ฉันจะทำให้การอ่านคัมภีร์ไบเบิลน่าเพลิดเพลินได้อย่างไร?
หนุ่มสาวถามว่า
ฉันจะทำให้การอ่านคัมภีร์ไบเบิลน่าเพลิดเพลินได้อย่างไร?
คุณอ่านคัมภีร์ไบเบิลบ่อยแค่ไหน? (ตอบเพียงข้อเดียว)
□ ทุกวัน
□ ทุกสัปดาห์
□ อื่น ๆ
จงเติมประโยคต่อไปนี้ให้ครบถ้วน.
เมื่อฉันไม่รู้สึกเพลิดเพลินในการอ่านคัมภีร์ไบเบิล ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะฉัน . . . (กาเครื่องหมายทุกข้อที่ตรงกับคุณ)
□ รู้สึกเบื่อ
□ ไม่เข้าใจ
□ ไม่มีสมาธิ
□ อื่น ๆ
คุณรู้สึกไม่อยากอ่านพระคัมภีร์ไหม? ถ้าเช่นนั้น คุณอาจเห็นพ้องกับวิลล์ อายุ 18 ปี ซึ่งบอกว่า “คัมภีร์ไบเบิลอาจ ดูเหมือนน่าเบื่อ.” อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า “นั่นจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อคุณไม่รู้วิธีอ่านพระคัมภีร์.”
เหตุใดจึงควรเรียนรู้วิธี ที่จะอ่านคัมภีร์ไบเบิล? คุณอยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ
▪ วิธีทำการตัดสินใจอย่างถูกต้องไหม?
▪ วิธีมีเพื่อนแท้ไหม?
▪ วิธีจัดการกับความเครียดไหม?
คัมภีร์ไบเบิลมีคำแนะนำที่ดีมากในหัวข้อเหล่านี้และหัวข้ออื่น ๆ อีกมาก. จริงอยู่ การค้นหาข้อมูลเหล่านี้อาจต้องใช้ความพยายาม. แต่ความพยายามดังกล่าวเป็นเหมือนกับการค้นหาขุมทรัพย์ กล่าวคือ ยิ่งการค้นหาน่าท้าทายมากเท่าไร การค้นพบก็ยิ่งน่าตื่นเต้นมากเท่านั้น!—สุภาษิต 2:1-6
คุณจะขุดค้นหาขุมทรัพย์ในคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร? กรอบที่ออกแบบให้คุณตัดทางด้านขวาจะให้แนวคิดแก่คุณว่าจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างไรและด้านหลังของกรอบจะบอกว่าอาจอ่านคัมภีร์ไบเบิลตามลำดับใดได้บ้าง. นอกจากนั้น ให้ลองทำตามข้อเสนอแนะในหน้าถัดไปที่คุณ คิดว่าน่าสนใจ.
ถ้าต้องการอ่านบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” เพิ่มเติม ให้ดาวน์โหลดตื่นเถิด! ฉบับอื่น ๆ จากเว็บไซต์ www.pr418.com
ถ้าคุณเข้าอินเทอร์เน็ตได้ คุณ ก็สามารถอ่านคัมภีร์ไบเบิล ในภาษาต่าง ๆ แบบออนไลน์ได้ที่ www.watchtower.org
ข้อชวนคิด
พูดกันว่ายิ่งคุณพยายามมากเท่าไร คุณก็ได้ประโยชน์มากเท่านั้น.
▪ เรื่องนี้เป็นจริงอย่างไรเมื่อมาถึงการอ่านคัมภีร์ไบเบิล?
▪ คุณจัดเวลาสำหรับการอ่านพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวอย่างไร?
[กรอบ/ภาพหน้า 23]
วิธีอ่านคัมภีร์ไบเบิล
ก่อนที่คุณจะอ่าน . . .
▪ ทำให้แน่ใจว่าสภาพที่อยู่รอบ ๆ คุณเงียบสงบเพื่อคุณจะจดจ่อกับการอ่านได้.
▪ อธิษฐานขอความเข้าใจ.
ขณะที่คุณอ่าน . . .
▪ ใช้แผนที่และรูปภาพเกี่ยวกับเรื่องราวในพระคัมภีร์เพื่อช่วยให้คุณนึกภาพเหตุการณ์ได้.
▪ พิจารณาฉากเหตุการณ์และวิเคราะห์รายละเอียด.
▪ ค้นเชิงอรรถและข้ออ้างโยงต่าง ๆ.
▪ ถามกับตัวคุณเองด้วยคำถามเช่น:
ข้อเท็จจริง: เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อไร? ใครเป็นคนกล่าวข้อความเหล่านี้? ข้อความนี้มีไปยังผู้ใด?
ความหมาย: ฉันจะอธิบายเรื่องนี้กับคนอื่น ๆ อย่างไร?
คุณค่า: เหตุใดพระยะโฮวาพระเจ้าจึงจัดให้มีเรื่องนี้ไว้ในพระคำของพระองค์? เรื่องนี้เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์หรือวิธีที่พระองค์ทำสิ่งต่าง ๆ? บทเรียนอะไรที่ฉันสามารถนำไปใช้กับชีวิตได้?
หลังจากที่คุณอ่าน . . .
▪ ค้นคว้ามากขึ้น. ใช้เครื่องมือที่จัดทำโดยพยานพระยะโฮวา เช่น หนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) และ “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์.”
▪ อธิษฐานอีกครั้ง. ทูลต่อพระยะโฮวาถึงสิ่งที่คุณได้เรียนและวิธีที่คุณวางแผนจะนำไปใช้. ขอบพระคุณสำหรับการที่คุณมีคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระองค์.
[กรอบ/ภาพหน้า 24]
คุณจะอ่านหนังสือต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลตามลำดับเช่นไร?
ทางเลือก . . .
□ อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ.
□ อ่านเรื่องราวตามลำดับเวลาที่หนังสือต่าง ๆ ได้รับการเขียนหรือตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น.
□ ในแต่ละวัน อ่านส่วนต่าง ๆ ของพระคัมภีร์.
วันจันทร์: ประวัติศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น (เยเนซิศ ถึงเอศเธระ)
วันอังคาร: ชีวิตและการสอนของพระเยซู (มัดธาย ถึงโยฮัน)
วันพุธ: ประชาคมคริสเตียนยุคแรก (กิจการ)
วันพฤหัสบดี: คำพยากรณ์และการชี้นำทางศีลธรรม (ยะซายา ถึงมาลาคี, วิวรณ์)
วันศุกร์: บทกวีและเพลงที่น่าประทับใจ (โยบ, บทเพลงสรรเสริญ, เพลงไพเราะของกษัตริย์ซะโลโม)
วันเสาร์: สติปัญญาแห่งการดำเนินชีวิต (สุภาษิต, ท่านผู้ประกาศ)
วันอาทิตย์: จดหมายถึงประชาคมต่าง ๆ (โรม ถึงยูดา)
ไม่ว่าคุณจะเลือกอ่านตามลำดับแบบใด จงทำให้แน่ใจที่จะจดบันทึกสิ่งที่คุณอ่าน! ให้กาเครื่องหมาย ✔ ที่แต่ละบท หลังจากคุณอ่านเสร็จ หรือทำบันทึกบทต่าง ๆ ที่คุณได้อ่านในวิธีอื่น ๆ.
ตัดกรอบนี้และเก็บไว้ในคัมภีร์ไบเบิลของคุณ!
[กรอบ/แผนภาพหน้า 24]
ทำให้พระคัมภีร์มีชีวิต!
หาวิธีที่จะทำให้สิ่งที่คุณอ่านน่าสนใจ. ยกตัวอย่าง:
□ ทำแผนภูมิลำดับวงศ์วานจากรายชื่อ.
□ ทำแผนภาพแสดงความเกี่ยวโยง. ยกตัวอย่าง ขณะที่คุณอ่านเกี่ยวกับบุคคลที่แสดงความซื่อสัตย์ ให้เชื่อมคุณสมบัติและการกระทำของบุคคลนั้นกับพระพรที่เขาหรือเธอได้รับ.—สุภาษิต 28:20
[แผนภาพ]
มิตรของพระเจ้า
↑ ความเชื่อฟัง
↑ ความซื่อสัตย์
↑ ↑
อับราฮาม
□ วาดภาพแสดงเหตุการณ์.
□ วาดภาพถ่ายทอดเรื่องราวเป็นชุดง่าย ๆ เพื่อแสดงลำดับเหตุการณ์. ให้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละฉาก.
□ จัดทำแบบจำลอง เช่น นาวาของโนฮา.—ยกตัวอย่าง ดูตื่นเถิด! ฉบับเดือนมกราคม 2007 หน้า 22
□ อ่านออกเสียงกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว. ข้อเสนอแนะ: มอบหมายคนหนึ่งอ่านข้อความบรรยาย. คนอื่น ๆ สามารถอ่านคำพูดของแต่ละบุคคลที่อยู่ในบท.
□ เลือกสักเรื่องหนึ่งและดัดแปลงให้เรื่องออกมาในลักษณะรายงานข่าว. รายงานเหตุการณ์จากแง่มุมต่าง ๆ โดยมี “การสัมภาษณ์” ตัวละครหลัก ๆ และพยานที่อยู่ในเหตุการณ์.
□ เลือกสักเรื่องหนึ่งที่ตัวบุคคลในเรื่องตัดสินใจอย่างผิดพลาดและจินตนาการตอนจบที่แตกต่างออกไป! ยกตัวอย่าง ให้พิจารณาการปฏิเสธพระเยซูของเปโตร. (มาระโก 14:66-72) เปโตรอาจทำได้ดีกว่าอย่างไรระหว่างที่พบกับความกดดันนี้?
□ ชมหรือฟังบันทึกละครเกี่ยวกับพระคัมภีร์.
□ เขียนบทละครด้วยตัวเอง. รวมเอาบทเรียนที่ได้จากเรื่องราวนั้นในพระคัมภีร์.—โรม 15:4
แนวคิด: แสดงละครนี้กับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ.
[กรอบ/ภาพหน้า 25]
เพื่อจะมีแรงกระตุ้น
▪ ตั้งเป้าหมาย! เขียนวันที่ที่คุณต้องการจะเริ่มโครงการอ่านคัมภีร์ไบเบิล.
․․․․․
▪ เลือกส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลที่คุณสนใจ. (ดูกรอบ “คุณจะอ่านหนังสือต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลตามลำดับเช่นไร?”) แล้วเขียนลงข้างล่างนี้ว่าคุณจะอ่านพระคัมภีร์ส่วนใดก่อน.
․․․․․
▪ เริ่มโดยใช้เวลาช่วงสั้น ๆ. แม้จะอ่านคัมภีร์ไบเบิลเพียงแค่ 15 นาทีก็ดีกว่าไม่อ่านเลย. เขียนลงข้างล่างนี้ว่าคุณจะจัดเวลาอ่านได้มากแค่ไหน.
․․․․․
ข้อเสนอแนะ: ให้ใช้พระคัมภีร์เล่มหนึ่งสำหรับศึกษาโดยเฉพาะ. เขียนบันทึกในนั้น. ทำเครื่องหมายตรงข้อคัมภีร์ที่มีความหมายต่อคุณเป็นพิเศษ.
[กรอบ/ภาพหน้า 25]
สิ่งที่คนรุ่นเดียวกับคุณพูด
“ดิฉันพยายามอ่านคัมภีร์ไบเบิลสั้น ๆ ก่อนนอนทุกคืน. วิธีนี้ช่วยให้ดิฉันได้คิดถึงสิ่งที่ดี ๆ ก่อนที่จะหลับ.”—เมแกน
“ผมให้ความสำคัญกับข้อคัมภีร์หนึ่ง ๆ ประมาณ 15 นาที. ผมจะอ่านทุก ๆ เชิงอรรถ, ค้นดูทุก ๆ ข้ออ้างโยง, และค้นคว้าเพิ่มเติม. บางครั้งผมไม่อาจจบข้อคัมภีร์ได้ในคราวเดียว แต่ผมได้รับประโยชน์มากจากการอ่านโดยวิธีนี้!”—โครีย์
“ครั้งหนึ่ง ผมอ่านคัมภีร์ไบเบิลภายในเวลา 10 เดือน. ด้วยความเร็วระดับนั้นทำให้ผมเห็นความเกี่ยวโยงระหว่างส่วนต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ที่ผมไม่เคยสังเกตมาก่อน.”—จอห์น
[กรอบหน้า 25]
คุณจะต้องเลือก!
□ เลือกเหตุการณ์. คัมภีร์ไบเบิลมีเรื่องราวชีวิตจริงหลายเรื่องที่น่าตื่นเต้น. จงเลือกสักเรื่องหนึ่งที่คุณสนใจและอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ.
□ เลือกกิตติคุณสักหนึ่งเล่ม. อ่านมัดธาย (กิตติคุณเล่มแรกที่เขียน), มาระโก (เด่นในด้านการเดินเรื่องที่รวดเร็วและมีเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นหลายตอน), ลูกา (ซึ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการอธิษฐานและสตรี), หรือโยฮัน (ที่ครอบคลุมเนื้อหาหลายตอนที่กิตติคุณเล่มอื่น ๆ ไม่มี).
ข้อเสนอแนะ: ก่อนที่จะอ่าน ให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพระธรรมนั้น ๆ และผู้เขียนอย่างสั้น ๆ เพื่อคุณจะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าอะไรทำให้กิตติคุณนั้นโดดเด่น.
□ เลือกบทเพลงสรรเสริญสักหนึ่งบท. ยกตัวอย่าง:
ถ้าคุณรู้สึกเหงาและขาดเพื่อน ให้อ่านเพลงสรรเสริญบท 142.
ถ้าคุณท้อแท้เพราะความอ่อนแอ ให้อ่านเพลงสรรเสริญบท 51.
ถ้าคุณสงสัยในคุณค่าแห่งมาตรฐานของพระเจ้า ให้อ่านเพลงสรรเสริญบท 73.
ข้อเสนอแนะ: คุณน่าจะจดว่าบทเพลงสรรเสริญบทใดบ้างที่ได้อ่านซึ่งให้กำลังใจคุณ เป็นพิเศษ.
[กรอบหน้า 26]
เจาะลึกลงไปอีก
▪ พิจารณาฉากเหตุการณ์. ตรวจสอบเวลา, สถานที่, และสภาพการณ์แวดล้อมของข้อความ.
ตัวอย่าง: อ่าน ยะเอศเคล 14:14. ดานิเอลคงมีอายุสักเท่าไรเมื่อพระยะโฮวาตรัสถึงท่านในฐานะแบบอย่างที่ดีพร้อม ๆ กับโนฮาและโยบ?
แนวทางค้นหา: ยะเอศเคลบทที่ 14 ได้รับการบันทึกเพียงห้าปีหลังจากที่ดานิเอลถูกต้อนไปยังบาบิโลน ซึ่งตอนนั้นท่านอยู่ในช่วงวัยรุ่น.
ข้อมูลที่มีค่าจากการค้นคว้า: ดานิเอลอายุน้อยเกินไปสำหรับพระยะโฮวาที่จะสังเกตเห็นความซื่อสัตย์ของท่านไหม? การตัดสินใจที่ดีอะไรซึ่งทำให้ท่านได้รับพระพร? (ดานิเอล 1:8-17) แบบอย่างของดานิเอลช่วยคุณ ได้อย่างไรให้ทำการตัดสินใจที่ดี?
▪ วิเคราะห์รายละเอียด. บางครั้งคำเพียงหนึ่งหรือสองคำก็มีความสำคัญ.
ตัวอย่าง: เปรียบเทียบมัดธาย 28:7 กับมาระโก 16:7. เหตุใดมาระโกจึงมีรายละเอียดที่ว่าอีกไม่ช้าพระเยซูจะปรากฏแก่เหล่าสาวกและ “กับเปโตร”?
แนวทางค้นหา: มาระโกไม่ได้เป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้ ปรากฏชัดว่า ท่านได้ข้อมูลนี้จากเปโตร.
ข้อมูลที่มีค่าจากการค้นคว้า: ทำไมเปโตรจึงต้องรู้สึกดีใจที่รู้ว่าพระเยซูต้องการพบท่านอีก? (มาระโก 14:66-72) พระเยซูพิสูจน์ว่าพระองค์เป็นเพื่อนแท้ของเปโตรอย่างไร? คุณจะเลียนแบบพระเยซูและเป็นเพื่อนแท้แก่คนอื่น ๆ ได้อย่างไร?
▪ ทำการค้นคว้าเพิ่มเติม. ค้นหาคำอธิบายจากสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล.
ตัวอย่าง: อ่านมัดธาย 2:7-15. พวกโหรมาเยี่ยมพระเยซูเมื่อไร?
แนวทางค้นหา: ดูวารสาร หอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 มกราคม 2008 หน้า 31 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
ข้อมูลที่มีค่าจากการค้นคว้า: ดูเหมือนว่าพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมด้านวัตถุสำหรับครอบครัวของพระเยซูอย่างไรขณะที่พวกเขาอยู่ในอียิปต์? ความไว้วางใจในพระเจ้าจะช่วยคุณจัดการกับสถานการณ์ที่กดดันได้อย่างไร?—มัดธาย 6:33, 34