ไขมันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเล
มีผู้ออกแบบไหม?
ไขมันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเล
● หลายสิบปีมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจว่าโลมาว่ายน้ำด้วยความเร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้อย่างไร. นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันมีกล้ามเนื้อน้อยเกินไปที่จะว่ายน้ำเร็วขนาดนั้น. แต่โลมามีเคล็ดลับ ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ที่ไขมันของมัน. ไขมันชนิดนี้เป็นสารที่มีองค์ประกอบสลับซับซ้อน และอยู่ใต้ผิวหนังของโลมา วาฬ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในทะเลด้วย.
ขอพิจารณา: สารานุกรมนิว เวิลด์ กล่าวว่า “ไขมันของโลมาเป็นชั้นของเนื้อเยื่อยึดต่อที่หนาแน่น มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ และมีเซลล์ไขมันอยู่มาก.” โลมาและวาฬมีไขมันชนิดนี้อยู่ทั่วทั้งตัว และไขมันนี้ “ยึดอยู่อย่างแน่นหนากับกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัยโครงข่ายของเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดรูปพัดซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบอย่างยิ่ง.” โครงข่ายเหล่านี้ประกอบด้วยเส้นใยและคอลลาเจนที่ยืดหยุ่นได้. คอลลาเจนคือโปรตีนในผิวหนังและกระดูก. ดังนั้น ไขมันของโลมาจึงไม่ได้มีไว้เพื่อกันความหนาวเย็นเท่านั้น. แต่มันเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิตหลายชนิดซึ่งประกอบกันอย่างสลับซับซ้อน.
ไขมันช่วยโลมาให้ว่ายน้ำเร็วขนาดนั้นได้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น โลมาดาลล์ว่ายน้ำได้เร็วถึง 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง. เหตุผลหนึ่ง ไขมันช่วยให้มันมีรูปร่างประเปรียว. อีกเหตุผลหนึ่งคือ ไขมันที่อยู่ระหว่างหางและครีบหลังของมันมีคอลลาเจนและเส้นใยที่ยืดหยุ่นได้อย่างหนาแน่นเป็นพิเศษและมีลักษณะเป็นเส้นขนานตัดกัน. นี่ทำให้หางของมันยืดหยุ่นและสะสมพลังงานกลไว้ได้. ฉะนั้น เมื่อกล้ามเนื้อบังคับหางไปทางหนึ่ง ไขมันที่เป็นเหมือนสปริงจะช่วยดีดหางกลับมา จึงเพิ่มแรงผลักดันและช่วยประหยัดพลังงานด้วย.
นอกจากนั้น ไขมันช่วยโลมาให้ลอยตัว เป็นฉนวนป้องกันความหนาว และเป็นที่เก็บพลังงานไว้ใช้ในยามอาหารขาดแคลน. ไม่น่าแปลกใจ ไขมันสารพัดประโยชน์นี้เป็นที่สนใจของผู้ซึ่งพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพและวิธีการขับดันเรือ.
คุณคิดอย่างไร? ไขมันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเลซึ่งมีคุณสมบัติน่าทึ่งนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือมีผู้ออกแบบ?
[แผนภาพหน้า 17]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
เส้นใยยึด
ภาคตัดขวางของคอลลาเจนและเส้นใยที่ยืดหยุ่นได้ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นขนานตัดกัน