ตาประกอบ
มีผู้ออกแบบไหม?
ตาประกอบ
▪ “โครงสร้างที่ถูกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างเป็นระเบียบและสมบูรณ์แบบ.” นี่คือคำพรรณนาที่ศาสตราจารย์ลุก ลี แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้พูดถึงตาประกอบของแมลงหลายชนิด.
ขอพิจารณา: ตาประกอบของแมลงบางชนิดอย่างเช่น ผึ้งและแมลงปอ ประกอบด้วยตาดวงเล็ก ๆ จำนวนมากมาย ซึ่งตาแต่ละดวงมองออกไปคนละทิศทาง. ภาพที่เกิดจากเลนส์ตาแต่ละเลนส์ เมื่อประกอบเข้าด้วยกันก็จะกลายเป็นภาพต่อมุมกว้าง ซึ่งทำให้สามารถสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวได้อย่างดีเยี่ยม.
พวกนักวิทยาศาสตร์กำลังหาวิธีที่จะเลียนแบบตาประกอบของแมลง เพื่อทำเครื่องตรวจวัดการเคลื่อนไหวความเร็วสูงและกล้องหลายทิศทางที่มีขนาดบางเป็นพิเศษ. อุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. ประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือในด้านการแพทย์ ตัวอย่างเช่น เพื่อตรวจดูภายในกระเพาะอาหาร. อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กำลังคิดจะผลิตขึ้นนี้ได้รับการพรรณนาว่าเป็น “ระบบจิ๋ว” ที่คนไข้สามารถกลืนเข้าไปในท้องได้. เมื่อเข้าไปในกระเพาะแล้ว อุปกรณ์นี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านทางตาประกอบของกล้องแล้วถ่ายทอดข้อมูลออกมาแบบไร้สาย.
นักชีววิศวกรรมคณะหนึ่งได้พัฒนาตาประกอบเทียมขึ้นมาแล้ว พร้อมด้วยเลนส์มากกว่า 8,500 เลนส์รวมกันอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด. อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ดูด้อยประสิทธิภาพไปเลยเมื่อเทียบกับตาประกอบที่พบในโลกของแมลง. ตัวอย่างเช่น ตาแต่ละข้างของแมลงปอประกอบด้วยตาเล็ก ๆ ประมาณ 30,000 ดวง!
ลองถามตัวเอง: ‘ตาประกอบอันน่าพิศวงของแมลงเกิดขึ้นโดยบังเอิญไหม? หรือมีผู้ออกแบบ?’
[ภาพหน้า 26]
ภาพขยายส่วนหนึ่งของตาประกอบของผึ้ง
[ที่มาของภาพหน้า 26]
Background: © Stephen Dalton/Photo Researchers, Inc.; close-up: © Raul Gonzalez Perez/Photo Researchers, Inc.