การพยายามรักษาสันติสุขในที่ทำงาน
การพยายามรักษาสันติสุขในที่ทำงาน
ทำไมบางคนจึงกลั่นแกล้งคนอื่น? คัมภีร์ไบเบิลให้ความกระจ่างในเรื่องนี้. คัมภีร์ไบเบิลอธิบายว่า เรามีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” ของระบบนี้ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราประสบกับ “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้.” (ล.ม.) หลายคนจะ “เป็นคนรักตัวเอง, เป็นคนเห็นแก่เงิน, เป็นคนอวดตัว, เป็นคนจองหอง, เป็นคนหลู่เกียรติยศของพระเจ้า, เป็นคนไม่เชื่อฟังคำบิดามารดา, เป็นคนอกตัญญู, เป็นคนพาล, เป็นคนไม่รักซึ่งกันและกัน, เป็นคนไม่ยอมเป็นไมตรีกับใคร, เป็นคนหาความใส่เขา, เป็นคนไม่มีสติรั้งใจ, เป็นคนดุร้าย, เป็นคนชังคนดี, เป็นคนทรยศ, เป็นคนหัวดื้อ, เป็นคนหัวสูง.” (2 ติโมเธียว 3:1-5) ในสมัยที่วุ่นวายนี้ พฤติกรรมดังกล่าวมีแพร่หลาย และการรุมกลั่นแกล้งก็เป็นผลที่น่าเศร้าอย่างหนึ่ง. ถ้าอย่างนั้น คุณจะพยายามรักษาสันติสุขในที่ทำงานได้อย่างไร?
แก้ไขความขัดแย้ง
การกลั่นแกล้งมักเริ่มจากความขัดแย้งที่ไม่ได้รับการแก้ไขระหว่างเพื่อนร่วมงาน. ด้วยเหตุนี้ โดยไม่ทำตัวเป็นคนที่ชอบยุ่งกับธุระของคนอื่น จงเอาใจใส่ความเข้าใจผิดที่คุณมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยทันที. จงบรรเทาความรู้สึกเจ็บใจด้วยความผ่อนหนักผ่อนเบาและความนับถือ. ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานของคุณเป็นรายบุคคล ไม่ใช่เป็นกลุ่ม. ถ้ามีใครดูเหมือนไม่พอใจคุณ จงพยายามจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย. จงระลึกถึงคำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่ว่า “จงปรองดองกับคู่ความโดยเร็ว.”—มัดธาย 5:25.
ยิ่งกว่านั้น ทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์ถ้ารักษาการติดต่อสื่อความกันอยู่เสมอ. ดังนั้น จงพยายามสื่อความอย่างเป็นมิตรกับหัวหน้างานโดยไม่ทำให้เขารู้สึกว่าคุณกำลังประจบประแจงเขา. จงระลึกด้วยว่า การสื่อความที่ดีกับเพื่อนร่วมสุภาษิต 15:22.
งานและลูกน้องของคุณจะเป็นเครื่องบรรเทาความตึงเครียด. กษัตริย์ซะโลโมเขียนว่า “ที่ไหนที่ไร้การปรึกษาความมุ่งหมายต่าง ๆ ย่อมไม่เป็นที่จุใจ; แต่เมื่อมีที่ปรึกษาหลายคนก็ความมุ่งหมายสมบูรณ์.”—ด้วยเหตุนี้ จงพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะเข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงาน. นี่ไม่ได้หมายถึงการเป็น “คนช่างประจบ” โดยยอมตามที่คนอื่นเรียกร้องจากคุณทุกอย่างและอะลุ่มอล่วยหลักการของคุณเพียงเพื่อจะรักษาสันติสุข. แต่ท่าทางที่อบอุ่นและเป็นมิตรอาจทำให้บรรยากาศที่เย็นชาสลายไปได้. จงระวังไม่เพียงแต่สิ่ง ที่คุณพูดกับคนอื่น ระวังวิธี ที่คุณพูดด้วย. อีกครั้งหนึ่ง คัมภีร์ไบเบิลให้คำแนะนำที่มีเหตุผลที่ว่า “คำตอบอ่อนหวานกระทำให้ความโกรธผ่านพ้นไป.” (สุภาษิต 15:1) “ลิ้นที่สุภาพเป็นดุจต้นไม้แห่งชีวิต.” (สุภาษิต 15:4) “การที่เพียรอ่อนน้อมวิงวอนนั้นเป็นที่น้าวโน้มน้ำพระทัยของเจ้านาย.” (สุภาษิต 25:15) “จงให้วาจาของท่านประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ, ปรุงด้วยเกลือให้มีรส, เพื่อท่านทั้งหลายจะได้รู้จักตอบให้จุใจแก่ทุกคนอย่างไร.”—โกโลซาย 4:6.
“ให้ความมีเหตุผลของท่านทั้งหลายปรากฏ”
อัครสาวกเปาโลแนะนำคริสเตียนในเมืองฟิลิปปีว่า “จงให้ใจอ่อนสุภาพของท่าน [“ให้ความมีเหตุผลของท่านทั้งหลาย,” ล.ม.] ปรากฏแก่คนทั้งปวง.” (ฟิลิปปอย 4:5) ตามหลักการข้อนี้ จงตั้งมาตรฐานความประพฤติที่สมเหตุผลสำหรับตัวคุณเอง. จงพยายามที่จะไม่เป็นคนที่มั่นใจในตัวเองมากเกินไปหรือขี้อายเกินไป. ถ้าเพื่อนร่วมงานล้อเลียนคุณ อย่าพยายามโต้ตอบโดยทำแบบเขา. คงไม่เกิดผลดีอะไรถ้าทำให้เส้นแบ่งระหว่างพฤติกรรมที่ดีกับที่ไม่ดีเลือนลางไป. จงปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความนับถือและให้เกียรติเขา และคุณจะมีโอกาสได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกันนั้นมากขึ้น.
จงคิดถึงไม่เพียงแต่ความประพฤติของคุณ แต่เสื้อผ้าของคุณด้วย. ถามตัวคุณเองว่า ‘เสื้อผ้าของฉันทำให้คนอื่นรู้สึกอย่างไร? การแต่งกายของฉันยั่วยุคนอื่นไหม? ฉันแต่งตัวมอซอไหม? ฉันควรจะกำหนดมาตรฐานการแต่งกายที่เหมาะสมในที่ทำงานไหม?’
ในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ คนงานที่ขยันและซื่อตรงจะได้รับความนับถือและถูกมองว่ามีค่า. ดังนั้น จงพยายามที่จะได้รับความนับถือโดยทำงานให้มีคุณภาพ. จงเป็นคนที่ไว้ใจได้และน่าเชื่อถือ. นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเป็นกังวลกับงานทุกอย่าง. ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งยอมรับในภายหลังว่าเธอมีส่วนทำให้ตัวเองถูกกลั่นแกล้ง. เธอบอกว่า “ดิฉันต้องการเป็นคนที่สมบูรณ์พร้อม.” ผู้หญิงคนนี้ได้มาตระหนักว่าความสมบูรณ์เป็นเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ “ดิฉันเป็นพนักงานที่ดี แต่ดิฉันไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งให้สมบูรณ์.”
อย่ารู้สึกไวเกินไปกับคำพูดในแง่ลบ. ใช่ว่าการวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่เป็นธรรมทุกอย่างจะเทียบเท่ากับการกลั่นแกล้ง. ในคัมภีร์ไบเบิล กษัตริย์ซะโลโมเขียนว่า “อย่าให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว . . . อย่าปล่อยใจให้ไปฟังบรรดาถ้อยคำที่ใคร ๆ กล่าว . . . ด้วยว่าหลายครั้งหลายคราวเจ้าก็แจ้งท่านผู้ประกาศ 7:9, 21, 22.
อยู่กับใจของเจ้าเองแล้วว่า, ตัวเจ้าเองได้แช่งด่าเขาเหมือนกัน.”—จริงอยู่ การทำตามหลักการที่ดีเช่นนี้ไม่ได้เป็นการรับประกัน ว่าคุณจะไม่มีวันตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้ง. ทั้ง ๆ ที่คุณพยายามอย่างดีที่สุดแล้ว เพื่อนร่วมงานบางคนก็อาจยังแกล้งคุณอยู่. ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำอย่างไร?
แสวงหาความช่วยเหลือ
เกรกอรียอมรับว่า “เมื่อมีการปฏิบัติอย่างเย็นชาต่อผมเป็นเวลาสองสามเดือน ผมก็เกิดความปั่นป่วนทางอารมณ์.” ประสบการณ์ของเขาเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นกับผู้ตกเป็นเหยื่อทั้งหลาย ซึ่งต้องทนกับความทุกข์ระทมหลายอย่างทั้งความโกรธ, ความรู้สึกผิด, ความอาย, ความสับสน, อีกทั้งความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า. ความกดดันจากการถูกกลั่นแกล้งสามารถทำให้แม้แต่คนที่ปกติแล้วเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงเกิดความรู้สึกสิ้นหวังได้. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “การกดขี่ข่มเหงกระทำผู้มีสติปัญญาให้คลั่งไป.” (ท่านผู้ประกาศ 7:7) ดังนั้น อาจทำอะไรได้บ้าง?
มีการวิจัยซึ่งบ่งชี้ว่า เป็นการดีที่สุดที่จะไม่พยายามรับมือกับการกลั่นแกล้งโดยลำพัง. ผู้ตกเป็นเหยื่อจะได้รับความช่วยเหลือจากที่ไหน? บริษัทใหญ่ ๆ บางบริษัทจัดให้มีวิธีช่วยเหลือพนักงานที่รู้สึกว่าตนเองถูกข่มขู่. บริษัทเหล่านั้นรู้ว่า นั่นจะเป็นประโยชน์มากที่สุดต่อบริษัทเองถ้ากำจัดการกลั่นแกล้งกันให้หมดไป. ตามการกะประมาณครั้งหนึ่ง คนงานที่กลั่นแกล้งคนอื่นจะเขวไปจากงานมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทำงาน. ที่ไหนก็ตามที่มีการจัดวิธีช่วยเหลือแบบนี้ ผู้ตกเป็นเหยื่อสามารถขอความช่วยเหลือได้. ที่ปรึกษาที่เป็นกลาง ไม่ว่าจะมาจากภายในองค์กรของนายจ้างหรือจากภายนอก อาจเปิดทางให้ทุกฝ่ายถกปัญหาและตั้งกฎเพื่อควบคุมความประพฤติในที่ทำงาน.
ไม่มีวิธีแก้ที่รับประกันว่าจะได้ผลแน่นอน
แน่นอน ต้องยอมรับว่าปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งไม่มีวิธีแก้ที่รับประกันว่าจะได้ผลแน่นอน. แม้แต่คนที่ใช้หลักการของคัมภีร์ไบเบิลที่กล่าวถึงย่อ ๆ ในบทความนี้ก็อาจพบว่าการกลั่นแกล้งในที่ทำงานยังคงมีอยู่. บุคคลเหล่านี้สามารถมั่นใจได้ว่า พระยะโฮวาพระเจ้าจะไม่ทรงมองข้ามความอดทนและความพยายามของเขาในการแสดงคุณลักษณะเยี่ยงพระเจ้าแม้เผชิญความยากลำบาก.—2 โครนิกา 16:9; ยิระมะยา 17:10.
โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและความถี่ของการกลั่นแกล้ง บางคนที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้เลือกที่จะหางานอื่น. ส่วนบางคนแทบไม่มีทางเลือกอื่น เนื่องจากอาจหางานได้ยากและแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือได้อาจมีน้อย. โมนิกาซึ่งเรากล่าวถึงในบทความก่อนพบว่า เมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาของเธอก็ได้รับการแก้ไขเมื่อหนึ่งในผู้กลั่นแกล้งคนสำคัญของเธอออกจากงาน. ผลคือ บรรยากาศในที่ทำงานก็เข้าสู่ภาวะที่ค่อนข้างสงบ และเธอสามารถฝึกงานต่อจนจบก่อนที่จะตัดสินใจหางานที่อื่น.
สำหรับเพเทอร์ ซึ่งกล่าวถึงในบทความแรก วิธีที่แก้ปัญหาได้จริงคือการเกษียณอายุก่อนเวลา. อย่างไรก็ตาม แม้แต่เมื่อกำลังทนกับการกลั่นแกล้ง เพเทอร์ก็ได้รับความช่วยเหลือจากภรรยา. เขากล่าวว่า “ภรรยาผมรู้ว่าผมต้องประสบกับอะไรบ้าง และเธอเป็นแหล่งแห่งกำลัง.” ขณะที่อดทนกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก โมนิกาและเพเทอร์ได้รับการปลอบโยนเป็นพิเศษจากความเชื่อของตนฐานะเป็นพยานพระยะโฮวา. การเข้าร่วมทำงานเผยแพร่เสริมสร้างความนับถือตัวเอง ขณะที่การคบหากับเพื่อนร่วมความเชื่อเป็นการยืนยันมิตรภาพที่มั่นคงของพวกเขา.
ไม่ว่าสภาพการณ์ของคุณจะเป็นเช่นไร จงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน. ถ้าคุณถูกกลั่นแกล้ง จงพยายามทำตามคำแนะนำของอัครสาวกเปาโลที่ว่า “อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย. . . . เหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวกับท่านทั้งหลาย, หากท่านจัดได้จงกระทำตนให้เป็นที่สงบสุขแก่คนทั้งปวง. . . . อย่าให้ความชั่วมีชัยแก่ตัว, แต่จงระงับความชั่วด้วยความดี.”—โรม 12:17-21.
[คำโปรยหน้า 8]
ท่าทางที่เป็นมิตรอาจทำให้บรรยากาศที่เย็นชาสลายไปได้
[คำโปรยหน้า 9]
“เหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวกับท่านทั้งหลาย, หากท่านจัดได้จงกระทำตนให้เป็นที่สงบสุขแก่คนทั้งปวง.”—โรม 12:18
[ภาพหน้า 8, 9]
จงเอาใจใส่ความเข้าใจผิดส่วนตัวทันที