การให้ความสนใจบุตรตามที่เขาจำเป็นต้องได้รับ
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
การให้ความสนใจบุตรตามที่เขาจำเป็นต้องได้รับ
พระบุตรของพระเจ้ามีเวลาอยู่กับพวกเด็ก ๆ ไหม? สาวกบางคนคิดว่าพระองค์ไม่มีเวลาให้เด็ก. ณ โอกาสหนึ่ง เหล่าสาวกพยายามกีดกันเด็กไม่ให้เข้าใกล้พระเยซู. พระองค์ตรัสกับสาวกว่า “จงยอมให้เด็กเล็ก ๆ เข้ามาหาเรา, อย่าห้ามเขาเลย.” ครั้นแล้ว พระองค์จึงให้เด็กเหล่านั้นเข้ามาและพูดคุยกับเขาด้วยความรักใคร่. (มาระโก 10:13-16) ด้วยวิธีนี้ พระเยซูแสดงให้เห็นว่าพระองค์เต็มพระทัยที่จะให้ความสนใจแก่เด็ก. บิดามารดาสมัยนี้จะปฏิบัติตามตัวอย่างของพระองค์โดยวิธีใด? โดยการฝึกสอนบุตรอย่างเหมาะสมและใช้เวลาอยู่กับเขา.
แน่นอน บิดามารดาที่สำนึกถึงความรับผิดชอบจะคอยดูแลความเป็นอยู่ของบุตรอย่างจริงจัง และไม่ทำร้ายบุตร. อาจพูดได้ด้วยซ้ำว่าเป็น “ธรรมชาติ” ที่บิดามารดาจะให้เกียรติและคำนึงถึงบุตรของตน. อย่างไรก็ดี คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า ในสมัยของเราคนเป็นอันมากจะ “ไม่มีความรักใคร่ตามธรรมชาติ,” อีกต่อไป. (2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.) และสำหรับคนเหล่านั้นซึ่งสนใจรักใคร่บุตรของตนอย่างแท้จริงก็ยังมีอะไรให้เรียนรู้ได้อยู่เสมอในเรื่องการเป็นบิดามารดาที่เอาใจใส่หน้าที่รับผิดชอบของตนเองให้ดีขึ้น. หลักการของคัมภีร์ไบเบิลดังต่อไปนี้เป็นข้อเตือนใจที่เหมาะกับบิดามารดาผู้ซึ่งต้องการให้สิ่งดีที่สุดแก่บุตรของตน.
การสอนอย่างที่ไม่ทำให้บุตรขัดเคือง
ดร. โรเบิร์ต โคลส์ ซึ่งเป็นทั้งครูที่มีชื่อเสียงและเป็นจิตแพทย์ที่ทำการวิจัยเคยพูดไว้ว่า “เด็กมีพัฒนาการด้านความสำนึกทางศีลธรรม. ตามความคิดเห็นของผม ความสำนึกทางศีลธรรมเป็นของประทานจากพระเจ้า นั่นคือ เด็กต้องการการชี้นำทางศีลธรรม.” ใครล่ะจะสนองความต้องการนี้?
ที่เอเฟโซ 6:4 (ล.ม.) พระคัมภีร์เตือนว่า “ท่านทั้งหลายผู้เป็นบิดา อย่ายั่วบุตรของท่านให้ขัดเคืองใจ แต่จงอบรมเลี้ยงดูเขาต่อไปด้วยการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา.” คุณสังเกตไหมว่าคัมภีร์ข้อนี้มอบหน้าที่แก่บิดาโดยเฉพาะให้ปลูกฝังความรักต่อพระเจ้าและความหยั่งรู้ค่าอย่างลึกซึ้งต่อมาตรฐานของพระองค์ไว้ในหัวใจบุตร? ข้อแรกของเอเฟโซบท 6 อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงบิดาและมารดาด้วย เมื่อท่านสั่งบุตรทั้งหลายให้ ‘นบนอบเชื่อฟังบิดามารดาของตน.’ *
แน่นอน ถ้าขาดบิดาหรือบิดาไม่อยู่ มารดาต้องรับเอาหน้าที่รับผิดชอบนี้. มารดาหลายคนซึ่งเลี้ยงดูบุตรโดยลำพังได้ประสบความสำเร็จในการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา. อย่างไรก็ตาม ถ้ามารดาแต่งงานกับชายคริสเตียน สามีคริสเตียนควรนำหน้า. ส่วนมารดาก็ควรเต็มใจร่วมมือติดตามการนำหน้าของบิดาในเรื่องการอบรมตีสอนบุตรของตน.
คุณอบรมตีสอนบุตรอย่างไรโดยไม่ทำให้บุตร “ขัดเคืองใจ”? ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับเรื่องนี้ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน. แต่บิดามารดาต้องพิจารณาวิธีการตีสอนของตนอย่างรอบคอบ แสดงความรักต่อบุตรและคำนึงถึงศักดิ์ศรีของบุตรเสมอ. น่าสนใจ มีการกล่าวซ้ำเรื่องการไม่ทำให้บุตรขัดเคืองในพระคัมภีร์ที่โกโลซาย 3:21. บิดาได้รับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่งว่า “อย่ายั่วบุตรของตนให้ขัดเคืองใจ, เกรงว่าเขาจะท้อใจ.”
บิดามารดาบางคนตวาดบุตร. ไม่ต้องสงสัย การทำเช่นนี้มีแต่ทำให้เด็กขัดเคืองใจ. แต่คัมภีร์ไบเบิลเตือนดังนี้: “ใจขมขื่น, และใจขัดเคือง และใจโกรธ, และการทะเลาะเถียงเอเฟโซ 4:31) คัมภีร์ไบเบิลยังกล่าวอีกว่า “ผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้าต้องไม่เป็นคนวิวาทกัน, แต่ต้องเป็นคนมีใจอ่อนสุภาพต่อคนทั้งปวง.”—2 ติโมเธียว 2:24.
กัน, และการพูดเสียดสีกัน [“การตวาด,” ล.ม.], กับการคิดปองร้ายทุกอย่าง, จงให้อยู่ห่างจากท่านทั้งหลายเถิด.” (ใช้เวลาอยู่กับบุตร
การให้ความสนใจแก่บุตรตามที่เขาจำเป็นต้องได้รับนั้นยังหมายความอีกด้วยว่า คุณเต็มใจสละความสะดวกสบายของตัวเองเพื่อสวัสดิภาพของบุตร. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวดังนี้: “ถ้อยคำเหล่านี้, ซึ่งเราสั่งไว้แก่เจ้าทั้งหลายในวันนี้, ก็ให้ตั้งอยู่ในใจของเจ้าทั้งหลาย; และจงอุตส่าห์สั่งสอนบุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้, และเมื่อเจ้าทั้งหลายจะนั่งอยู่ในเรือน หรือเดินในหนทาง, หรือนอนลง, และตื่นขึ้น.”—พระบัญญัติ 6:6, 7.
ทุกวันนี้ พันธะหน้าที่ด้านการเงินทำให้บิดามารดาน้อยคนได้มีเวลาอยู่กับบุตรตั้งแต่เช้าจรดเย็น. กระนั้น พระธรรมพระบัญญัติเน้นว่าบิดามารดาต้องหาเวลาอยู่กับบุตรของตน. ที่จะทำเช่นนั้นจำเป็นต้องจัดระเบียบอย่างดีควบคู่ไปกับการเสียสละ. อย่างไรก็ตาม เด็กจำต้องได้รับการเอาใจใส่ดังกล่าว.
ขอพิจารณาผลการศึกษาวิจัยวัยรุ่นกว่า 12,000 คน. บทสรุปของนักวิจัยเป็นดังนี้: “ความสัมพันธ์อันแนบแน่นทางอารมณ์ระหว่างบุตรกับบิดาหรือมารดาเป็นการรับประกันที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพของวัยรุ่น และเป็นกำแพงกั้นที่แข็งแรงที่สุดในการต้านทานพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของเด็ก.” แท้จริง เด็กกระหายการเอาใจใส่จากบิดามารดาของตน. มารดาคนหนึ่งเคยถามลูก ๆ ว่า “ถ้าให้ลูกขอสิ่งใดก็ได้ที่ลูกต้องการ ลูกอยากได้อะไรมากที่สุด?” ลูกทั้งสี่คนตอบว่า “อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาอยู่กับพวกเรามากขึ้น.”
ด้วยเหตุนี้ การเป็นบิดาหรือมารดาที่สำนึกถึงความรับผิดชอบจึงหมายถึงการที่คุณต้องจัดหาสิ่งจำเป็นให้บุตร รวมถึงความรู้ฝ่ายวิญญาณและการเป็นเพื่อนสนิทกับบุตร. ทั้งนี้หมายถึงการช่วยเหลือบุตรให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถ, น่านับถือ, และซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนที่ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยความกรุณาและนำพระเกียรติมาสู่พระผู้สร้างของเขา. (1 ซามูเอล 2:26) ใช่แล้ว เมื่อบิดามารดาอบรมตีสอนบุตรตามแนวทางของพระเจ้า นั่นแสดงว่าเขาสำนึกถึงความรับผิดชอบ.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 ตรงนี้เปาโลใช้คำภาษากรีกโกเนฟซิน จากคำโกเนฟซ์ หมายถึง “บิดาหรือมารดา.” แต่ในข้อ 4 ท่านใช้คำ พาเทเรซ หมายถึง “ผู้เป็นบิดา.”
[ภาพหน้า 13]
การตวาดอาจทำให้บุตรไม่สบายใจ
[ภาพหน้า 13]
ใช้เวลาอยู่กับบุตรของคุณ