สมัยแห่งความเจริญรุ่งเรือง—สำหรับใคร?
สมัยแห่งความเจริญรุ่งเรือง—สำหรับใคร?
เราอยู่ในโลกที่มีความเจริญรุ่งเรือง. คุณคิดว่าเรื่องนี้ยากที่จะเห็นพ้องด้วยไหมเมื่อคำนึงถึงความยากจนที่มีในโลก? จริง ๆ แล้ว บางประเทศรวยมากถึงขนาดที่ใช้เงินอย่างไรก็ใช้ไม่หมด. ประมาณกันว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก หรือมวลรวมของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในปี 2005 มีมูลค่าสูงกว่า 60 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๆ 2,130 ล้านล้านบาท). มูลค่ามหาศาลของผลิตภัณฑ์มวลรวมนี้ ถ้านำมาเฉลี่ยให้กับประชากรที่มีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน ก็จะได้คนละ 9,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๆ 320,000 บาท). และตัวเลขนี้ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ.
แต่ความเจริญรุ่งเรืองในโลกไม่ได้เป็นอย่างที่หลายคนคาดคิดไว้. หนังสือเล่มหนึ่งที่จัดพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ขององค์การสหประชาชาติกล่าวว่า บุคคล ที่รวยที่สุดในโลกสามคนมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศ ที่ยากจนที่สุดในโลก 48 ประเทศรวมกัน. และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า มีประชากรถึง 2.5 พันล้านคนที่กำลังพยายามดิ้นรนเพื่อจะอยู่รอดได้ด้วยเงินจำนวนน้อยมาก. ประชากรหลายร้อยล้านคนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและไม่สามารถหาน้ำดื่มที่สะอาดได้.
ในประเทศสหรัฐ นักสังคมวิทยากำลังศึกษาเกี่ยวกับคนกลุ่มหนึ่งซึ่งพวกเขาเรียกว่า “เกือบจะจน.” คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเข้าสู่ภาวะยากจนเต็มขั้น. มีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในสหรัฐที่อยู่ในสภาพนี้ทั้ง ๆ ที่ประเทศนี้มีความมั่งคั่งมหาศาล.
เพราะเหตุใดทั่วโลกจึงมีเงินจำนวนมหาศาลหลั่งไหลเข้าสู่คลังและบัญชีธนาคารต่าง ๆ แต่ทว่าผู้คนหลายร้อยล้านคนกลับยากจนแสนสาหัส? ทำไมคนจำนวนมากเหลือเกินแทบไม่มีโอกาสเลยที่จะได้รับประโยชน์จากความมั่งคั่งของโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกที?
[ภาพหน้า 3]
บุคคล ที่รวยที่สุดในโลกสามคนมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศ ที่ยากจนที่สุดในโลก 48 ประเทศรวมกัน
[ภาพหน้า 2, 3]
แรงงานเด็กในโรงงานทำอิฐแห่งนี้ได้ค่าจ้างวันละประมาณ 18 บาท
[ที่มาของภาพ]
© Fernando Moleres/ Panos Pictures
[ที่มาของภาพหน้า 3]
© Giacomo Pirozzi/Panos Pictures