ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ไม่ว่าจะเรียกประเทศเหล่านี้ว่าอย่างไร ประเทศที่พัฒนาแล้ว, ประเทศอุตสาหกรรม, และประเทศที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจต่างก็มีมาตรฐานการครองชีพสูงกว่า ส่วนประเทศที่ยังไม่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและทางเศรษฐกิจก็มีมาตรฐานการครองชีพต่ำกว่า. ดูเหมือนกับว่ากลุ่มประเทศทั้งสองนี้อยู่กันคนละโลก.
แน่นอน แม้แต่ในประเทศเดียวกันก็อาจมีสังคมทั้งสองแบบ. ลองคิดถึงประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวยซึ่งเรากล่าวถึงในบทความก่อน. ในประเทศเหล่านี้มีทั้งคนรวยและคนจน. ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดของประชาชนในประเทศนั้นตกเป็นของครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุด 10 เปอร์เซ็นต์. ส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ของครอบครัวที่ยากจนที่สุดต้องดำรงชีวิตด้วยรายได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด. ประเทศที่คุณอาศัยอยู่ก็อาจมีสภาพการณ์แบบนี้หรือคล้าย ๆ กันนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีกลุ่มชนชั้นกลางไม่ใหญ่นัก. กระนั้น แม้แต่
รัฐบาลในประเทศที่มีกลุ่มชนชั้นกลางค่อนข้างใหญ่ก็ยังไม่สามารถขจัดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนมั่งมีกับคนยากไร้ได้ตราบจนทุกวันนี้.ไม่ดีทั้งสอง
สังคมทั้งสองแบบไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นสังคมที่สมบูรณ์พร้อม. ลองคิดถึงความเสียเปรียบที่เห็นได้ชัดของประชาชนที่อยู่ในประเทศยากจน. การรักษาพยาบาลมีไม่พอกับความต้องการอย่างมาก. ในกรอบหน้านี้แสดงว่าประเทศที่ร่ำรวยที่สุด 9 ประเทศมีแพทย์ 1 คนต่อพลเมือง 242 ถึง 539 คน ส่วนประเทศยากจนที่สุด 18 ประเทศมีแพทย์น้อยกว่ามาก คือมีแพทย์ 1 คนต่อพลเมือง 3,707 ถึง 49,118 คน. ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่าเหตุใดผู้ที่อยู่ในประเทศร่ำรวยจึงมีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 73 ปีขึ้นไป ส่วนกว่าครึ่งของผู้ที่อยู่ในประเทศยากจนที่สุดมีอายุขัยเฉลี่ยไม่ถึง 50 ปี.
ในประเทศยากจน โอกาสทางการศึกษาก็มีน้อยมาก
ด้วย ซึ่งมักจะทำให้เด็ก ๆ ต้องจมอยู่กับความยากจนไปตลอดชีวิต. การขาดโอกาสทางการศึกษานี้เห็นได้จากอัตราการรู้หนังสือ. ในขณะที่ประเทศร่ำรวยที่สุด 7 ใน 9 ประเทศมีอัตราการรู้หนังสือ 100 เปอร์เซ็นต์ (ส่วนอีกสองประเทศมี 96 และ 97 เปอร์เซ็นต์) แต่ประเทศยากจนที่สุด 18 ประเทศมีอัตราการรู้หนังสือตั้งแต่สูงสุด 81 เปอร์เซ็นต์ไปจนถึงต่ำสุด 16 เปอร์เซ็นต์ และมี 10 ประเทศที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์.แต่คนที่อยู่ในประเทศร่ำรวยก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่างด้วย. ในขณะที่คนในประเทศยากจนอาจมีอาหารไม่พอกิน แต่คนที่มีฐานะมั่งคั่งหลายคนกำลังเสียชีวิตเนื่องจากการกินมากเกินไป. หนังสือชื่อการต่อสู้เรื่องอาหาร (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “การบริโภคมากเกินไปได้กลายมาเป็นปัญหาด้านอาหารที่สำคัญที่สุดแทนที่ภาวะทุโภชนาการ.” และวารสารดิ แอตแลนติก มันท์ลี กล่าวว่า “ตอนนี้ชาวอเมริกันประมาณเก้าล้านคนเป็น ‘โรคอ้วน’ ซึ่งหมายความว่ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานประมาณหนึ่งร้อยปอนด์ [45 กิโลกรัม] ขึ้นไป และปัญหาที่เกิดจากความอ้วนทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศนี้ราว ๆ 300,000 คนต่อปี.” บทความเดียวกันนี้ชี้ว่า “อีกไม่นานโรคอ้วนอาจจะกลายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เร่งด่วนที่สุดในโลก โดยแซงหน้าทั้งการขาดแคลนอาหารและโรคติดเชื้อ.” *
จริงอยู่ พลเมืองในประเทศที่ร่ำรวยมีมาตรฐานการครองชีพสูงกว่า แต่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาอาจถือว่าทรัพย์สมบัติสำคัญกว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ พวกเขาจึงให้ความสำคัญมากเกินไปกับการมีทรัพย์สมบัติ และให้ความสำคัญน้อยเกินไปกับชีวิต. พวกเขาจึงมักจะวัดความสำคัญและค่าของคนจากงานอาชีพ, เงินเดือน, หรือฐานะความเป็นอยู่แทนที่จะมองดูความรู้, สติปัญญา, ความสามารถ, หรือคุณลักษณะที่ดีของคนนั้น.
บทความหนึ่งในวารสารรายสัปดาห์ของเยอรมนีชื่อโฟคุส เน้นว่า การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายทำให้มีความสุข และตั้งคำถามในชื่อเรื่องว่า “ถ้าจะมีสมบัติน้อยลงสักหน่อยจะดีไหม?” บทความนี้กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในโลกตะวันตกไม่ได้มีความสุขมากขึ้นในตอนนี้เมื่อเทียบกับหลายปีที่แล้ว แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีฐานะดีขึ้นมาก. . . . ใครก็ตามที่เป็นห่วงแต่สมบัติวัตถุมักจะเป็นคนที่ไม่มีความสุข.”
มีดุลยภาพ
ถูกแล้ว ข้อเท็จจริงพิสูจน์ว่าสังคมทั้งสองแบบ ทั้งรวยและจน แม้จะมีแง่มุมที่ดีบางอย่าง แต่ก็มีข้อเสียด้วย. ขณะที่ประเทศที่ยากจนแทบไม่มีอะไรเลย แต่ประเทศที่ร่ำรวยก็มีมากจนทำให้ชีวิตสับสนวุ่นวาย. คงจะมีประโยชน์สักเพียงไรถ้าสังคมทั้งสองแบบได้เรียนจากกันและกัน! แต่ดุลยภาพที่ว่านี้จะมีวันเกิดขึ้นได้จริงไหม?
จากแง่คิดของมนุษย์ คุณอาจรู้สึกว่าเป้าหมายนี้ แม้จะน่าปรารถนา แต่ก็คงจะเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้. และสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตก็สนับสนุนความคิดเช่นนี้. กระนั้นเราไม่หมดหวังเสียทีเดียว. คุณอาจจะมองข้ามวิธีแก้ที่มีเหตุผลที่สุดสำหรับปัญหานี้. วิธีแก้นั้นคืออะไร?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 ดูตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 8 พฤศจิกายน 2004 หน้า 3-12.
[คำโปรยหน้า 6)
“อีกไม่นานโรคอ้วนอาจจะกลายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เร่งด่วนที่สุดในโลก โดยแซงหน้าทั้งการขาดแคลนอาหารและโรคติดเชื้อ.”—ดิ แอตแลนติก มันท์ลี
[กรอบ/ภาพหน้า 5]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
ชื่อประเทศเรียงตามลำดับอักษร
ประเทศร่ำรวยที่สุดเก้าประเทศ
อายุขัยเฉลี่ยของผู้ชาย (ปี) การรู้หนังสือ (%)
แคนาดา
76.4 96.6
ญี่ปุ่น
78.4 100
เดนมาร์ก
74.9 100
นอร์เวย์
76.5 100
เบลเยียม
75.1 100
ลักเซมเบิร์ก
74.9 100
สวิตเซอร์แลนด์
77.7 100
สหรัฐ
74.4 95.5
ไอซ์แลนด์
78.4 100
ประเทศยากจนที่สุดสิบแปด
อายุขัยเฉลี่ยของผู้ชาย (ปี) การรู้หนังสือ (%)
กินี-บิสเซา
45.1 36.8
คองโก, สาธารณรัฐ
49 80.7
ชาด
47 53.6
เซียร์ราลีโอน
40.3 36.3
แซมเบีย
35.3 78
แทนซาเนีย
43.3 75.2
ไนจีเรีย
50.9 64.1
ไนเจอร์
42.3 15.7
บุรุนดี
42.5 48.1
บูร์กินาฟาโซ
43 23
เบนิน
50.4 37.5
มาดากัสการ์
53.8 80.2
มาลาวี
37.6 60.3
มาลี
44.7 40.3
โมซัมบิก
38.9 43.8
เยเมน
59.2 46.4
รวันดา
45.3 67
เอธิโอเปีย
47.3 38.7
[ที่มาของภาพ]
ที่มา: หนังสือประจำปีบริแทนนิกา 2005
[ที่มาของภาพหน้า 4]
© Mark Henley/Panos Pictures