ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติ

ความสำคัญของการพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติ

ความ​สำคัญ​ของ​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​กัน​ใน​ธรรมชาติ

ใน​ธรรมชาติ “เพื่อ​ชีวิต​จะ​อยู่​รอด​ได้ ความ​สัมพันธ์​กับ​สิ่ง​มี​ชีวิต​อื่น ๆ ก็​มี​ความ​สำคัญ​พอ ๆ กัน​กับ​การ​เจริญ​เติบโต​และ​การ​สืบ​พันธุ์.”—“สัมพันธ์​ชีวิต” (ภาษา​อังกฤษ).

ท้อง​ทะเล​ดู​สงบ​เงียบ. มี​แต่​เสียง​ร้อง​ของ​ฝูง​นก​ทะเล​หลาย​สิบ​ตัว. อาการ​ตื่นเต้น​ของ​นก​เหล่า​นี้​บ่ง​บอก​ว่า​มี​อะไร​บาง​อย่าง​กำลัง​เกิด​ขึ้น​ใต้​ผิว​น้ำ. ทันใด​นั้น​เอง มี​ฟอง​อากาศ​ผุด​ขึ้น​มาก​มาย แล้ว​ค่อย ๆ ม้วน​วน​เป็น​วง​แหวน​สี​ขาว. อีก​อึด​ใจ​ต่อ​มา ร่าง​ดำ​ทะมึน​สอง​ร่าง​ก็​ปรากฏ​ขึ้น​ใน​น้ำ​ใส​กลาง​วง​แหวน​นั้น. มัน​คือ​วาฬ​หลัง​ค่อม​สอง​ตัว​ที่​ขึ้น​มา​จาก​ห้วง​น้ำ​ใต้​มหาสมุทร อ้า​ปาก​กว้าง​จน​เห็น​บาลีน (ซี่​กระดูก​รูป​หวี) ซึ่ง​อยู่​ใน​ปาก​ของ​มัน. เมื่อ​ถึง​ผิว​น้ำ มัน​หุบ​ปาก​อัน​มหึมา​ของ​มัน, พ่น​น้ำ, และ​ดำ​ลง​ไป​เพื่อ​ทำ​อย่าง​เดิม​อีก.

วาฬ​ทั้ง​สอง​ตัว​กำลัง​ช่วย​กัน​ต้อน​และ​กิน​ฝูง​กริลล์ ซึ่ง​เป็น​สัตว์​คล้าย​กุ้ง​ตัว​เล็ก ๆ. สัตว์​เลี้ยง​ลูก​ด้วย​นม​ขนาด 40 ตัน​นี้​แหวก​ว่าย​ราว​กับ​เต้น​บัลเลต์​ใต้​น้ำ โดย​ดำ​ลง​ไป​ใต้​ฝูง​กริลล์ และ​ว่าย​เป็น​วง​แคบ ๆ พร้อม​กับ​พ่น​ฟอง​อากาศ​ออก​จาก​รู​พ่น​ของ​มัน. การ​เคลื่อน​ไหว​อัน​ชาญ​ฉลาด​นี้​ทำ​ให้​เกิด “ตาข่าย” ฟอง​อากาศ​ขึ้น​รอบ ๆ ฝูง​กริลล์. จาก​นั้น​วาฬ​ก็​พุ่ง​ขึ้น​มาตร​งก​ลาง “ตาข่าย” และ​เขมือบ​เหยื่อ​ของ​มัน.

ใน​ที่​ราบ​แอฟริกา ลิง​บาบูน​และ​อิมพาลา (ละมั่ง​แอฟริกา) มัก​จะ​ร่วม​แรง​ร่วม​ใจ​กัน. วารสาร​ไซเยนติฟิก อเมริกัน กล่าว​ว่า “สัตว์​ทั้ง​สอง​นี้​มี​ระบบ​เตือน​ภัย​ร่วม​กัน.” อิมพาลา​มี​ประสาท​รับ​กลิ่น​ที่​ไว​มาก ส่วน​ลิง​บาบูน​มี​สายตา​ที่​เฉียบ​คม ทำ​ให้​ยาก​มาก​ที่​สัตว์​นัก​ล่า​จะ​เข้า​มา​ใกล้​โดย​ที่​พวก​มัน​ไม่​รู้​ตัว. มี​การ​ร่วม​มือ​กัน​ใน​ลักษณะ​คล้าย​กัน​นี้​ระหว่าง​นก​กระจอกเทศ​ซึ่ง​มี​สายตา​ดี กับ​ม้าลาย​ซึ่ง​มี​หู​ที่​ไว​มาก.

ที่​กล่าว​มา​นี้​เป็น​เพียง​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ตัว​อย่าง​จำนวน​นับ​ไม่​ถ้วน​เกี่ยว​กับ​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​กัน​ของ​สิ่ง​ชีวิต​รอบ​ตัว​เรา. ที่​จริง การ​ช่วยเหลือ​กัน​มี​อยู่​ใน​สิ่ง​มี​ชีวิต​ทุก​ระดับ​ชั้น ตั้ง​แต่​จุลชีพ​จน​ถึง​มนุษย์​และ​ระหว่าง​สิ่ง​มี​ชีวิต​ที่​คล้าย​กัน​และ​ต่าง​กัน. หลาย​พัน​ปี​มา​แล้ว กษัตริย์​ซะโลโม ผู้​ซึ่ง​เป็น​นัก​ศึกษา​ธรรมชาติ ได้​สังเกต​มด​ที่​ต่ำต้อย. ท่าน​เขียน​ว่า “ไป​ดู​มด​ซิ, เจ้า​ขี้​เกียจ; จง​พิจารณา​ทาง​ทั้ง​หลาย​ของ​มัน, และ​จง​ฉลาด​ขึ้น; มัน​ไม่​มี​หัวหน้า, ผู้​กำกับ​การ, หรือ​ผู้​ปกครอง. ถึง​กระนั้น มัน​ก็​ยัง​สะสม​อาหาร​ไว้​เมื่อ​ฤดู​ร้อน, และ​รวบ​รวม​เสบียง​ของ​มัน​ไว้​เมื่อ​ฤดู​เกี่ยว​ข้าว.”—สุภาษิต 6:6-8.

มด​เป็น​ตัว​อย่าง​ที่​ดี​ใน​เรื่อง​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​กัน, ความ​ขยัน​ขันแข็ง, และ​ความ​มี​ระเบียบ​วินัย โดย​ที่​มัน​มัก​จะ​ทำ​งาน​ร่วม​กัน​เพื่อ​ขน​สิ่ง​ที่​มี​ขนาด​ใหญ่​กว่า​ตัว​มัน​หลาย​เท่า​กลับ​เข้า​รัง. มด​บาง​ชนิด​ถึง​กับ​ช่วย​มด​ตัว​อื่น​ใน​รัง​ที่​ได้​รับ​บาดเจ็บ​หรือ​หมด​แรง​ให้​กลับ​รัง​ของ​มัน. เมื่อ​คำนึง​ถึง​คุณลักษณะ​เหล่า​นี้ ไม่​น่า​แปลก​ใจ​ที่​ซะโลโม​เลือก​ใช้​มด​เพื่อ​เป็น​ตัว​อย่าง​สำหรับ​เรา.

ใน​บทความ​ถัด​ไป เรา​จะ​พิจารณา​ว่า​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​กัน​เป็น​อรรถบท​สำคัญ​ใน ‘หนังสือ​แห่ง​ธรรมชาติ’ ซึ่ง​ทำ​ให้​ชีวิต​ทั้ง​มวล รวม​ทั้ง​มนุษย์​ด้วย ดำรง​อยู่​ได้. นอก​จาก​นี้ เรา​จะ​เรียน​รู้​ว่า​มนุษย์​กลับ​ฉกฉวย​ประโยชน์​จาก​ธรรมชาติ, ก่อ​มลพิษ, และ​ทำ​ให้​สิ่ง​มี​ชีวิต​บาง​อย่าง​สูญ​พันธุ์​ไป. พระ​ผู้​สร้าง​จะ​ยอม​ให้​เป็น​เช่น​นี้​ตลอด​ไป​ไหม?

[ภาพ​หน้า 3]

บน: ลิง​บาบูน​และ​อิมพาลา​มี​ระบบ​เตือน​ภัย​ร่วม​กัน

[ภาพ​หน้า 4]

มด​เป็น​ตัว​อย่าง​ของ​การ​พึ่ง​พา​อาศัย​กัน

[ภาพ​หน้า 4]

มี​การ​ร่วม​มือ​กัน​ระหว่าง​นก​กระจอกเทศ ซึ่ง​มี​สายตา​ดี​กับ​ม้าลาย​ซึ่ง​มี​หู​ไว