ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

โรคอ้วนในเด็ก—จะทำอะไรได้บ้าง?

โรคอ้วนในเด็ก—จะทำอะไรได้บ้าง?

โรค​อ้วน​ใน​เด็ก—จะ​ทำ​อะไร​ได้​บ้าง?

โรค​อ้วน​ท่ามกลาง​เด็ก ๆ กำลัง​แพร่​ระบาด​ไป​อย่าง​กว้างขวาง​ใน​หลาย​ประเทศ. องค์การ​อนามัย​โลก​กล่าว​ว่า ทั่ว​โลก​มี​เด็ก​อายุ​ต่ำ​กว่า​ห้า​ขวบ ประมาณ 22 ล้าน​คน​เป็น​เด็ก​ที่​มี​น้ำหนัก​เกิน.

การ​สำรวจ​ที่​ทำ​ใน​ประเทศ​สเปน​เผย​ให้​ทราบ​ว่า เด็ก​ทุก ๆ 1 ใน 3 คน​มี​น้ำหนัก​เกิน​หรือ​ไม่​ก็​เป็น​โรค​อ้วน. ใน​เวลา​เพียง​สิบ​ปี (ปี 1985-1995) โรค​อ้วน​ใน​เด็ก​พุ่ง​ขึ้น​ถึง​สาม​เท่า​ใน​ออสเตรเลีย. ใน​ช่วง 30 ปี​หลัง​นี้ โรค​อ้วน​ใน​เด็ก​อายุ​ระหว่าง 6-11 ปี​เพิ่ม​ขึ้น​มาก​กว่า​สาม​เท่า​ใน​สหรัฐ.

โรค​อ้วน​ใน​เด็ก​ยัง​ลุก​ลาม​เข้า​ไป​ใน​ประเทศ​กำลัง​พัฒนา​ด้วย. องค์การ​หน่วย​เฉพาะ​กิจ​นานา​ชาติ​ด้าน​ภาวะ​อ้วน​เกิน​ปกติ​กล่าว​ว่า ใน​บาง​ส่วน​ของ​แอฟริกา มี​เด็ก​จำนวน​มาก​ขึ้น​เป็น​โรค​อ้วน​มาก​กว่า​โรค​ขาด​สาร​อาหาร. ใน​ปี 2007 โรค​อ้วน​ใน​เด็ก​ที่​เม็กซิโก​กำลัง​แพร่​ระบาด​มาก​เป็น​อันดับ​สอง​ของ​โลก​รอง​จาก​สหรัฐ. กล่าว​กัน​ว่า แค่​นคร​เม็กซิโก​ซิตี​แห่ง​เดียว เด็ก​และ​เด็ก​วัยรุ่น 70 เปอร์เซ็นต์​มี​น้ำหนัก​เกิน​หรือ​ไม่​ก็​เป็น​โรค​อ้วน. ดร. ฟรันซิสโก กอนซาเลซ ศัลยแพทย์​ด้าน​กุมาร​เวช​เตือน​ว่า นี่​อาจ​เป็น “คน​ชั่ว​อายุ​แรก​ที่​เด็ก​เสีย​ชีวิต​ก่อน​พ่อ​แม่​ของ​ตน​เนื่อง​จาก​โรค​แทรก​ซ้อน​ต่าง ๆ ที่​เกิด​จาก​โรค​อ้วน.”

โรค​แทรก​ซ้อน​ที่​เกิด​จาก​โรค​อ้วน​มี​อะไร​บ้าง? โรค​แทรก​ซ้อน​สาม​โรค​คือ โรค​เบาหวาน, โรค​ความ​ดัน​โลหิต​สูง, และ​โรค​หัวใจ. ปัญหา​สุขภาพ​เหล่า​นี้​เมื่อ​ก่อน​เคย​ถือ​กัน​ว่า​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​มัก​จะ​เกิด​ขึ้น​กับ​ผู้​ใหญ่. ตาม​ที่​สถาบัน​การ​แพทย์​แห่ง​สหรัฐ​กล่าว 30 เปอร์เซ็นต์​ของ​เด็ก​ผู้​ชาย​และ 40 เปอร์เซ็นต์​ของ​เด็ก​ผู้​หญิง​ที่​เกิด​ใน​สหรัฐ​ปี 2000 มี​ความ​เสี่ยง​ตลอด​ช่วง​ชีวิต​ของ​พวก​เขา​ที่​จะ​ได้​รับ​การ​วินิจฉัย​ว่า​เป็น​โรค​เบาหวาน​ชนิด​ที่ 2 อัน​เกิด​จาก​โรค​อ้วน.

การ​สำรวจ​หลาย​ครั้ง​แสดง​ให้​เห็น​แนว​โน้ม​ที่​น่า​เป็น​ห่วง​ท่ามกลาง​เด็ก ๆ. โรค​อ้วน​ที่​มี​อัตรา​สูง​ขึ้น​เรื่อย ๆ นั้น​ทำ​ให้​โรค​ความ​ดัน​โลหิต​สูง​มี​อัตรา​สูง​ขึ้น​ด้วย. แพทย์​หญิง​รีเบกกา ดีน-ดซีตเฮม แห่ง​วิทยาลัย​แพทย์​มอร์เฮาส์ เมือง​แอตแลนตา รัฐ​จอร์เจีย เตือน​ว่า “ถ้า​แนว​โน้ม​ของ​โรค​ความ​ดัน​โลหิต​สูง​ไม่​ลด​ลง เรา​ก็​อาจ​จะ​ต้อง​พบ​ผู้​ที่​เพิ่ง​เข้า​สู่​วัย​ผู้​ใหญ่​และ​คน​ที่​เป็น​ผู้​ใหญ่​แล้ว​ซึ่ง​เป็น​โรค​หลอด​เลือด​หัวใจ​เป็น​จำนวน​มาก.”

ปัจจัย​ที่​มี​ส่วน​ทำ​ให้​เป็น​โรค​อ้วน

อะไร​เป็น​สาเหตุ​ที่​ทำ​ให้​โรค​อ้วน​ใน​เด็ก​แพร่​ระบาด​ไป​ทั่ว​โลก? ขณะ​ที่​พันธุกรรม​อาจ​เป็น​ปัจจัย​อย่าง​หนึ่ง​ที่​ทำ​ให้​มี​แนว​โน้ม​เป็น​โรค​อ้วน​ได้ แต่​การ​เพิ่ม​ขึ้น​อย่าง​น่า​ตกใจ​ของ​โรค​อ้วน​เมื่อ​ไม่​กี่​สิบ​ปี​มา​นี้​ดู​เหมือน​จะ​บ่ง​ชี้​ว่า​สาเหตุ​ของ​โรค​นี้​ไม่​ได้​เกิด​จาก​ยีน​เพียง​อย่าง​เดียว​เท่า​นั้น. สตีเฟน โอราฮิลลี ศาสตราจารย์​ประจำ​ภาค​วิชา​ชีวเคมี​คลินิก​และ​อายุรศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัย​เคมบริดจ์​ใน​อังกฤษ แถลง​ว่า “ไม่​มี​อะไร​ใน​พันธุกรรม​ที่​อธิบาย​เรื่อง​การ​เพิ่ม​ขึ้น​ของ​โรค​อ้วน. ภาย​ใน​เวลา​เพียง​แค่ 30 ปี เรา​เปลี่ยน​ยีน​ของ​เรา​ไม่​ได้​หรอก.”

เมื่อ​ให้​ความ​เห็น​เกี่ยว​กับ​สาเหตุ​ต่าง ๆ ของ​โรค​อ้วน คลินิก​มาโย​ใน​สหรัฐ กล่าว​ว่า “แม้​ว่า​พันธุกรรม​และ​ฮอร์โมน​บาง​ชนิด​เป็น​สาเหตุ​ของ​โรค​อ้วน​ใน​เด็ก แต่​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​การ​ที่​เด็ก​มี​น้ำหนัก​มาก​เกิน​ไป​นั้น​เกิด​จาก​การ​กิน​มาก​เกิน​ไป​และ​ออก​กำลัง​กาย​น้อย​เกิน​ไป.” สอง​ตัว​อย่าง​ต่อ​ไป​นี้​แสดง​ให้​เห็น​แนว​โน้ม​ที่​กำลัง​เปลี่ยน​ไป​ใน​เรื่อง​นิสัย​การ​กิน​ใน​ปัจจุบัน.

ตัว​อย่าง​แรก เนื่อง​จาก​พ่อ​แม่​ที่​ทำ​งาน​อาชีพ​มี​เวลา​และ​เรี่ยว​แรง​น้อย​ลง​ที่​จะ​ทำ​อาหาร​ให้​ลูก​กิน อาหาร​จาน​ด่วน​จึง​กลาย​เป็น​เรื่อง​ธรรมดา​มาก​ขึ้น​เรื่อย ๆ. ร้าน​อาหาร​แบบ​ฟาสต์ฟูด​จึง​ผุด​ขึ้น​ทั่ว​โลก. การ​ศึกษา​วิจัย​ราย​หนึ่ง​รายงาน​ว่า เกือบ​หนึ่ง​ใน​สาม​ของ​เด็ก​ทั้ง​หมด​ใน​สหรัฐ​ที่​มี​อายุ​ตั้ง​แต่ 4 ขวบ​ถึง 19 ปี กิน​อาหาร​จาน​ด่วน​ทุก​วัน. อาหาร​เช่น​ว่า​นั้น​มัก​จะ​มี​น้ำตาล​และ​ไขมัน​สูง และ​อาหาร​ที่​ยั่วยวน​ใจ​เหล่า​นี้​ก็​มัก​จะ​มี​ปริมาณ​มาก.

ตัว​อย่าง​ที่​สอง น้ำ​อัด​ลม​กลาย​เป็น​เครื่อง​ดื่ม​ที่​นิยม​กัน​มาก​ที่​สุด​แทน​นม​และ​น้ำ. ตัว​อย่าง​เช่น ใน​แต่​ละ​ปี ชาว​เม็กซิโก​ใช้​เงิน​ซื้อ​น้ำ​อัด​ลม โดย​เฉพาะ​โคล่า มาก​กว่า​ใช้​เงิน​ซื้อ​อาหาร​หลัก​สิบ​ชนิด​รวม​กัน. ตาม​ที่​กล่าว​ใน​หนังสือ​เอา​ชนะ​โรค​อ้วน​ใน​เด็ก (ภาษา​อังกฤษ) แค่​ดื่ม​น้ำ​อัด​ลม​วัน​ละ 600 มิลลิ​ลิตร ก็​อาจ​ทำ​ให้​น้ำหนัก​เพิ่ม​ขึ้น​กว่า 11 กิโลกรัม​ใน​หนึ่ง​ปี!

เนื่อง​จาก​ขาด​กิจกรรม​ที่​ต้อง​ออก​แรง การ​ศึกษา​วิจัย​ราย​หนึ่ง​ที่​ดำเนิน​การ​โดย​มหาวิทยาลัย​กลาสโกว์​แห่ง​สกอตแลนด์​พบ​ว่า โดย​เฉลี่ย​แล้ว​เด็ก​อายุ​สาม​ขวบ​ทำ “กิจกรรม​ประเภท​ออก​แรง​ปานกลาง​จน​ถึง​ออก​แรง​อย่าง​หนัก” แค่​วัน​ละ 20 นาที. เมื่อ​ให้​ความ​เห็น​เกี่ยว​กับ​การ​ศึกษา​วิจัย​ดัง​กล่าว ดร. เจมส์ ฮิลล์ ศาสตราจารย์​ด้าน​กุมารเวชศาสตร์​และ​อายุรศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัย​โคโลราโด กล่าว​ว่า “นิสัย​นั่ง ๆ นอน ๆ ของ​เด็ก​ที่​กำลัง​เพิ่ม​ขึ้น​เรื่อย ๆ นั้น ไม่​ได้​เกิด​ขึ้น​เฉพาะ​ที่​สหราชอาณาจักร​เท่า​นั้น แต่​ปรากฏ​ให้​เห็น​ใน​ประเทศ​ส่วน​ใหญ่​ทั่ว​โลก.”

อะไร​คือ​ทาง​แก้?

นัก​โภชนาการ​ไม่​ได้​แนะ​นำ​ให้​จำกัด​การ​กิน​อาหาร​ของ​เด็ก ๆ อย่าง​เข้มงวด เนื่อง​จาก​วิธี​นี้​อาจ​ทำ​ให้​การ​เจริญ​เติบโต​ของ​เด็ก​ชะงัก​งัน​ไป​และ​สุขภาพ​ก็​จะ​ไม่​แข็งแรง. แทน​ที่​จะ​ทำ​เช่น​นั้น คลินิก​มาโย​กล่าว​ว่า “วิธี​ที่​ดี​ที่​สุด​อย่าง​หนึ่ง​ใน​การ​ต่อ​สู้​กับ​น้ำหนัก​ที่​มาก​เกิน​ไป​ของ​ลูก ๆ ก็​คือ การ​ปรับ​ปรุง​เรื่อง​อาหาร​การ​กิน​และ​ให้​ทุก​คน​ใน​ครอบครัว​ออก​กำลัง​กาย​ให้​มาก​ขึ้น.”—โปรด​ดู​กรอบ​ใน​บทความ​นี้.

จง​ทำ​ข้อ​ตก​ลง​กัน​ใน​ครอบครัว​เพื่อ​จะ​รับประทาน​อาหาร​ที่​มี​ประโยชน์​ต่อ​สุขภาพ​และ​ออก​กำลัง​กาย​ด้วย​กัน. ถ้า​คุณ​ทำ​เช่น​นั้น ข้อ​ตก​ลง​ดัง​กล่าว​จะ​กลาย​เป็น​วิถี​ชีวิต​ของ​ลูก ๆ ซึ่ง​จะ​เป็น​นิสัย​ติด​ตัว​ไป​จน​กระทั่ง​พวก​เขา​โต​เป็น​ผู้​ใหญ่.

[กรอบ/รูปภาพ​หน้า 28]

มี​อะไร​บ้าง​ที่​พ่อ​แม่​อาจ​ทำ​ได้?

1 ซื้อ​และ​ให้​ลูก​กิน​ผัก​และ​ผลไม้​มาก​ขึ้น แทน​ที่​จะ​ซื้อ​อาหาร​สำเร็จ​รูป.

2 จำกัด​ปริมาณ​น้ำ​อัด​ลม, เครื่อง​ดื่ม​หวาน ๆ, และ​ขนม​หรือ​ของ​ว่าง​ที่​มี​น้ำตาล​และ​ไขมัน​สูง. ให้​ลูก​ดื่ม​น้ำ​หรือ​นม​พร่อง​มัน​เนย และ​ขนม​ที่​มี​ประโยชน์​ต่อ​สุขภาพ​แทน.

3 ใช้​วิธี​ปรุง​อาหาร​แบบ​ที่​มี​ไขมัน​ต่ำ อย่าง​เช่น อบ, ปิ้ง​หรือ​ย่าง, และ​นึ่ง แทน​ที่​จะ​ทอด.

4 ลด​ปริมาณ​อาหาร​ของ​แต่​ละ​คน​ให้​น้อย​ลง.

5 อย่า​ใช้​อาหาร​เป็น​รางวัล​หรือ​ค่า​จ้าง.

6 อย่า​ให้​ลูก​อด​อาหาร​เช้า. การ​อด​อาหาร​เช้า​อาจ​ทำ​ให้​ลูก​กิน​อย่าง​ไม่​บันยะบันยัง​ใน​มื้อ​ต่อ​ไป.

7 นั่ง​กิน​อาหาร​ที่​โต๊ะ. การ​นั่ง​กิน​อาหาร​หน้า​จอ​ทีวี​หรือ​หน้า​จอ​คอมพิวเตอร์​จะ​ทำ​ให้​ไม่​รู้​ว่า​ตัว​เอง​บริโภค​ไป​มาก​เพียง​ไร และ​ทำ​ให้​รู้สึก​ว่า​ยัง​ไม่​ค่อย​อิ่ม.

8 สนับสนุน​ให้​ทำ​กิจกรรม​ที่​ต้อง​ออก​แรง อย่าง​เช่น ขี่​จักรยาน, เล่น​ฟุตบอล, และ​กระโดด​เชือก.

9 จำกัด​เวลา​ที่​ใช้​ใน​การ​ดู​ทีวี, ใช้​คอมพิวเตอร์, และ​การ​เล่น​วิดีโอ​เก​ม.

10 วาง​แผน​สำหรับ​การ​ไป​เที่ยว​ด้วย​กัน​เป็น​ครอบครัว เช่น ไป​เที่ยว​สวน​สัตว์, ไป​ว่าย​น้ำ, หรือ​ไป​เล่น​ใน​สวน​สาธารณะ.

11 มอบหมาย​ให้​ลูก​ทำ​งาน​บ้าน​ที่​ต้อง​ออก​แรง.

12 วาง​ตัว​อย่าง​ที่​ดี​ใน​เรื่อง​การ​กิน​อาหาร​ที่​มี​ประโยชน์​ต่อ​สุขภาพ​และ​การ​ออก​กำลัง​กาย.

[ที่​มา​ของ​ภาพ]

แหล่ง​ที่​มา: สถาบัน​สุขภาพ​แห่ง​ชาติ (สหรัฐ) และ​คลินิก​มาโย