เมื่อความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นความหายนะ
เมื่อความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นความหายนะ
ในวันที่ 6 กรกฎาคม 1988 คนงานที่ไปเปอร์ แอลฟา ซึ่งเป็นแท่นขุดเจาะกลางทะเลเหนือ ซ่อมเครื่องสูบก๊าซควบแน่นแต่ยังทำไม่เสร็จ. เนื่องจากขาดการสื่อสารกัน คนงานกะต่อไปได้เปิดเครื่องสูบนั้น จึงเกิดเพลิงไหม้ขึ้น. เนื่องจากติดอยู่ในที่สูงเหนือทะเลและไม่มีทางหนี จึงทำให้ 167 คนเสียชีวิต.
สิบสองปีต่อมา ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2000 เครื่องบินคองคอร์ดซึ่งเร็วเหนือเสียงกำลังเร่งเครื่องบนทางวิ่งที่สนามบินชาร์ล เดอ โกลล์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส. ขณะที่เครื่องบินเร่งความเร็วขึ้น เศษโลหะไทเทเนียมชิ้นเล็ก ๆ บนทางวิ่งทำให้ยางเส้นหนึ่งระเบิด ซึ่งทำให้ถังเชื้อเพลิงในปีกรั่ว. เชื้อเพลิงไหลเข้าไปในเครื่องยนต์ข้างซ้าย ทำให้เครื่องดับและเกิดเปลวไฟยาว 60 เมตร. เมื่อผ่านไปประมาณสองนาที เครื่องบินก็พุ่งเข้าชนโรงแรมแห่งหนึ่ง ทำให้คนบนเครื่องบินเสียชีวิตทั้งหมด รวมทั้งคนที่อยู่บนพื้นดินบางคนด้วย.
เมื่อคำนึงถึงอุบัติเหตุดังกล่าว เจมส์ ไชลส์ กล่าวในหนังสือของเขาชื่อการเพิ่มความเสี่ยงของความหายนะ—บทเรียนจากเทคโนโลยีขั้นสุดยอด (ภาษาอังกฤษ) ดังนี้: “ในโลกสมัยใหม่ของเรา ซึ่งถูกห้อมล้อมไปด้วยเครื่องจักรที่ก่อภัยพิบัติเป็นครั้งคราว เราจำต้องยอมรับว่า ปัจจุบันความผิดพลาดธรรมดา ๆ สามารถก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง.” ในบทวิจารณ์หนังสือของไชลส์ วารสารไซเยนซ์ กล่าวว่า “ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและน่าทึ่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้น่าตื่นเต้นมาก. มันทำให้เราเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกที่ว่ามีความเป็นไปได้แทบไม่มีขีดจำกัดในเรื่องความเข้าใจและการบังคับจัดการโลกทางฟิสิกส์. [แต่] ไม่มีเหตุผลเลยที่จะนึกภาพว่าเราก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงกว่าเมื่อก่อน.”
ในเรื่องเทคโนโลยีที่มีอันตรายมากขึ้นนี้ วารสารไซเยนซ์ กล่าวว่า “แม้แต่โอกาสที่จะเกิด [ความผิดพลาด] เพียงเล็กน้อยก็ก่อให้เกิดอันตรายเกินไป. สำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ เราต้องยืนกรานให้มีความสมบูรณ์แบบ.” แต่ประวัติที่ผ่าน ๆ มาของมนุษยชาติบ่งชี้ว่าความสมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ไหม? ไม่อย่างแน่นอน! ดังนั้น ความหายนะที่เกิดจากความผิดพลาดต่าง ๆ จะต้องมีอยู่ต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัย.
แต่ใช่ว่ามันจะมีอยู่ต่อไปอย่างไม่รู้จบ. ผู้คนที่เกรงกลัวพระเจ้าสามารถมองไปยังอนาคตเมื่อชีวิตจะไม่จบลงอย่างน่าเศร้าเนื่องจากความผิดพลาดหรือข้อจำกัดของมนุษย์. เพราะเหตุใด? เพราะพระเจ้า โดยทางรัฐบาลราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ จะขจัดสาเหตุทุกอย่างแห่งความตาย, ความทุกข์, และความเจ็บปวดออกไป.—มัดธาย 6:9, 10; วิวรณ์ 21:3, 4.
[ที่มาของภาพหน้า 17]
AP Photo/Toshihiko Sato