ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

นักสะสมผู้ปรารถนาจะถวายเกียรติแด่พระผู้สร้าง

นักสะสมผู้ปรารถนาจะถวายเกียรติแด่พระผู้สร้าง

นัก​สะสม​ผู้​ปรารถนา​จะ​ถวาย​เกียรติ​แด่​พระ​ผู้​สร้าง

เมื่อ​เฮอร์มัน สเตรกเคอร์ ซึ่ง​เป็น​ประ​ติ​มา​กร​ชาว​อเมริกัน​และ​นัก​สะสม​ผีเสื้อ ได้​เสีย​ชีวิต​ลง​เมื่อ​หนึ่ง​ร้อย​ปี​ที่​แล้ว สิ่ง​ที่​เขา​ละ​ไว้​เบื้อง​หลัง​ก็​คือ​ผีเสื้อ​และ​ผีเสื้อ​กลางคืน​ใน​อเมริกา​ที่​เขา​สะสม​ไว้ ซึ่ง​เป็น​ชุด​ที่​ใหญ่​ที่​สุด​และ​สำคัญ​ที่​สุด​ใน​เวลา​นั้น. ผีเสื้อ​ที่​เขา​สะสม​ไว้ ซึ่ง​มี​อยู่ 50,000 ตัว​พอ​ดี ใน​เวลา​นี้​ส่วน​ใหญ่​เป็น​สมบัติ​ของ​พิพิธภัณฑ์​ฟีลด์​ใน​เมือง​ชิคาโก อิลลินอยส์ สหรัฐ​อเมริกา. ผีเสื้อ​ยักษ์​ชนิด​หนึ่ง​จาก​อเมริกา​ใต้​เป็น​ตัว​หนึ่ง​ที่​โดด​เด่น​ใน​บรรดา​ผีเสื้อ​ที่​เขา​สะสม​เนื่อง​ด้วย​ชื่อ​ของ​มัน. ใน​หนังสือ​ของ​เขา​ที่​ชื่อ​เลพิดอพเทรา (Lepidoptera) นาย​สเตรกเคอร์​อธิบาย​ว่า เขา​ไม่​ได้​ตั้ง​ชื่อ​ผีเสื้อ​ชนิด​นี้​ตาม​ชื่อ​ของ​บาง​คน​ที่​อาจ​ตอบ​แทน​เขา​ด้วย​การ​เลี้ยง​อาหาร​ค่ำ​หรือ​ให้​เงิน​กู้​แก่​เขา. * แทน​ที่​จะ​เป็น​อย่าง​นั้น เขา​ตั้ง​ชื่อ​ผีเสื้อ​ชนิด​นี้​ตาม​พระ​นาม​ของ​พระ​ผู้​สร้าง. ด้วย​วิธี​นั้น ผีเสื้อ​ที่ “น่า​พิศวง​ที่​สุด” ชนิด​นี้​จะ​นำ​ความ​คิด​ของ​คน​ที่​พบ​เห็น​มัน​ให้​นึก​ถึง​พระเจ้า. ด้วย​เหตุ​นั้น จาก​การ​ที่​นาย​สเตรกเคอร์​ตั้ง​ความ​ปรารถนา​ไว้​ที่​จะ​ถวาย​เกียรติ​แด่​พระ​ผู้​สร้าง จึง​ยัง​ผล​ให้​ใน​ทุก​วัน​นี้​ผีเสื้อ​ยักษ์​ชนิด​นี้​มี​ชื่อ​วิทยาศาสตร์​ว่า โคพิออพเทอริกซ์ เจโฮวาห์ (Copiopteryx jehovah).

อย่าง​ไร​ก็​ตาม บาง​คน​ใน​สมัย​นั้น​คัดค้าน​การ​ที่​นาย​สเตรกเคอร์​ใช้​พระ​นาม​พระเจ้า​ใน​วิธี​ดัง​กล่าว ดัง​ที่​ผู้​วิพากษ์วิจารณ์​คน​หนึ่ง​ได้​เขียน​ไว้ เพราะ “พระ​นาม​นี้​ทำ​ให้​บุคคล​ผู้​มี​ความ​คิด​จริงจัง​และ​ใฝ่​รู้​สนใจ​ทุก​สิ่ง​ที่​ศักดิ์สิทธิ์.” เพื่อ​ตอบ​โต้​คำ​วิจารณ์​ดัง​กล่าว นาย​สเตรกเคอร์​กล่าว​ว่า “หาก​เป็น​ดัง​ที่​ได้​กล่าว​ไป​นั้น ข้าพเจ้า​ก็​มี​ความ​ยินดี​อย่าง​แท้​จริง​ที่​ข้าพเจ้า​เลือก​เช่น​นั้น ด้วย​ข้าพเจ้า​เห็น​ว่า​สิ่ง​ใด​ก็​ตาม​ที่​จะ​นำ​เรา​ให้​นึก​ถึง​พระ​ผู้​สร้าง . . . ย่อม​มิ​อาจ​เป็น​อื่น​ได้​นอก​จาก​เป็น​คุณประโยชน์; นอก​จาก​นั้น​แล้ว ยัง​จะ​มี​สิ่ง​อัน​ใด​ดี​ไป​กว่า​การ​คิด​ใคร่ครวญ​เรื่อง​สิ่ง​ศักดิ์สิทธิ์​ซึ่ง​เป็น​หลักฐาน​ถึง​ความ​สง่า​ผ่าเผย​และ​อำนาจ​ของ​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​องค์​ใหญ่​ยิ่ง​สูง​สุด​เล่า?” ด้วย​เหตุ​นั้น นัก​สะสม​ที่​ชื่อ​สเตรกเคอร์​จึง​กล่าว​ใน​ตอน​ท้าย​ว่า “ข้อ​ที่​ว่า​มี​คำ​คัดค้าน​ที่​สม​เหตุ​ผล​ต่อ​การ​ตั้ง​ชื่อ​ตาม​พระ​นาม​ของ​พระ​ผู้​สร้าง​สำหรับ​สิ่ง​ทรง​สร้าง​ที่​น่า​สนใจ​ที่​สุด​อย่าง​หนึ่ง​ใน​บรรดา​ฝี​พระ​หัตถ์​ของ​พระองค์​นั้น นับ​เป็น​เรื่อง​เหลือ​วิสัย​ที่​ข้าพเจ้า​จะ​เชื่อ​ได้.”

ความ​เลื่อมใส​และ​ความ​เคารพ​ยำเกรง​ที่​สเตรกเคอร์​มี​ต่อ​พระ​ผู้​สร้าง​นั้น​น่า​สังเกต​จด​จำ. คริสเตียน​ใน​ปัจจุบัน​ระมัดระวัง​ใน​การ​ใช้​พระ​นาม​ยะโฮวา​อัน​ยิ่ง​ใหญ่​ใน​วิธี​ที่​ถวาย​เกียรติ​แด่​พระ​นาม​นั้น.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 2 ชื่อ​เต็ม​ของ​หนังสือ​ที่​นาย​สเตรกเคอร์​เขียน​คือ Lepidoptera, Rhopaloceres and Heteroceres, Indigenous and Exotic; With Descriptions and Colored Illustrations (1872).

[ภาพ​หน้า 31]

เฮอร์มัน สเตรกเคอร์

[ที่​มา​ของ​ภาพ]

Herman Strecker: From the book The Passing Scene, Vol. 8/The Historical Society of Berks County

[ภาพ​หน้า 31]

(ขนาด​จริง)