ฉันควรทำอย่างไรถ้ามีใครเล่าปัญหาส่วนตัวให้ฉันฟัง?
หนุ่มสาวถามว่า . . .
ฉันควรทำอย่างไรถ้ามีใครเล่าปัญหาส่วนตัวให้ฉันฟัง?
“นี่เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งในโรงเรียน. พ่อกับแม่ของเธอกำลังจะหย่ากัน และคะแนนของเธอก็เริ่มตกต่ำ. เธอมักจะคุยเรื่องปัญหาในครอบครัวของเธอให้ฉันฟัง.”—แจน เด็กสาววัย 14 ปี.
“นักเรียนหญิงคนหนึ่งสารภาพกับฉันว่าเธอเสียตัวให้เด็กหนุ่มคนหนึ่ง. เธอตั้งท้องและทำแท้งไปแล้วโดยที่พ่อแม่ของเธอไม่รู้เรื่องเลย.”—มิรา อายุ 15 ปี.
ลองนึกภาพว่าคุณกำลังคุยกับเพื่อนหรือเพื่อนนักเรียนคนหนึ่ง. จู่ ๆ เขาก็ “ระบาย” ปัญหาให้คุณฟัง. อาจเป็นปัญหาทั่ว ๆ ไปที่มักมีในกลุ่มวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสื้อผ้า, เงิน, รูปร่างหน้าตา, เพื่อนฝูง, และคะแนนสอบ. อีกด้านหนึ่ง ปัญหาของเขาอาจเป็นเรื่องที่หนักอกและยุ่งยากกว่านั้นมาก.
สภาพการณ์ในประเทศสหรัฐเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าปัญหาของหนุ่มสาวนั้นอาจร้ายแรงเพียงใด. ตามที่กล่าวในวารสารนิวส์วีก “สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (เอ็นไอเอ็มเอช) กะประมาณว่าหนุ่มสาวร้อยละ 8 และเด็กร้อยละ 2 (เด็กบางคนอายุแค่ 4 ขวบ) มีอาการของโรคซึมเศร้า.” ผลการสำรวจอีกแหล่งหนึ่งแจ้งว่า “ประมาณกันว่า ในจำนวนผู้หญิง 1,000 คน อายุระหว่าง 15-19 ปี มี 97 คนหรือเท่ากับวัยรุ่นอเมริกันจำนวนหนึ่งล้านคนที่ตั้งครรภ์ในแต่ละปี. การตั้งครรภ์เหล่านี้ส่วนใหญ่คือประมาณร้อยละ 78 เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ.” นอกจากนี้ หนุ่มสาวนับล้านคนอาศัยในครอบครัวที่มีปัญหา. หลายพันคนถูกทำร้ายร่างกายและถูกข่มขืน. นักเรียนชั้นมัธยมปลายในสหรัฐจำนวนมากกว่าครึ่งมักดื่มเหล้าจนเมา. หนุ่มสาวจำนวนมากจนน่าตกใจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติด้านการกิน.
ไม่แปลกเลยที่หนุ่มสาวหลายคนต้องการอย่างยิ่งที่จะมีใครสักคนที่เขาสามารถพูดคุยและปรับทุกข์ได้! และบ่อยครั้งคนแรกที่พวกเขาคิดถึงคือคนรุ่นเดียวกัน. คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณเป็นคนที่เขาอยากปรับทุกข์ด้วย? ถ้าคุณเป็นคริสเตียน ก็ไม่น่าแปลกใจ. คัมภีร์ไบเบิลสั่งให้คริสเตียนเป็น “แบบอย่าง” ในเรื่องการประพฤติและการเป็นคนมีเหตุผล. (1 ติโมเธียว 4:12, ฉบับแปลใหม่; ฟิลิปปอย 4:5) ดังนั้น หนุ่มสาวบางคนรวมถึงคนที่ไม่มีความเชื่ออย่างคริสเตียนอาจต้องการปรับทุกข์กับคุณ. ทีนี้ คุณควรทำอย่างไรถ้าเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น? และถ้าคุณรู้สึกว่าไม่สามารถช่วยเหลือได้ล่ะ?
การเป็นผู้ฟังที่ดี
คัมภีร์ไบเบิลบอกว่ามี “วาระสำหรับอมพะนำ, และวาระสำหรับเจรจา.” (ท่านผู้ประกาศ 3:7) เมื่อใครคนหนึ่งมีปัญหาและต้องการเล่าให้คุณฟัง บ่อยครั้งสิ่งที่ดีที่สุดคือการรับฟัง. ที่จริง พระคัมภีร์ตำหนิการไม่สนใจฟัง “คำร้องทุกข์ของคนจน.” (สุภาษิต 21:13) เพื่อนของคุณอาจได้ใช้เวลามาระยะหนึ่งแล้วกว่าจะรวบรวมความกล้าเพื่อจะพูดถึงเรื่องนั้น. การที่คุณเต็มใจรับฟังอาจช่วยให้เขาพูดออกมาได้ง่ายขึ้น. เด็กหนุ่มคริสเตียนคนหนึ่งชื่อไฮรัม พูดว่า “ผมจะปล่อยให้เขาพูดเรื่องที่เขากำลังหนักใจ และพยายามแสดงความเห็นอกเห็นใจเขา.” วินเซนต์ให้ความเห็นคล้ายกันว่า “บางครั้ง ผู้คนก็เพียงแต่อยากระบายความทุกข์.”
เพื่อนคุณอาจไม่คาดหวังจะให้คุณช่วยแก้ปัญหาของเขา. เขาเพียงแต่ต้องการให้มีคนตั้งใจฟังเท่านั้น. ฉะนั้น จงฟัง! พยายามอย่าหันไปสนใจสิ่งรอบตัวหรือขัดจังหวะเขาโดยไม่จำเป็น. แค่คุณอยู่ด้วยและตั้งใจฟังก็อาจช่วยเขาได้มาก. นั่นแสดงว่าคุณเป็นห่วงเขาจริง ๆ.
ทั้งนี้หมายความว่าคุณไม่ควรพูดอะไรเลยไหม? นั่นขึ้นอยู่กับว่าเป็นปัญหาอะไร. ส่วนใหญ่แล้ว คำพูดที่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบและแสดงความกรุณานับว่าเหมาะสม. (สุภาษิต 25:11) ยกตัวอย่าง ถ้าคนที่เรารู้จักประสบเหตุการณ์น่าเศร้าบางอย่าง ก็คงเหมาะอย่างยิ่งที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจ. (โรม 12:15) สุภาษิต 12:25 กล่าวไว้ดังนี้: “ความหนักใจทำให้คนท้อใจลง; แต่คำปรานีทำให้คนเบิกบานใจ.” บางทีเขาอาจต้องการเพียงแต่การให้กำลังใจ. จงแสดงความเชื่อมั่นว่าเขาจะรับมือกับปัญหาได้อย่างประสบผลสำเร็จ. คำพูดทำนองนี้ เช่น “ผมเข้าใจสาเหตุที่คุณรู้สึกอย่างนั้น” หรือ “ผมเสียใจด้วยที่คุณต้องมาเจอปัญหาแบบนี้” อาจทำให้เพื่อนของคุณรู้ว่าคุณจริงใจและต้องการช่วยเหลือเขา.
กระนั้นก็ดี สุภาษิต 12:18 เตือนว่า “คำพูดพล่อย ๆ ของคนบางจำพวกเหมือนการแทงของกระบี่.” นับว่าสำคัญที่พึงหลีกเลี่ยงคำพูดทำนองนี้ เช่น “มันไม่เลวร้ายขนาดนั้นหรอก,” “ลืม ๆ เสียเถอะ” หรือ “คุณไม่น่าจะรู้สึกอย่างนั้นเลย.” อนึ่ง ระวังที่จะไม่ทำให้ปัญหานั้นกลายเป็นเรื่องเล่น ๆ ด้วยการพูดตลก. อาจเป็นไปได้ง่ายว่าเพื่อนจะลงความเห็นว่าคุณไม่นับถือความรู้สึกของเขาเลย.—สุภาษิต 25:20.
แต่จะทำอย่างไรหากคุณนึกไม่ออกว่าจะพูดอะไรดี? ขอเพียงเป็นคนจริงใจเท่านั้น. บอกเพื่อนว่าจริง ๆ แล้วคุณไม่รู้ว่าจะพูดอะไรดี แต่คุณเต็มใจจะช่วยเหลือ. ถามเขาว่า “ผมจะช่วยอะไรได้บ้าง?” ถูกแล้ว อาจมีบางสิ่งที่คุณทำได้เพื่อแบ่งเบาภาระของเพื่อน.—ฆะลาเตีย 6:2.
ให้คำแนะนำฉันมิตร
จะว่าอย่างไรหากคุณคิดว่าเพื่อนต้องการคำแนะนำ? จริงอยู่ เนื่องจากอยู่ในวัยหนุ่มสาว คุณคงขาดประสบการณ์อยู่บ้าง. (สุภาษิต 1:4) ดังนั้น คุณอาจไม่มีคุณสมบัติที่จะให้คำแนะนำสำหรับปัญหาทุกอย่าง. อย่างไรก็ตาม บทเพลงสรรเสริญ 19:7 กล่าวดังนี้: “คำโอวาทของพระยะโฮวาก็แน่นอน, เตือนสติคนรู้น้อยให้มีปัญญา.” แม้ว่าคุณ “รู้น้อย” หรือขาดประสบการณ์ คุณก็อาจมีความรู้เกี่ยวกับหลักการของพระคัมภีร์มากพอที่จะช่วยเพื่อนของคุณได้ในยามจำเป็น. (สุภาษิต 27:9) เพื่อจะไม่พูดเสมือนเทศน์ให้ฟัง คงจะดีถ้าคุณชี้ให้เขาเห็นจุดสำคัญบางจุดจากคัมภีร์ไบเบิล. ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะใช้หลักการข้อใดในพระคัมภีร์ จงค้นคว้าเพิ่มเติม. ตลอดเวลาหลายปี บทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . ” ที่ลงในวารสารนี้มีคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ โดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก. แหล่งข้อมูลที่มีค่าอีกเล่มหนึ่งคือหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล. *
สุภาษิต 27:17) แต่พึงจดจำอยู่เสมอว่าสภาพการณ์แต่ละอย่างย่อมต่างกัน. สิ่งที่ใช้ได้ผลสำหรับคุณ ก็ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุก ๆ คน.
อาจเป็นประโยชน์หากคุณพูดถึงประสบการณ์ของตัวเอง. คุณอาจมีข้อเสนอแนะดี ๆ บางอย่างด้วยซ้ำ. คุณอาจอธิบายว่าข้อแนะใดที่ได้ช่วยคุณ โดยไม่ยัดเยียดให้เขารับเอาแง่คิดของคุณ. (ข้อพึงระวัง
อย่ามัวแต่ฟังปัญหาของหนุ่มสาวผู้ซึ่งไม่ยำเกรงพระยะโฮวาหรือไม่เคารพมาตรฐานคริสเตียน. ปัญหาหลายอย่างที่พวกเขาเผชิญอยู่อาจเกิดจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ไม่ประสานกับหลักการของพระคัมภีร์. การพยายามช่วยเหลือคนที่ดูถูกคำแนะนำในพระคัมภีร์อาจทำให้ทั้งสองฝ่ายข้องขัดใจ. (สุภาษิต 9:7) นอกจากนั้น คุณอาจพบว่าตัวเองต้องรับฟังเรื่องไม่เป็นเรื่องหรือแม้แต่คำพูดที่ลามกหยาบคายด้วยซ้ำ. (เอเฟโซ 5:3) ดังนั้น หากการสนทนาทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ จงกล้าบอกเขาว่าคุณไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยอะไรได้ หรือบอกว่าคุณรู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องนั้น ๆ.
จงระวังถ้าเพศตรงกันข้ามต้องการเผยความทุกข์ในใจกับคุณ. พระคัมภีร์เตือนว่าหัวใจอาจโอนเอียงไปในทางผิดได้. (ยิระมะยา 17:9) การคบหากันอย่างใกล้ชิดอาจปลุกเร้าความรู้สึกรัก ๆ ใคร่ ๆ และถึงกับนำไปสู่การทำผิดศีลธรรมทางเพศได้.
ยิ่งกว่านั้น อย่าเผลอให้สัญญาว่าจะไม่บอกใคร. ยอมรับอย่างถ่อมใจว่าคนที่พูดกับคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือมากกว่าที่คุณสามารถให้ได้.—สุภาษิต 11:2.
เมื่อจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในหลายกรณี ดีที่สุดที่คุณเองแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อจะสามารถช่วยเพื่อนของคุณได้. มิรา ที่อ้างถึงข้างต้น พูดว่า “ดิฉันไม่รู้จริง ๆ ว่าจะช่วยเพื่อนที่เรียนร่วมกันอย่างไร. ดังนั้น ดิฉันจึงไปปรึกษาผู้ปกครองคนหนึ่งในประชาคม และเขาให้คำแนะนำบางอย่างที่ดีมากเกี่ยวกับวิธีช่วยเพื่อน.” ใช่แล้ว ในประชาคมคริสเตียนพยานพระยะโฮวา มีคนที่มีประสบการณ์ซึ่งสามารถช่วยคุณได้. (เอเฟโซ 4:11, 12) ผู้ปกครองแนะนำมิราให้สนับสนุนเพื่อนที่จะพูดกับพ่อแม่ของเขา. เพื่อนทำตามคำแนะนำของมิรา. มิราบอกว่า “สภาพการณ์ของเพื่อนดีขึ้น. ตอนนี้ เพื่อนอยากเรียนรู้พระคัมภีร์มากขึ้น.”
จะว่าอย่างไรถ้าเพื่อนคริสเตียนมาปรับทุกข์กับคุณ? แน่นอน คุณคงอยากทำอะไรบางอย่างเท่าที่คุณสามารถช่วยได้. (ฆะลาเตีย 6:10) ถ้าคุณกลัวเขาจะถอยห่างจากมาตรฐานทางศีลธรรมของพระยะโฮวา คุณไม่ต้องกลัวที่จะ “พูดตามความจริง” กับเขา. (เอเฟโซ 4:25) จงพูดด้วยความจริงใจ แต่ไม่ถือตัวว่าเป็นคนชอบธรรม. การที่คุณกล้าพูดตรง ๆ บ่งชี้ถึงลักษณะของเพื่อนแท้.—บทเพลงสรรเสริญ 141:5; สุภาษิต 27:6.
ในสภาพการณ์เช่นนั้น นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรสนับสนุนเพื่อนของคุณให้ขอความช่วยเหลือ อาจขอจากพ่อแม่ของเขา, ผู้ปกครองในประชาคม, หรือคริสเตียนบางคนที่มีวุฒิภาวะซึ่งเขานับถือ. ถ้าเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้วและเขาก็ยังไม่ได้บอกให้ใครรู้ คุณอาจจะต้องบอกใครบางคนแทนเขา. (ยาโกโบ 5:13-15) คุณต้องมีความกล้าที่จะทำเช่นนั้น แต่นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นห่วงเพื่อนของคุณจริง ๆ และต้องการให้เขาได้รับสิ่งที่ดีที่สุด.
แน่นอน พระยะโฮวาไม่ทรงคาดหมายจะให้คุณช่วยแก้ปัญหาของทุกคน. แต่เมื่อบางคนมาปรับทุกข์กับคุณ คุณก็ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองจะช่วยอะไรไม่ได้. จงใช้ความรู้ตามหลักคริสเตียนที่คุณได้รับการฝึกอบรมนั้นให้เกิดประโยชน์ และพิสูจน์ว่าตัวคุณเองเป็น “มิตรแท้.”—สุภาษิต 17:17, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 15 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 27]
บางกรณี คุณอาจต้องแสวงหาการช่วยเหลือเพื่อจะช่วยเพื่อนที่มีปัญหา