หนุ่มสาวถามว่า
ทำไมพ่อแม่ไม่เข้าใจฉัน?
ขอให้นึกถึงฉากเหตุการณ์ต่อไปนี้.
หกโมงเย็นวันศุกร์ จิมอายุ 17 ปีกำลังรีบออกไปทางประตูหน้า. เขาร้องบอกพ่อแม่ว่า “ไปก่อนนะครับ!” โดยหวังว่าพ่อแม่จะไม่ถามอะไรต่อ.
แต่พ่อแม่ก็ถามจนได้.
แม่ของเขาถามว่า “จิม ลูกจะกลับบ้านกี่โมง?”
จิมหยุดชะงัก แล้วตอบอย่างอ้ำอึ้งว่า “เอ่อ . . . ผมคงกลับดึกหน่อย ไม่ต้องห่วงนะครับ.” จิมรีบเปิดประตูและเกือบรอดตัวแล้ว. แต่พ่อของเขาตะโกนเรียกเขาว่า “เดี๋ยวก่อน จิม!”
จิมชะงักอีกครั้ง แล้วเขาได้ยินพ่อพูดเสียงเข้มว่า “ลูกรู้กฎดีอยู่แล้ว. ห้ามเกินสี่ทุ่มเด็ดขาด!”
จิมหันไปหาพ่อแล้วโอดครวญว่า “พ่ออ่ะ มันน่าอายนะที่ผมต้องบอกเพื่อน ๆ ว่าต้องกลับบ้านเร็ว.”
พ่อไม่สงสารเลยแม้แต่น้อย. พ่อพูดย้ำว่า “ห้ามเกินสี่ทุ่มเด็ดขาด!”
คุณเองก็อาจเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว. พ่อแม่ตั้งกฎ แล้วไม่ยอมยืดหยุ่นแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลากลับบ้าน เพลง เพื่อน หรือเรื่องเสื้อผ้า. เพื่อเป็นตัวอย่าง:
“หลังจากเขาแต่งงานกับแม่ พ่อเลี้ยงห้ามผมฟังเพลงที่ผมชอบแทบทุกแนว. สุดท้ายผมต้องทิ้งซีดีของผมทั้งหมด!”—แบรนดอน *
“แม่ว่าฉันที่ไม่ค่อยมีเพื่อน. แต่พอฉันขอไปเที่ยวกับเพื่อน แม่ก็ไม่อนุญาตเพราะแม่ไม่รู้จักคนนั้น. น่าหงุดหงิดจริง ๆ เลย!”—แครอล
“พ่อกับแม่เลี้ยงอนุญาตให้ฉันใส่เสื้อยืดได้เฉพาะแต่ตัวที่ใหญ่เกินไป. และพ่อยืนกรานว่ากางเกงขาสั้นที่สั้นเกินเข่านั้นสั้นเกินไป!”—เซเรนา
คุณควรทำอย่างไรถ้าคุณมีความเห็นไม่ตรงกับพ่อแม่? คุณควรจะคุยกับพ่อแม่ไหม? โจแอนน์อายุ 17 ปีบอกว่า “ส่วนใหญ่พ่อแม่ไม่อยากฟังฉัน.” เอมีวัย 15 ปีพูดว่า “ถ้าฉันรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ ฉันจะไม่พูดอะไรเลย.”
แต่อย่าเพิ่งล้มเลิกความพยายาม! พ่อแม่อาจพร้อมจะฟังมากกว่าที่คุณคิดก็ได้.
ขอพิจารณา: แม้แต่พระเจ้าก็ยังทรงฟังมนุษย์. ตัวอย่างเช่น พระยะโฮวาทรงฟังโมเซเมื่อท่านขอร้องแทนชาวอิสราเอลที่ดื้อดึง.—เอ็กโซโด 32:7-14; พระบัญญัติ 9:14, 19
คุณอาจรู้สึกว่าพ่อแม่ของคุณไม่ยอมฟังเหตุผลเหมือนพระเจ้า. และก็จริงที่มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างการที่โมเซทูลขอพระยะโฮวาเกี่ยวกับความอยู่รอดของคนทั้งชาติกับการที่คุณขอพ่อแม่กลับบ้านดึกอีกสักหน่อย. แต่หลักการนั้นคล้ายกัน:
ถ้าคุณมีเหตุผลที่ดี ผู้มีอำนาจ เช่นในกรณีนี้คือพ่อแม่ อาจพร้อมจะรับฟังคุณ.
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จคือวิธีที่คุณพูด! ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้ได้ผลมากขึ้นเมื่อพูดกับพ่อแม่:
-
ระบุปัญหา. ข้างล่างนี้ ให้เขียนว่าคุณกับพ่อแม่มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องอะไร.
-
รู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร. ข้างล่างนี้ ให้เขียนว่าการที่พ่อแม่มีความคิดเช่นนั้นทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เช่น เจ็บใจ เศร้า อาย ไม่
ได้รับความไว้วางใจ ฯ ลฯ. (ตัวอย่างเช่น ในฉากเหตุการณ์ข้างต้น จิมบอกว่ากฎที่พ่อแม่ตั้งไว้เรื่องเวลากลับบ้านที่เข้มงวดทำให้เขาอายเพื่อน.) -
ลองนึกว่าตัวคุณเป็นพ่อแม่. นึกภาพว่าคุณมีลูกวัยรุ่นซึ่งมีปัญหาอย่างที่คุณเขียนไว้ในขั้นที่ 1. จินตนาการว่าคุณเป็นพ่อแม่ คุณจะเป็นห่วงเรื่องอะไรมากที่สุด และเพราะอะไร? (ตัวอย่างเช่น ในฉากเหตุการณ์ข้างต้น พ่อแม่ของจิมอาจกลัวว่าจิมจะไม่ปลอดภัย.)
-
คิดทบทวนใหม่. ขอให้ตอบคำถามต่อไปนี้:
คุณคิดว่าทัศนะของพ่อแม่มีข้อดีอะไร?
คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้ท่านคลายกังวล?
-
พูดคุยเรื่องนั้นกับพ่อแม่และช่วยกันคิดหาทางออก. โดยทำตามขั้นตอนข้างต้น และพิจารณาคำแนะนำในกรอบ “ ข้อแนะในการสื่อความ” คุณอาจแสดงความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเมื่อพูดคุยกับพ่อแม่. พ่อแม่ของเคลลีมองว่าเธอมีความคิดความอ่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว. เธอบอกว่า “การเถียงไม่ได้ทำให้อะไร ๆ ดีขึ้น และคุณไม่มีทางเอาชนะได้. เคล็ดลับของฉันคือค่อย ๆ พูดคุยกับพ่อแม่. เราพบกันครึ่งทางและทุกฝ่ายต่างก็พอใจ.”
^ วรรค 12 บางชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ.