ต้อง เปลี่ยนแปลงอะไร?
ต้อง เปลี่ยนแปลงอะไร?
“รัฐบาลจะไม่ช่วยแก้ปัญหาของเราเพราะรัฐบาลคือปัญหา.”—คำปราศรัยแรกของโรแนลด์ เรแกน เมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐ.
โรแนลด์ เรแกนได้กล่าวคำปราศรัยนี้มานานกว่าสามสิบปีแล้ว. ในตอนนั้น สหรัฐเผชิญปัญหาใหญ่ เรแกนบอกว่าปัญหานั้นคือ “วิกฤติเศรษฐกิจที่ร้ายแรงมาก.” เขาอธิบายต่อไปว่า “เราประสบช่วงวิกฤติที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ. เนื่องจากเราเอาเงินในอนาคตของเราและลูกหลานมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในปัจจุบันโดยไม่คิดถึงปัญหาที่จะตามมา ในช่วงหลายสิบปีมานี้เราจึงมีหนี้สินพอกพูนขึ้น. หากเรายังคงทำเช่นนี้ต่อไป เราจะเผชิญหายนะทางสังคม วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจอย่างแน่นอน.”
ถึงแม้เรแกนมองว่าอนาคตดูจะมืดมน แต่เขาก็ยังมีหวัง. เขาพูดว่า “วิกฤติเศรษฐกิจที่เราประสบนั้นก่อตัวขึ้นระหว่างช่วงยี่สิบกว่าปีมานี้. ปัญหานี้จะไม่หมดไปในเวลาเพียงไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่เราจะผ่านปัญหานี้ไปได้.”—เราทำให้เป็นตัวเอน.
สภาพการณ์ปัจจุบันเป็นเช่นไร? รายงานปี 2009 ของกระทรวงเคหะและการพัฒนาเมืองแห่งสหรัฐกล่าวว่า “ประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังมี . . . การใช้ระบบสาธารณูปโภคมากเกินไป ที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอ และระบบการรักษาพยาบาลซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ. ที่จริง โครงการที่อยู่อาศัยของสหประชาชาติ [หน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ] คาดว่า ภายในสามสิบปี หนึ่งในสามของประชากรโลกจะมีชีวิตอยู่อย่างไร้ความหวัง เนื่องจากขาดระบบสุขาภิบาลที่ดีและน้ำสะอาด ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น โรคต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นและโรคระบาดอาจแพร่ไปทั่วโลก.”
ปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกเป็นห่วง
ไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ที่ไหน ขอเราพิจารณาคำถามต่อไปนี้:
● คุณรู้สึกมีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมาไหม?
● คุณคิดว่าจะมีการรักษาพยาบาลที่เพียงพอสำหรับคุณและครอบครัวไหม?
● คุณเห็นสภาพแวดล้อมที่สะอาดและดีขึ้นไหม?
● เมื่อนึกถึงอนาคต คุณคิดว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ จะดีขึ้นไหมในอีก 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า?
สัญญาสังคม
หลายรัฐบาลมีสัญญาสังคมซึ่งก็คือข้อตกลงระหว่างผู้บริหารประเทศกับประชาชนในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย. ตัวอย่างเช่น มีการคาดหมายให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง เสียภาษี และช่วยกันดูแลให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย. ในทางกลับกัน ผู้ที่บริหารประเทศมักสัญญาว่าจะให้มีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น การรักษาพยาบาลที่ทั่วถึง ความเสมอภาค และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ.
รัฐบาลต่าง ๆ ได้ทำอะไรบ้างในสามขอบเขตที่สำคัญนี้? ขอเรามาพิจารณาด้วยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสามหน้าถัดไป.
การรักษาพยาบาลที่ทั่วถึง
สิ่งที่ผู้คนคาดหวัง: การรักษาพยาบาลที่ผู้คนทั่วไปสามารถจ่ายได้และมีประสิทธิภาพ.
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง:
● รายงานหนึ่งเกี่ยวกับการสุขาภิบาลและสุขศาสตร์โดยธนาคารโลกกล่าวว่า “มีเด็ก 6,000 คนเสียชีวิตทุกวันเนื่องจากไม่มีน้ำสะอาดและไม่มีสุขอนามัยที่ดี. โรคท้องร่วงเพียงอย่างเดียวได้คร่าชีวิตเด็กหนึ่งคนในทุก ๆ 20 วินาที.”
● การสืบสวนใหญ่ในปี 2008 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลใน “ประเทศที่ร่ำรวยและยากจน” ได้ข้อสรุปว่า “ในประเทศที่ร่ำรวยและยากจนมีการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกันมาก” และ “การรักษาพยาบาลล้มเหลวในแง่ที่ว่าไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก แพงเกินไป และไม่มีประสิทธิภาพ.”
สองปีต่อมา องค์การอนามัยโลกพบว่า “รัฐบาลทั่วโลกมีปัญหาในการจ่ายงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสูงขึ้นมาก เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ผู้คนมากขึ้นป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และการรักษาพยาบาลแบบใหม่มีราคาแพงมาก.”
● ปัญหาใหญ่ในการรักษาพยาบาลคือยาที่แรงซึ่งเคยรักษาโรคได้อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป. โรคที่ทำให้หลายล้านคนเสียชีวิตเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เช่น โรคเรื้อนและวัณโรคซึ่งในตอนแรกเคยรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะในช่วงทศวรรษ 1940 แต่ปัจจุบันนี้ ตามรายงานวันอนามัยโลก 2011 ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า “โรคที่เกิดจากเชื้อโรคต่าง ๆ ดื้อยาและแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว. ยาหลายชนิดใช้ไม่ได้ผล. เนื่องจากโรคต่าง ๆ ดื้อยามากขึ้นจึงมียาน้อยลงที่จะรักษาโรคได้.”
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง: เราจำเป็นต้องเห็นความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งบอกไว้ล่วงหน้าถึงเวลาที่ “จะไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นพูดว่า, ‘ข้าพเจ้าป่วยอยู่.’ ”— ยะซายา 33:24
ความยุติธรรมและความเสมอภาค
สิ่งที่ผู้คนคาดหวัง: อคติต่อชนกลุ่มน้อยและการปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างเลวร้ายจะไม่มีอีกต่อไป. ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่ร่ำรวยอย่างมหาศาลและคนที่ยากจนข้นแค้น.
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง:
● รายงานจากการประชุมผู้นำเกี่ยวข้องกับเงินทุนสำหรับการศึกษาสิทธิพลเมืองกล่าวว่า “ความรุนแรงมากมายซึ่งเกิดกับผู้คน สถานนมัสการ และกลุ่มคนในสังคมมีสาเหตุมาจากอคติเนื่องจากสีผิว ศาสนา คนรักร่วมเพศ หรือชาติใดชาติหนึ่งและยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในอเมริกา.”
● รายงานว่าด้วยความก้าวหน้าของสตรีในการแสวงหาความยุติธรรม โดยสหประชาชาติกล่าวว่า “ผู้หญิงหลายล้านคนทั่วโลกยังคงประสบความอยุติธรรม ความรุนแรงและความไม่เสมอภาคกันในบ้าน ที่ทำงาน และสถานที่ต่าง ๆ.” ตัวอย่างเช่น ในอัฟกานิสถานประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์เมื่อคลอดลูก. ในเยเมน ไม่มีกฎหมายปกป้องผู้คนจากความรุนแรงในครอบครัว. ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละวันมีผู้หญิงมากกว่าหนึ่งพันคนถูกข่มขืน.
● ในเดือนตุลาคม 2011 เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คี-มูนกล่าวว่า “สภาพการณ์ของมนุษย์ย่ำแย่อย่างที่ไม่ควรจะเป็น. ทั่วโลกมีอาหารอุดมบริบูรณ์แต่ประชาชนหนึ่งพันล้านคนยังหิวโหยอยู่. มีคนส่วนน้อยที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย แต่ผู้คนมากมายเป็นคนยากจน. ทั้ง ๆ ที่วงการแพทย์มีความก้าวหน้าอย่างมาก ทุกวันมีแม่หลายคนยังคงเสียชีวิตเนื่องจากการคลอดลูก . . . เงินหลายพันล้านดอลลาร์ถูกใช้สำหรับอาวุธเพื่อฆ่าผู้คนแทนที่จะช่วยชีวิตพวกเขา.”
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง: เราจำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างยุติธรรมต่อชนกลุ่มน้อยและผู้หญิงและจะไม่มีคนที่ “ไม่ให้ความยุติธรรมแก่ประชากรผู้ถูกข่มเหง.”—ยะซายา 10:1, 2, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สิ่งที่ผู้คนคาดหวัง: ทุกคนมีงานทำและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ.
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง:
● สถาบันเวิลด์วอตช์รายงานว่า “มีผู้คนมากขึ้นที่พร้อมจะทำงานเพื่อทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่อาจมีตำแหน่งงานไม่พอสำหรับพวกเขา. เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ องค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ไอแอลโอ) ได้กะประมาณว่าในปี 2010 มีคนตกงานถึง 205 ล้านคนแล้ว.”
● สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า “องค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ไอแอลโอ) เตือนว่า เศรษฐกิจโลกเกือบจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่และมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม. เศรษฐกิจที่ชะลอตัวเมื่อไม่นานมานี้แสดงว่ามีอัตราการสร้างงานเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ที่ว่างงาน. . . . องค์การ [ไอแอลโอ] ได้สำรวจความไม่พอใจของคนที่ว่างงานเพราะดูเหมือนว่าคนบางกลุ่มไม่ได้พยายามทำอะไรเลยเพื่อแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจนี้. ผลสำรวจพบว่าหลายประเทศประสบความวุ่นวายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศแถบอาหรับ.”
● หนังสือเดอะ นอซิสซิม เอพีเดมิก ซึ่งตีพิมพ์ปี 2009 บอกว่าในสหรัฐ “ปัจจุบันบัตรเครดิตแต่ละใบเฉลี่ยแล้วเป็นหนี้มากกว่า 11,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าปี 1990 ถึงสามเท่า.” ผู้เขียนกล่าวว่า หลายคนเป็นหนี้เพราะพวกเขาต้องการให้คนอื่นมองว่าตนเป็นคนร่ำรวย. หนังสือเล่มนี้บอกว่า “ชาวอเมริกันมองว่าคนที่มีรถยนต์และเสื้อผ้าที่หรูหราคงต้องเป็นคนรวยแน่ ๆ. แต่จริง ๆ แล้ว น่าจะคิดว่าเขาเหล่านั้นกำลังเป็นหนี้.”
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง: ควรจะมีงานสำหรับทุกคนและทัศนะที่สมดุลในเรื่องการใช้จ่าย. คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “เงินก็เป็นเครื่องปกป้อง” แต่เตือนด้วยว่า “การรักเงินเป็นรากของสิ่งที่ก่อความเสียหายทุกชนิด.”—ท่านผู้ประกาศ 7:12; 1 ติโมเธียว 6:10
จากข้อมูลตั้งแต่หน้า 4 ถึงหน้า 8 ดูเหมือนว่าอนาคตจะสิ้นหวัง. แต่ก็ยังคงมีความหวังอยู่. สภาพการณ์จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่ใช่โดยทางรัฐบาลของมนุษย์.
[กรอบ/สถิติหน้า 5]
เด็ก ๆ บอกว่าพวกเขาอยากเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อะไรในโลก? การสำรวจเด็ก 2,000 คนซึ่งมีอายุระหว่าง 4 ถึง 14 ปีในบริเตนโดยเว็บไซต์ 4children.org แสดงว่าพวกเขาอยากจะทำสิ่งต่อไปนี้:
[สถิติ]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
100%
ขจัดความอดอยาก
ยุติสงคราม
ขจัดความยากจน
75%
ทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
ขจัดปัญหาภาวะโลกร้อน
50%
25%
0%
[กรอบ/สถิติหน้า 5]
การสำรวจในปี 2009 โดยมูลนิธิเบอร์เทลสแมนน์ในเยอรมนีแสดงว่าเยาวชน 500 คนซึ่งมีอายุระหว่าง 14 ถึง 18 ปีกังวลเรื่องอะไร มากที่สุด.
ในปัญหาเหล่านี้เยาวชนรู้สึกว่าการก่อการร้ายและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไร. ภาวะวิกฤติทางการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจน้อยมาก. มูลนิธิเบอร์เทลสแมนน์ลงความเห็นว่า อาจจะเนื่องจากเยาวชนที่ให้ความคิดเห็นยังไม่รับผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ในชีวิตของพวกเขา.
[สถิติ]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
100%
75%
ความยากจน
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการทำลายสิ่งแวดล้อม
ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม
โรคที่ระบาดไปทั่วโลก และโรคภัยไข้เจ็บ
50%
25%
0%