การดื่มจัดเป็นเรื่องเลวร้ายขนาดนั้นหรือ?
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
การดื่มจัดเป็นเรื่องเลวร้ายขนาดนั้นหรือ?
นักดื่มที่มีอารมณ์ครื้นเครงและชอบแสดงตลกให้คนอื่นหัวเราะมีให้เห็นเป็นธรรมดาบนเวทีหรือในภาพยนตร์มานานหลายปีแล้ว. ถึงแม้อาจเป็นแค่การแสดง แต่ความตลกนั้นส่อถึงทัศนะที่ไม่เสมอต้นเสมอปลายของหลายคนซึ่งมีต่อการดื่มจัด คือมองว่าเป็นความอ่อนแอ แต่กระนั้นก็ไม่ได้ก่อผลเสียหายแต่อย่างใด.
แน่นอน ในความเป็นจริงนี่ไม่ใช่เรื่องน่าขัน. องค์การอนามัยโลกจัดเรื่องการใช้แอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ เป็นหนึ่งในบรรดาอันตรายอันดับสูงสุดที่มีต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก. กล่าวกันว่า นอกจากการติดบุหรี่แล้ว การใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ เป็นสาเหตุของการตายและการเจ็บป่วยมากยิ่งกว่าการใช้สารอื่น ๆ ที่ทำให้ติด และยังทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวสิ้นเปลืองไปมากกว่า 184,000 ล้านดอลลาร์ (7.36 ล้านล้านบาท) ในแต่ละปี.
แม้จะมีข้อเท็จจริงเหล่านี้ หลายคนก็ยังมองข้ามความร้ายแรงของการดื่มจัด. ขณะที่พวกเขาอาจยอมรับผลกระทบระยะยาวที่เป็นอันตรายจากการใช้แอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ แต่พวกเขามองไม่เห็นผลเสียหายที่มาพร้อมกับการดื่มเป็นครั้งคราวอย่างไม่บันยะบันยัง. ท่ามกลางคนหนุ่มสาวในส่วนต่าง ๆ ของโลก การเมาสุราถือเป็นพิธีกรรมสำหรับการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่. และแม้ว่าองค์กรด้านสุขภาพจะให้คำเตือนอย่างจริงจัง แต่การดื่มอย่างไม่บันยะบันยังถูกนิยามว่าเป็นการดื่มรวดเดียวห้าหกแก้ว. ดังนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมหลายคนจึงสงสัยว่าการดื่มจัดเป็นเรื่องเลวร้ายขนาดนั้นหรือ. คัมภีร์ไบเบิลพูดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
น้ำองุ่นหมักและเหล้า—ของประทานจากพระเจ้า
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงน้ำองุ่นหมักและเหล้าหลายต่อหลายครั้ง. กษัตริย์โซโลมอนเขียนไว้ดังนี้: “ไปเถิด ไปท่านผู้ประกาศ 9:7, ฉบับแปลใหม่) ท่านผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญยอมรับว่า พระยะโฮวาพระเจ้าทรงเป็นผู้จัดให้มี “เหล้าองุ่นซึ่งให้ใจมนุษย์ยินดี.” (บทเพลงสรรเสริญ 104:14, 15, ฉบับแปลใหม่) เห็นได้ชัดว่า เหล้าองุ่นเป็นหนึ่งในบรรดาพระพรต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงประทานแก่มนุษยชาติ.
รับประทานอาหารของเจ้าด้วยความชื่นชมและไปดื่มเหล้าองุ่นของเจ้าด้วยความร่าเริงเพราะพระเจ้าทรงเห็นชอบกับการงานของเจ้าแล้ว.” (ปรากฏชัดว่าการดื่มเหล้าองุ่นเป็นสิ่งที่พระเยซูทรงยอมรับ. ที่จริง การอัศจรรย์ครั้งแรกของพระองค์ก็คือการเปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่นที่มีคุณภาพเยี่ยม ณ งานเลี้ยงสมรส. (โยฮัน 2:3-10) นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงใช้เหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงโลหิตของพระองค์ได้อย่างเหมาะสมเมื่อทรงตั้งอาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าขึ้น. (มัดธาย 26:27-29) คัมภีร์ไบเบิลยังกล่าวถึงสรรพคุณทางยาของเหล้าองุ่นด้วยซ้ำ เพราะอัครสาวกเปาโลสนับสนุนติโมเธียวว่า “จงใช้เหล้าองุ่นบ้างเล็กน้อย, เพื่อประโยชน์แก่กะเพาะอาหารของท่าน.”—1 ติโมเธียว 5:23; ลูกา 10:34.
การรู้จักประมาณตนเป็นหลักสำคัญ
พึงสังเกตว่าเปาโลแนะนำให้ดื่ม “เหล้าองุ่นบ้างเล็กน้อย.” คัมภีร์ไบเบิลตำหนิอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการใช้แอลกอฮอล์อย่างไม่รู้จักประมาณตนในทุกกรณี. ปุโรหิตชาวยิวได้รับอนุญาตให้ดื่มแต่พอประมาณก็ต่อเมื่อออกเวรแล้ว. อย่างไรก็ตาม ขณะปฏิบัติหน้าที่ปุโรหิตอยู่ พวกเขาถูกห้ามไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์. (เลวีติโก 10:8-11) หลายปีต่อมา คริสเตียนสมัยศตวรรษแรกได้รับการเตือนว่า คนขี้เมา “จะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก.”—1 โกรินโธ 6:9, 10, ล.ม.
นอกจากนั้น เมื่อเปาโลให้คำแนะนำแก่ติโมเธียว ท่านบอกว่า คนเหล่านั้นที่นำหน้าในประชาคมต้อง “ไม่เป็นนักเลงสุรา” หรือ “ไม่ปล่อยตัวดื่มเหล้าองุ่นมาก.” * (1 ติโมเธียว 3:3, 8, ล.ม.) ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกำชับว่าคนขี้เมาที่ไม่สำนึกผิดกลับใจจะถูกขับออกจากประชาคมคริสเตียน. (1 โกรินโธ 5:11-13) ดังที่พระคัมภีร์พรรณนาไว้อย่างเหมาะเจาะว่า “เหล้าองุ่นทำให้เกิดการเย้ยหยัน.” (สุภาษิต 20:1) การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้คนนั้นควบคุมตนเองได้น้อยลงและทำให้ความสามารถในการตัดสินใจเสียไปได้.
เหตุผลที่พระคำของพระเจ้าตำหนิการดื่มจัด
พระยะโฮวา ‘ผู้สั่งสอนเราเพื่อประโยชน์แก่ตัวของเราเอง’ ทรงทราบว่าเมื่อเราใช้อะไรก็ตามในทางผิด สุดท้ายแล้วเราจะทำให้ตัวเองและคนอื่นได้รับความเสียหาย. (ยะซายา 48:17, 18) ข้อนี้เป็นความจริงในเรื่องของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. พระคำของพระเจ้าถามดังนี้: “ใครที่ร้องโอย ใครที่ร้องอุย ใครที่มีการวิวาท ใครที่มีการร้องคราง ใครที่มีบาดแผลปราศจากเหตุ ใครที่มีตาแดง.” คำตอบคือ “บรรดาผู้ที่นั่งแช่อยู่กับเหล้าองุ่น บรรดาผู้ที่ไปทดลองเหล้าประสม.”—สุภาษิต 23:29, 30, ฉบับแปลใหม่.
ภายใต้ฤทธิ์แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป ผู้คนได้ทำหลายสิ่งที่ขาดการไตร่ตรองและเป็นอันตราย อย่างเช่น ขับขี่ยวดยานขณะมึนเมาทำให้ตนเองและผู้อื่นเสี่ยงอันตราย, เข้าไปผูกสมัครรักใคร่กับคู่ของคนอื่นและทำให้สัมพันธภาพเสียหายอย่างร้ายแรง, พูดและทำอะไรโง่ ๆ หรือถึงกับพูดจาเลอะเทอะเสียด้วยซ้ำ. (สุภาษิต 23:33) กล่าวได้อย่างถูกต้องว่าการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในทางผิดเป็นปัญหาทางสังคมที่ก่อความเสียหายมากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติในทุกวันนี้. ไม่แปลกที่พระคำของพระเจ้ากระตุ้นเตือนว่า “อย่ามั่วสุมกับนักเสพเหล้าองุ่น”!—สุภาษิต 23:20.
ที่พระธรรมฆะลาเตีย 5:19-21 (ล.ม.) เปาโลกล่าวถึงการเมาเหล้าและการสำมะเลเทเมาว่าเป็น “การของเนื้อหนัง” ซึ่งก่อผลตรงกันข้ามกับผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไปจะยังความเสียหายต่อสัมพันธภาพของเรากับพระเจ้า. ฉะนั้น เห็นได้ชัดว่าคริสเตียนพึงหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างไม่ประมาณตน.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 เนื่องจากผู้ดูแลและผู้ช่วยงานรับใช้ควรเป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะในเรื่องการตัดสินใจและการประพฤติโดยแสดงออกซึ่งมาตรฐานอันสูงส่งของพระยะโฮวาอย่างสุดความสามารถของตน ตามเหตุผลแล้วข้อเรียกร้องนี้คงจะใช้กับคริสเตียนคนอื่น ๆ ด้วย.