พระเจ้าจะมองข้ามความอ่อนแอของเราไหม?
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
พระเจ้าจะมองข้ามความอ่อนแอของเราไหม?
‘ผมไม่ใช่คนชั่วช้าอะไร! ผมพยายามอย่างหนักที่จะเลิกทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ผมอ่อนแอเกินไป!’
ความรู้สึกเช่นนี้สะท้อนถึงความรู้สึกของคุณหรือคนที่คุณรู้จักไหม? หลายคนลงความเห็นว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาชนะความอ่อนแอทางศีลธรรมที่ฝังรากลึก. บางคนต้องพึ่งแอลกอฮอล์, ยาสูบ, หรือยาเสพติด. ความโลภครอบงำชีวิตของคนอื่นอีกหลายคน. และก็มีคนที่ยอมแพ้ต่อการประพฤติผิดทางเพศ โดยอ้างว่าพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องเพศอย่างถอนตัวไม่ขึ้น.
ดังที่บ่งชี้ในมัดธาย 26:41 ด้วยความกรุณา พระเยซูทรงแสดงความเข้าใจในความอ่อนแอของมนุษย์. * ที่จริง บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลทั้งเล่มยืนยันชัดแจ้งว่าทั้งพระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูทรงเมตตามนุษย์อย่างแท้จริง. (บทเพลงสรรเสริญ 103:8, 9) แต่เราคาดหมายได้ไหมว่าพระเจ้าจะมองข้ามความผิดพลาดทุกอย่างของเรา?
โมเซกับดาวิด
ขอพิจารณาเรื่องของโมเซ. เป็นที่รู้กันว่าท่าน “เป็นคนถ่อมจิตใจอ่อนยิ่งมากกว่าคนทั้งปวงที่อยู่บนแผ่นดิน” และท่านพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาคุณลักษณะที่ดีนั้นไว้. (อาฤธโม 12:3) ขณะที่ชาวอิสราเอลเดินทางผ่านถิ่นทุรกันดาร พวกเขามักจะประพฤติตัวแบบที่ไม่มีเหตุผลและไม่แสดงความนับถือพระเจ้าและตัวแทนของพระองค์. ตลอดช่วงเวลานั้น โมเซหมายพึ่งการชี้นำจากพระเจ้าด้วยความถ่อมใจ.—อาฤธโม 16:12-14, 28-30.
อย่างไรก็ตาม ขณะที่การเดินทางอันเหนื่อยอ่อนและยาวนานใกล้จะจบลง ท่านสูญเสียการควบคุมอารมณ์ต่อหน้าชนทั้งชาติและไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้า. พระเจ้าทรงอภัยให้ท่าน แต่พระองค์มองข้ามเหตุการณ์นั้นไหม? ไม่. พระองค์ตรัสแก่โมเซว่า “เพราะเจ้ามิได้เชื่อเราไม่ประพฤติการอันเป็นที่ยกยอสรรเสริญเราต่อหน้าพวกยิศราเอล, เหตุฉะนี้เจ้าจะไม่ได้พาคนทั้งปวงมาถึงแผ่นดินที่เราให้แก่เขา.” โมเซจะไม่ได้เข้าไปในแผ่นดินที่ทรงสัญญาไว้. หลังจากต่อสู้มา 40 ปีเพื่อจะได้สิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมนั้น ความผิดพลาดร้ายแรงแบบมนุษย์ทำให้ท่านสูญเสียสิทธิพิเศษนั้น.—อาฤธโม 20:7-12.
2 ซามูเอล 11:2-27) หลังจากนั้น ท่านเสียใจอย่างสุดซึ้งต่ออาชญากรรมที่ท่านก่อขึ้น และพระเจ้าทรงให้อภัยท่าน. แต่ดาวิดได้ทำลายครอบครัวหนึ่ง และพระยะโฮวาไม่ได้ปกป้องท่านไว้จากความหายนะร้ายแรงที่ตามมา. ราชบุตรของดาวิดเกิดป่วยหนัก และพระยะโฮวาไม่ได้เข้ามาแทรกแซงทั้ง ๆ ที่ดาวิดอธิษฐานขอเพื่อเด็กนั้น. เด็กนั้นตาย และตามมาด้วยโศกนาฏกรรมในครอบครัวของดาวิด. (2 ซามูเอล 12:13-18; 18:33) ดาวิดต้องชดใช้ด้วยราคาแพงเนื่องจากการยอมแพ้ต่อความอ่อนแอทางศีลธรรม.
กษัตริย์ดาวิดเป็นอีกคนหนึ่งที่เลื่อมใสพระเจ้าและมีความอ่อนแอ. ครั้งหนึ่ง ท่านพ่ายแพ้ต่อตัณหาและมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของคนอื่น. จากนั้นท่านก็พยายามปกปิดโดยทำให้สามีของนางถูกฆ่า. (ตัวอย่างเหล่านี้แสดงว่าพระเจ้าทรงถือว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบความประพฤติของตน. คนที่ต้องการรับใช้พระองค์ต้องเสริมความแข็งแกร่งในจุดที่เป็นจุดอ่อนทางฝ่ายวิญญาณและเป็นคริสเตียนที่ดีขึ้น. ในศตวรรษแรก หลายคนทำเช่นนั้น.
การต่อสู้เพื่อเอาชนะบาป
นับว่าเหมาะที่จะถือว่าอัครสาวกเปาโลเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตแบบคริสเตียน. แต่คุณรู้ไหมว่าท่านต้องต่อสู้กับความอ่อนแอของตนอยู่เสมอ? โรม 7:18-25 พรรณนาอย่างชัดเจนถึงการต่อสู้นี้ หรือตามที่ข้อ 23 บอกว่าเป็นการ “สู้รบ.” เปาโลสู้โดยไม่ย่อหย่อน เพราะท่านรู้ว่าบาปไม่ยอมละลด.—1 โกรินโธ 9:26, 27.
บางคนที่เป็นสมาชิกของประชาคมคริสเตียนในเมืองโครินท์ (โกรินโธ) โบราณเคยเป็นคนที่ทำผิดเป็นนิสัย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า พวกเขาเคยเป็น ‘คนผิดประเวณี, คนเล่นชู้, ชายที่นอนกับชายด้วยกัน, ขโมย, คนโลภ, นักเลงสุรา.’ แต่คัมภีร์ไบเบิลยังบอกด้วยว่า พวกเขา “ได้รับการชำระให้สะอาดแล้ว.” (1 โกรินโธ 6:9-11, ล.ม.) โดยวิธีใด? พวกเขาได้รับการเสริมกำลังเพื่อจะเลิกเสียจากกิจปฏิบัติที่ชั่วช้าด้วยความรู้ถ่องแท้, การคบหาแบบคริสเตียน, และพระวิญญาณของพระเจ้า. ในที่สุด ในพระนามของพระคริสต์ พระเจ้าทรงประกาศว่าพวกเขาชอบธรรม. ถูกแล้ว พระเจ้าทรงให้อภัย และจึงทำให้พวกเขามีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาด.—กิจการ 2:38; 3:19.
เปาโลและคริสเตียนในเมืองโครินท์ไม่ได้ดูเบาแนวโน้มที่ผิดบาปของตน. แทนที่จะทำอย่างนั้น พวกเขาต่อสู้กับมัน และด้วยความช่วยเหลือจากพระเจ้า พวกเขาก็เอาชนะได้. ผู้นมัสการในศตวรรษแรกเหล่านั้นได้เป็นผู้ที่น่ายกย่องทางศีลธรรม แม้ว่าพวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีและมีแนวโน้มที่ไม่สมบูรณ์. แล้วพวกเราล่ะ?
พระเจ้าทรงคาดหมายให้เราต่อสู้กับความอ่อนแอของเรา
การต่อสู้กับความอ่อนแออาจไม่ได้ยังผลให้มันถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง. แม้ว่าเราไม่จำเป็นต้องยอมแพ้ต่อความไม่สมบูรณ์ แต่เราก็ไม่สามารถทำลายมันได้. ความไม่สมบูรณ์เพาะให้เกิดความอ่อนแอที่อาจคงอยู่ได้นานทีเดียว. กระนั้น เราไม่ควรยอมแพ้ความอ่อนแอของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 119:11) ทำไมเรื่องนี้สำคัญมาก?
เพราะพระเจ้าไม่ทรงยอมให้ใช้ความไม่สมบูรณ์มาเป็นข้อแก้ตัวเสมอสำหรับการประพฤติผิด. (ยูดา 4) พระยะโฮวาทรงปรารถนาให้มนุษย์ชำระตัวเองและทำให้ชีวิตของตนมีศีลธรรมที่ดีงาม. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงเกลียดชังสิ่งที่ชั่ว.” (โรม 12:9) ทำไมพระเจ้าทรงยืนยันเช่นนี้?
เหตุผลหนึ่งคือการยอมแพ้ต่อความอ่อนแอเป็นอันตราย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวในฆะลาเตีย 6:7 ว่า “คนใดหว่านพืชอย่างใดลง, ก็จะเกี่ยวเก็บผลอย่างนั้น.” คนที่ยอมแพ้ต่อการเสพติด, ความโลภ, และความสำส่อนทางเพศมักจะเก็บเกี่ยวผลอันเลวร้ายในชีวิตของตน. แต่ยังมีเหตุผลที่สำคัญกว่านั้น.
ความบาปเป็นการทำผิดต่อพระเจ้า. มันเป็น “เครื่องกีดกั้น” ระหว่างพวกเรากับพระยะโฮวา. (ยะซายา 59:2) เนื่องจากคนที่ทำบาปเป็นอาจิณเหล่านั้นไม่สามารถได้รับความโปรดปรานจากพระองค์ พระองค์จึงกระตุ้นเตือนคนเหล่านั้นว่า “ล้างเสียเถอะ, จงชำระตัวเสียให้สะอาดหมดจด; . . . จงงดกระทำชั่วเสียทีเดียว.”—ยะซายา 1:16.
พระผู้สร้างของเราทรงเปี่ยมด้วยความรักและความกรุณา. “พระองค์ไม่ทรงประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใดพินาศเลย, แต่ทรงปรารถนาจะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่.” (2 เปโตร 3:9) การยอมแพ้ต่อความอ่อนแออยู่ร่ำไปกีดขวางเราไว้จากการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า. เนื่องจากพระเจ้าไม่ทรงมองข้ามความอ่อนแอ เราก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 พระเยซูตรัสว่า “ใจพร้อมแล้วก็จริง, แต่เนื้อหนังยังอ่อนกำลัง.”