คุณสามารถประสบความสำเร็จแม้ต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง
คุณสามารถประสบความสำเร็จแม้ต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง
มีการพูดว่าครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่เปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์. ลองคิดดู: ในสหรัฐประเทศเดียวมีพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมากกว่า 13 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพัง. การวิจัยแสดงว่าประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กในประเทศนั้นจะใช้ชีวิตวัยเด็กอย่างน้อยช่วงหนึ่งอยู่ในครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว.
ถ้าคุณต้องเลี้ยงลูกโดยลำพัง จงมั่นใจว่าชีวิตครอบครัวของคุณประสบความสำเร็จได้. ลองใช้คำแนะนำต่อไปนี้.
▪ หลีกเลี่ยงการคิดในเชิงลบ. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “วันเวลาทั้งหมดของคนรับทุกข์เป็นที่เศร้าหมอง; แต่คนที่มีใจชื่นบานเปรียบเหมือนมีการเลี้ยงอยู่เสมอ.” (สุภาษิต 15:15) จริงอยู่ ชีวิตของคุณอาจไม่เหมือนงานเลี้ยงรื่นเริงเสียทีเดียว. แต่ดังที่ข้อนี้กล่าวไว้ ความเบิกบานยินดีเป็นเรื่องของหัวใจมากกว่าสภาพการณ์. (สุภาษิต 17:22) ไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่จะคิดว่าลูกของคุณไม่มีทางได้ดีหรือคิดว่าครอบครัวของคุณหมดทางเยียวยาเสียแล้ว. การคิดอย่างนั้นมีแต่จะทำให้คุณท้อและทำหน้าที่ฐานะพ่อหรือแม่ให้สำเร็จได้ยากขึ้น.—สุภาษิต 24:10
ข้อแนะ: ทำรายการคำพูดในเชิงลบที่คุณใช้พรรณนาสภาพการณ์ของคุณเอง แล้วถัดจากนั้นเขียนคำพูดในเชิงบวกที่คุณจะนำมาใช้แทน. ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ฉันทนต่อไปไม่ไหวแล้ว” ให้พูดว่า “ฉันมีความสามารถพอจะทำหน้าที่พ่อ/แม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพังได้ และถ้าจำเป็น ฉันก็ขอความช่วยเหลือได้.”—ฟิลิปปอย 4:13
▪ ตั้งงบประมาณ. ปัญหาเรื่องเงินเป็นปัญหาหนักที่สุดของพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เป็นแม่. สุภาษิต 22:3) เพื่อหลีกเลี่ยง “ภัย” ทางการเงิน การวางแผนและคิดล่วงหน้าจำเป็นอย่างยิ่ง.
กระนั้น ในบางกรณีความกดดันด้านการเงินอาจเบาบางลงไปได้ถ้ามีทักษะการจัดงบประมาณ. สุภาษิตในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “คนฉลาดมองเห็นภัยแล้วหนีไปซ่อนตัว.” (ข้อแนะ: เขียนงบประมาณบนกระดาษ. บันทึกรายจ่ายของคุณในช่วงหนึ่งเดือน และดูซิว่าคุณใช้เงินทำอะไรบ้าง. วิเคราะห์นิสัยการใช้จ่ายของคุณให้ดี. คุณอาศัยการกู้ยืมมากไปไหม? คุณซื้อของให้ลูกเพื่อชดเชยการที่เขาขาดพ่อหรือแม่ไหม? ถ้าลูกโตพอ จงนั่งลงกับเขาและช่วยกันคิดวิธีประหยัดเงิน. นั่นจะเป็นการฝึกอบรมที่ดีสำหรับเขา. และเขาอาจมีความคิดเห็นบางอย่างที่ใช้ในทางปฏิบัติได้.
▪ รักษาสันติเมื่อเกี่ยวข้องกับอดีตสามีหรือภรรยา. ถ้าคุณสองคนต้องดูแลลูกร่วมกัน จงจำไว้ว่าการพูดสิ่งไม่ดีเกี่ยวกับอดีตสามีหรือภรรยา หรือใช้ลูกเป็นสายลับสืบความเป็นไปในชีวิตของเขา เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม. * จะดีกว่ามากถ้าคุณร่วมมือกับอดีตคู่ครองในด้านการอบรมตีสอนหรือด้านอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของลูก. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงพยายามสุดความสามารถเพื่อจะอยู่อย่างสันติกับคนทั้งปวง” และนั่นรวมไปถึงอดีตสามีหรือภรรยาของคุณด้วย.—โรม 12:18
ข้อแนะ: เมื่อเกิดความขัดแย้งกันคราวถัดไป จงปฏิบัติต่ออดีตคู่สมรสเหมือนเป็นเพื่อนร่วมงาน. ในที่ทำงาน คุณคงพยายามเป็นมิตรกับทุก ๆ คน แม้แต่คนที่คุณไม่ค่อยชอบ. จงทำเช่นนั้นกับอดีตคู่สมรสของคุณ. คุณสองคนอาจไม่เห็นพ้องกันทุกเรื่อง แต่การกระทบกระทั่งก็ไม่จำเป็นต้องกลายเป็นการวิวาทบาดหมางกันทุกครั้ง.—ลูกา 12:58
▪ วางตัวอย่างที่ดี. ถามตัวเองว่า ‘ฉันอยากให้ลูกมีค่านิยมและทัศนคติเช่นไร? ตัวฉันมีค่านิยมและทัศนคติอย่างนั้นไหม?’ เพื่อเป็นตัวอย่าง ปกติแล้วคุณร่าเริงเบิกบานทั้ง ๆ ที่ต้องเลี้ยงดูลูกคนเดียวไหม? หรือคุณยอมให้สถานการณ์ชักนำคุณให้มองทุกสิ่งทุกอย่างในแง่ไม่ดี? คุณยังคงผูกใจเจ็บอดีตสามีหรือภรรยาที่เคยทำให้คุณเจ็บใจอยู่ไหม? หรือคุณสามารถเอาชนะความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ที่คุณไม่อาจควบคุมได้? (สุภาษิต 15:18) จริงอยู่ ประเด็นเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และคุณจะไม่สามารถทำได้ครบถ้วนอย่างที่ควรทำ. กระนั้น ลูกคงจะรับเอาทัศนะเกี่ยวกับชีวิตอย่างที่เขารับรู้จากคุณ.
ข้อแนะ: เขียนคุณลักษณะสามประการซึ่งคุณอยากให้ลูกแต่ละคนมีเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่. * ต่อจากคุณลักษณะแต่ละข้อ ให้เขียนว่าคุณจะทำอะไรได้บ้างในตอนนี้เพื่อเป็นตัวอย่างช่วยลูกพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าว.
▪ ดูแลตัวเอง. เนื่องจากชีวิตมีแต่ความเร่งรีบ อาจเป็นไปได้ง่ายมากที่คุณจะปล่อยให้สุขภาพทางกายและทางอารมณ์เสื่อมทรุด. อย่ายอมให้เรื่องนั้นเกิดขึ้นกับคุณ! การสนอง “ความจำเป็นต้องพึ่งพระเจ้า” เป็นสิ่งที่พึงกระทำ! (มัดธาย 5:3, เชิงอรรถ) จำใส่ใจไว้เสมอว่า รถยนต์ที่ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงก็ไปไม่ได้ไกล. คุณก็คงไปไม่ได้ไกลเช่นกันถ้าไม่ได้เติมพลัง.
นอกจากนั้น มี “วาระสำหรับสำรวล” และ “วาระสำหรับฟ้อนรำ.” (ท่านผู้ประกาศ 3:4) นันทนาการไม่ใช่ การเสียเวลาเปล่า ๆ. มันทำให้คุณรู้สึกสดชื่นและกระชุ่มกระชวย เพื่อคุณจะทำหน้าที่พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวต่อไปได้.
ข้อแนะ: ถามคนอื่น ๆ ที่ต้องเลี้ยงดูลูกตามลำพังว่าเขาดูแลตัวเองอย่างไร. ในขณะที่คุณ “ตรวจดูให้แน่ใจว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า” คุณจะใช้เวลาอย่างน้อยสักช่วงหนึ่งได้ไหมในแต่ละสัปดาห์เพื่อทำสิ่งที่คุณชอบ? (ฟิลิปปอย 1:10) เขียนสิ่งที่คุณอยากจะทำและอาจจะทำเมื่อไร.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูบทความ “ครอบครัวแตกแยก—ผลกระทบของการหย่าที่มีต่อวัยรุ่น” ในหน้า 18-21 ของวารสารนี้.
^ วรรค 11 ต่อไปนี้เป็นบางข้อที่อาจเขียนลงไปได้: “ความนับถือ” “ความมีเหตุผล” และ “การให้อภัย” ซึ่งได้พิจารณากันในหน้า 6-8 ของวารสารนี้.