ใครทำขึ้นก่อน?
ใครทำขึ้นก่อน?
ในปี 1973 ดร. มาร์ติน คูเปอร์เป็นคนแรกที่สาธิตการใช้โทรศัพท์มือถือ. โทรศัพท์นั้นประกอบด้วยแบตเตอรี่, วิทยุ, และไมโครโพรเซสเซอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว). ชาวนิวยอร์กมองด้วยความตกตะลึงเมื่อได้เห็นคูเปอร์พูดโทรศัพท์บนถนน. แต่การประดิษฐ์นี้เป็นไปได้ก็เพราะย้อนไปในปี 1800 อะเลสซานโดร โวลตาได้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นาน. นอกจากนั้น พอมาถึงปี 1876 ก็มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมาแล้ว, ปี 1895 มีวิทยุ, ปี 1946 มีคอมพิวเตอร์. ในที่สุด การคิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์เมื่อปี 1971 จึงทำให้เป็นไปได้ที่จะประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือ. ถึงกระนั้น เราอาจถามว่า การสื่อสารด้วยอุปกรณ์ที่ละเอียดซับซ้อนเป็นสิ่งใหม่จริง ๆ ไหม?
เครื่องมือสื่อสารที่มักถูกมองข้ามคือเสียงของมนุษย์. เซลล์ประสาทมากกว่าห้าร้อยล้านเซลล์ในมอเตอร์คอร์เทกซ์ของสมองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมอวัยวะการพูด และมีกล้ามเนื้อประมาณ 100 มัดควบคุมกลไกที่ซับซ้อนของลิ้น, ริมฝีปาก, ขากรรไกร, ลำคอ, และหน้าอก.
หูของคุณก็เป็นส่วนหนึ่งในระบบการสื่อสารเดียวกันนั้น. หูแปลงเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งสมองสามารถประมวลผล. สมองของคุณแยกแยะเสียงให้คุณจำคนได้ด้วยสุ้มเสียงของเขา. นอกจากนั้น สมองยังวัดด้วยว่าเสียงเข้าหูข้างหนึ่งเร็วกว่าอีกข้างหนึ่งกี่ล้านส่วนของหนึ่งวินาที แล้วจึงคำนวณได้อย่างแม่นยำว่าเสียงมาจากทิศทางใด. ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงลักษณะพิเศษสองอย่างซึ่งช่วยให้คุณเลือกฟังเพียงคนเดียว แม้จะมีหลายคนพูดพร้อม ๆ กัน.
ฉะนั้น การสื่อสารไร้สายที่ซับซ้อน (พร้อมระบบรับรู้ผู้พูด) จึงไม่ใช่เรื่องใหม่. เราพบเห็นอยู่แล้วในโลกของสิ่งมีชีวิต นั่นคือธรรมชาติ.
[แผนภาพ/ภาพหน้า 3]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
1800
แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นาน
1876
โทรศัพท์
1971
ไมโครโพรเซสเซอร์
1973
ดร. มาร์ติน คูเปอร์ประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือ
[ที่มาภาพหน้า 3]
Dr. Cooper and mobile phone: © Mark Berry
[ภาพหน้า 2]
ด้านขวาของหน้า 2 จากหน้าไปหลัง ภาพที่ถ่ายจากการจำลองเหตุการณ์: กูกลีเอลโม มาร์โกนีกับเครื่องวิทยุของเขา; โทมัส เอดิสันกับหลอดไฟ; แกรนวิลล์ ที. วูดส์ นักประดิษฐ์ด้านการสื่อสาร; พี่น้องตระกูลไรต์และเครื่องบินฟลายเออร์ ปี 1903