๆ ที่​เกี่ยว​กับ​ประชากร, การ​คุม​กำเนิด, สิทธิ​สตรี​และ​การ​ดู​แล​อนามัย​เกี่ยว​กับ​การ​สืบ​พันธุ์.”

ตาม​ที่​คิสลิง​กล่าว “บทบาท​ที่​เหมาะ​สม​ของ​วาติกัน​คือ​บทบาท​ของ​เอ็นจีโอ—คือ​เหมือน​กับ​กลุ่ม​เอ็นจีโอ​กลุ่ม​อื่น ๆ ทั้ง​หมด​ซึ่ง​เป็น​ตัว​แทน​ของ​มุสลิม, ฮินดู, พุทธ, บาไฮ และ​องค์การ​ศาสนา​อื่น ๆ.” กลุ่ม​องค์กร​นี้​ต้องการ​ให้​นาย​โคฟี อันนัน เลขาธิการ​ใหญ่​แห่ง​สหประชาชาติ​และ​ใน​ที่​สุด​ก็​สมัชชา​แห่ง​สหประชาชาติ ดำเนิน​การ​พิจารณา​เป็น​ทาง​การ​ว่า​ด้วย​สถานภาพ​ที่​วาติกัน​ดำรง​อยู่​ใน​องค์การ​ทาง​การ​เมือง​ที่​ใหญ่​ที่​สุด​ใน​โลก​องค์การ​นี้.

[ภาพ​หน้า 31]

เจ้าหน้าที่​ของ​วาติกัน​แถลง​ต่อ​สหประชาชาติ

[ที่​มา​ของ​ภาพ]

UN/DPI Photo by Sophie Paris

UN photo 143-936/J. Isaac