พืช—แหล่งที่มาอันมีค่าของยา
พืช—แหล่งที่มาอันมีค่าของยา
ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่า หนึ่งในสี่ของยาแผนปัจจุบันทั้งหมดที่ผู้คนต้องใช้ได้มาจากสารเคมีที่อยู่ในพืช ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน. ผู้สนับสนุนยาสมุนไพรหลากหลายชนิดมักอ้างถึงข้อเท็จจริงนี้บ่อย ๆ.
งานวิจัยเกี่ยวกับพืชที่ใช้เป็นยาส่วนใหญ่จะมุ่งไปยังการแยกสารประกอบที่มีฤทธิ์ในการรักษา. ตัวอย่างที่เด่นที่สุดของสารประกอบดังกล่าวคือแอสไพริน ซึ่งได้มาจากซาลิซิน ซึ่งพบในเปลือกของต้นสนุ่น.
เมื่อแยกออกมาแล้ว สารประกอบที่มีฤทธิ์ซึ่งพบในพืชก็สามารถนำไปใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและแม่นยำมากขึ้น. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งกล่าวว่า “การกินเปลือกต้นสนุ่นในปริมาณที่มากพอเพื่อจะได้แอสไพริน หรือการกินต้นฟอกซ์โกลฟมากพอที่จะได้รับสารดิจิทาลิสซึ่งช่วยชีวิตได้จริง ๆ นั้น จะง่ายกว่ามากถ้ากินแบบเป็นเม็ดแทนที่จะกินแบบธรรมชาติ.”
ในอีกด้านหนึ่ง การแยกสารประกอบที่มีฤทธิ์จากพืชที่ใช้เป็นยาอาจมีข้อเสีย. ประการหนึ่ง การทำอย่างนั้นอาจหมายถึงการไม่ได้รับสารอาหารและผลประโยชน์ในการรักษาซึ่งอาจมีอยู่ในสารตัวอื่น ๆ ของพืชชนิดนั้น. นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคก็เริ่มดื้อยาที่มุ่งโจมตีพวกมัน.
ควินิน ซึ่งเป็นสารที่ได้จากเปลือกต้นซิงโคนา เป็นตัวอย่างของผลเสียจากการแยกสารประกอบที่มีฤทธิ์จากพืชที่ใช้เป็นยา. แม้ว่าควินินจะฆ่าปรสิตที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ปรสิตที่ไม่ถูกฆ่าก็จะแพร่พันธุ์มากขึ้นขณะที่ปรสิตตัวอื่น ๆ ตายไป. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งอธิบายว่า “การดื้อยากลายเป็นปัญหาใหญ่ในวงการแพทย์.”
[ภาพหน้า 17]
แอสไพรินได้มาจากต้นสนุ่น
[ที่มาของภาพ]
USDA-NRCS PLANTS Database/Herman, D.E. et al. 1996. North Dakota tree handbook
[ภาพหน้า 17]
ต้นซิงโคนาเป็นแหล่งที่มาของควินิน
[ที่มาของภาพ]
Courtesy of Satoru Yoshimoto