ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ดูเหมือนจะกินได้นะนี่!

ดูเหมือนจะกินได้นะนี่!

ดู​เหมือน​จะ​กิน​ได้​นะ​นี่!

โดย​ผู้​เขียน​ตื่นเถิด! ใน​ญี่ปุ่น

ตา​ของ​คุณ​จับ​จ้อง​อยู่​ที่​สิ่ง​หนึ่ง​ซึ่ง​ดู​เหมือน​อาหาร​มื้อ​อร่อย. คุณ​รู้สึก​อยาก​กิน​จน​น้ำลาย​สอ. แต่​น่า​แปลก​ที่ “อาหาร” นี้​ไม่​มี​กลิ่น​หอม, ไม่​มี​รสชาติ, และ​ไม่​มี​คุณค่า​ทาง​โภชนาการ. อาหาร​นี้​ไม่​เน่า​ไม่​บูด​และ​ไม่​ต้อง​แช่​ตู้​เย็น. อาหาร​อะไร​กัน​นี่? ใน​ประเทศ​ญี่ปุ่น จะ​เป็น​อะไร​ไป​ไม่​ได้ นอก​จาก​อาหาร​จำลอง​ที่​ทำ​จาก​พลาสติก. อาหาร​พลาสติก​เป็น​แบบ​จำลอง​ที่​ทำ​ขึ้น​เพื่อ​เลียน​แบบ​อาหาร​จริง​ซึ่ง​มี​อยู่​ใน​รายการ​อาหาร​ของ​ภัตตาคาร. อาหาร​พลาสติก​ที่​ทำ​ขึ้น​จะ​มี​ขนาด, รูป​ทรง, และ​สี​สัน​เหมือน​อาหาร​จริง​ทุก​ประการ.

มี​การ​ทำ​อาหาร​พลาสติก​ออก​มา​หลาก​หลาย​รูป​แบบ ตั้ง​แต่​อาหาร​แบบ​ดั้งเดิม​ของ​ชาว​ญี่ปุ่น​อย่าง​ซูชิ ไป​จน​ถึง​อาหาร​ตะวัน​ตก​ยอด​นิยม​อย่าง​พิซซ่า​และ​สปาเกตตี. นอก​จาก​นี้ ยัง​มี​การ​ทำ​เลียน​แบบ​เครื่อง​ดื่ม, อาหาร​เรียก​น้ำ​ย่อย, และ​ของ​หวาน​ต่าง ๆ ด้วย. อาหาร​พลาสติก​มี​มาก​มาย​หลาย​ชนิด​อย่าง​ไม่​น่า​เชื่อ. ที่​จริง มี​ผู้​ผลิต​ราย​หนึ่ง​ผลิต​อาหาร​พลาสติก​มาก​กว่า 10,000 ชนิด​เลย​ที​เดียว!

อาหาร​พลาสติก​ดู​เหมือน​อาหาร​จริง. แม้​แต่​ราย​ละเอียด​เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็​ทำ​เลียน​แบบ​ได้​อย่าง​น่า​ทึ่ง เช่น ปุ่ม​นูน​เล็ก ๆ บน​หนัง​ไก่​อบ, เมล็ด​แตงโม​ที่​กระจัด​กระจาย​อยู่​บน​แตงโม​ชิ้น​หนึ่ง, และ​รอย​หยัก​โค้ง​นิด ๆ ของ​ใบ​ผักกาด​หอม. แต่​อาหาร​พลาสติก​มา​เป็น​ที่​นิยม​ใน​ญี่ปุ่น​ได้​อย่าง​ไร?

ใน​ช่วง​ปลาย​ศตวรรษ​ที่ 19 ภัตตาคาร​บาง​แห่ง​นำ​ตัว​อย่าง​อาหาร​มา​แสดง​เพื่อ​ให้​คน​ญี่ปุ่น​ได้​รู้​จัก​อาหาร​ต่าง​ชาติ. คน​ที่​เดิน​ผ่าน​ไป​มา​สามารถ​จะ​ดู​ตัว​อย่าง​อาหาร​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​เดิน​เข้า​ร้าน. แน่นอน​ว่า อาหาร​ที่​นำ​มา​แสดง​นอก​จาก​จะ​ดึงดูด​ใจ​ผู้​คน​แล้ว ยัง​ดึงดูด​พวก​สัตว์​และ​แมลงวัน​ด้วย. ความ​ร้อน​และ​ความ​ชื้น​ก็​ทำ​ให้​อาหาร​เน่า​บูด ซ้ำ​ยัง​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​มาก​เพราะ​ต้อง​ทำ​อาหาร​ตัว​อย่าง​ทุก​วัน.

ต่อ​มา มี​การ​นำ​อาหาร​ปลอม​ซึ่ง​ทำ​จาก​ขี้ผึ้ง​ที่​ทาสี​แล้ว​มา​แทน​อาหาร​จริง. แต่​ขี้ผึ้ง​ก็​มี​ข้อ​เสีย​ซึ่ง​เป็น​ปัญหา​ใหญ่ คือ​มัน​จะ​เสีย​รูป​เมื่อ​อากาศ​ร้อน. และ​แล้ว​ก็​มี​การ​ใช้​พลาสติก​ไวนิล​แทน​ขี้ผึ้ง. ใน​ที่​สุด​ก็​ได้​ผลิตภัณฑ์​ที่​ทั้ง​ทนทาน​และ​ทน​อากาศ​ร้อน และ​ใน​ขณะ​เดียว​กัน​ก็​ดึงดูด​ลูก​ค้า​ถูก​ประเภท นั่น​คือ คน! แต่​อาหาร​พลาสติก​นี้​ทำ​กัน​อย่าง​ไร?

ขั้น​แรก ต้อง​ทำ​แบบ​พิมพ์​ของ​อาหาร​นั้น​ก่อน. ตัว​อย่าง​เช่น เอา​สเต็ก​ชิ้น​หนึ่ง​ใส่​ใน​ถาด​สี่​เหลี่ยม แล้ว​เท​ซิลิคอน​ลง​ไป​ให้​ท่วม​สเต็ก. เมื่อ​แบบ​พิมพ์​แข็งตัว​แล้ว​จึง​พลิก​หงาย​ขึ้น. พอ​เอา​สเต็ก​ออก​ก็​จะ​เหลือ​แต่​รอย​สเต็ก. จาก​นั้น​เท​พลาสติก​ไวนิล​ที่​ผสม​สี​แล้ว​ลง​ใน​พิมพ์​และ​อบ​ด้วย​อุณหภูมิ 82 องศา​เซลเซียส ทิ้ง​ไว้​ให้​เย็น​แล้ว​จึง​เอา​สเต็ก​จำลอง​ที่​ได้​ออก​จาก​พิมพ์. จาก​นั้น​ก็​นำ​ไป​แต่ง​สี.

ถ้า​จะ​ทำ​แซนด์วิช ส่วน​ประกอบ​ทุก​อย่าง​ทั้ง​ขนมปัง, เนื้อ, ชีส, และ​ผักกาด​หอม ต้อง​นำ​มา​ทำ​แบบ​พิมพ์ โดย​แยก​ทำที​ละ​อย่าง. ขั้น​ตอน​หลัง​จาก​นั้น​ก็​คล้าย​กับ​การ​ทำ​แซนด์วิช​จริง ๆ คือ​นำ​ส่วน​ประกอบ​ต่าง ๆ วาง​ซ้อน​กัน​แล้ว​ประกบ​ด้วย​แผ่น​ขนมปัง. แต่​สำหรับ​แซนด์วิช​พลาสติก​ต้อง​ใส่​กาว​เพื่อ​ยึด​แต่​ละ​ชิ้น​ให้​ติด​กัน​ด้วย.

การ​ทำ​อาหาร​พลาสติก​ถือ​เป็น​ศิลปะ​อย่าง​หนึ่ง​ก็​ว่า​ได้. คัทสึจิ คาเนยามา ซึ่ง​ทำ​ธุรกิจ​ด้าน​นี้​มา​ประมาณ 23 ปี​แล้ว บอก​ว่า “เพื่อ​จะ​ทำ​อาหาร​พลาสติก​ให้​ได้​เหมือน​จริง สิ่ง​สำคัญ​คือ​การ​ศึกษา​อาหาร​จริง​อย่าง​ละเอียด​ถี่ถ้วน. คน​ทั่ว​ไป​มอง​อาหาร​ว่า​เป็น​สิ่ง​ที่​จะ​กิน. แต่​เรา​มอง​อาหาร​ว่า​เป็น​สิ่ง​ที่​จะ​เอา​มา​เลียน​แบบ.”

ข้าว​ญี่ปุ่น​หุง​สุก​ใหม่​ถ้วย​หนึ่ง หาก​มอง​ดู​ใกล้ ๆ จะ​เห็น​ว่า​ข้าว​แต่​ละ​เม็ด​ร่วน​ไม่​จับ​เป็น​ก้อน. คาเนยามา​อธิบาย​ว่า ข้าว​ทั้ง​ถ้วย “ค่อย ๆ เรียง​ตัว​กัน​จาก​ข้าง​ใน​และ​พูน​ขึ้น​ตรง​กลาง​ถ้วย.” เพื่อ​จะ​ทำ​ให้​เหมือน​แบบ​นั้น ต้อง​ทำ​แบบ​พิมพ์​สำหรับ​ข้าว​ทุก​เม็ด. จะ​เพียง​แต่​นำ​ข้าว​มา​ใส่​รวม​กัน​ไม่​ได้ เพราะ​เม็ด​ข้าว​จะ​ไม่​พูน​ขึ้น. แทน​ที่​จะ​ทำ​เช่น​นั้น ต้อง​นำ​เม็ด​ข้าว​มา​ติด​กาว​ให้​อยู่​ใน​ตำแหน่ง​ที่​มัน​จะ​พูน​ขึ้น​เหมือน​ข้าว​จริง. การ​ตกแต่ง​ให้​ดู​เหมือน​อาหาร​จริง​จะ​ทำ​ให้​อาหาร​พลาสติก​ดู​น่า​ดึงดูด​ใจ​สำหรับ​คน​ที่​ชอบ​พินิจ​พิจารณา.

กว่า​จะ​ชำนาญ​ใน​การ​ทำ​อาหาร​พลาสติก​ได้​ต้อง​มี​ประสบการณ์​หลาย​ปี. ช่าง​ฝึก​หัด​อาจ​ใช้​เวลา​สอง​สาม​ปี​แรก​ฝึก​ทักษะ​เบื้อง​ต้น โดย​เริ่ม​จาก​ของ​ง่าย ๆ เช่น เห็ด​ต่าง ๆ. ต้อง​ใช้​เวลา​ประมาณ​สิบ​ปี​จึง​จะ​ทำ​ปลา​ให้​ได้​เหมือน​กับ​ปลา​ที่​เพิ่ง​จับ​ขึ้น​มา​ใหม่ ๆ ซึ่ง​มี​ราย​ละเอียด​มาก​ทั้ง​ใน​ส่วน​ของ​เนื้อ​ปลา​และ​สี​สัน. อาจ​ใช้​เวลา​เกือบ 15 ปี​จึง​จะ​เป็น​ผู้​เชี่ยวชาญ​ใน​ด้าน​นี้.

ถ้า​คุณ​ได้​เดิน​ผ่าน​ร้าน​อาหาร​ญี่ปุ่น​และ​เห็น​อาหาร​หน้า​ตา​น่า​รับประทาน​วาง​โชว์​อยู่ ก็​ขอ​ให้​นึก​ดู​ว่า​งาน​สร้าง​สรรค์​เช่น​นี้​ต้อง​ใช้​ความ​พยายาม​มาก​แค่​ไหน. คุณ​อาจ​นึก​สงสัย​ว่า​อะไร​ต้อง​ใช้​ความ​ชำนาญ​มาก​กว่า​กัน ระหว่าง​การ​ทำ​อาหาร​จริง​กับ​การ​ทำ​อาหาร​ปลอม!

[กรอบ​หน้า 27]

อาหาร​ใน​จอ

คราว​หน้า​ถ้า​คุณ​เห็น​อาหาร​ใน​ฉาก​ภาพยนตร์, รายการ​โทรทัศน์, หรือ​โฆษณา ลอง​มอง​ให้​ดี ๆ. อาหาร​ที่​คุณ​เห็น​อาจ​ไม่​ใช่​ของ​จริง. คริส โอลิเวอร์ นัก​ออก​แบบ​ด้าน​อาหาร​ใน​ลอสแอนเจลิส บอก​ว่า อาหาร​ปลอม​เหมาะ​จะ​ใช้​ใน​ฉาก​ภาพยนตร์​ที่​ใช้​เวลา​ถ่าย​ทำ​นาน. เขา​กล่าว​ว่า “อาหาร​ปลอม​แพง​กว่า​อาหาร​จริง แต่​ก็​สะดวก​กว่า.” ที่​จริง อาหาร​พลาสติก​สามารถ​ใช้​แทน​อาหาร​จริง​ได้​ดี​มาก เมื่อ​ต้อง​ถูก​แสง​ไฟ​แรง ๆ ที่​ใช้​ใน​การ​ถ่าย​ภาพยนตร์.

[ภาพ​หน้า 26]

คุณ​บอก​ได้​ไหม​ว่า​อัน​ไหน​เป็น​ของ​จริง? (คำ​ตอบ​อยู่​ใน​หน้า 27)

คำ​ตอบ: อาหาร​จริง​อยู่​ใน​ถาด​ทาง​ขวา​มือ​ของ​ผู้​หญิง.

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 26]

Bottom photos: Hachiman Town, Gujyo City, Gifu Prefecture, Japan