อวสานของอคติ
อวสานของอคติ
เราจะรู้ได้ไหมว่าเรามีอคติหรือไม่? ตัวอย่างเช่น เราตัดสินว่าคนใดคนหนึ่งมีนิสัยใจคออย่างไรโดยมองที่สีผิว, สัญชาติ, กลุ่มชาติพันธุ์, หรือเผ่าของเขาไหม แม้ว่าเราไม่รู้จักคนนั้น? หรือว่าเราเห็นคุณค่าของแต่ละคนโดยมองที่คุณลักษณะเฉพาะตัวของเขา?
ในสมัยของพระเยซู โดยทั่วไปแล้วคนที่อยู่ในมณฑลยูเดียและแกลิลี “ไม่เคยปราศรัยหรือเกี่ยวข้องกันเลย” กับชาวซะมาเรีย. (โยฮัน 4:9) ไม่ต้องสงสัยว่า คำกล่าวที่บันทึกในคัมภีร์ทัลมุดได้พรรณนาถึงความรู้สึกของชาวยิวหลายคนที่ว่า “ขออย่าให้ข้ามองเห็นชาวซะมาเรียเลย.”
แม้แต่อัครสาวกของพระเยซูก็อาจเคยมีอคติต่อชาวซะมาเรียในระดับหนึ่ง. ครั้งหนึ่ง พวกเขาไม่ได้รับการต้อนรับอย่างกรุณาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวซะมาเรีย. ยาโกโบกับโยฮันถามว่าพวกเขาควรจะเรียกไฟลงมาทำลายผู้คนที่ไม่ตอบรับเหล่านั้นไหม. โดยที่พระองค์ว่ากล่าวเขา พระเยซูแสดงให้เห็นว่าเจตคติของพวกเขาไม่ถูกต้อง.—ลูกา 9:52-56.
ต่อมา พระเยซูทรงเล่าอุทาหรณ์เรื่องชายที่ถูกโจรทำร้ายระหว่างการเดินทางจากกรุงเยรูซาเลมไปยังเมืองเยริโค (ยะริโฮ). ชาวยิวสองคนเดินผ่านไปโดยไม่สนใจจะช่วยชายคนนั้น. อย่างไรก็ตาม ชาวซะมาเรียคนหนึ่งหยุดและพันแผลให้ชายคนนั้น. จากนั้น เขาจัดการให้ชายคนนั้นได้รับการดูแลลูกา 10:29-37) อุทาหรณ์ของพระเยซูอาจช่วยผู้ฟังของพระองค์ให้ตระหนักว่า การมีอคติทำให้เขามองไม่เห็นคุณลักษณะที่ดีในตัวผู้อื่น. ไม่กี่ปีหลังจากนั้น โยฮันกลับไปที่ซะมาเรียและประกาศตามหมู่บ้านต่าง ๆ หลายหมู่บ้าน ซึ่งอาจรวมถึงหมู่บ้านที่ท่านเคยคิดจะทำลายด้วย.—กิจการ 8:14-17, 25.
เพื่อเขาจะฟื้นจากการบาดเจ็บ. ชาวซะมาเรียคนนั้นพิสูจน์ตัวว่าเป็นเพื่อนบ้านที่แท้จริง. (อัครสาวกเปโตรก็เช่นกันต้องปฏิบัติอย่างไม่เลือกหน้าลำเอียงตอนที่ทูตสวรรค์องค์หนึ่งชี้นำให้ท่านประกาศเรื่องพระเยซูแก่โกระเนเลียว นายร้อยชาวโรมัน. เปโตรไม่คุ้นเคยกับการติดต่อกับคนที่ไม่ใช่ยิว และชาวยิวส่วนใหญ่ไม่ชอบทหารโรมัน. (กิจการ 10:28) แต่เมื่อเปโตรเห็นการชี้นำจากพระเจ้าในเรื่องนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นจริงแล้วว่าพระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.”—กิจการ 10:34, 35.
แรงกระตุ้นที่จะต่อสู้กับอคติ
การมีอคติเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานที่พระเยซูสอนที่ว่า “สิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน.” (มัดธาย 7:12) จะมีใครบ้างที่อยากถูกดูหมิ่นเพียงเพราะเรื่องถิ่นกำเนิด, สีผิว, หรือ ภูมิหลังของตน? การมีอคติยังเป็นการละเมิดมาตรฐานของพระเจ้าในเรื่องความไม่ลำเอียงด้วย. คัมภีร์ไบเบิลสอนว่าพระยะโฮวา “ได้ทรงสร้างมนุษย์ทุกประเทศสืบสายโลหิตอันเดียวกันให้อยู่ทั่วพิภพโลก.” (กิจการ 17:26) ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงเป็นพี่น้องกัน.
ยิ่งกว่านั้น พระเจ้าทรงพิพากษาผู้คนเป็นรายบุคคล. พระองค์ไม่ทรงตำหนิคนใดคนหนึ่งเนื่องจากสิ่งที่พ่อแม่หรือบรรพบุรุษของเขาได้ทำ. (ยะเอศเคล 18:20; โรม 2:6) แม้แต่การถูกอีกชาติหนึ่งกดขี่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลสมควรที่จะเกลียดชังผู้คนจากชาตินั้น ซึ่งสำหรับคนนั้นแล้วคงไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ สำหรับความไม่ยุติธรรมดังกล่าว. พระเยซูทรงสอนผู้ติดตามพระองค์ให้ ‘รักศัตรูและขอพรให้แก่ผู้ที่ประทุษร้ายเคี่ยวเข็ญท่าน.’—มัดธาย 5:44, 45.
เนื่องจากคำสอนดังกล่าว คริสเตียนในศตวรรษแรกจึงได้รับการช่วยให้เอาชนะอคติและกลายเป็นสังคมพี่น้องทั่วโลกที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร. พวกเขาต่างก็เรียกกันและกันว่าพี่น้องและถือว่าเป็นพี่น้องกันจริง ๆ แม้ว่าพวกเขามาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก. (โกโลซาย 3:9-11; ยาโกโบ 2:5; 4:11) หลักการที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นอาจก่อผลแบบเดียวกันในปัจจุบันนี้ด้วย.
การต่อสู้กับอคติในปัจจุบัน
พวกเราแทบทุกคนมีความคิดในเรื่องต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว แต่ความคิดเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดอคติ. หนังสือลักษณะเด่นของอคติ กล่าวว่า “การตัดสินล่วงหน้าจะกลายเป็นอคติก็ต่อเมื่อไม่อาจเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้นได้หลังจากที่ได้รับข้อมูลใหม่ ๆ.” บ่อยครั้ง อาจเอาชนะการมีอคติได้เมื่อผู้คนรู้จักกันดีขึ้น. อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มเดียวกันนั้นกล่าวว่า “การติดต่อแบบที่ทำให้ผู้คนทำ อะไรร่วมกันเท่านั้นที่อาจช่วยให้เปลี่ยนเจตคติได้.”
นี่เป็นวิธีที่จอห์น ชาวไนจีเรียเผ่าอีโบ เอาชนะอคติที่เขามีต่อเผ่าเฮาซา. เขากล่าวว่า “ในมหาวิทยาลัย ผมพบกับนักศึกษาจากเผ่าเฮาซาบางคนที่ได้มาเป็นเพื่อนของผม และผมพบว่าพวกเขามีหลักการที่ดี. ผมทำงานกับนักศึกษาชาวเผ่าเฮาซาคนหนึ่งในโครงการร่วม และเราเข้ากันได้ดีมาก; ส่วนคนที่เคยร่วมงานกับผมซึ่งเป็นชาวเผ่าอีโบไม่สนใจจะทำงานส่วนของเขาเลย.”
เครื่องช่วยในการต่อสู้กับอคติ
ตามรายงานชื่อยูเนสโกต้านการเหยียดเชื้อชาติ “การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือที่ล้ำค่าในการต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติ, การเลือกปฏิบัติ, และการกีดกันรูปแบบใหม่ ๆ.” พยานพระยะโฮวาเชื่อว่า การศึกษาคัมภีร์ไบเบิล เป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุดในเรื่องนี้. (ยะซายา 48:17, 18) เมื่อผู้คนนำคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลไปใช้ ความนับถือจะเข้ามาแทนที่ความระแวงสงสัย และความรักจะขจัดความเกลียดชังไปจนหมดสิ้น.
พยานพระยะโฮวาพบว่าคัมภีร์ไบเบิลช่วยพวกเขาให้เอาชนะการมีอคติ. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลทำให้พวกเขามีแรงบันดาลใจรวมทั้งมีโอกาสที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้คนที่มีวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่างกัน. คริสตินา ซึ่งกล่าวถึงในบทความแรกของชุดนี้ เป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่ง. เธอบอกว่า “การประชุมของเราที่หอประชุมทำให้ฉันมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น. ที่หอประชุม ฉันรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเพราะฉันรู้สึกว่าไม่มีใครมีอคติต่อฉัน.”
จัสมิน ซึ่งเป็นพยานฯ เช่นเดียวกัน จำได้ว่าเคยตกเป็นเป้าของการเหยียดเชื้อชาติครั้งแรกตอนอายุเก้าขวบ. เธอกล่าวว่า “วันพฤหัสบดีเป็นวันที่ฉันสบายใจที่สุดในรอบสัปดาห์ เพราะในคืนนั้นฉันจะไปหอประชุม. ที่นั่น ผู้คนแสดงความรักต่อฉัน. พวกเขาทำให้ฉันรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษแทนที่จะรู้สึกถูกเกลียดชัง.”
โครงการอาสาสมัครที่สนับสนุนโดยพยานพระยะโฮวายังนำผู้คนจากภูมิหลังที่แตกต่างกันให้มาอยู่ร่วมกัน. ไซมอนเกิดที่บริเตน แต่ครอบครัวของเขามาจากแถบแคริบเบียน. เขาเผชิญกับอคติอย่างมากเมื่อทำงานเป็นช่างก่ออิฐให้กับบริษัทก่อสร้าง. แต่เขาไม่ต้องเผชิญกับอคติใด ๆ ในช่วงที่เขาทำงานในโครงการอาสาสมัครกับพี่น้องร่วมความเชื่อของเขา. ไซมอนเล่าว่า “ผมทำงานกับเพื่อนพยานฯ จากหลายประเทศ แต่เราเรียนรู้ที่จะเข้ากันได้ดี. ในบรรดาเพื่อนสนิทที่สุดของผม บางคนมาจากประเทศอื่นและมีภูมิหลังไม่เหมือนกับผมเลย.”
แน่นอน พยานพระยะโฮวาเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์. ดังนั้น พวกเขาอาจต้องต่อสู้กับแนวโน้มที่จะมีอคติอยู่เรื่อย ๆ. แต่การรู้ว่าพระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าใครทำให้พวกเขามีแรงกระตุ้นอันทรงพลังที่จะทำเช่นนั้น.—เอเฟโซ 5:1, 2.
ผลรางวัลสำหรับการต่อสู้กับอคติมีมากมาย. ขณะที่เราคลุกคลีกับผู้คนจากภูมิหลังต่าง ๆ ชีวิตของเราจะบริบูรณ์ขึ้น. ยิ่งกว่านั้น โดยทางราชอาณาจักรของพระเจ้า อีกไม่นานพระองค์จะก่อตั้งสังคมมนุษย์ที่ซึ่งความชอบธรรมจะดำรงอยู่. (2 เปโตร 3:13) ในตอนนั้น อคติจะถูกขจัดออกไปชั่วนิรันดร์.
[กรอบหน้า 11]
ฉันมีอคติไหม?
ลองถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้เพื่อวิเคราะห์ว่าคุณอาจมีอคติบางอย่างโดยไม่รู้ตัวหรือไม่:
1. ฉันคิดเอาเองไหมว่า ผู้คนที่มาจากเผ่าพันธุ์หนึ่ง, ภูมิภาคหนึ่ง, หรือชาติหนึ่งมีลักษณะที่ไม่ดีบางอย่าง เช่น โง่, ขี้เกียจ, หรือใจแคบ? (การพูดตลกหลายอย่างแสดงถึงอคติชนิดนี้.)
2. ฉันมักจะโทษผู้ที่อพยพเข้าเมืองหรือคนเชื้อชาติอื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจหรือสังคมของฉันไหม?
3. ฉันยอมให้ความเป็นศัตรูกันในประวัติศาสตร์กับอีกชาติหนึ่งทำให้ฉันรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับคนที่มาจากชาตินั้นไหม?
4. ฉันสามารถมองแต่ละคนที่ฉันพบเป็นรายบุคคลไหม ไม่ว่าเขาจะมีสีผิว, วัฒนธรรม, หรือภูมิหลังทางชาติพันธุ์อย่างไร?
5. ฉันยินดีที่มีโอกาสรู้จักคนที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมต่างไปจากฉันไหม? ฉันพยายามจะทำอย่างนั้นไหม?
[ภาพหน้า 8]
ในอุทาหรณ์เรื่องชาวซะมาเรียที่ดี พระเยซูสอนวิธีที่เราจะเอาชนะอคติได้
[ภาพหน้า 8]
ที่บ้านของโกระเนเลียว เปโตรกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นจริงแล้วว่า พระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด”
[ภาพหน้า 9]
คำสอนของคัมภีร์ไบเบิลทำให้ผู้คนที่มาจากภูมิหลังต่าง ๆ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
[ภาพหน้า 9]
พยานพระยะโฮวาปฏิบัติตามสิ่งที่เขาได้เรียนรู้
[ภาพหน้า 10]
คริสตินา “การประชุมของเราที่หอประชุมทำให้ฉันมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น”
[ภาพหน้า 10]
จัสมิน “ผู้คนแสดงความรักต่อฉัน. พวกเขาทำให้ฉันรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษแทนที่จะรู้สึกถูกเกลียดชัง”
[ภาพหน้า 10]
ไซมอน ผู้อาสาสมัครก่อสร้าง “เราเรียนรู้ที่จะเข้ากันได้ดี”