ควรใช้รูปบูชาในการนมัสการไหม?
ทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล
ควรใช้รูปบูชาในการนมัสการไหม?
ทุกวันที่ 15 สิงหาคม มีงานเฉลิมฉลองทางศาสนาครั้งใหญ่บนเกาะตินอส ประเทศกรีซ. ผู้คนหลายพันมาชุมนุมกันเพื่อสักการบูชามาเรียมารดาพระเยซู และรวมถึงการบูชารูปของเธอด้วย ซึ่งเชื่อกันว่ารูปนั้นสำแดงปาฏิหาริย์ได้. * หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งของนิกายกรีกออร์โทด็อกซ์ชี้แจงดังนี้: “ด้วยความเชื่อและความเลื่อมใสเป็นพิเศษ เราถวายเกียรติแก่แม่พระผู้บริสุทธิ์ยิ่ง พระมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และเราอ้อนวอนขอให้บารมีของพระแม่เจ้าโปรดพิทักษ์คุ้มครองและช่วยสงเคราะห์เรา. เราพึ่งอาศัยบรรดาชายหญิงผู้บริสุทธิ์ซึ่งเป็นนักบุญกระทำการอัศจรรย์ ให้สนองความจำเป็นทางด้านวิญญาณและด้านร่างกาย . . . ด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า เราขอจูบและนมัสการสิ่งของของผู้บริสุทธิ์และรูปบูชาศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย.”
คนอื่น ๆ อีกหลายคนที่อ้างตัวเป็นคริสเตียนนิกายต่าง ๆ ก็ได้นมัสการในรูปแบบคล้าย ๆ กัน. แต่คำสอนของคัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนให้ใช้รูปบูชาในการนมัสการไหม?
คริสเตียนสมัยแรก
ขอพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นประมาณปีสากลศักราช 50 เมื่ออัครสาวกเปาโลไปเยี่ยมที่กรุงเอเธนส์ (อะเธนาย) เมืองซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการใช้รูปจำลองเพื่อการนมัสการ. เปาโลได้ชี้แจงแก่ชาวเอเธนส์ว่า พระเจ้า “มิได้ทรงสถิตอยู่ในโบสถ์ซึ่งมือมนุษย์ได้กระทำไว้. การที่มนุษย์ปฏิบัตินมัสการพระองค์นั้นจะหมายว่าพระเจ้าต้องประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากเขาก็หามิได้, . . . เหตุฉะนั้น . . . เราก็ไม่ควรถือว่าพระเจ้าเป็นเหมือนทอง, เงิน, หรือหินซึ่งมนุษย์ได้แกะและสลักด้วยปัญญาและความคิดของเขา.”—กิจการ 17:24, 25, 29.
1 โยฮัน 5:21) เปาโลเขียนถึงชาวโครินท์ว่า “วิหารของพระเจ้าจะทำสัญญาอะไรกับรูปเคารพได้?” (2 โกรินโธ 6:16) คริสเตียนในยุคแรกหลายคนก็เคยใช้รูปจำลองทางศาสนาในการนมัสการ. เปาโลเตือนคริสเตียนในเมืองเทสซาโลนิเกให้นึกถึงเรื่องนี้ เมื่อท่านเขียนว่า “ท่านทั้งหลายได้ละทิ้งรูปเคารพกลับมาหาพระเจ้า, เพื่อปฏิบัติพระเจ้าเที่ยงแท้ผู้ทรงพระชนม์อยู่.” (1 เธซะโลนิเก 1:9) เห็นได้ชัดว่า คริสเตียนเหล่านั้นคงจะมีทัศนะอย่างเดียวกันกับที่โยฮันและเปาโลมีต่อรูปบูชา.
ที่จริง คำเตือนดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้รูปเคารพพบเห็นบ่อย ๆ ในคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก หรือที่เรียกกันว่าฉบับพันธสัญญาใหม่. ยกตัวอย่าง อัครสาวกโยฮันแนะเตือนคริสเตียนดังนี้: “จงระวังรักษาตัวให้ปราศจากรูปเคารพ.” (“ผู้ถือศาสนาคริสต์” ยอมใช้รูปเคารพ
สารานุกรมบริแทนนิกา ระบุว่า “ระหว่างช่วงสามศตวรรษแรกของคริสตจักร, . . . ไม่ปรากฏว่ามีงานศิลปะของคริสเตียน และโดยทั่วไปแล้ว คริสตจักรต่อต้านการนำงานศิลปะเข้ามาในศาสนา. ยกตัวอย่าง เคลเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียเคยตำหนิงานศิลปะด้านศาสนา (นอกรีต) เพราะสิ่งนั้นสนับสนุนให้ประชาชนนมัสการสิ่งที่ถูกสร้างแทนที่จะนมัสการพระผู้สร้าง.”
แล้วการใช้รูปบูชากลายเป็นสิ่งที่นิยมกันมากได้อย่างไร? สารานุกรมบริแทนนิกา บอกต่อไปว่า “ประมาณกลางศตวรรษที่ 3 ศิลปะการวาดภาพที่เพิ่งเริ่มก่อตัวได้ถูกนำเข้ามาใช้ในคริสตจักรและเป็นสิ่งที่คริสตจักรยอมรับ แต่ก็มีคริสตชนบางกลุ่มต่อต้านขัดขวางอย่างรุนแรง. แต่เมื่อคริสตจักรกลายเป็นคริสตจักรแห่งจักรวรรดิโรมันภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินในช่วงต้นศตวรรษที่ 4 ก็เริ่มมีการใช้รูปภาพต่าง ๆ ในโบสถ์ และกลายเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในศาสนาคริสต์.”
กิจปฏิบัติที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในท่ามกลางคนนอกรีตมากมายซึ่งตอนนั้นเริ่มประกาศตัวเป็นคริสเตียนก็คือการบูชารูปจักรพรรดิ. จอห์น เทย์เลอร์ อธิบายไว้ในหนังสือของเขา ชื่อภาพวาดรูปบูชา ว่า “ในการนมัสการจักรพรรดิ ผู้คนบูชาภาพวาดจักรพรรดิบนผืนผ้าใบหรือแผ่นไม้ และเมื่อมีการนมัสการจักรพรรดิอยู่แล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะก้าวไปสู่การเคารพรูปบูชา.” ด้วยเหตุนี้ การบูชาภาพพระเยซู, มาเรีย, ทูตสวรรค์, และ “พวกนักบุญ” จึงเข้ามาแทนการนมัสการรูปภาพของพวกนอกรีต. ภาพเหล่านี้ซึ่งแต่เดิมเริ่มใช้ในโบสถ์ ภายหลังจึงได้นำมาติดตั้งไว้ในบ้านเรือนของผู้คนนับล้าน ๆ คนเพื่อสักการบูชา.
การนมัสการ “ด้วยวิญญาณและความจริง”
พระเยซูตรัสแก่บรรดาผู้ที่ฟังพระองค์ว่าผู้รับใช้ของพระเจ้าต้องนมัสการ “ด้วยวิญญาณและความจริง.” (โยฮัน 4:24, ล.ม.) ฉะนั้น เมื่อสุจริตชนพยายามที่จะรู้ความจริงเรื่องการใช้รูปบูชาในการนมัสการ เขาต้องหันไปพึ่งพระคำของพระเจ้าเพื่อจะได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนั้น.
ตัวอย่างเช่น ถ้อยแถลงของพระเยซูในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “เราเป็นทางนั้น, เป็นความจริง, และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาเว้นไว้มาทางเรา.” (โยฮัน 14:6) เปาโลประกาศว่า “เพราะว่ามีพระเจ้าองค์เดียว, และมีคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์. คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์” และที่ว่า “พระคริสต์ . . . ผู้ทรงทูลอ้อนวอนเพื่อเรา.” (1 ติโมเธียว 2:5; โรม 8:34, ล.ม.) บทบาทเหล่านี้ของพระเยซูมีความหมายมากขึ้นเมื่อเราอ่านว่าพระคริสต์ทรงสามารถ “ช่วยคนที่เข้าเฝ้าพระเจ้าโดยทางพระองค์ให้รอดได้อย่างครบถ้วนด้วย เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เสมอเพื่อวิงวอนแทนพวกเขา.” (เฮ็บราย 7:25, ล.ม.) เราควรทูลอธิษฐานต่อพระเจ้าในพระนามของพระเยซูคริสต์. ไม่ใช่โดยทางผู้หนึ่งผู้ใด และแน่นอนว่ารูปบูชาที่ปราศจากชีวิตไม่อาจนำมาใช้แทนพระองค์ได้. ความรู้จากพระคำของพระเจ้าย่อมช่วยผู้ที่แสวงหาความจริงเพื่อเขาจะพบแนวทางที่จะนมัสการ “พระบิดาด้วยวิญญาณและความจริง” และได้รับพระพรเนื่องด้วยแนวทางการนมัสการที่ดีเยี่ยม จริงทีเดียว พระเยซูตรัสไว้ว่า “พระบิดาทรงแสวงหาคนอย่างนั้นนมัสการพระองค์.”—โยฮัน 4:23, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 โดยทั่วไป รูปเคารพเป็นสิ่งที่ใช้แทนหรือเป็นสัญลักษณ์ซึ่งสมาชิกศาสนานั้น ๆ เคารพนับถือ. ยกตัวอย่าง ในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์โทด็อกซ์ มีบางรูปแสดงถึงพระคริสต์; บ้างก็หมายถึงพระตรีเอกานุภาพ, “นักบุญ,” ทูตสวรรค์, หรือมาเรียมารดาพระเยซูดังกรณีที่กล่าวข้างต้น. ผู้คนนับล้านเคารพรูปบูชา ซึ่งก็คล้ายกันกับทัศนะของหลายคนที่มีต่อรูปจำลองเพื่อการนมัสการ. บางศาสนาที่ไม่ได้อ้างตัวเป็นคริสเตียนก็มีความเชื่อและความรู้สึกเช่นเดียวกันต่อรูปบูชาและรูปจำลองพระต่าง ๆ ของพวกเขา.
[ที่มาของภาพหน้า 20]
Boris Subacic/AFP/Getty Images