ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

“การติด” โทรศัพท์มือถือ

“การติด” โทรศัพท์มือถือ

“การ​ติด” โทรศัพท์​มือ​ถือ

โดย​ผู้​เขียน​ตื่นเถิด! ใน​ญี่ปุ่น

หนังสือ​พิมพ์​เดอะ เดลี โยมิอูริ แห่ง​ญี่ปุ่น​พาด​หัว​ข่าว​ว่า “การ​ชื่น​ชอบ​จน​ถึง​ขั้น​ติด​โทรศัพท์​มือ​ถือ.” ติด​โทรศัพท์​มือ​ถือ​หรือ? หนังสือ​พิมพ์​ฉบับ​นั้น​อธิบาย​ว่า “ดู​เหมือน​คน​หนุ่ม​สาว​มอง​ว่า โทรศัพท์​มือ​ถือ​เป็น​อวัยวะ​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ร่าง​กาย​และ​อาจ​ถึง​กับ​เริ่ม​ตื่น​ตระหนก​หาก​ไม่​มี​โทรศัพท์​อยู่​ด้วย.” เนื่อง​จาก​กลัว​จะ​ถูก​ตัด​ขาด​จาก​คน​อื่น ๆ หลาย​คน​จึง​เปิด​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ตลอด​ทุก​ที่​ทุก​เวลา. หาก “ไม่​ได้​รับ​ข้อ​ความ​ใด ๆ จาก​โทรศัพท์​มือ​ถือ พวก​เขา​จะ​รู้สึก​กระวนกระวาย​และ​หงุดหงิด อีก​ทั้ง​เริ่ม​รู้สึก​ว่า​ไม่​มี​ใคร​ต้องการ​พวก​เขา.” ความ​กระวนกระวาย​นี้​กระตุ้น​พวก​เขา​ให้​ตอบ​ทุก​ข้อ​ความ​ทันที​ที่​มี​เข้า​มา ซึ่ง​บ่อย​ครั้ง​ไม่​จำเป็น.

แน่นอน โทรศัพท์​มือ​ถือ​อาจ​มี​ประโยชน์. ที่​จริง บ่อย​ครั้ง​โทรศัพท์​มือ​ถือ​มี​ค่า​มาก​ใน​สถานการณ์​ฉุกเฉิน. แม้​การ​โทร​คุย​เล่น​ไม่​ใช่​เรื่อง​ผิด​ตราบ​ที่​ทำ​ใน​วิธี​ที่​สมดุล. แต่​ผู้​เชี่ยวชาญ​บาง​คน​กล่าว​ว่า “การ​ติด” โทรศัพท์​มือ​ถือ​อาจ​ก่อ​ผล​เสีย​ต่อ​ทักษะ​การ​สื่อ​ความ​ตาม​ธรรมชาติ. หนังสือ​พิมพ์​กล่าว​ว่า ครู​ระดับ​มัธยม​คน​หนึ่ง​ใน​เมือง​โอซากา​วิตก​ว่า โทรศัพท์​มือ​ถือ​ทำ​ให้ “เด็ก​สูญ​เสีย​ความ​สามารถ​ใน​การ​แปล​ความ​หมาย​ที่​ผู้​อื่น​แสดง​ออก​ทาง​สี​หน้า, ท่า​ทาง, และ​น้ำ​เสียง. ผล​ก็​คือ เด็ก​มี​ความ​ก้าวร้าว​มาก​ขึ้น รวม​ทั้ง​ไม่​คำนึง​ถึง​ความ​รู้สึก​ของ​ผู้​อื่น.”

บทความ​นั้น​ปิด​ท้าย​ว่า “ดู​เหมือน​เป็น​เรื่อง​หลีก​เลี่ยง​ไม่​ได้​ที่​เด็ก​จะ​พึ่ง​อาศัย​โทรศัพท์​มือ​ถือ​มาก​ขึ้น​ใน​อนาคต. วิธี​เดียว​เท่า​นั้น​ที่​จะ​ลด​ผล​กระทบ​ที่​เสียหาย​ของ​แนว​โน้ม​นี้​คือ ทำ​ให้​แน่​ใจ​ว่า​ผู้​ใหญ่​จะ​เป็น​ตัว​อย่าง​ที่​ดี​แก่​เด็ก​ใน​เรื่อง​การ​ใช้​โทรศัพท์​มือ​ถือ.”