ช่วยเหลือเด็กที่โศกเศร้า
ช่วยเหลือเด็กที่โศกเศร้า
การบอกผู้ใหญ่ให้รู้ว่าคนที่เขารักเสียชีวิตแล้วเป็นเรื่องยาก. แต่ถ้าต้องบอกเรื่องนั้นกับเด็ก ก็ยิ่งยากกว่า.
สำหรับเด็กหลายคนที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนอาจทำให้เขารู้สึกสับสนหรือกระทั่งกลัวด้วยซ้ำ. การช่วยเด็กผ่านช่วงเวลาที่โศกเศร้านี้เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ที่โศกเศร้าด้วย. เนื่องจากพ่อแม่เองก็ต้องการการหนุนใจเช่นกัน.
พ่อแม่บางคนพยายามพูดให้ลูกยอมรับข่าวร้ายโดยบอกว่าคนนั้นจากเราไปแล้วหรือเขาไปสบายแล้ว. อย่างไรก็ตาม การพูดเช่นนั้นทำให้เข้าใจยากและไม่ถูกต้อง. ดังนั้น คุณจะบอกกับเด็กให้เข้าใจเกี่ยวกับความตายได้อย่างไร?
เรนาโตและอีซาเบลลีประสบปัญหานั้น. เมื่อลูกสาววัยสามขวบครึ่งของเขาชื่อนิโคลลีเสียชีวิต พวกเขาได้ช่วยลูกชายซึ่งตอนนั้นอายุห้าขวบชื่อเฟลีเปรับมือกับการสูญเสียนั้น.
ตื่นเถิด!: คุณบอกเรื่องการตายของนิโคลลีแก่เฟลีเปอย่างไร?
อีซาเบลลี: เราพยายามไม่ปิดบังเฟลีเปในเรื่องนี้. เรากระตุ้นให้เขาถามคำถาม และเราพยายามตอบคำถามในแบบที่เด็กวัยเดียวกันกับเขาจะเข้าใจได้. นิโคลลีเสียชีวิตเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น เราบอกเขาว่ามีเชื้อโรคตัวเล็ก ๆ เข้าไปในร่างกายของน้องและคุณหมอไม่สามารถฆ่ามันได้.
ตื่นเถิด!: คุณบอกเรื่องความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตายกับเฟลีเปไหม?
เรนาโต: เราเป็นพยานพระยะโฮวา และเรารู้ว่าการพูดเรื่องความเชื่อตามหลักคัมภีร์ไบเบิลจะช่วยปลอบโยนเฟลีเป. พระคัมภีร์สอนอย่างชัดเจนว่าคนตายไม่รับรู้อะไรเลย. (ท่านผู้ประกาศ 9:5) เราคิดว่าถ้าเราพูดเรื่องนี้กับเฟลีเปแล้ว จะไม่ทำให้เขากลัว เช่น ในเวลาที่ต้องอยู่คนเดียวตอนกลางคืน.
อีซาเบลลี: คัมภีร์ไบเบิลสอนด้วยว่าคนเหล่านั้นที่ตายไปแล้วจะได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นจากตายในโลกที่เป็นอุทยาน. เราเชื่อและรู้สึกว่าความหวังนี้จะช่วยเฟลีเปด้วย. ดังนั้น เราบอกเรื่องที่คัมภีร์ไบเบิลสอนกับเขา. เราเล่าเรื่องที่พระเยซูทรงปลุกลูกสาววัย 12 ปีของไยรอสให้เขาฟัง. แล้วเรามาระโก 5:22-24, 35-42; โยฮัน 5:28, 29
อธิบายกับเฟลีเปว่านิโคลลีก็จะกลับเป็นขึ้นจากตายด้วย. นี่เป็นสิ่งที่พระคัมภีร์สอน.—ตื่นเถิด!: คุณคิดว่าเฟลีเปเข้าใจที่คุณพูดมาทั้งหมดไหม?
เรนาโต: ใช่ เราคิดว่าเขาเข้าใจ. เมื่อคุณอธิบายตามความเป็นจริงแบบง่าย ๆ ถูกต้อง และชัดเจน เด็ก ๆ จะเข้าใจและช่วยคลายความเศร้าได้. ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงจึงไม่จำเป็นต้องปิดบังไว้. น่าเศร้า เรายังต้องประสบกับความตาย. ดังนั้น พ่อแม่ต้องสอนลูก ๆ ให้รู้วิธีรับมือกับความตายอย่างที่เราได้สอนเวนิซีอัสลูกชายคนเล็กของเรา. *
ตื่นเถิด!: คุณพาเฟลีเปไปงานศพด้วยไหม?
เรนาโต: หลังจากคิดถึงข้อดีข้อเสีย เราตัดสินใจไม่พาเขาไป. เด็กที่อยู่ในวัยนี้จะอ่อนไหวต่อเรื่องนี้มาก. แน่นอน พ่อแม่บางคนอาจตัดสินใจพาลูกไปงานศพ และเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะยอมรับสภาพการณ์นั้นได้แค่ไหน. ถ้าจะพาเด็กไปที่งานศพ ดีกว่าถ้าจะบอกให้เขาเข้าใจชัดเจนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่นั้น.
ตื่นเถิด!: การเสียชีวิตของนิโคลลีคงต้องเป็นช่วงเวลาที่เศร้ามากสำหรับคุณ. คุณกังวลว่าลูกชายจะเห็นคุณร้องไห้ไหม?
อีซาเบลลี: เราเปิดเผยความรู้สึกของเราให้เฟลีเปรู้. ถ้าพระเยซูเอง “ทรงกันแสง” เมื่อผู้ที่พระองค์ทรงรักเสียชีวิต เราก็ร้องไห้ได้เช่นกัน. (โยฮัน 11:35, 36) คงไม่เป็นไรที่เฟลีเปจะเห็นเราร้องไห้ด้วย. เนื่องจากเฟลีเปเห็นเราร้องไห้ เขาจึงรู้ว่าไม่ผิดถ้าเขาจะร้องไห้เช่นกัน. การร้องไห้เป็นแค่วิธีที่แสดงว่าเราโศกเศร้า. เราอยากให้เฟลีเปแสดงความรู้สึกด้วย แทนที่จะซ่อนความรู้สึกไว้.
เรนาโต: เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าในครอบครัว เด็ก ๆ มักรู้สึกไม่ปลอดภัย. ดังนั้น ถ้าเราซึ่งเป็นพ่อแม่บอกเล่าความรู้สึกของตนอย่างตรงไปตรงมา เด็กก็จะทำอย่างเดียวกัน. หลังจากตั้งใจฟังปัญหาของลูก คุณจะช่วยปลอบและช่วยลูกไม่ให้รู้สึกกลัวด้วย.
ตื่นเถิด!: คุณได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นไหม?
เรนาโต: ใช่ เราได้รับความเหลืออย่างมากจากเพื่อนที่อยู่ในศาสนาเดียวกันกับเรา. เฟลีเปได้เห็นว่าพวกเขารักและห่วงใยเราอย่างยิ่งจากการที่พวกเขามาเยี่ยม โทรศัพท์และส่งการ์ดแสดงความเสียใจมาให้เรา.
อีซาเบลลี: สมาชิกในครอบครัวได้ให้ความช่วยเหลือเรามากด้วย. หลังจากนิโคลลีเสียชีวิต พ่อของดิฉันแสดงความรักต่อเราโดยมากินอาหารเช้าร่วมกันทุกวัน. การที่มีคุณตาอยู่ด้วยช่วยเฟลีเปให้รู้สึกดีขึ้น.
เรนาโต: การหนุนใจจากคัมภีร์ไบเบิลที่เราได้รับในการประชุมคริสเตียนเป็นประโยชน์มาก. เราพยายามไม่ขาดการประชุม แม้ว่าหลายครั้งการร่วมประชุมทำให้เราคิดถึงนิโคลลีจนเรากลั้นน้ำตาไม่อยู่. แต่เราต้องเข้มแข็งเพื่อตัวเองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเฟลีเปด้วย.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 12 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูบทความ “ช่วยลูกรับมือกับความโศกเศร้า” ในหน้า 18-20 ของวารสารหอสังเกตการณ์ 1 กรกฎาคม 2008 และจุลสารเมื่อคนที่คุณรักเสียชีวิต จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[กรอบ/ภาพหน้า 14]
หนังสือต่าง ๆ ด้านล่างนี้ ซึ่งจัดพิมพ์โดยพยาน พระยะโฮวาจะช่วยปลอบโยนคนที่สูญเสีย ผู้ที่เป็นที่รักได้.
สำหรับผู้ใหญ่:
คัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริงๆ?
บท 6: คนตายแล้วไปไหน?
บท 7: ความหวังแท้สำหรับคนที่คุณรักซึ่งเสียชีวิตไป
สำหรับเด็ก:
หนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
เรื่องที่ 92: พระเยซูปลุกคนตายให้เป็นขึ้น
สำหรับเด็กที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น:
จงเรียนจากครูผู้ยิ่งใหญ่
บท 34: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราตาย?
บท 35: เราจะเป็นขึ้นจากตายได้!
บท 36: ใครจะได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย? พวกเขาจะอยู่ที่ไหน?
สำหรับหนุ่มสาว:
คำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล เล่ม 1
บท 16: เป็นเรื่องปกติไหม ที่ฉันโศกเศร้าแบบนี้?
[กรอบ/ภาพหน้า 15]
วิธีช่วยเหลือ
● กระตุ้นให้ถาม. อยู่พร้อมและเต็มใจพูดถึงผู้ที่เสียชีวิตเมื่อใดก็ตามที่ลูกอยากพูด.
● หลีกเลี่ยงวลีที่คลุมเครือและเข้าใจยาก เช่น พูดว่าผู้ตาย “ทิ้งเราไปแล้ว” หรือ “จากเราไปแล้ว.”
● อธิบายการเสียชีวิตในแบบที่ง่าย ๆ ตามความเป็นจริง. บางคนแค่พูดว่าร่างกายของคนที่เรารัก “หยุดทำงาน” และ “ซ่อมไม่ได้แล้ว.”
● บอกลูกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในงานศพ โดยอธิบายว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วไม่สามารถมองเห็นหรือได้ยินสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น.
● อย่าซ่อนความรู้สึกของคุณไว้. โดยวิธีนี้ลูกจะเห็นว่าการร้องไห้และความโศกเศร้าเป็นเรื่องธรรมดา.
● ขอจำไว้ว่า มีหลายวิธีที่จะแสดงความโศกเศร้า. เด็กแต่ละคนและสภาพการณ์แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน.
[ที่มาของภาพ]
มาจาก: www.kidshealth.org
[ภาพหน้า 15]
จากด้านซ้ายวนตามเข็มนาฬิกา: เฟลีเป เรนาโต อีซาเบลลี และเวนิซีอัส