วันแต่งงาน—วันที่มีความสุขแต่ก็เหน็ดเหนื่อย
วันแต่งงาน—วันที่มีความสุขแต่ก็เหน็ดเหนื่อย
คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่า พระยะโฮวาพระเจ้า ผู้ทรงรู้จักมนุษย์ดีกว่าใคร ๆ ทั้งหมด เป็นผู้จัดงานแต่งงานครั้งแรก. พระองค์ทรงก่อตั้งการสมรสให้เป็นรากฐานของสังคมมนุษย์. (เยเนซิศ 2:18-24) และเราพบหลักการหลายอย่างในคัมภีร์ไบเบิล พระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ซึ่งช่วยชี้นำทางเราเมื่อวางแผนจัดงานแต่งงาน.
ยกตัวอย่าง พระเยซูตรัสว่าคริสเตียนควร “จ่ายของของซีซาร์คืนแก่ซีซาร์.” (มัดธาย 22:21, ล.ม.) ด้วยเหตุนี้ พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง. การสมรสที่เป็นไปตามข้อเรียกร้องทางกฎหมายจะป้องกันบุคคลที่เกี่ยวข้องในหลายทาง เช่น กำหนดหน้าที่รับผิดชอบที่มีต่อบุตร (รวมไปถึงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียน) และสิทธิในการรับมรดก. และยังมีกฎหมายที่ป้องกันสมาชิกครอบครัวไว้จากการถูกทำร้ายร่างกายและการแสวงหาประโยชน์อย่างมิชอบอีกด้วย. *
การเตรียมงาน
เมื่อมีการตกลงกันแล้วว่าคนสองคนจะแต่งงานกัน และเป็นที่ทราบกันว่าการสมรสนั้นสอดคล้องกับกฎหมายและหลักการของคัมภีร์ไบเบิลและสอดคล้องกับกฎหมายบ้านเมือง มีอะไรบ้างที่ควรคำนึงถึงในภาคปฏิบัติ? สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือจะจัดงานแต่งงานวันไหนและจะจัดแบบไหน.
หนังสือเล่มหนึ่งที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้บอกว่า “ความคิดของคู่บ่าวสาวกับความคิดของบิดามารดาอาจไม่ตรงกันทีเดียว และพวกเขาอาจตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำตามที่ตนต้องการหรือทำตามธรรมเนียมของครอบครัว.” เขาควรทำประการใด? “ปัญหานี้นับว่ายาก นอกจากจะรับฟังอย่างอ่อนน้อม, พูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหานั้นอย่างละเอียด, และประนีประนอม. ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ทุกคนกำลังเครียด ดังนั้นการวางแผนล่วงหน้าและการเข้าใจกันสักเล็กน้อยจะช่วยให้การเตรียมงานง่ายขึ้นมาก.”—หนังสือช่วยจัดงานแต่งงานและบันทึกฉบับสมบูรณ์ (ภาษาอังกฤษ).
แม้ว่าบิดามารดาที่มีความรักจะช่วยได้มากเพื่อทำให้วันนั้นผ่านไปด้วยดี แต่พวกเขาก็ควรระวังที่จะไม่ยืนกรานตามความต้องการของตน. ในทางกลับกัน แม้ว่าเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย แต่พวกเขาก็ควรฟังคำแนะนำจากผู้ปรารถนาดี. เมื่อเขาต้องตัดสินใจว่าควรรับข้อเสนอใด เขาควรจำคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลไว้ที่ว่า “เราทำสิ่งสารพัตรได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่สมควรที่เราจะทำทุกสิ่ง. เราทำทุกสิ่งได้ไม่มีใครห้าม แต่ไม่ใช่ทุก1 โกรินโธ 10:23, 24.
สิ่งที่เรากระทำนั้นจะทำให้เราเจริญขึ้น. อย่าให้ผู้ใดกระทำอะไรเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น แต่ให้คิดถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย.”—การเตรียมงานครอบคลุมงานหลายอย่างตั้งแต่ส่งบัตรเชิญไปจนถึงการจัดงาน. เอช. โบว์แมน กล่าวในหนังสือของเขาชื่อการสมรสสำหรับคนทันสมัย (ภาษาอังกฤษ) ดังนี้: “ยิ่งการเตรียมงานเป็นระเบียบมากเท่าไรและมีการคิดและวางแผนล่วงหน้ามากเท่าไร ความเหนื่อยล้าและความเครียดก็จะมีน้อยลงเท่านั้น.” เขาเตือนว่า “แม้ว่าสภาพการณ์จะเอื้ออำนวยทุกอย่าง แต่ก็อาจมีความเหนื่อยล้าอยู่บ้าง และดีที่จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อลดความเหนื่อยล้าลงให้มากเท่าที่จะทำได้.”
มีงานมากมายที่ต้องทำและต้องมีการต้อนรับแขกเหรื่อ. เพื่อนหรือญาติจะช่วยได้ไหม? งานบางอย่างที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่จำเป็นต้องทำเองอาจมอบหมายคนอื่นที่ไว้ใจได้ให้ทำแทนได้ไหม?
ค่าใช้จ่าย
การตั้งงบประมาณที่พอเหมาะเป็นสิ่งสำคัญ. นับว่าไม่มีเหตุผลและไม่เป็นการแสดงความรักที่จะคาดหมายให้คู่บ่าวสาวหรือบิดามารดาของพวกเขาจัดงานแต่งงานที่ใหญ่โตเกินความสามารถของตนแล้วต้องเป็นหนี้สินในภายหลัง. หลายคนที่สามารถจัดงานได้อย่างหรูหราก็ยังเลือกจัดงานแบบง่าย ๆ. ไม่ว่าจะอย่างไร คู่บ่าวสาวบางคู่พบว่าเป็นประโยชน์ที่จะทำรายการค่าใช้จ่ายโดยประมาณและค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง. นอกจากนั้น เป็นประโยชน์ด้วยที่จะทำรายการกำหนดเส้นตายสำหรับงานทุกอย่างว่าต้องเสร็จเมื่อไร. การพยายามจะจำกำหนดเส้นตายทั้งหมดไว้ในสมองคงจะทำให้เครียดมาก.
งานแต่งงานจะมีค่าใช้จ่ายสักเท่าไร? ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง กระนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน นับว่าสุขุมที่จะถามตัวเองว่า ‘เรามีเงินมากพอที่จะจัดตามแผนที่วางไว้ทุกอย่างไหม? สิ่งเหล่านั้นจำเป็นจริง ๆ ไหม?’ ทีนา เจ้าสาวคนใหม่ กล่าวว่า “บางอย่างที่ดูเหมือน ‘ขาดไม่ได้’ ในตอนแรกกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย.” ขอให้นึกถึงคำแนะนำของพระเยซูที่ว่า “ในพวกท่านมีผู้ใดเมื่อปรารถนาจะสร้างป้อม, แล้วจะไม่นั่งลงคิดราคาดูเสียก่อนว่าจะมีพอสร้างให้สำเร็จได้หรือไม่?” (ลูกา 14:28) ถ้าคุณมีเงินไม่พอที่จะจัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ ก็จงตัดบางอย่างออกไป. และแม้ว่าคุณจะมีเงินพอ คุณก็อาจยังอยากจะจัดงานแบบเรียบง่าย.
ที่อิตาลี ในงานส่งเสริมสินค้าและการบริการเกี่ยวกับงานแต่งงาน มีการให้ตัวเลขคร่าว ๆ ว่าเจ้าสาวชาวอิตาลีโดยทั่วไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร. แต่งหน้าและทำผม 450 ดอลลาร์; เช่ารถหรู ๆ 300 ดอลลาร์; ถ่ายวิดีโอในวันงาน 600 ดอลลาร์; อัลบัมรูป (ไม่รวมรูปถ่าย) 125-500 ดอลลาร์; ดอกไม้ 600 ดอลลาร์ขึ้นไป; อาหารเครื่องดื่มหัวละ 45-90 ดอลลาร์; ชุดวิวาห์ 1,200 ดอลลาร์ขึ้นไป. เมื่อคำนึงถึงความสำคัญของงานนี้ จึงเป็นที่เข้าใจได้เมื่อบางคนต้องการจะทำอะไรที่พิเศษ. แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร ก็ควรทำด้วยความสมดุล.
ขณะที่บางคนใช้จ่ายเงินไปมากมาย แต่บางคนก็พอใจที่จะประหยัด หรือไม่ก็เพราะพวกเขาไม่มีทางเลือก. เจ้าสาวคนหนึ่งกล่าวว่า “เราทั้งคู่เป็นไพโอเนียร์ [ผู้เผยแพร่เต็มเวลา] และเราแทบไม่มีเงินเลย แต่นั่นก็ไม่สำคัญอะไร. แม่สามีของดิฉันซื้อผ้ามาให้ตัดชุด และเพื่อนคนหนึ่งก็ตัดชุดแต่งงานให้เป็นของขวัญ. สามีของดิฉันเขียนบัตรเชิญด้วยตนเอง และเพื่อนคริสเตียนคนหนึ่งก็ให้เรายืม
รถยนต์. ส่วนงานเลี้ยง เราซื้อของหลัก ๆ และมีคนหนึ่งให้ไวน์กับเรา. งานนี้ไม่หรูหรา แต่ก็มีเพียงพอ.” เจ้าบ่าวคนหนึ่งกล่าวว่า เมื่อคนในครอบครัวกับเพื่อน ๆ ช่วยเหลือ “ค่าใช้จ่ายก็ลดลงมาก.”ไม่ว่าฐานะทางการเงินของพวกเขาจะเป็นอย่างไร คู่บ่าวสาวที่เป็นคริสเตียนคงจะต้องการหลีกเลี่ยงการทำมากเกินพอดี, การแสดงน้ำใจแบบโลก, หรือการโอ้อวด. (1 โยฮัน 2:15-17) น่าเศร้าสักเพียงไรถ้าเหตุการณ์ที่น่ายินดีอย่างงานแต่งงานจะทำให้คนใดคนหนึ่งละเลยหลักการของพระคัมภีร์เรื่องการประมาณตน ซึ่งเตือนไม่ให้กินดื่มมากเกินไป หรือทำอะไรซึ่งยังผลให้ไม่อาจถือได้ว่าคนนั้นเป็น “คนที่ไม่มีใครติได้”!—สุภาษิต 23:20, 21; 1 ติโมเธียว 3:2.
อย่าพยายามทำตามความนิยมที่จะจัดงานแต่งงานให้ใหญ่กว่าและดีกว่าคนอื่น. ลองคิดถึงผ้าคลุมผมของเจ้าสาวสองคนในประเทศหนึ่ง ผืนหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตรและหนักประมาณ 220 กิโลกรัม; ส่วนอีกผืนหนึ่งยาว 300 เมตร และต้องใช้เพื่อนเจ้าสาวถึง 100 คนเป็นผู้ถือ. การเลียนแบบเหตุการณ์ผิดธรรมดาเช่นนั้นจะเป็นไปตามคำแนะนำของคัมภีร์ไบเบิลเรื่องการมีเหตุผลไหม?—ฟิลิปปอย 4:5.
ควรปฏิบัติตามธรรมเนียมไหม?
ธรรมเนียมในงานแต่งงานของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ดังนั้น จะกล่าวถึงทั้งหมดก็เป็นไปไม่ได้. เมื่อตัดสินใจว่าจะทำตามธรรมเนียมใด คู่บ่าวสาวควรถามตัวเองว่า ‘ธรรมเนียมนี้มีความหมายอย่างไร? นั่นเกี่ยวข้องกับการถือโชคลางซึ่งเป็นการอวยพรให้มีโชคหรือให้มีลูกมาก ๆ ไหม เช่น การโปรยข้าวสารใส่คู่บ่าวสาว? ธรรมเนียมนี้เกี่ยวข้องกับศาสนาเท็จหรือกิจปฏิบัติอื่น ๆ ที่คัมภีร์ไบเบิลตำหนิไหม? เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลหรือไม่แสดงความรักไหม? อาจเป็นเรื่องน่าอายหรือทำให้คนอื่นสะดุดไหม? อาจทำให้สงสัยในเจตนาของคู่บ่าวสาวไหม? เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจไหม?’ ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับจุดใดจุดหนึ่งที่กล่าวมา คงดีกว่าที่จะไม่ปฏิบัติตามธรรมเนียมนั้น และถ้าจำเป็นก็แจ้งแขกให้ทราบล่วงหน้า.
ความยินดีและความรู้สึก
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในวันสำคัญนั้นอาจมีตั้งแต่ความปลื้มปีติไปจนถึงความเสียใจ. เจ้าสาวคนหนึ่งกล่าวว่า “ดิฉันมีความสุขมากจริง ๆ ราวกับว่าความฝันกลายเป็นความจริง.” แต่เจ้าบ่าวคนหนึ่งเล่าว่า “วันนั้นเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดแต่ก็เป็นวันที่ยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตของผมด้วย. พ่อตาแม่ยายของผมร้องไห้สะอึกสะอื้นเพราะผมกำลังจะพรากลูกสาวคนโตไปจากพวกเขา ส่วนภรรยาของผมก็ร้องไห้ด้วยเพราะเห็นพ่อแม่ของเธอร้องไห้ ในที่สุดผมก็ปล่อยโฮออกมาเพราะผมทนต่อไปไม่ไหว.”
อาการเช่นนี้ไม่น่าวิตกอะไร เพราะเกิดจากความเครียด. และก็ไม่แปลกถ้าสายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว หรือแม้แต่สายสัมพันธ์ระหว่างคู่บ่าวสาว จะตึงเครียดในบางครั้ง. หนังสือช่วยจัดงานแต่งงานและบันทึกฉบับสมบูรณ์ กล่าวว่า “ถึงอย่างไร นี่อาจเป็นครั้งแรกที่พวกเขาจัดงานใหญ่ร่วมกัน และความตื่นเต้นคงจะมีผลต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาบ้าง. ไม่มีประโยชน์ที่จะรู้สึกกลุ้มใจเนื่องจากงานไม่ได้เป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้; การขอคำแนะนำและการช่วยเหลือในเวลาเช่นนี้จะช่วยได้มากทีเดียว.”
เจ้าบ่าวคนหนึ่งบอกว่า “สิ่งหนึ่งที่ผมคงจะหยั่งรู้ค่ามากและรู้สึกเสียใจมาตลอดที่ตัวเองไม่มีคือผู้ให้คำปรึกษาที่ผมสามารถระบายความในใจและเผยความรู้สึกส่วนลึกให้ฟังได้.” ใครจะเหมาะกับหน้าที่นี้มากไปกว่าเพื่อนหรือญาติ หรือคนอื่นที่มีประสบการณ์ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในประชาคมคริสเตียน?
เมื่อบิดามารดาเห็นบุตรออกจากบ้าน พวกเขาอาจรู้สึกยินดี, ภูมิใจ, คิดถึงวันเก่า ๆ, และหวั่นกลัวระคนกันไป. อย่างไรก็ตาม บิดามารดาควรสำนึกอย่างไม่เห็นแก่ตัวว่าถึงเวลาแล้วที่บุตรของตนจะ “ละบิดามารดาของตน” และไปผูกพันอยู่กับคู่สมรสและ “เป็นเนื้อหนังอันเดียวกัน” อย่างที่พระผู้สร้างทรงประสงค์ไว้. (เยเนซิศ 2:24) มารดาคนหนึ่งเล่าถึงความรู้สึกของเธอในวันแต่งงานของบุตรชายคนโตว่า “ดิฉันร้องไห้ แต่นอกจากน้ำตาแห่งความเศร้าก็ยังมีน้ำตาแห่งความยินดีที่ได้ลูกสะใภ้ที่น่ารักเช่นนี้อีกด้วย.”
เพื่องานนั้นจะเป็นโอกาสที่น่ายินดีและเสริมสร้าง บิดามารดา รวมทั้งคู่บ่าวสาว ต้องแสดงคุณลักษณะแบบคริสเตียน เช่น ความร่วมมือ, ความใจเย็น, ความไม่เห็นแก่ตัว, และการยอมรับความคิดของคนอื่น.—1 โกรินโธ 13:4-8; ฆะลาเตีย 5:22-24; ฟิลิปปอย 2:2-4.
เจ้าสาวบางคนกลัวว่าจะมีอะไรบางอย่างผิดพลาดอย่างท่านผู้ประกาศ 9:11) จงพยายามมีอารมณ์ขันเมื่อเกิดปัญหา และมองในแง่ดีเข้าไว้. ถ้ามีอะไรผิดพลาด ก็ให้คิดเสียว่าในอีกหลายปีข้างหน้า คุณอาจหัวเราะขณะที่เล่าถึงเหตุการณ์นั้น. อย่าให้ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ มาบดบังความยินดีในงานแต่งงานนั้นเลย.
ร้ายแรงในวันแต่งงาน เช่น กลัวว่ารถยนต์จะยางแบนและไปถึงงานช้า, กลัวว่าฝนจะกระหน่ำลงมา, หรือกลัวว่าชุดวิวาห์จะเป็นอะไรไปในนาทีสุดท้าย. อาจไม่มีอะไรทำนองนี้เกิดขึ้นก็ได้. อย่างไรก็ตาม จงคิดถึงความเป็นจริง. ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ. เราต้องยอมรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น. ([เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 ในเรื่องนี้ หลายประเทศห้ามการมีสามีหรือภรรยาหลายคน, การร่วมประเวณีกับญาติสนิท, การหลอกลวง, การกระทำทารุณต่อคู่สมรส, และการสมรสของผู้เยาว์.
[จุดเด่น หน้า 7]
“บางอย่างที่ดูเหมือน ‘ขาดไม่ได้’ ในตอนแรกกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย.”—ทีนา เจ้าสาวคนหนึ่ง
[กรอบ/ภาพ หน้า 7]
ตัวอย่างรายการสิ่งที่ต้องทำในการเตรียมงาน *
6 เดือนหรือล่วงหน้านานกว่านั้น
❑ ปรึกษาเรื่องแผนงานกับว่าที่สามีหรือภรรยา, บิดามารดาฝ่ายคู่สมรส, และบิดามารดาของตน
❑ ตัดสินใจว่าจะจัดงานแบบไหน
❑ คำนวณงบประมาณ
❑ ตรวจสอบข้อเรียกร้องทางกฎหมาย
❑ จองสถานที่จัดงาน
❑ ติดต่อช่างภาพ
4 เดือน
❑ เลือก (จากเสื้อผ้าที่มีอยู่), ซื้อ, หรือตัด ชุดแต่งงาน
❑ สั่งดอกไม้
❑ เลือกและสั่งทำบัตรเชิญ
2 เดือน
❑ ส่งบัตรเชิญ
❑ ซื้อแหวนแต่งงาน
❑ ขอเอกสารที่จำเป็น
1 เดือน
❑ ลองชุดแต่งงาน
❑ ยืนยันการสั่งซื้อและการนัดหมายต่าง ๆ
❑ เขียนจดหมายขอบคุณสำหรับของขวัญที่ได้รับแล้ว
2 สัปดาห์
❑ เริ่มนำของส่วนตัวเข้าไปไว้ในที่พักใหม่
1 สัปดาห์
❑ ทำให้แน่ใจว่าผู้ช่วยงานทุกคนรู้หน้าที่ของตนแล้ว
❑ วางแผนคืนสิ่งของที่เช่าหรือยืมมา
❑ มอบงานให้คนอื่นทำเท่าที่เป็นไปได้
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 31 รายการต่อไปนี้อาจปรับได้ตามข้อเรียกร้องทางกฎหมายและสภาพการณ์ส่วนตัว.
[ภาพหน้า 8]
“ซึ่งพระเจ้าได้ผูกพันกันแล้ว. อย่าให้มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย”