จากผู้อ่านของเรา
จากผู้อ่านของเรา
การสื่อความ ดิฉันอดไม่ได้ที่จะเขียนมาเกี่ยวกับบทความชุด “การสื่อความ—สำคัญยิ่งต่อชีวิต.” (8 ตุลาคม 2003) บทความชุดนี้พรรณนาถึงสิ่งที่มักมีให้เห็นในธรรมชาติ นั่นก็คือสิ่งมีชีวิตที่คอยช่วยเหลือกัน. แม้แต่พืชก็ส่งสัญญาณเตือนพืชด้วยกันให้ระวังศัตรู! เช่นเดียวกัน คงจะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเมื่อมนุษย์เรียนที่จะเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน.
ซี. ซี., สหรัฐ
ดิฉันชอบคำพรรณนาเกี่ยวกับวิธีที่สัตว์สื่อความกัน. เราอดไม่ได้ที่จะลงความเห็นว่า มีพระเจ้าผู้เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งสารพัดอันน่าพิศวงเหล่านี้.
อาร์. แซด., เยอรมนี
เมื่อดิฉันอ่านบทความเหล่านี้ ดิฉันรู้สึกชื่นชมยินดีมากจนไม่อาจจะพรรณนาออกมาได้. ช่างเป็นสิทธิพิเศษอันเหลือเชื่อจริง ๆ ที่เราสามารถสื่อความกับพระเจ้าได้!
เอ. ดับเบิลยู., แอฟริกาใต้
เมื่อเช้านี้ตอนที่ดิฉันเริ่มอ่านบทความ ดิฉันรู้สึกหดหู่จริง ๆ. แต่เนื้อเรื่องตอนที่พูดถึงวิธีที่แมลงสื่อความกันทำให้ดิฉันหัวเราะ. ดิฉันจึงออกไปทำงานพร้อมกับรอยยิ้ม.
แอล. แอล., ฝรั่งเศส
รถโดยสารไฟฟ้า ดิฉันทำงานและอาศัยอยู่ในอิตาลี และดิฉันรู้สึกขอบคุณผู้หญิงคนหนึ่งด้วยใจจริง เธอเป็นพยานพระยะโฮวาที่ให้วารสารของคุณในภาษารัสเซียแก่ดิฉัน. ดิฉันได้อ่านบทความ “การเดินทางด้วยรถโดยสารไฟฟ้าสายที่ยาวที่สุดในโลก.” (8 เมษายน 2003) บทความนี้พูดถึงชายฝั่งไครเมียในยูเครน ซึ่งดิฉันเคยอยู่ที่นั่น. ขอบคุณสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิภาคแถบบ้านเกิดของดิฉันที่ถึงแม้จะสั้นแต่ก็น่าสนใจ.
แซด. บี., อิตาลี
รอยสัก ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันควรสักร่างกายไหม?” (8 ตุลาคม 2003) จริง ๆ แล้ว ดิฉันเคยคิดว่ารอยสักทำให้ดูเท่และอยากจะสักแบบชั่วคราวโดยใช้สติกเกอร์. อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ว่าเราคงไม่ต้องการสักเครื่องหมายใด ๆ ซึ่งไม่ได้ถวายเกียรติแด่พระเจ้าบนร่างกายของเรา “แม้เป็นเพียงการสักแบบชั่วคราว” นั้นทำให้ดิฉันต้องคิดหนัก. เมื่อดิฉันได้พิจารณาดูว่า การมีรอยสักอาจทำให้คนอื่นสะดุดและทำให้คนอื่นมองดิฉันว่าเป็นคนขืนอำนาจ ดิฉันจึงตัดสินใจที่จะไม่ทำเช่นนั้น.
เอ. เค., ญี่ปุ่น
เมื่อก่อนหนูอยากมีรอยสักมาก. แต่บทความนี้ช่วยหนูให้คิดได้ว่า หนูอาจเสียใจในภายหลัง. คุณยังได้กล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพด้วย ซึ่งหนูไม่เคยนึกถึงเลย. ขอบคุณค่ะสำหรับบทความที่มีพลังโน้มน้าวอย่างดีเช่นนี้.
ดี. ที., ฝรั่งเศส
เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความที่ยอดเยี่ยมเรื่อง “วิทยาศาสตร์เคยเป็นศาสนาของผม.” (8 ตุลาคม 2003) เคนเนท ทานากะ ไม่กลัวที่จะเผชิญหน้ากับความจริง. นอกจากนั้น เขายอมรับอย่างถ่อมใจว่า สิ่งที่เขาได้เชื่อมาหลายปีนั้นเป็นสิ่งที่ผิด. เขามีทัศนะที่ถูกต้อง.
เอส. เอ., รัสเซีย
ดิฉันมีอาการซึมเศร้า และกำลังต่อสู้กับความรู้สึกอยากจะตาย. เมื่อดิฉันได้อ่านคำถามในบทความของเคนเนท ทานากะ ที่ว่า “ความเป็นอยู่ของสิ่งต่าง ๆ จะมีความหมายอะไรถ้าจุดมุ่งหมายท้ายสุดของทุกสิ่งคือการดับสูญอย่างสิ้นเชิง?” คำถามนี้ทำให้ดิฉันซาบซึ้งใจ เหมือนกับพระเจ้าได้ตรัสกับดิฉันว่า “อยู่ต่อไปเถอะ!”
ซี. ไอ., ญี่ปุ่น