จอตากลับด้าน
มีผู้ออกแบบไหม?
จอตากลับด้าน
• ดวงตาของมนุษย์มีจอตา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ราว ๆ 120 ล้านเซลล์ เรียกว่าตัวรับแสง. จอตานี้ดูดซับและแปลงแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า. สมองของคุณแปลสัญญาณเหล่านี้เป็นภาพที่คุณมองเห็นได้. นักวิวัฒนาการโต้แย้งว่าตำแหน่งของจอตาในสัตว์มีกระดูกสันหลังพิสูจน์ว่าดวงตาไม่มีผู้ออกแบบ.
ขอพิจารณา: จอตาของสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นกลับด้าน คือมีตัวรับแสงอยู่ด้านหลังของจอตา. เพื่อแสงจะเดินทางไปถึงตัวรับแสงได้ ก็ต้องผ่านเซลล์หลายชั้น. เคนเนท มิลเลอร์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการกล่าวว่า “การจัดเรียงแบบนี้ทำให้แสงกระจายออก ภาพที่เรามองเห็นจึงคมชัดน้อยกว่าที่ควรจะเป็น.”
นักวิวัฒนาการจึงอ้างว่าจอตากลับด้านนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงการออกแบบที่ไม่ดี—หรืออันที่จริงแล้วไม่มีการออกแบบเลย. นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งถึงกับพรรณนาจอตาแบบนี้ว่า “กลับหัวกลับหางและใช้การอะไรไม่ได้.” อย่างไรก็ตาม การค้นคว้ามากขึ้นเผยว่าตัวรับแสงของจอตาแบบกลับด้านนี้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมถัดจากเซลล์เม็ดสีของเยื่อบุผิวจอตา (pigment epithelium) ซึ่งเป็นชั้นเซลล์ที่ให้ออกซิเจนและสารอาหารอันจำเป็นต่อการมีสายตาที่เฉียบคม. นักชีววิทยาเจอร์รี เบิร์กแมนและจักษุแพทย์โจเซฟ คาลกินส์ เขียนว่า “ถ้าเซลล์เม็ดสีจากเยื่อบุผิวอยู่ข้างหน้าจอตา การมองเห็นจะแย่ลงมาก.”
จอตาแบบกลับด้านมีข้อดีเป็นพิเศษสำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีดวงตาเล็ก. ศาสตราจารย์โรนัลด์ เครอเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน กล่าวว่า “ระหว่างเลนส์ตาและตัวรับแสง ต้องมีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ภาพชัดเจน. การที่มีเซลล์ประสาทอยู่เต็มพื้นที่นี้ [ในจอตา] หมายความว่ามีการประหยัดพื้นที่อย่างมากสำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลัง.”
นอกจากนั้น เนื่องจากเซลล์ประสาทของจอตาอยู่ชิดติดกันและอยู่ใกล้กับตัวรับแสง การแปลงข้อมูลภาพจึงทำได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด.
คุณคิดอย่างไร? จอตาแบบกลับด้านเป็นโครงสร้างที่ด้อยคุณภาพและเกิดจากความบังเอิญไหม? หรือว่ามีผู้ออกแบบ?
[แผนภาพหน้า 15]
(ดูรายละเอียดในวารสาร)
เซลล์ตัวรับแสง
แสง
เซลล์เม็ดสีจากเยื่อบุผิว
แสง
จอตา
เส้นประสาทตา