‘ฉันจะไม่ไหวแล้ว!’
‘ฉันจะไม่ไหวแล้ว!’
นักยกน้ำหนักในกีฬาโอลิมปิกไม่ได้พยายามสร้างสถิติใหม่ทุกวัน. พวกเขาออกกำลังกายเป็นประจำโดยใช้อุปกรณ์ยกน้ำหนักขนาดเล็กกว่า และโดยวิธีนี้จึงทำให้มีกำลังที่จะยกอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ได้. ถ้าพวกเขาพยายามฝืนตัวเองให้ออกแรงจนสุดขีดอยู่เรื่อย ๆ พวกเขาก็จะทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ รับน้ำหนักมากจนเป็นอันตราย และอาจถึงกับต้องเลิกเป็นนักยกน้ำหนักไปเลย.
คล้ายกับตัวอย่างนี้ ในฐานะที่เป็นนักเรียน คุณอาจจะเรียนหนักมากที่โรงเรียน. และเมื่อครูให้งานที่ยาก ๆ หรือเมื่อกำลังเตรียมสอบ คุณก็เต็มใจและสามารถทุ่มเทความพยายามมากขึ้นด้วยซ้ำ. * แต่จะว่าอย่างไรถ้าทุก ๆ วันมีแต่การบ้านแถมคุณยังมีงานมอบหมายอื่น ๆ อีกเต็มไปหมด? คุณอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะกินอาหารหรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ. ในที่สุด ความเคร่งเครียดในระดับสูงที่มีอยู่ตลอดเวลาก็อาจทำให้คุณล้มป่วยได้. บางทีคุณก็อาจจะรู้สึกเช่นนั้นด้วยในตอนนี้. *
การบ้านที่ไม่รู้จักหมด
ฮิโรโกะ * นักเรียนวัย 15 ปีคนหนึ่งในญี่ปุ่น บอกว่า “เมื่อหนูเรียนชั้นสูงขึ้น การบ้านก็เยอะขึ้น แล้วก็ยากขึ้น. กว่าจะทำการบ้านเสร็จก็ต้องใช้เวลานาน. หนูยังมีเรื่องอื่นที่อยากทำอีกหลายเรื่อง แต่การบ้านก็ต้องส่งครูพรุ่งนี้. บางครั้งหนูรู้สึกลนลานจนทำอะไรไม่ถูก.” สเวตลานาวัย 14 ปี ในรัสเซีย เขียนเกี่ยวกับการบ้านที่ครูให้เธอว่า “เดี๋ยวนี้การทำการบ้านให้เสร็จเป็นเรื่องที่ยากขึ้น. วิชาต่าง ๆ ที่ต้องศึกษามีมากขึ้นทุกปี และสิ่งที่ครูให้ศึกษาค้นคว้าก็มีอีกตั้งเยอะ. นอกจากนี้ ครูแต่ละคนยังถือว่าวิชาที่ตนสอนสำคัญกว่าวิชาอื่น ๆ ทั้งหมด. นับว่ายากที่จะหาจุดสมดุลแล้วก็ทำการบ้านทุกอย่างให้เสร็จ.”
ทำไมครูจึงให้นักเรียนทำการบ้านมากเหลือเกิน? กิลเบอร์โตวัย 18 ปีในบราซิลเขียนว่า “ครูบอกว่าครูต้องการเตรียมพวกเราให้พร้อมสำหรับตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันกันสูงมาก.” แม้จะเป็นอย่างนั้น แต่คุณก็อาจรู้สึกรับไม่ไหวอีกแล้วเพราะการบ้านมากมายก่ายกองที่ครูให้มา. บางทีคุณอาจลดความเครียดลงได้ทั้งโดยการปรับทัศนะที่มีต่อการบ้านและโดยทำตามขั้นตอนที่ใช้ได้ผลเพื่อจัดระเบียบให้ดีขึ้น.
ขอให้มองว่าการบ้านที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อคุณจะประสบความสำเร็จได้เมื่อคุณโตเป็นผู้ใหญ่. แม้ว่าเวลาที่คุณใช้ทำการบ้านอาจดูเหมือนไม่รู้จักจบสิ้น แต่ช่วงแห่งการเป็นนักเรียนจะสิ้นสุดลงเร็วกว่าที่คุณคิด. เมื่อคุณเริ่มทำงานหาเลี้ยงชีพ คุณจะดีใจที่ทำการบ้านท่านผู้ประกาศ 2:24, ล.ม.
ยาก ๆ เหล่านั้นได้สำเร็จ. คุณจะ “ประสบผลดีอันเนื่องด้วยงานหนัก” ที่คุณทุ่มเทให้กับการเรียนของคุณ.—คุณอาจบรรเทาความเครียดลงได้มากโดยการใช้วินัยกับตัวเอง และการจัดระเบียบ. (โปรดดูกรอบ “ วิธีที่ใช้ได้ผลเพื่อลดความเครียด”) เมื่อคุณทำการบ้านเสร็จภายในเวลาที่ครูกำหนดให้เสมอ และทำอย่างเรียบร้อย ครูอาจรู้สึกไว้วางใจและต้องการจะช่วยคุณ. ลองนึกภาพว่าคุณมีความสัมพันธ์เช่นนั้นกับครูคนหนึ่ง. ถ้ามีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น และคุณบอกครูล่วงหน้าว่าคุณไม่สามารถทำการบ้านเสร็จทันเวลา ครูคงจะยอมผ่อนปรนให้คุณบ้างไม่ใช่หรือ? ผู้รับใช้ของพระเจ้าคนหนึ่งที่ชื่อดานิเอล “เป็นคนซื่อสัตย์จะหาความพลั้งพลาดหรือความผิดในท่านมิได้เลย.” การทำงานอย่างขยันขันแข็งของดานิเอลทำให้ท่านได้รับการยกย่อง และเป็นที่ไว้วางใจของกษัตริย์. (ดานิเอล 6:4, ฉบับ R73) ถ้าคุณเลียนแบบดานิเอลเมื่อคุณทำการบ้าน คุณอาจได้รับการคำนึงถึงเป็นพิเศษเมื่อถึงคราวจำเป็น.
การตั้งใจฟังในชั้นเรียน, การทำการบ้าน, และการทำงานโครงการต่าง ๆ ให้เสร็จทันเวลาจะบรรเทาความเครียดทั้งหมดในโรงเรียนได้ไหม? ไม่ แต่ความเครียดบางอย่างที่ยังมีอยู่นั้นอาจเกิดจากความปรารถนาของตัวคุณเองที่อยากทำทุกอย่างให้ดี. แทนที่จะทำการบ้านแบบลวก ๆ ให้เสร็จ ๆ ไป คุณอาจต้องการจริง ๆ ที่จะเรียนรู้และรับประโยชน์จากชั้นเรียนของคุณ.
ความเครียดแบบนี้เป็นประโยชน์และคุณก็ควรมี. อย่างไรก็ตาม คุณอาจเผชิญกับความเครียดที่ก่อความเสียหายและความเครียดที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น.
กิจกรรมนอกหลักสูตรที่ทำให้ยุ่งเกินไป
ลองนึกภาพคนหนึ่งที่ชอบขับรถแบบเร็ว ๆ แรง ๆ. เขาขับเข้าไปใกล้ป้ายหยุดด้วยความเร็วสูงแล้วก็เบรกรถเสียงดัง
เอี๊ยด. แล้วเขาก็เหยียบคันเร่งและออกรถอย่างรวดเร็วด้วยล้อที่หมุนติ้ว. คนที่ขับรถแบบนี้จะทำให้รถของเขามีสภาพเช่นไรในที่สุด? เขาคงจะทำให้เครื่องยนต์และส่วนอื่น ๆ ของรถเสียหาย. แต่ก่อนที่จะถึงจุดนั้น เขาอาจทำให้รถพังยับเยินเพราะอุบัติเหตุร้ายแรง.ในทำนองคล้ายกัน นักเรียนหลายคนทุ่มเทแรงกายแรงใจโดยไม่หยุดหย่อน ทั้งก่อนที่จะไปโรงเรียนและหลังจากเลิกเรียน. ในหนังสือการเรียนในโรงเรียน (ภาษาอังกฤษ) เดนิส คลาร์ก โปป เขียนเกี่ยวกับนักเรียนหลายคนที่เธอพบดังต่อไปนี้: “วันของนักเรียนเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ หนึ่งหรือสองชั่วโมงเต็มก่อนที่ผู้ใหญ่ส่วนมากจะเริ่มวันทำงานของตน และมักจะสิ้นสุดลงตอนดึก หลังจากการซ้อมฟุตบอล, ซ้อมเต้นรำ, การประชุมคณะกรรมการนักเรียน, การทำงานหารายได้หลังเลิกเรียน, และเวลาทำการบ้าน.”
เมื่อนักเรียนต้องทำกิจกรรมมากเกินไปวันแล้ววันเล่า พวกเขาคงจะประสบปัญหาหลายอย่าง. เนื่องจากมีความตึงเครียดอย่างหนัก พวกเขาอาจเจ็บป่วยเพราะโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและมีอาการปวดศีรษะ. เนื่องจากความอ่อนล้าที่มีอยู่ตลอดเวลานั้นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และพวกเขาก็อาจจะล้มป่วย. แล้วจู่จู่พวกเขาก็ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำได้ แถมยังอาจต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อฟื้นฟูกำลังของตนขึ้นมาใหม่. มีอะไรทำนองนี้เกิดขึ้นกับคุณไหม?
นับว่าดีที่จะทำงานหนักเพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีคุณค่า แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนแข็งแรงแค่ไหน คุณก็มีขีดจำกัดในสิ่งที่คุณทำได้ในแต่ละวัน. คัมภีร์ไบเบิลให้คำแนะนำที่ดีดังนี้: “ให้คนทั้งปวงเห็นว่าท่านทั้งหลายเป็นคนมีเหตุผล.” (ฟิลิปปอย 4:5) คำว่า “มีเหตุผล” อาจนิยามได้สองแบบคือ “ไม่สุดโต่ง” และ “มีวิจารณญาณที่ดี.” คนมีเหตุผลจะทำการตัดสินใจอย่างที่จะไม่ก่อผลเสียหายต่อตัวเองและผู้อื่น. เขาแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในโลกที่ไม่มีความมั่นคงในทุกวันนี้. เพื่อจะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ จงเป็นคนมีเหตุผล คือตัดทอนกิจกรรมบางอย่างที่สำคัญน้อยกว่าซึ่งคุณสร้างขึ้นมาเองโดยไม่จำเป็น.
มุ่งแสวงหาความร่ำรวย
อย่างไรก็ตาม สำหรับหนุ่มสาวบางคนแล้ว ความมีเหตุผลดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคแทนที่จะช่วยให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายของตน. นักเรียนเหล่านี้เชื่อว่า ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็คือ งานอาชีพที่มีรายได้สูง และความร่ำรวยที่เกิดจากอาชีพนั้น. โปปพบว่าความคิดแบบนั้นมีอยู่ท่ามกลางคนหนุ่มสาวบางคนที่เธอพบ. เธอสังเกตว่า “นักเรียนเหล่านี้อยากมีเวลานอนนานขึ้นอีกหลายชั่วโมงและ
ฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น แต่ตารางที่เต็มแน่นทั้งเรื่องโรงเรียน, ครอบครัว, พันธะเรื่องการทำงาน ทำให้พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้. ในทำนองคล้ายกัน พวกเขาอยากมีเวลาไปไหนมาไหนกับเพื่อนมากขึ้น, ทำกิจกรรมอย่างอื่น, หรือหยุดพักสักสองสามวัน แต่นักเรียนส่วนใหญ่เชื่อว่า พวกเขาไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้แล้วยังรักษาผลการเรียนให้ดีได้. พวกเขาตระหนักว่า พวกเขาต้องเลือก และสำหรับพวกเขาแล้ว ความสำเร็จในวันหน้าสำคัญยิ่งกว่าความสุขในวันนี้.”นับว่าเป็นประโยชน์ที่นักเรียนซึ่งทุ่มเทตัวเองอย่างหนักจะพิจารณาสิ่งที่ผู้มีปัญญาคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคนใดได้โลกนี้ทั้งสิ้นไว้ แต่ต้องสูญเสียชีวิตของตน จะเป็นประโยชน์อะไรเล่า ไม่เป็นประโยชน์แน่ ไม่มีอะไรจะทำให้เขากลับคืนชีวิตขึ้นมาได้.” (มัดธาย 16:26, ฉบับพระวจนะสำหรับยุคใหม่) ด้วยถ้อยคำเหล่านั้น พระเยซูคริสต์เตือนว่า เป้าหมายที่เราอาจพยายามตะเกียกตะกายไปให้ถึงในโลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย, อารมณ์, และการมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้า.
ในหนังสือราคาของเกียรติยศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักจิตวิทยาชื่อแมเดอลิน เลอไวน์ เธอได้เขียนเกี่ยวกับ “ข้อเท็จจริงที่ว่าเงิน, การศึกษา, อำนาจ, ความมีหน้ามีตา, และสิ่งของฝ่ายวัตถุไม่ได้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์และความเจ็บป่วยทางอารมณ์.” โปปที่อ้างถึงก่อนหน้านั้นได้ให้ข้อสังเกตว่า “ดิฉันเห็นเด็ก ๆ และพ่อแม่จำนวนมากมายเหลือเกินกำลังทุ่มเทความพยายามเพื่อให้สมบูรณ์แบบในทุกด้าน ตามคำนิยามที่ผิดเพี้ยนของความสำเร็จ.” และเธอกล่าวเพิ่มเติมว่า “เราควรทุ่มเทความพยายามเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจและมีทัศนะที่สมดุลในเรื่องวัตถุ.”
มีบางสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเงิน. สิ่งเหล่านี้รวมถึงการมีสวัสดิภาพทางกายและทางอารมณ์, มีสติรู้สึกผิดชอบที่ดี, มีสัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นกับพระผู้สร้างของเรา. สิ่งเหล่านี้เป็นของขวัญอันหาค่ามิได้จากพระเจ้า. ถ้าคุณสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปเพราะมัวแต่มุ่งแสวงหาความร่ำรวยและความมีชื่อเสียง คุณอาจจะไม่มีวันได้กลับคืนมาอีกเลย. เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ ขอให้สังเกตสิ่งที่พระเยซูสอนดังนี้: “ผู้ที่สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ [“ต้องพึ่งพระเจ้า,” เชิงอรรถ] ก็มีความสุข เพราะราชอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา.”—มัดธาย 5:3
หนุ่มสาวหลายคนได้ตอบรับความจริงข้อนี้. ขณะที่พวกเขาตั้งใจเล่าเรียนให้ดีที่สุดเมื่อไปโรงเรียน พวกเขารู้ว่าความเป็นเลิศด้านการศึกษาและความมั่งคั่งฝ่ายวัตถุไม่ได้ให้ความสุขที่ยั่งยืนนาน. พวกเขาตระหนักว่าการมุ่งติดตามเป้าหมายเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น. นักเรียนเหล่านั้นเรียนรู้ว่า การสนอง “ความจำเป็นต้องพึ่งพระเจ้า” เป็นการปูพื้นฐานไว้สำหรับอนาคตที่มีความสุขอย่างแท้จริง. ผู้จัดพิมพ์วารสารนี้หรือพยานพระยะโฮวาในเขตของคุณยินดีที่จะอธิบายให้ฟังว่า คุณจะมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคุณสนองความจำเป็นต้องพึ่งพระเจ้า.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 สำหรับนักเรียนที่เรียนไม่เก่งหรือไม่ค่อยขยันหมั่นเพียร โปรดดู “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันจะเรียนดีขึ้นได้ไหม?” ในตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 22 มีนาคม 1998 หน้า 20-22.
^ วรรค 3 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โปรดดู “หนุ่มสาวถามว่า . . . ฉันจะทำอย่างไรกับการบ้านที่มากมายขนาดนี้?” ในตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 8 เมษายน 1993 หน้า 13-15.
^ วรรค 5 บางชื่อเป็นชื่อสมมุติ.
[คำโปรยหน้า 6]
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนแข็งแรงแค่ไหน คุณก็มีขีดจำกัดในสิ่งที่คุณทำได้ในแต่ละวัน
[คำโปรยหน้า 8]
การมีความรู้เกี่ยวกับพระผู้สร้างเป็นการศึกษาที่ดีที่สุดที่คุณอาจได้รับ
[กรอบ/ภาพหน้า 5]
วิธีที่ใช้ได้ผลเพื่อลดความเครียด
❑ คุณใช้เวลามากมายในการพลิกดูเอกสารและสมุดบันทึกต่าง ๆ และพยายามค้นหาสิ่งที่คุณต้องการไหม? บางคนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อจะจัดของเหล่านั้นให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น. อย่าอายที่จะขอคำแนะนำจากคนอื่น.
❑ คุณเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งไหม? เพื่อเป็นการทดสอบ จงพยายามทำงานที่คุณได้รับมอบหมายให้เสร็จก่อนเวลากำหนด. ความรู้สึกโล่งอกและความสบายใจที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจ และนั่นอาจเป็นพลังกระตุ้นที่ทำให้คุณเลิกผัดเลื่อนการทำการบ้านออกไป.
❑ คุณรู้สึกว่าตัวเองมักจะนั่งเหม่อลอยระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ไหม? ลองทำอย่างนี้สักเดือนสิ: ตั้งใจฟังเมื่อมีการอภิปรายในชั้นเรียน และจดบันทึกอย่างดีเพื่อจะเอามาดูได้ในภายหลัง. คุณอาจรู้สึกประหลาดใจและยินดีที่เห็นว่าการบ้านของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายสักเพียงไร. ผลพวงที่ดีเช่นนั้นจะช่วยลดความเครียดในโรงเรียน.
❑ คุณเลือกเรียนหลักสูตรที่ทำให้คุณได้เปรียบคนอื่น ๆ แต่นั่นเรียกร้องเวลาและความพยายามมากขึ้นอีกไหม? จำเป็นไหมที่คุณจะต้องเรียนหลักสูตรนั้น? ลองปรึกษาพ่อแม่ของคุณสิ. รับฟังความเห็นของคนที่มีทัศนะที่ถูกต้องต่อเรื่องการศึกษา. คุณอาจพบว่าหลักสูตรเสริมเหล่านั้นแทบจะไม่ได้ช่วยให้คุณก้าวหน้าไปถึงขั้นที่จะสำเร็จการศึกษาได้เร็วขึ้นเลย.
[กรอบหน้า 6]
กำแพงป้องกันที่มีอยู่เพียงในความคิด
“ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีนั้นเป็นดุจเมืองอันเข้มแข็ง, และความคิดเห็นของเขาเห็นไปว่าทรัพย์นั้นเป็นเหมือนกำแพงอันสูง.” (สุภาษิต 18:11) ในสมัยโบราณ ผู้คนอาศัยกำแพงสูงเป็นเครื่องช่วยปกป้องการโจมตี. แต่ขอให้คิดถึงการอยู่ในเมืองที่มีกำแพงแต่ในจินตนาการ. แม้ว่าคุณจะพยายามอย่างหนักเพื่อทำให้ตัวเองมั่นใจว่ามีกำแพงอยู่ แต่กำแพงนั้นจะไม่ได้ช่วยป้องกันศัตรูให้คุณเลย.
หนุ่มสาวที่มุ่งแสวงหาความร่ำรวยก็มุ่งหน้าไปสู่ความผิดหวัง เช่นเดียวกับคนเหล่านั้นที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ไม่มีกำแพง. คุณเป็นพ่อแม่ไหม? คงจะดีถ้าคุณจะช่วยลูกของคุณให้หลีกเลี่ยงกับดักของวัตถุนิยม และไม่เข้าไปอยู่ในเมืองที่คิดไปเองว่ามีกำแพง.
ความจริงที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักต่อไปนี้สามารถช่วยคุณในการหาเหตุผลกับลูกของคุณ:
▪ ความมั่งคั่งร่ำรวยมักจะนำปัญหามาให้มากกว่าที่จะช่วยแก้ปัญหา. “ความอิ่มท้องของคนมั่งมีก็ไม่ช่วยให้เขาหลับ.”—ท่านผู้ประกาศ 5:12; 1 ติโมเธียว 6:9, 10
▪ เมื่อมีการวางแผนที่ดี คนเราก็ไม่จำเป็นต้องรวยเพื่อจะมีความสุข. “แผนการของคนขยันก่อผลประโยชน์แน่นอน.”—สุภาษิต 21:5, ล.ม.; ลูกา 14:28
▪ รายได้พอประมาณที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทำให้คนเรามีความอิ่มใจพอใจ. “ขออย่าให้ข้าพเจ้ายากจนหรือมั่งมี.”—สุภาษิต 30:8 *
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 43 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องกับดักของวัตถุนิยมนั้นสามารถอ่านได้ในตื่นเถิด! ฉบับ 8 เมษายน 2003 หน้า 14-15.
[ภาพหน้า 7]
จงมองว่าการบ้านไม่ใช่ ปัญหาแต่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกงาน
[ภาพหน้า 7]
การพยายามทำสิ่งต่าง ๆ มากเกินไปกลับก่อผลในทางตรงกันข้าม