เหตุใดพระเจ้าจึงปล่อยให้เราทนทุกข์?
หนุ่มสาวถามว่า . . .
เหตุใดพระเจ้าจึงปล่อยให้เราทนทุกข์?
“พระเจ้าอยู่บนสวรรค์ซึ่งทุกสิ่งบนนั้นล้วนแต่น่าพอใจ ในขณะที่พวกเราซึ่งอยู่ข้างล่างนี้ต้องทนทุกข์.”—แมรี. *
คนหนุ่มสาวในทุกวันนี้เกิดมาในโลกที่ทารุณโหดร้าย. แผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติอันน่าสลดใจที่ล้างผลาญชีวิตผู้คนนับหมื่นนับแสนดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา. สงครามและการโจมตีของผู้ก่อการร้ายกลายเป็นข่าวเด่น. ความเจ็บป่วย, โรคภัย, อาชญากรรม, และอุบัติเหตุต่าง ๆ คร่าชีวิตคนที่เรารักไป. สำหรับแมรี ซึ่งมีการกล่าวถึงข้างต้น ความทุกข์ระทมเกิดขึ้นใกล้ตัวเธอมาก. เธอกล่าวคำพูดอันขมขื่นนี้หลังจากพ่อของเธอเสียชีวิต.
เมื่อความโศกเศร้าเกิดขึ้นกับตัวเราเอง ธรรมชาติของมนุษย์จะรู้สึกสิ้นหวัง, สูญเสีย, หรือถึงกับโกรธด้วยซ้ำ. คุณอาจสงสัยว่า ‘ทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้น?’ ‘ทำไมต้องเป็นฉัน?’ หรือ ‘ทำไมต้องเกิดขึ้นตอนนี้?’ คำถามเช่นนี้สมควรจะได้รับคำตอบที่น่าพอใจ. แต่เพื่อจะได้คำตอบที่ถูกต้อง เราต้องค้นหาจากแหล่งที่ถูกต้อง. จริงอยู่ ดังที่เทอร์เรลล์ เยาวชนคนหนึ่งกล่าว บางครั้งผู้คน “รู้สึกเจ็บปวดมากเกินกว่าจะพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อย่างสุขุม.” ดังนั้น คุณอาจจำเป็นต้องหาวิธีที่จะทำให้อารมณ์สงบลงบ้างเพื่อคุณจะสามารถ คิดอย่างที่ตรงกับความเป็นจริงและมีเหตุผล.
การเผชิญกับความจริงที่ไม่น่ายินดี
อาจเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีเลยที่จะคิดถึงเรื่องความตายและความทุกข์ แต่นั่นเป็นความจริงของชีวิต. โยบกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เหมาะทีเดียวเมื่อท่านกล่าวว่า “อันมนุษย์ซึ่งเกิดจากเพศหญิงย่อมมีแต่วันเวลาน้อยนัก, และประกอบไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก.”—โยบ 14:1.
คัมภีร์ไบเบิลสัญญาเรื่องโลกใหม่ที่ซึ่ง “ความชอบธรรมจะดำรงอยู่.” (2 เปโตร 3:13; วิวรณ์ 21:3, 4) อย่างไรก็ตาม ก่อนที่สภาพอันดีเยี่ยมเช่นนี้จะเป็นจริง มนุษยชาติต้องผ่านยุคอันเลวร้ายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงรู้ข้อนี้ คือในสมัยสุดท้ายจะเกิดวิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้.”—2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.
ยุคที่ยากลำบากนี้จะดำเนินไปอีกนานแค่ไหน? สาวกของพระเยซูเคยถามคำถามที่สำคัญทำนองเดียวกันนี้. แต่พระเยซูไม่ได้ระบุวันเวลาเฉพาะเจาะจงว่า ระบบของสิ่งต่าง ๆ อันเต็มไปด้วยความทุกข์ยากจะสิ้นสุดลงเมื่อไร. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุด ผู้นั้นจะรอด.” (มัดธาย 24:3, 13) คำตรัสของพระเยซูหนุนใจเราให้มองเรื่องราวต่าง ๆ ในระยะยาว. เราต้องเตรียมพร้อมที่จะอดทนกับสถานการณ์ที่ไม่น่าพอใจหลายอย่างก่อนที่อวสานจะมาถึงในที่สุด.
ควรโทษพระเจ้าไหม?
ดังนั้น เป็นเรื่องสมเหตุผลไหมที่จะโกรธพระเจ้าเนื่องจากพระองค์ทรงยอมให้มีความทุกข์? ไม่ เมื่อคำนึงถึงว่าพระเจ้าทรงสัญญาจะให้ความทุกข์ยากทั้งปวงสิ้นสุดลง. อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จะรู้สึกว่าพระเจ้าทรงเป็นต้นเหตุที่ทำให้สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น. เหตุการณ์อันน่าสลดใจหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความบังเอิญ. ตัวอย่างเช่น ลองนึกภาพว่าลมพัดจนต้นไม้ล้มและทำให้บางคนบาดเจ็บ. ผู้คนอาจเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นการกระทำของพระเจ้า. แต่พระเจ้าไม่ได้ทำให้ต้นไม้นั้นล้ม. คัมภีร์ไบเบิลช่วยเราให้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงผลอันน่าเศร้าที่เกิดจาก “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า.”—ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.
นอกจากนี้ ความทุกข์อาจเกิดจากการไม่มีสติรอบคอบด้วย. สมมุติว่าวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างเลยเถิดแล้วไปขับรถ. ผลคือทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง. ควรโทษใคร? พระเจ้าไหม? ไม่ พวกเขาต่างหากที่ต้องเก็บเกี่ยวผลจากการไม่มีสติรอบคอบ.—ฆะลาเตีย 6:7.
คุณอาจถามว่า ‘แต่พระเจ้าทรงมีอำนาจพอที่จะทำให้ความทุกข์สิ้นสุดลงในตอนนี้ได้มิใช่หรือ?’ บุรุษผู้มีความเชื่อบางคนในสมัยคัมภีร์ไบเบิลเคยสงสัยเรื่องนี้. ผู้พยากรณ์ฮะบาฆูคถามพระเจ้าดังนี้: “เหตุไฉนพระองค์จึงทรงทอดพระเนตรดูคนผู้กระทำคดโกง, แลนิ่งเงียบเสียเมื่อคนบาปนั้นกัดกินคนดีผู้ชอบธรรมยิ่งกว่าตัว?” อย่างไรก็ตาม ฮะบาฆูคไม่ได้ด่วนลงความเห็น. ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้า . . . จะคอยเพ่งดูเพื่อจะเห็นว่า, พระองค์จะตรัสว่าอะไรแก่ข้าพเจ้า.” ต่อมา พระเจ้าทรงรับรองกับท่านว่าเมื่อถึง “เวลากำหนด” พระองค์จะทำให้ความทุกข์ยากสิ้นสุดลง. (ฮะบาฆูค 1:13; 2:1-3) ด้วยเหตุนี้ เราต้องอดทน รอคอยให้พระเจ้ายุติความชั่วร้ายในเวลากำหนดของพระองค์.
อย่าด่วนสรุปว่า พระเจ้าทรงประสงค์ ให้เราทนทุกข์หรือพระองค์กำลังทดสอบเราเป็นส่วนตัวไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง. เป็นความจริงที่ว่า ความทุกข์ยากจะทำให้คุณลักษณะที่ดีในตัวเราปรากฏออกมา และก็เป็นความจริงด้วยที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่าการทดลองที่พระเจ้าทรงยอมให้เกิดขึ้นจะช่วยปรับปรุงความเชื่อของเรา. (เฮ็บราย 5:8; 1 เปโตร 1:7) จริงทีเดียว หลายคนที่ประสบความยากลำบากหรือมีประสบการณ์อันเจ็บปวดกลายเป็นคนที่มีความอดทนหรือมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น. แต่เราไม่ควรลงความเห็นว่าความทุกข์ยากของพวกเขาเกิดจากการกระทำของพระเจ้า. การคิดเช่นนี้ไม่ได้คำนึงถึงความรักและสติปัญญาของพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดเจนว่า “เมื่อถูกทดลอง อย่าให้ผู้ใดว่า ‘พระเจ้าทดลองข้าพเจ้า.’ เพราะพระเจ้าจะถูกทดลองด้วยสิ่งที่ชั่วไม่ได้ หรือพระองค์เองก็ไม่ทดลองผู้ใดเลย.” ในทางตรงกันข้าม “ของประทานอันดี ทุกอย่างและของประทานอันสมบูรณ์ทุกอย่าง” มาจากพระเจ้า!—ยาโกโบ 1:13, 17, ล.ม.
เหตุใดพระเจ้าทรงยอมให้มีความชั่ว?
ถ้าอย่างนั้น ความชั่วมาจากไหน? จำไว้ว่าพระเจ้ามีปรปักษ์ และปรปักษ์ที่สำคัญที่สุดคือ “ผู้ถูกเรียกว่าพญามารและซาตาน ผู้ชักนำแผ่นดินโลกทั้งสิ้นที่มีคนอาศัยอยู่ให้หลง.” (วิวรณ์ 12:9, ล.ม.) พระเจ้าให้อาดามกับฮาวาบิดามารดาคู่แรกของเราอาศัยอยู่ในโลกที่ปราศจากความทุกข์ยาก. แต่ซาตานทำให้ฮาวาเชื่อว่าเธอจะมีชีวิตที่ดีกว่าโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้า. (เยเนซิศ 3:1-5) น่าเศร้า ฮาวาเชื่อคำโกหกของซาตานและไม่เชื่อฟังพระเจ้า. อาดามร่วมกับเธอในการกบฏครั้งนี้. ผลเป็นเช่นไร? คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความตายจึงได้ลามไปถึงคนทั้งปวง.”—โรม 5:12.
แทนที่จะขจัดการขืนอำนาจนี้ทันทีโดยการทำลายซาตาน1 โยฮัน 5:19, ล.ม.) นอกจากนี้ “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.” (ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.) ศาสนาต่าง ๆ ของมนุษยชาติมีแต่คำสอนที่สับสนและขัดแย้งกันเอง. ศีลธรรมเสื่อมทรามลงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา. รัฐบาลมนุษย์พยายามทดลองการปกครองทุกรูปแบบเท่าที่พอจะนึกออกได้. พวกเขาต่างก็ลงนามในสนธิสัญญาและออกกฎหมายต่าง ๆ แต่ความจำเป็นของสามัญชนก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ. สงครามเพิ่มความทุกข์ยากที่มีอยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก.
และเหล่าผู้ติดตามมัน พระเจ้าทรงเห็นว่าเหมาะที่จะปล่อยให้เวลาผ่านไป. นั่นจะบรรลุผลเช่นไร? ผลอย่างหนึ่งคือ จะทำให้ซาตานถูกเปิดโปงว่าเป็นผู้โกหก! นั่นจะทำให้มีข้อพิสูจน์เพิ่มมากขึ้นว่าการไม่หมายพึ่งพระเจ้านั้นไม่ได้ให้อะไรนอกจากความหายนะเท่านั้น. นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมิใช่หรือ? “โลกทั้งสิ้นอยู่ในอำนาจตัวชั่วร้าย.” (เห็นได้ชัดว่า เราจำเป็นต้องให้พระเจ้าเข้าแทรกแซงและยุติความชั่ว! แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อถึงเวลากำหนดของพระเจ้าเท่านั้น. จนกว่าจะถึงเวลานั้น นับเป็นสิทธิพิเศษที่เราได้สนับสนุนการปกครองของพระเจ้าโดยการเชื่อฟังกฎหมายและหลักการของพระองค์ตามที่พบในคัมภีร์ไบเบิล. เมื่อสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เราจะได้รับการปลอบโยนจากความหวังที่มั่นใจได้เกี่ยวกับชีวิตในโลกที่ปราศจากความทุกข์ยาก.
ไม่ใช่เพียงลำพัง
กระนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นกับตัวเรา เราอาจพบว่าตัวเองกำลังตั้งคำถามว่า ‘ทำไมต้องเป็นฉัน?’ อย่างไรก็ตาม อัครสาวกเปาโลเตือนเราว่า ไม่ได้มีเพียงแต่เราเท่านั้นที่ต้องทนทุกข์กับความชั่วร้าย. เปาโลกล่าวว่า “สิ่งทรงสร้างทั้งปวง นั้นเฝ้าแต่คร่ำครวญด้วยกันและตกอยู่ในความเจ็บปวดด้วยกันจนกระทั่งบัดนี้.” (โรม 8:22, ล.ม.) การรู้ข้อเท็จจริงนี้จะช่วยคุณให้รับมือกับความทุกข์ยากได้. ตัวอย่างเช่น นิโคลได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจเนื่องจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน 2001 ในนครนิวยอร์กและที่วอชิงตัน ดี. ซี. เธอยอมรับว่า “ดิฉันรู้สึกหวาดกลัวและตกใจ.” แต่เมื่อเธอได้อ่านเกี่ยวกับวิธีที่เพื่อนคริสเตียนรับมือกับความโศกเศร้านั้น ทัศนคติของเธอก็เปลี่ยนไป. * “ดิฉันตระหนักว่าไม่ใช่เพียงลำพังดิฉันเท่านั้นที่ทนทุกข์. ดิฉันค่อย ๆ ฟื้นตัวจากความเจ็บปวดและความโศกเศร้า.”
ในบางกรณี นับว่าฉลาดสุขุมที่จะหาใครสักคนที่คุณสามารถคุยด้วยได้ เช่น บิดามารดา, เพื่อนที่อาวุโส, หรือคริสเตียนผู้ปกครอง. การระบายความรู้สึกกับใครสักคนที่คุณไว้ใจจะทำให้คุณมีโอกาสได้รับการหนุนใจด้วย “ถ้อยคำที่ดี.” (สุภาษิต 12:25, ล.ม.) คริสเตียนหนุ่มชาวบราซิลคนหนึ่งเล่าว่า “ผมเสียพ่อไปเมื่อเก้าปีที่แล้ว และผมรู้ว่าในวันหนึ่งพระยะโฮวาจะทรงปลุกท่านให้ฟื้นขึ้นจากตาย. แต่สิ่งที่ช่วยผมได้คือการเขียนความรู้สึกของผม. นอกจากนี้ ผมยังระบายความรู้สึกกับเพื่อนคริสเตียนด้วย.” คุณมี “มิตรแท้” ที่คุณสามารถเชื่อใจได้ไหม? (สุภาษิต 17:17, ล.ม.) ถ้ามี จงรับประโยชน์จากการช่วยเหลือด้วยความรักของพวกเขา! อย่ากลัวที่จะร้องไห้หรือระบายอารมณ์ความรู้สึกของคุณออกมา. แม้แต่พระเยซูก็เคย “กันแสง” ด้วยความโศกเศร้าเพราะสูญเสียเพื่อนคนหนึ่งไป!—โยฮัน 11:35.
คัมภีร์ไบเบิลรับรองกับเราว่า วันหนึ่ง เราจะ “ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสความเสื่อมเสีย” และชื่นชมยินดีกับ “เสรีภาพอันรุ่งโรจน์แห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า.” (โรม 8:21, ล.ม.) จนกว่าจะถึงวันนั้น คนดีหลายคนอาจต้องทนทุกข์. ขอให้คุณได้รับการปลอบโยนจากการที่รู้ว่าเหตุใดความทุกข์เช่นนี้จึงเกิดขึ้น และรู้ว่าสิ่งนี้จะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 บางชื่อเป็นนามสมมุติ.
^ วรรค 20 โปรดดูชุดบทความเรื่อง “ความกล้าหาญแม้เผชิญกับความหายนะ” ในตื่นเถิด! ฉบับ 8 มกราคม 2002.
[ภาพหน้า 14]
อาจเป็นประโยชน์ที่จะระบายความทุกข์ของคุณออกมา