การเป็นประมุขครอบครัวหมายความอย่างไร?
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
การเป็นประมุขครอบครัวหมายความอย่างไร?
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า “ชายเป็นศีรษะของหญิง.” (1 โกรินโธ 11:3; เอเฟโซ 5:23) แต่หลายคนซึ่งอ้างว่านับถือคัมภีร์ไบเบิลกลับมองหลักการความเป็นประมุขของสามีไม่เพียงเป็นเรื่องล้าสมัย แต่ยังเป็นอันตรายอีกด้วย. สามีภรรยาคู่หนึ่งให้ความเห็นว่า “เมื่อนำหลักคำสอนที่ว่า ผู้หญิงควร ‘ยอมอ่อนน้อมต่อสามี’ [ของตน] ไปใช้อย่างสุดโต่งอาจทำให้เกิดการทำร้ายทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์.” น่าเศร้า มีการใช้ตำแหน่งประมุขในทางผิดอย่างแพร่หลาย. นักประพันธ์คนหนึ่งกล่าวว่า “การตบตีภรรยาถูกมองว่าเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ยอมรับได้ในหลายประเทศ และเป็นสิทธิของผู้ชายซึ่งได้รับการยกย่องทั้งในบทเพลง, สุภาษิต, และพิธีสมรส.”
บางคนแนะว่า หลักการในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องความเป็นประมุขเป็นต้นเหตุของความป่าเถื่อนเหล่านี้. คำสอนในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องความเป็นประมุขได้ลดเกียรติผู้หญิงและสนับสนุนความรุนแรงภายในครอบครัวไหม? จริง ๆ แล้วการเป็นประมุขครอบครัวหมายความว่าอย่างไร? *
การเป็นประมุขไม่ใช่เผด็จการ
ตำแหน่งประมุขตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิลเป็นการจัดเตรียมด้วยความรักและไม่ได้แสดงนัยถึงความเป็นเผด็จการ. การไม่ใส่ใจอำนาจที่พระเจ้าทรงวางไว้นั่นแหละทำให้ผู้ชายใช้อำนาจเหนือผู้หญิงอย่างโหดร้ายอยู่เนือง ๆ. (เยเนซิศ 3:16) นับตั้งแต่มนุษย์ออกจากสวนเอเดน บ่อยครั้งผู้ชายใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยการแสวงประโยชน์จากผู้อื่นอย่างชั่วร้าย ซึ่งรวมถึงผู้หญิงและเด็กด้วย.
มาลาคี 2:13-16, ฉบับแปลใหม่) ยิ่งกว่านั้น พระเจ้าตรัสว่า “พระทัยของพระองค์ทรงเกลียดชังคนชั่วที่นิยมในการร้าย” หรือชอบความรุนแรง. (บทเพลงสรรเสริญ 11:5) ดังนั้น คนที่ตบตีและทำร้ายภรรยาของตนไม่ว่าโดยวิธีใดไม่อาจใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นข้อแก้ตัวสำหรับการกระทำอันรุนแรงของตนได้.
อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวไม่เคยอยู่ในพระประสงค์ของพระเจ้าเลย. พระยะโฮวาทรงเกลียดชังคนเหล่านั้นที่ใช้อำนาจในทางผิด. พระองค์ทรงตำหนิชายชาวอิสราเอลที่ “ทรยศ” ภรรยาของตัวเอง. (การเป็นประมุขที่ดีหมายรวมถึงอะไร?
ตำแหน่งประมุขเป็นการจัดเตรียมขั้นพื้นฐานที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อรักษาระเบียบในเอกภพ. ทุกคนต้องให้การต่อคนใดคนหนึ่ง เว้นแต่พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่ไม่ต้องให้การ. มนุษย์อยู่ใต้อำนาจพระคริสต์, บุตรอยู่ใต้อำนาจบิดามารดา, และคริสเตียนทุกคนอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล. แม้แต่พระเยซูก็อยู่ใต้อำนาจพระเจ้า.—โรม 13:1; 1 โกรินโธ 11:3; 15:28; เอเฟโซ 6:1.
การยอมอยู่ใต้อำนาจผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสังคมจะเป็นระเบียบและมีเสถียรภาพ. การยอมอยู่ใต้อำนาจประมุขครอบครัวก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันต่อการเสริมสร้างครอบครัวให้มั่นคง มีความสุขและสงบ. การที่ครอบครัวขาดสามีหรือบิดาไปก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงข้อนี้. ในครอบครัวที่มีสภาพเช่นนั้น มารดาจึงกลายเป็นหัวหน้าครอบครัว. เมื่อขาดทั้งพ่อและแม่ ลูกคนโตหรือญาติสักคนหนึ่งอาจทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว. ในทุกกรณี สมาชิกครอบครัวได้รับประโยชน์เมื่อพวกเขาแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อผู้ที่ได้รับมอบอำนาจฐานะผู้นำ.
ดังนั้น แทนที่จะปฏิเสธหลักการเรื่องความเป็นประมุข ปัจจัยสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะใช้ความเป็นประมุขและมีทัศนะที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทนี้. อัครสาวกเปาโลได้กระตุ้นเตือนสามีคริสเตียนให้เป็นประมุขครอบครัว “เหมือนพระคริสต์เป็นศีรษะของคริสตจักร” หรือประมุขของประชาคม. (เอเฟโซ 5:21-23) ด้วยเหตุนี้ เปาโลได้ชี้ให้เห็นวิธีที่พระคริสต์ดำเนินการกับประชาคมในฐานะมาตรฐานความเป็นประมุขที่สมบูรณ์แบบ. พระคริสต์ทรงวางตัวอย่างอะไรไว้?
แม้ว่าในฐานะพระมาซีฮา [ผู้ถูกเจิม] และมหากษัตริย์ในอนาคต พระเยซูได้รับมอบอำนาจจากพระเจ้าเองและทรงประกอบด้วยเชาวน์ปัญญาเลิศล้ำรวมทั้งมีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าสาวกของพระองค์อย่างไกลลิบ แต่พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยความรัก, ความอบอุ่น, และความเมตตาสงสาร. พระองค์ไม่เคยเกรี้ยวกราด, แข็งกร้าว, หรือเรียกร้องมากเกินไป. พระองค์ไม่ได้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ และมิได้คอยย้ำเตือนบ่อย ๆ ว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า. พระเยซูทรงมีพระทัยอ่อนสุภาพหรือหัวใจถ่อม. ผลที่ตามมาคือ ‘แอกของพระองค์ก็พอเหมาะและภาระของพระองค์ก็เบา.’ (มัดธาย 11:28-30) ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงเป็นบุคคลที่น่าคบหาและมีเหตุผล. ที่จริง เปาโลกล่าวว่าพระเยซูทรงรักประชาคมมากถึงขนาดที่ “ได้ทรงประทานพระองค์เองเพื่อคริสตจักร [“ประชาคม,” ล.ม.].”—เอเฟโซ 5:25.
คนเราจะเลียนแบบความเป็นประมุขของพระเยซูได้อย่างไร?
หัวหน้าครอบครัวจะเลียนแบบคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระคริสต์ได้อย่างไร? ประมุขที่มีความรับผิดชอบย่อมคำนึงถึงสวัสดิภาพของครอบครัวทั้งด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณ. เขาทุ่มเทตัวเองโดยให้เวลาและความเอาใจใส่อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นของแต่ละคนและทั้งครอบครัวโดยรวม. เขาถือเอาผลประโยชน์ของภรรยาและบุตรมาก่อนผลประโยชน์ของตัวเอง. * (1 โกรินโธ 10:24; ฟิลิปปอย 2:4) เมื่อสามีนำหลักการและคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลไปใช้ในชีวิตประจำวัน เขาย่อมได้รับความนับถือและการสนับสนุนจากภรรยาและบุตร. เมื่ออยู่ภายใต้สามีที่ใช้ตำแหน่งประมุขด้วยความรัก ความพยายามร่วมกันของสมาชิกครอบครัวในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ย่อมจะบรรลุผลสำเร็จ. โดยการใช้ความเป็นประมุขตามแนวทางของพระคัมภีร์เช่นนั้น สามีก็กำลังสร้างครอบครัวที่มีความสุข ครอบครัวที่ถวายพระเกียรติและคำสรรเสริญแด่พระเจ้า.
หัวหน้าครอบครัวที่ฉลาดสุขุมต้องมีใจถ่อมด้วย. เมื่อจำเป็นต้องขอโทษ เขาจะเต็มใจกล่าวคำขอโทษ ถึงแม้เขาอาจรู้สึกยากที่จะยอมรับว่าตนเป็นฝ่ายผิด. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าจะได้ชัยชนะถ้ามี “ที่ปรึกษามาก.” (สุภาษิต 24:6) ใช่แล้ว ความถ่อมยังกระตุ้นหัวหน้าครอบครัวให้รับฟังและกระตือรือร้นที่จะถามความคิดเห็นของภรรยาและบุตรเมื่อเห็นว่าเหมาะสม. โดยการเลียนแบบพระเยซู หัวหน้าครอบครัวที่เป็นคริสเตียนจะทำให้แน่ใจว่า การเป็นประมุขของเขาไม่เพียงแต่ทำให้ครอบครัวมีความสุขและความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังถวายพระเกียรติและคำสรรเสริญแด่พระยะโฮวาพระเจ้าผู้ทรงก่อตั้งสถาบันครอบครัวด้วย.—เอเฟโซ 3:14, 15.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 แม้ว่าบทความนี้พิจารณาบทบาทของสามีและบิดาในครอบครัวเป็นหลัก แต่มารดาที่เลี้ยงดูบุตรตามลำพัง รวมถึงเด็กกำพร้าที่ต้องดูแลน้อง ๆ ก็อาจได้รับประโยชน์เช่นกันจากหลักการที่ให้แก่ประมุขครอบครัว.
^ วรรค 14 หนังสือเคล็ดลับสำหรับความสุขในครอบครัว จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา ให้คำแนะนำเรื่องวิธีเอาใจใส่ดูแลครอบครัวด้วยความรัก.
[ภาพหน้า 26]
สามีที่มีเหตุผลย่อมพิจารณาความคิดเห็นของภรรยาและบุตรของตน