มีผู้ออกแบบไหม?
ขากรรไกรจระเข้
จระเข้เป็นสัตว์ที่มีแรงกัดทรงพลังที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ เช่น จระเข้น้ำเค็มที่พบใกล้ ๆ ออสเตรเลีย มีแรงกัดมากกว่าเสือหรือสิงโตเกือบ 3 เท่า และขากรรไกรของจระเข้ก็มีประสาทสัมผัสที่ไวมากอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งประสาทสัมผัสของมันสามารถรับรู้ได้ดีกว่าปลายนิ้วของคนเราเสียอีก เป็นไปได้อย่างไร? ให้เรามาดูผิวหนังส่วนนี้ของจระเข้กัน
ตรงส่วนขากรรไกรของจระเข้นั้นมีจุดรับสัมผัสเป็นพัน ๆ จุด นักวิจัยที่ชื่อดันแคน ไลท์ชให้ข้อสังเกตว่า “ปลายเส้นประสาทแต่ละเส้นยื่นออกมาจากรูในหัวกะโหลก” ซึ่งจะช่วยปกป้องใยประสาท และในขณะเดียวกันก็รับความรู้สึกได้ไวมาก ซึ่งบางจุดจะรับความรู้สึกได้ไวกว่าเครื่องมือตรวจวัดใด ๆ เสียอีก นี่ทำให้จระเข้สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นอาหารหรือวัตถุสิ่งของ ปลายประสาทนี้ยังช่วยให้แม่จระเข้สามารถคาบลูกของมันโดยไม่ให้ลูกบาดเจ็บ ขากรรไกรของจระเข้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากทั้ง ๆ ที่มีแรงกัดทรงพลังที่สุดในโลกแต่ก็มีประสาทสัมผัสที่ไวมากด้วย
คุณคิดอย่างไร? ขากรรไกรจระเข้เกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการหรือมีผู้ออกแบบ?