ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ยากันยุงของเจ้าจ๋อ!

ยากันยุงของเจ้าจ๋อ!

ยา​กัน​ยุง​ของ​เจ้า​จ๋อ!

ป่า​เขต​ร้อน​แห่ง​ประเทศ​เวเนซุเอลา​เป็น​ที่​อาศัย​ของ​สัตว์​เลี้ยง​ลูก​ด้วย​นม​ชนิด​หนึ่ง​ซึ่ง​ฉลาด​มาก นั่น​คือ​ลิง​คาปูชิน​ที่​มี​ขน​บน​หัว​เป็น​รูป​ลิ่ม. เมื่อ​ฤดู​ฝน​มา​เยือน​ถิ่น​อาศัย​ใน​ป่า​ของ​ลิง​พวก​นี้ สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ตาม​มา​ด้วย​ก็​คือ​ยุง​ฝูง​ใหญ่​ที่​ไร้​ความ​ปรานี. นอก​จาก​จะ​สร้าง​ความ​รำคาญ​แล้ว ยุง​จอม​บุกรุก​ยัง​เป็น​อันตราย​ด้วย. ยุง​พวก​นี้​มัก​มี​ไข่​ของ​แมลงวัน​บอ​ตอ​ยู่​ใน​ตัว​มัน ซึ่ง​เมื่อ​ถูก​ฝัง​ไว้​ใต้​ผิวหนัง​ก็​จะ​ทำ​ให้​เกิด​ถุง​หนอง​และ​ทำ​ให้​ลิง​อ่อน​เปลี้ย.

ดู​เหมือน​ว่า​เพื่อ​ป้องกัน​ตัว​จาก​การ​โจมตี ลิง​คาปูชิน​จะ​ทา​ตัว​ด้วย​ยา​กัน​ยุง​ตาม​ธรรมชาติ​ที่​ออก​ฤทธิ์​แรง ซึ่ง​ก็​คือ​สาร​ที่​กิ้งกือ​ป่า​ชนิด​หนึ่ง​ขับ​ออก​มา. กิ้งกือ​นี้​จะ​ขับ​สาร​ออก​มา​สอง​ชนิด​ซึ่ง​มี​ฤทธิ์​ไล่​แมลง​ได้​ดี​มาก. ที่​จริง สาร​ที่​กิ้งกือ​ขับ​ออก​มา​มี​ฤทธิ์​แรง​กว่า​ยา​กัน​ยุง​ที่​พวก​ทหาร​ใช้​กัน​ซึ่ง​มนุษย์​เป็น​ผู้​ผลิต​ขึ้น​ด้วย​ซ้ำ!

ด้วย​ประการ​ฉะนี้ ใน​ช่วง​ฤดู​ฝน​ลิง​คาปูชิน​หัว​ลิ่ม​จะ​แคะ​เปลือก​ไม้​หรือ​ตาม​จอม​ปลวก​เพื่อ​หา​กิ้งกือ​ป่า​ที่​ยาว 10 เซนติเมตร​นี้. เมื่อ​หา​พบ มัน​จะ​จับ​กิ้งกือ​มา​ถู​ทั่ว​ตัว​ตั้ง​แต่​หัว​จรด​เท้า. วารสาร​ระบบ​นิเวศ​ทาง​เคมี (ภาษา​อังกฤษ) กล่าว​ว่า “พวก​ลิง​อยาก​ได้​สาร​ชนิด​นี้​มาก​ขนาด​ที่​อาจ​มี​ลิง​ถึง​สี่​ตัว​ใช้​กิ้งกือ​ตัว​เดียว​กัน.” แม้​แต่​ลำดับ​ความ​อาวุโส​ซึ่ง​เห็น​ได้​ชัด​ใน​เวลา​กิน​อาหาร​หรือ​ใน​โอกาส​อื่น​ก็​ถูก​มอง​ข้าม​เมื่อ​ถึง​เวลา​ถู​ตัว​ด้วย​กิ้งกือ.

[ภาพ​หน้า 15]

สาร​ที่​กิ้งกือ​ขับ​ออก​มา

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 15]

Thomas Eisner/Cornell University

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 15]

Dr. Zoltan Takacs